Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัด การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย -…
การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัด
การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การประเมินผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การซักประวัติ
ประวัติโรคประจำตัว
ประวัติการผ่าตัด และการได้รับยาระงับความรู้สึกก่อนหน้า
ประวัติการแพ้ยาหรืออาหาร
การใช้ยา สารเสพติด การสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
ประวัติของคนในครอบครัวหรือญาติที่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้รับยาระงับ ความรู้สึก ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคทางพันธุกรรมที่มีผลต่อการได้รับยาระงับความรู้สึก
ประวัติเกี่ยวกับโรคของระบบต่างๆ ของร่างกาย
การตรวจร่างกาย
1) สัญญาณชีพ
2) การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
3) การตรวจประเมินทางระบบหายใจ
4) การตรวจร่างกายตามระบบ
การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ข้อบ่งชี้ของการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษอื่นๆ
ข้อแนะนำการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Screening tests)
การเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การเตรียมผู้ป่วย
ด้านร่างกาย
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ระบบทางเดินหายใจ
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ประเมินความสมบูรณ์ของร่างกาย
ในการได้รับอาหารที่พอเหมาะ
ภาวะสารน้ำและอีเล็คโทรลัยต์ในร่างกาย
การพักผ่อนและการออกกำลังกาย
ให้คำแนะนพและข้อมูลต่างๆ ที่ผู้ป่วยควรทราบเพื่อลดความวิตกกังวล
ด้านจิตใจ ผู้ป่วยและครอบครัวส่วนใหญ่จะมีความวิตกกังวลเมื่อรู้ว่าตนเอง หรือบุคคลในครอบครัวต้องผ่าตัด
ดังนั้น ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ควรได้รับการเตรียมทางจิตใจทุกคน
การให้คำแนะนำการปฏิบัติหลังผ่าตัด
Early ambulation ยกเว้นมีข้อห้ามหรือการผ่าตัดบางอย่างที่ต้องให้ผู้ป่วย Absolute bed rest ก่อนลุกจากเตียงควรมีการเตรียมพร้อมกล้ามเนื้อขา
Quadriceps Setting Exercise (QSE)
เป็นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อ
ต้นขา (Quadriceps muscle) ซึ่งมี 4 มัด
Straight Leg Raising Exercise (SLRE) เป็นการออกกำลังขา ข้อสะโพก และกล้ามเนื้อต้นขาแบบยกขาขึ้นตรงๆ โดยการนอนราบยกขาข้างที่ไม่ใช้อุปกรณ์ขึ้นตรงๆ
Range of Motion (ROM) เป็นการออกกำลังข้อโดยมีการเคลื่อนไหวใน ทุกทิศทางปกติของข้อต่างๆซึ่งร่างกายของคนมีส่วนเคลื่อนไหวหลักๆ อยู่ 6 แห่ง
Deep-breathing exercises โดยจัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนหงายศีรษะสูง วางมือทั้ง 2 ข้างบนหน้าอกส่วนล่าง แล้วให้กำมือหลวมๆ ให้นิ้วมือสัมผัสกับหน้าอกเพื่อจะได้รู้สึกการ เคลื่อนไหวของปอดให้หายใจเข้ายาวๆ ลึกๆ ทั้งทางจมูกและปาก เพื่อปอดจะได้ขยายเต็มที่
Effective cough โดย จัดให้ผู้ปุวยอยู่ในท่านั่งเอนไปข้างหน้าเล็กน้อย ให้ผู้ปุวยประสานมือทั้ง 2 ข้าง และกดเบาๆ เหนือบริเวณที่คิดว่าจะมีแผลผ่าตัด
Abdominal breathing ให้หายใจเข้าออกโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องแทนทรวงอก เพื่อให้ทรวงอกเคลื่อนไหว
น้อยลงในระยะแรกหลังผ่าตัด ทา 8-10 ครั้ง ทุก 2 ชั่วโมง
Turning and ambulation ควรทำทุก 2 ช.ม.
Extremity exerciseให้ผู้ป่วยนอนในท่าหัวสูงเล็กน้อยหรือนอนในท่าที่ สบายทำการออกกำลังแขนหรือขาทีละข้างโดยเฉพาะการเหยียดออกและงอเข้าของทุกข้อ
Pain management หลังผ่าตัดผู้ปุวยจะได้รับการระงับความเจ็บปวดด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง
การเตรียมผู้ป่วยก่อนวันที่ผ่าตัด มีดังนี้
อาหารและน้ำดื่ม ควรงดอาหารผู้ป่วยก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง สำหรับอาหารเหลวใสให้ได้ 6 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
การขับถ่าย ถ้าเป็นการผ่าตัดเล็ก หรือการผ่าตัดที่ไม่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในช่องท้อง แพทย์อาจให้สวนอุจจาระหรือไม่ก็ได้ หรือให้รับประทานยาระบายก่อนวันผ่าตัด
การเตรียมผิวหนังก่อนผ่าตัด เนื่องจากผิวหนังเป็นแหล่งที่มีเชื้อจุลินทรีย์อาศัยอยู่มาก เพราะเป็นบริเวณที่กว้าง
การเตรียมผิวหนังก่อนผ่าตัด
บริเวณศีรษะ โกนผมบริเวณศีรษะออก เช็ดใบหู และทำความสะอาดช่องหู ภายนอกด้วยไม้พันสาลีที่ปราศจากเชื้อ เตรียมบริเวณลงมาถึงแนวกระดูกไหปลาร้าทั้งหน้าและหลังไม่ ต้องเตรียมบริเวณใบหน้า
บริเวณหูและปุ่มกระดูกมาสตอยด์ให้ เตรียมบริเวณกว้างเป็นวงรอบออกไป
จากหูประมาณ 1 – 2 นิ้ว โกนขนอ่อน ที่ใบหูด้วย
บริเวณคอ เช่น ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ เป็นต้น เตรียมบริเวณจากใต้คางลงมาถึง ระดับราวหัวนม และจากหัวไหล่ข้างขวาถึงข้างซ้าย
บริเวณทรวงอก เช่น ผ่าตัดเต้านม เป็นต้น เตรียมด้านหน้าจากคอตอนบน จนถึงระดับสะดือจากแนวยาวของหัวนมข้างที่ไม่ได้ทำผ่าตัดไปจนถึงกึ่งกลางหลังของข้างที่ทำและขนอ่อนของต้นแขนจนถึงต่ากว่าข้อศอก 1 นิ้ว
บริเวณช่องท้อง เช่น ผ่าตัดท่อน้ำดี ถุงน้ำดีกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ผ่าตัดคลอดเด็กทางหน้าท้อง (C/S) เป็นต้น เตรียมตั้งแต่ระดับรักแร้ลงมาถึงฝีเย็บ
บริเวณท้องต่ำกว่าสะดือ เช่น ไส้ติ่ง ไส้เลื่อน เป็นต้น เตรียมบริเวณตั้งแต่ ระดับราวนมลงมาถึงต้นขา รวมทั้งบริเวณฝีเย็บด้วย
ไต เตรียมด้านหน้าจากบริเวณรักแร้จนถึงบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และต้นขา ทั้ง 2 ข้าง ด้านข้างจากรักแร้ถึงตะโพก ด้านหลังจากแนวกึ่งกลางลำตัวด้านหน้าอ้อมไปจนถึงกระดูกสันหลัง ซีกของ ไตข้างที่จะทำการผ่าตัดนั้น
บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก เช่น ทวารหนัก ช่องคลอด ต่อมลูกหมาก เป็นต้น เตรียมตั้งแต่ระดับสะดือ ลงมาถึงฝีเย็บ และด้านในของต้นขาและก้น
แขน ข้อศอก และมือ เตรียมบริเวณแขนข้างที่จะทาผ่าตัดทั้งด้านหน้าและ ด้านหลัง จากหัวไหล่ถึงปลายนิ้วมือ รวมทั้งโกนขนรักแร้ ตัดเล็บให้สั้นและทาความสะอาดด้วย
สะโพกและต้นขา เตรียมบริเวณจากระดับเอวลงมาถึงระดับต่ากว่า หัวเข่า ข้างที่จะทา 6 นิ้ว ทั้งด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง รวมทั้งเตรียมบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกด้วย
การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
การประเมินสภาพผู้ป่วย
แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
ประวัติโรคหัวใจ โรคปอด เบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่มีก่อนผ่าตัด
การเปลี่ยนแปลงสัญญาณชีพ
แบบแผนอาหารและการเผาผลาญ การประเมินที่สำคัญได้แก่ ประวัติการ ได้รับและสูญเสียสารน้ำและเกลือแร่ ตั้งแต่ก่อนผ่าตัดจนถึงหลังผ่าตัด ชนิดและปริมาณของสารน้ำที่ได้รับ
แบบแผนการขับถ่าย
แบบแผนการรับรู้และการดูแลสุขภาพ ได้แก่ ประเมินความรู้ความเข้าใจ และ การยอมรับในการผ่าตัดที่เกิดขึ้น
แบบแผนการปรับตัวและการเผชิญกับความเครียด ประเมินการรับรู้ และวิธีการ เปลี่ยนแปลงความเครียด
กิจกรรมการพยาบาลหลังผ่าตัด
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการหายใจให้โล่ง และคงไว้ซึ่งการทำงานระบบหายใจ ภายหลังการผ่าตัดระยะแรกภาวะพร่องออกซิเจนเป็นภาวะที่พบได้บ่อย
การจัดท่านอน
สังเกตการหายใจของผู้ป่วย
กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆ และไออย่างมีประสิทธิ
เปลี่ยนท่านอนหรือพลิกตะแคงตัวบ่อยๆ
กระตุ้นให้ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
สังเกตอาการบ่งชี้ภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการทำงานของระบบหัวใจและไหลเวียน ปัญหาด้าน ระบบไหลเวียนที่พบบ่อยหลังผ่าตัด
ตรวจวัดสัญญาณชีพทุก15 นาที 4 ครั้ง ทุก 30 นาที 4 ครั้ง
สังเกตลักษณะบาดแผลและปริมาณสิ่งคัดหลั่งต่างๆที่ออกจากร่างกายผู้ป่วย
ดูแลให้ได้รับสารน้ำ เลือด หรือพลาสมาทดแทนทางหลอดเลือดดำ
ควรให้ผู้ป่วยนอนพักนิ่งๆในบริเวณที่มีเลือดออกมากๆ
เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นให้พร้อมในรายที่มีภาวะช็อก
สังเกต บันทึก และติดตามผลการตรวจคลื่นหัวใจโดยเฉพาะในรายที่มีการเต้น หัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจตายหลังผ่าตัด
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนทั้งร่างกาย และจิตใจ
การพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด โดยพยาบาลประเมิน ความเจ็บปวดของผู้ป่วยโดยใช้ Pain scale ดูและให้ได้รับยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ป่วย
กระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกออกจากเตียง
ดูแลให้ได้รับสารอาหารและพลังงานอย่างเพียงพอ
สังเกตและบันทึกอาการเปลี่ยนแปลงที่บ่งชี้ถึงการย่อยและดูดซึมอาหาร
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย
การช่วยเหลือผู้ป่วยเคลื่อนไหวบนเตียง
การประเมินผู้ป่วย พยาบาลจะให้การช่วยเหลือผู้ป่วยนั้นควรทราบข้อมูลต่างๆ
ปฏิบัติการพยาบาลในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยบนเตียง
การเตรียมผู้ป่วย ให้เอาหมอนหนุนศีรษะของผู้ป่วยออก วางหมอนไว้ที่พนัก หัวเตียง ปรับระดับเตียงให้อยู่ในแนวราบพร้อมทั้งดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วย
การเตรียมตัวพยาบาล พยาบาลควรยืนในท่าที่ถูกต้อง พยุงผู้ป่วยด้วยความ นุ่มนวลและมั่นคง ขณะยกตัวหรือเลื่อนตัวผู้ปุวย
การจัดท่าผู้ป่วย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความสุขสบายขณะนอนพักบนเตียงหรือเตรียมทำหัตถการ
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
หลักการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
1) ควรจัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายราบอยู่ในท่าที่สบาย
2) หันหน้าเข้าหาผู้ป่วยและไปในทิศทางที่จะเคลื่อนย้าย
3) ควรยืนในท่าที่ถูกต้องและมั่นคง
4) ยืนแยกเท้าทั้งข้างห่างกันพอสมควร
5) หลังตรง ป้องกันการปวดหลัง
6) ย่อเข่าและสะโพก
7) หาวิธีที่เหมาะสมเพื่อผ่อนแรงในการยก
8) ผู้ปุวยควรอยู่ใกล้พยาบาลมากที่สุด
9) ยกตัวผู้ปุวยให้พ้นจากที่นอนเล็กน้อยเพื่อลดแรงเสียดทาน
10) ใช้ผ้าขวางเตียงช่วยในการเคลื่อนย้ายผู้ปุวยแทนการเลื่อนผู้ปุวย
11) ให้สัญญาณเพื่อความพร้อมเพรียง
12) ผู้ปุวยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ควรหาผู้ช่วยเหลือตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
การประเมินผู้ป่วยก่อนการเคลื่อนย้าย
3) ส่วนที่อ่อนแรงหรือพิการ
4) ความมั่นคงในการคงท่าของผู้ป่วย
5) ส่วนที่จำเป็นต้องให้อยู่นิ่งๆ
6) ผู้ป่วยอ่อนเพลียมากน้อยแค่ไหน
7) ความต้องการการเคลื่อนย้ายเปลี่ยนท่า
1) ความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง
2) ท่าที่เป็นข้อห้ามของผู้ป่วย
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดิน
การออกกาลังกายเพื่อเตรียมผู้ป่วยเดิน
การออกกำลังกายให้ผู้ป่วยนั้นเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยให้กล้ามเนื้อมีความตึงตัว แข็งแรง และข้อเคลื่อนที่ได้ตามปกติ เนื่องจากการเดินต้องใช้ตะโพกและขามาก ที่สุดและข้อที่จะเคลื่อนไหวได้ต้องอาศัยการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อตะโพก ต้นขา และปลายขา จึงต้องมี การออกกาลังกายกล้ามเนื้อเหล่านี้ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะเดิน และการออกกาลังกายนั้นต้องไม่ทำให้ ผู้ป่วยเหนื่อย ควรทำแต่ละชนิด 3 ครั้ง และให้ทำวันละ 2 – 3 ครั้ง
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดิน
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินโดยพยาบาล 1 คน
กรณีใช้เข็มขัดหรือผ้าคาดเอวเมื่อช่วยผู้ป่วยลงจากเตียงแล้ว พยาบาลยืนเยื้องด้านหลังผู้ป่วยใช้มือ 2 ข้างยืดเข็มขัดหรือผ้าคาดเอวเพื่อพยุงผู้ปุวย
กรณีไม่ใช้เข็มขัด ให้ใช้มือด้านใกล้ตัวจับที่ต้นแขนของผู้ป่วย มือไกลตัว จับที่ปลายแขนของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยเป็นลมให้สอดแขนเข้าใต้รักแร้รับน้ำหนักตัวผู้ป่วยและแยกเท้ากว้าง ดึงตัวผู้ป่วยขึ้นมาข้างตัวพยาบาลโดยใช้ สะโพกรับน้าหนักตัวผู้ป่วย และค่อยๆ วางตัวผู้ป่วยลงบนพื้น
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินโดยพยาบาล 2 คน
ให้พยาบาลยืนข้างผู้ป่วยคน ละด้าน มือพยาบาลข้างใกล้ตัวผู้ป่วยสอดใต้รักแร้ผู้ป่วย อีกข้างหนึ่งจับปลายแขนหรือมือผู้ป่วยข้างเดิม ผู้ป่วยและพยาบาลทั้ง 2 คนเดินพร้อมกัน ถ้าผู้ป่วยเป็นลมพยาบาลทั้ง 2 คนเลื่อนมือข้างที่พยุงใต้รักแร้ไปข้างหน้าให้ลำแขนสอดอยู่ใต้รักแร้น้ำหนักตัวผู้ป่วยไว้พร้อมกับใช้สะโพกยันผู้ป่วยไว้แล้วค่อย ๆ พยุงผู้ป่วย
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดิน
ชนิดของอปุกรณ์ช่วยเดิน
Parallel bar = ราวคู่ขนาน ราวเดิน
Walker หรือ Pick – up frames เหมาะสาหรับผู้ป่วยที่มีอายุมากและการทรงตัวไม่ดีนัก
Cane เป็นการเดินด้วยไม้เท้าอันเดียว ผู้ป่วยต้องมีมั่นคงในการเดิน มักใช้กับผู้สูงอายุ
Crutches ( ไม้ยันรักแร้ , ไม้ค้ำยัน )
ประโยชน์ของอุปกรณ์ช่วยเดิน
1) ช่วยแบ่งเบาหรือรับน้ำหนักแทนขา1หรือ 2
ข้างเมื่อมีข้อห้ามในการ
รับน้ำหนักเต็มทั้งขา (Partial weight bearing) ข้างนั้น
2) ช่วยแบ่งเบาหรือรับน้ำหนักแทนขา 1 หรือ 2 ข้าง เมื่อมีข้อห้ามหรือมีการอ่อนแรงจนขาไม่สามารถรับน้าหนักได้
3)เพิ่มการพยุงตัว(Support)เพื่อให้สามารถทรงตัวได้(Balance)
การเตรียมผู้ปุวยก่อนการฝึกใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
1) การฝึกความแข็งแรง (Strength) ความทนทาน (Endurance) และการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อ (Co – ordination) ที่ใช้ในการเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดิน
2) การฝึกในท่าตั้งตรง (Upright) บนเตียงหรือเบาะ เช่น การฝึกการทรงตัวในท่านั่ง
3) การฝึกในราวคู่ขนาน เช่น ฝึกยืน ฝึกทรงตัว ฝึกท่าทางการเดิน
การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวร่างกาย
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายชนิดให้ผู้ป่วยทำเอง (Active or Isotonic Exercise) ผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายด้วยตนเอง
การออกกาลังกายโดยให้ผู้อื่นทำให้ผู้ป่วย (Passive exercise) เป็นการออกกำลังกายโดยการเคลื่อนไหวข้อต่างๆให้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายด้วยตนเองได้หรือมี ข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว
การออกกาลังกายชนิดที่ให้ผู้ป่วยทำร่วมกับความช่วยเหลือของผู้อื่น (Active assistive exercise) วิธีนี้ให้ผลดีกว่าวิธีที่ให้ผู้อื่นทำให้ผู้ป่วย
การออกกาลังกายโดยให้กล้ามเนื้อทางานแต่ข้อไม่เคลื่อน (Isometric or Static exercise) เพื่อเพิ่มความตึงตัวและแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
การออกกำลังกายให้ผู้ป่วยออกแรงต้านกับแรงอื่น (Resistive exercise) เป็น การใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ให้ผู้ป่วยออกแรงต้าน
การเคลื่อนไหวร่างกาย
การเคลื่อนไหวของร่างกาย หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายใดๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะในบ้าน ที่ทำงานหรือแม้แต่สันทนาการใดๆเช่นการออกกำลังกายการเข้าร่วมเล่นกีฬา
การเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้องทำให้เกิดผลดีต่อร่างกาย
ป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย หรือมีความพิการของกระดูก และกล้ามเนื้อ
ลดการเมื่อยล้า หรือการใช้พลังงานมากเกินไป
ส่งเสริมและสนับสนุนการทางานของร่างกายให้เป็นไปตามปกติ
ผลกระทบจากการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
ระบบผิวหนัง ผิวหนังเสียหน้าที่ทำให้เกิดแผลกดทับ (Bed sore or Pressure sore or Decubitus ulcer) พบในผู้ป่วยสูงอายุ
เกิดแรงกดทับ (Pressure)
เซลล์ตายและลุกลามกลายเป็นแผล
การเสียดทาน (Friction)
แรงดึงรั้ง (Shearing force)
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
กระดูกผุ เปราะบาง (Osteoporosis) พบบ่อยที่กระดูกขา ตัวกระดูกสัน หลัง และกระดูกเท้า เนื่องจากมีการสลายตัวมากกว่าการสร้างกระดูก
การประสานงานของกล้ามเนื้อแขนขาลดลงหรือไม่สัมพันธ์กัน
กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลีบเล็ก (Muscle atrophy) การที่ใยกล้ามเนื้อไม่มีการ หดหรือหดตัว ทำให้ขาดความตึงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง
อาการปวดหลัง (Back pain) เกิดการท่านอนที่ไม่ถูกต้อง ศีรษะนอนหนุน หมอนสูงเกินไป ที่นอนนิ่มเกินไป แข็งเกินไป ทาให้ไม่สุขสบาย ปวดหลัง
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
หัวใจทำงานมากขึ้น จากการอยู่ในท่านอนทำให้ปริมาณเลือดกลับเข้าสู่หัวใจมากกว่าปกติ
มีการคั่งของเลือดในหลอดเลือดดำที่ขา เนื่องจากการที่กล้ามเนื้อคลายตัว หรืออ่อนแรงทำให้เกิดเลือดคั่งในหลอดเลือดที่ขา
เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ(Thrombus) เนื่องจากมีการคั่งของหลอดเลือดดำและการสลายตัวของกระดูกทำให้แคลเซียมในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นมีการแข็งตัวของเลือดเพิ่มขึ้น
ความดันต่าขณะเปลี่ยนท่า (Orthostatic Hypotension) พบในการ เปลี่ยนท่าจากท่านอนเป็นท่านั่งหรือยืน จะมีอาการวิงเวียน เป็นลม หน้ามืด เนื่องจากระบบไหลเวียนที่ ตอบสนองการเปลี่ยนท่าเสื่อมลง
ระบบทางเดินหายใจ
ปอดขยายตัวลดลง (Decrease lung expansion) เนื่องจากการนอนหงาย ทาให้แรงกดด้านหน้า ด้านล่างจากน้าหนักของทรวงอกที่กดลงบนที่นอนและอวัยวะในช่องท้อง
ระบบทางเดินอาหาร
มีผลต่อการรับประทานอาหารทำให้เบื่ออาหารอ่อนเพลีย
มีผลต่อการขับถ่าย ทำให้ท้องผูก (Constipation) เนื่องจากการบีบตัวของ ลำไส้ลดลงจากการหลั่ง Adrenaline ลดลง
ระบบทางเดินปัสสาวะ
การถ่ายปัสสาวะมากกว่าปกติในระยะแรกๆ (Diuresis)
เกิดนิ่วในไตและกระเพาะปัสสาวะ (Renal Calculi)
มีการคั่งของปัสสาวะในไตและกระเพาะปัสสาวะ (Urinary stasis)