Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะบวม - Coggle Diagram
ภาวะบวม
สาเหตุ
Hydrostatic pressure ในหลอดเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้ภายในหลอดเลือดมีแรงดันสารน้ำออกสู่เนื้อเยื่อเพิ่มมากขึ้น พบในภาวะที่มีการคั่งของเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะเลือดคั่งจากหัวใจล้มเหลวหรือภาวะที่ได้รับโซเดียมสูงเกินไป
Oncotic pressure ในหลอดเลือดลดลง พบได้ในภาวะที่มีโปรตีน โดยเฉพาะอัลบูมินในเลือดลดลง ซึ่งอาจเกิดจากการเสียโปรตีนทางปัสสาวะที่พบในกลุ่มโรคไตชนิดเนฟโฟรติก (nephrotic syndrome) หรือเกิดจากการสร้างโปรตีนได้น้อยที่พบในผู้ป่วยโรคตับแข็งและผู้ที่มีภาวะ ขาดสารอาหารรุนแรง เป็นต้น
ภาวะการคั่งของน้ำและเกลือแร่ (Salt and water retention) พบได้ในภาวะการทำงานของไตผิดปกติ มีการลดลงของการกรองโซเดียม เช่น ภาวะไตวายเฉียบพลัน ภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีผลต่อการคั่งของโซเดียมในท่อไต ทำให้มีการดูดกลับน้ำเพิ่มขึ้น
โรคไต
โรคไตบางชนิดมีความผิดปกติเกิดขึ้นภายในส่วนที่ทำหน้าที่กรองเลือด ทำให้โปรตีนในเลือดหรืออัลบูมินรั่วออกทางปัสสาวะ เมื่อโปรตีนในเลือดต่ำลงจะทำให้เกิดอาการบวม
อาการบวมนี้ อาจเกิดได้ในโรคไตหลายชนิด เช่น โรคไตอักเสบชนิดเนโฟรติค ซินโดรม (Nephrotic Syndrome) ซึ่งเป็นโรคที่มีการรั่วของโปรตีนออกมากับปัสสาวะในปริมาณมาก หรือโรคไตเรื้อรังที่มีการเสื่อมของไต ทำให้มีการคั่งของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
โรคหัวใจ
การบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจโดยมากมักเกิดจากการที่หัวใจห้องขวาล่างทำงานลดลง ทำให้เลือดจากขาไม่สามารถไหลเข้าสู่หัวใจด้านขวาได้สะดวก จึงมีเลือดค้างอยู่ที่ขามากขึ้น
อาการบวมที่เกิดกับผู้ป่วยโรคหัวใจจะมีลักษณะสมมาตรคือจะบวมที่ขาทั้งสอง ข้าง และมีอาการหายใจหอบเหนื่อย ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว หรือมีปัญหาที่หลอดเลือดดำที่ขา นอกจากนี้โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเรื้อรังก็ทำให้เกิดอาการเช่นนี้ได้เช่น กัน
โรคตับ
ตับแข็ง เริ่มแรกจะมีอาการอ่อนเพลีย มีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และดีซ่าน ต่อมาจึงมีอาการบวมที่เท้าและขาทั้งสองข้าง และมีอาการท้องบวมโตกว่าปกติหรือที่เรียกว่า ท้องมาน เนื่องจากตับเป็นอวัยวะที่สร้างโปรตีนตัวสำคัญคืออัลบูมิน
เมื่อไม่สามารถสร้างอัลบูมินได้ ก็ขาดตัวดูดกลับหรือ Oncotic Presssure ลดลง ทำให้มีสารน้ำจำนวนมากคั่งในร่างกายดังนั้น ถึงแม้ผู้ป่วยจะมีแขนขาและลำตัวดูซูบผอม แต่จะมีอาการท้องบวมซึ่งอาการอาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้
-
โรคเท้าช้าง
มักจะเกิดจากการที่ถูกยุงที่มีเชื้อพยาธิเท้าช้างกัดซ้ำหลายครั้ง อาการในระยะแรก ผู้ป่วยอาจมีไข้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อม และ ท่อน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ขาหนีบ หรืออัณฑะ เนื่องจากพยาธิตัวแก่ที่อยู่ในท่อน้ำเหลืองสร้างความระคายเคืองแก่เนื้อ เยื่อภายใน รวมทั้งมีการปล่อยสารพิษออกมาด้วย อาการอักเสบจะเป็นๆ หายๆ อยู่เช่นนี้ และจะกระตุ้นให้เกิดอาการบวม
อาการขาโตเกิดจากการที่มีพยาธิโรคเท้าช้างตัวแก่ที่ตายแล้วหรือยังมีชีวิต อยู่ได้เข้าไปอุดตันท่อน้ำเหลือง ทำให้เกิดการระคายเคืองในท่อน้ำเหลือง รวมทั้งปล่อยสารพิษที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ
-
ภาวะที่มีสารน้ำขังอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์ (interstitial tissue) จนเกิดอาการบวมให้เห็นทางภายนอก โดยเกิดจากความผิดปกติของกลไกการควบคุมแรงดันใน
-