Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปวดกล้ามเนื้อ - Coggle Diagram
ปวดกล้ามเนื้อ
ปัจจัยกระตุ้น
การบาดเจ็บรุนแรงเฉียบพลัน (Macrotrauma) เช่น อุบัติเหตุศีรษะกระแทก ทำให้กล้ามเนื้อคอ บ่าไหล่หดเกร็ง หันคอไม่สุด รู้สึกมึนและวิงเวียนศีรษะ
การบาดเจ็บไม่รุนแรงแต่เรื้อรัง (Microtrauma) เช่น อยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน (เกร็งยักบ่าไหล่ ห่อไหล่) ยกของผิดท่า
-
-
-
-
สาเหตุ
-
-
การออกแรงอย่างหนักของกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการคั่งของกรดแล็กติก ทำให้กล้ามเนื้อล้าและปวด อาการปวดจะกระตุ้นกล้ามเนื้อให้เกร็งแข็งโดยอัตโนมัติ (muscle spasm)
Myofascial pain syndrome
กลุ่มอาการปวดร้าว (referred pain) และ/หรืออาการของระบบประสาทอิสระ (autonomic symptoms) อันเนื่องมาจาก myofascial trigger point(s) (TrP) ของกล้ามเนื้อ หรือเยื่อผังผืดโดยจำกัดอยู่บริเวณหนึ่งบริเวณใด (regional pain) ของร่างกาย
อาการเด่น
ปวดร้าวเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย (regional pain) ความรุนแรงมีได้ตั้งแต่ปวดเล็กน้อย เพียงรำคาญจนถึงปวดรุนแรงทรมานอย่างมาก TrP ของกล้ามเนื้อแต่ละมัดจะมีลักษณะแบบแผน การปวดร้าวที่เฉพาะตัวซึ่งมีความสำคัญในการช่วยค้นหาว่าอาการปวดเกิดจาก TrP ของกล้ามเนื้อมัดใด
อาการของระบบประสาทอิสระซึงพบร่วมได้บ่อยเช่น ซ่า วูบ เย็น เหน็บ หนา หรืออาการแสดง เช่น ซีด ขนลุก เหงื่อออกตามบริเวณที่มีอาการปวดร้าว ส่วน TrP บริเวณคออาจมีอาการมึนงง หูอื้อ ตาพร่าได้
-
-
Musculotendinous Strain
สาเหตุ
มักเกิดจากการทำงานก้ม ๆ เงย ๆ ยกของหนัก นั่ง ยืน นอน หรือยกของในท่าที่ไม่ถูกต้อง ใส่รองเท้าส้นสูงมากเกินไป หรือนอนที่นอนนุ่มเกินไป ทำให้เกิดแรงกดตรงกล้ามเนื้อสันหลังส่วนล่าง ซึ่งจะมีอาการเกร็งตัว ทำให้เกิดอาการปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง คนที่อ้วน หรือหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ก็อาจมีอาการปวดหลังได้เช่นกัน
ความผิดปกติของกระดูกสันหลังโดยกำเนิด เช่น กระดูกและข้อต่ออาจจะผิดรูป หรือมีการเชื่อมต่อ หรือไม่เชื่อมต่อเป็นบางจุด ทำให้เกิดความไม่สมดุลของกระดูกสันหลัง
การบาดเจ็บต่อสันหลัง การ ปวดหลังจากการยกของหนัก หรือภายหลังอุบัติเหตุ อาจจะเป็นเพียงหลังยอก หรือกล้ามเนื้อมีการยืดหรือฉีกขาด ซึ่งสามารถหายได้เอง แต่ในบางรายอาจเกิดจากกระดูกมีการหักทรุดหรือเคลื่อน ซึ่งจำเป็นต้องใช้ภาพรังสีในการตรวจวินิจฉัย
การรักษา
การรักษาแบบอนุรักษ์ คือ การรักษาโดยการไม่ผ่่าตัด ซึ่งได้ผลมากกว่าร้อยละ 90 การรักษาโดยวิธีนี้ เริ่มตั้งแต่การแนะนำและให้ความรู้ เพื่อให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยง สาเหตุที่เป็นอันตรายต่อกระดูกสันหลัง การนอนพัก การให้ยาลดการอักเสบ การให้ความร้อนเฉพาะที่ การบริหาร และการออกกำลังกาย การใส่เสื้อเกราะ เป็นต้น
กลุ่มอาการปวดจากปมกล้ามเนื้อหดตัวซึ่งเป็นบริเวณที่ขาดเลือดไปเลี้ยงและแสดงอาการปวดออกมาเฉพาะแบบตามแต่กล้ามเนื้อนั้นๆ และทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการชา รวมถึงระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ เช่น เวียนศีรษะ ตาพร่ามัว ตาแดง น้ำตาไหล