Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทักษะทางภาษาเพื่อการสื่อสาร - Coggle Diagram
ทักษะทางภาษาเพื่อการสื่อสาร
การฟัง
ความหมายและความสำคัญ
การฟังเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งของการรับสาร (Inputting) ซึ่งนับว่าเป็นทักษะที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นทักษะที่มนุษย์ต้องใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่าทักษะด้านอื่น ๆ การฟังเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้การสื่อสารประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวก็ได้ การฟังเป็นทักษะทางภาษาที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ มนุษย์รู้จักรับฟังมาตั้งแต่รับรู้สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ การฟังเป็นส่วนสำคัญของการพูด เพราะถ้าฟังผิดจะมีผลที่ไม่ดีเกิดขึ้นในการนำไปถ่ายทอดต่อ หากทักษะการฟังบกพร่องก็จะทำให้การใช้ทักษะด้านอื่นบกพร่องด้วย
กระบวนการฟัง
1.
การได้ยินเสียงที่มากระทบโสตประสาท
(Hearing)
2.
การมีสมาธิต่อสิ่งที่เราได้ยินนั้น
(Concentration)
3.
การเข้าใจสิ่งที่ได้ยิน
(Comprehension)
4.
การตีความสิ่งที่ได้ยิน
(Interpretation)
5.
การตอบสนอง
(Reaction)
จุดมุ่งหมายของการฟัง
การฟังเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์
การฟังเพื่อสังคม
ประโยชน์ของการฟัง
1.ประโยชน์ต่อตนเอง
1. การฟังที่ดีเป็นพฤติกรรมของผู้มีมารยาทในการเข้าสังคม
ผู้ฟังที่ดีควรให้เกียรติผู้พูด รู้จักรับฟังและรักษากิริยาให้สงบเรียบร้อยในขณะฟัง การฟังจึงเป็นพฤติกรรมที่ช่วยสร้างบรรยากาศของความเป็นมิตร ทำให้เกิดความเข้าใจ ยอมรับ และเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
2. การฟังที่ดีทำให้เรารับรู้เรื่องราวที่ฟังได้โดยตลอด
สามารถเข้าใจข้อความสำคัญของเรื่องที่ฟังและจุดมุ่งหมายของผู้พูด ผู้ฟังจะแสดงปฏิกิริยาตอบสนองคู่สนทนาได้สอดคล้องและตรงประเด็นของหัวข้อสนทนา
3. การฟังที่ดีช่วยพัฒนาสมรรถภาพของการใช้ทักษะภาษาอื่น ๆ
กล่าวคือ ผู้ฟังสามารถเรียนรู้กระบวนการพูดที่ดีของผู้อื่น นับตั้งแต่วิธีการเลือกหัวข้อหรือประเด็นในการพูดการปรับปรุงบุคลิกภาพในการพูด การเลือกใช้ถ้อยคำภาษาหรือสำนวนโวหารได้อย่างเหมาะสมและรัดกุม นอกจากนี้การฟังยังทำให้ผู้ฟังมีความรู้กว้างขวาง มีความมั่นใจในตนเอง กล้าพูด และกล้าแสดงออกมากขึ้น ผู้ฟังจะนำไปพัฒนาสมรรถภาพการอ่าน และการเขียนของตนเองได้อีกด้วย
2. ประโยชน์ต่อสังคม
การฟังที่ดีเป็นกระบวนการสื่อสารที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ในแง่ที่ผู้ฟังสามารถนำความรู้ แง่คิดต่าง ๆ ไปใช้ โดยตัวผู้ฟังเองได้รับผลดีจากการปฏิบัติและสังคมได้ประโยชน์ทางอ้อมบางครั้งหากรัฐต้องการความร่วมมือจากประชาชนในเรื่องบางเรื่อง เช่น การเสียภาษีอากร การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น รัฐก็จะประชาสัมพันธ์แจ้งเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านสื่อ การแจ้งข่าวสารเช่นนี้ทำให้ผู้ฟังรับรู้ข่าวสารและทราบความต้องการของรัฐ ประชาชนก็ย่อมร่วมมือและปฏิบัติตาม ซึ่งผลของการร่วมมือของประชาชนย่อมเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยตรง
มารยาทในการฟัง
1.1 ตั้งใจฟังและแสดงอาการกระตือรือร้นที่จะฟัง
1.2 สายตาจับอยู่ที่ผู้พูดอย่างสนใจ และด้วยความรู้สึกจริงใจ
1.3 แสดงปฏิกิริยาตอบสนองเรื่องที่ฟัง ด้วยกิริยาท่าทาง สีหน้า หรือแววตาเมื่อเกิดความสงสัย เกิดความพึงพอใจ หรือเมื่อเข้าใจในเรื่องนั้น เป็นต้น
1.4 ไม่พูดแทรกกลางคัน พูดขัดคอ หรือพูดขัดจังหวะ
1.5 ไม่แสดงอาการเบื่อหน่าย หงุดหงิด หรือแสดงอาการก้าวร้าวต่าง ๆ
วิธีฝึกฝนและพัฒนาทักษะการฟัง
ทำตัวให้มีความพร้อมที่จะรับฟัง
ฟังอย่างสุภาพและตั้งใจจริง
ขณะฟัง ต้องหมั่นฝึกปฏิบัติให้ได้ตามขั้นตอนการฟัง
พยายามหาประโยชน์จากการฟัง
พยายามจดบันทึกทุกครั้งในขณะที่ฟัง
ปัญหาการจับใจความสำคัญ
ไม่เป็นคนใจแคบ
ฟังให้ครบ
รักษามารยาทในการฟัง
ต้องรู้จักสังเกตอวัจนภาษาของผู้พูด
ทักษะการฟังเชิงรุก
(Active Listening)
คือการฟังที่มีความหมายครอบคลุมทั้งการได้ยินเสียงที่อีกฝ่ายพูด โดยไม่ใช้ประสบการณ์ อคติ หรือความคาดหวังของตนไปตัดสินว่าเรื่องที่ได้ยินนั้นผิดหรือถูก มีการคิดวิเคราะห์แยกแยะ จับประเด็น และทวนกลับเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง รวมถึงการสังเกตอากัปกิริยาอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูด โดยผู้ฟังจะมีสติอยู่กับปัจจุบัน เปิดใจรับฟัง สามารถติดตามเรื่องราว ความคิดและความรู้สึกของผู้พูดได้จนเกิดความเข้าใจ
การอ่าน
ความหมายและความสำคัญ
การอ่านเป็นทักษะประเภทหนึ่งที่มนุษย์ใช้สำหรับสืบค้นและเรียนรู้บรรดาศิลปวิทยาการต่าง ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ความคิดและประสบการณ์ที่นอกเหนือจากการได้รับรู้และสัมผัสได้ด้วยตนเองโดยผู้อ่านต้องแปลความหมายจากตัวอักษร สัญลักษณ์ที่ปรากฏแก่สายตาให้ออกมาเป็นความรู้ ความคิด แล้วผู้อ่านสามารถนำความคิดความเข้าใจที่ได้จากการอ่านนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
กระบวนการการอ่าน
การมองเห็นตัวอักษร สัญลักษณ์ หรือข้อความชัดเจนแล้วเข้าใจ
การเข้าใจความหมายของสาร
การมีปฏิกิริยาต่อสาร
การบูรณาการความคิด
จุดมุ่งหมายของการอ่าน
อ่านเพื่อความรู้
อ่านเพื่อหาคำตอบ
อ่านเพื่อปฏิบัติตาม
4 อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน
ประโยชน์ของการอ่าน
1. ประโยชน์ต่อตนเอง
ก่อให้เกิดความรอบรู้ คืออ่านมากย่อมรู้มาก เพราะการอ่านเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ที่ลงทุนน้อยแต่ได้กำไรมากทำให้เป็นคนทันสมัยอยู่เสมอผู้อ่านมากย่อมสั่งสมประสบการณ์มาก สามารถนำไปแก้ไขสถานการณ์ได้เหมาะสมและทันท่วงที การอ่านยังช่วยให้รับความเพลิดเพลิน สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ได้รับความเพลิดเพลินและจรรโลงใจจากการอ่าน เป็นการพักผ่อนไปในตัว
2. ประโยชน์ต่อสังคม
2.1 ทางด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม การอ่านเป็นกุญแจในการสืบค้น ดำรงไว้ส่งเสริมพัฒนาและประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมทางสังคมและวิทยาการของมวลมนุษยชาติ
2.2 ทางด้านสังคม การอ่านเป็นการสร้างสรรค์ปัจเจกบุคคลให้เกิดความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ให้เกิดการเรียนรู้สังคมและกิจกรรมทางสังคม นำมาซึ่งการรวมกลุ่มสังคมด้วย
2.3 ทางด้านเศรษฐกิจ การอ่านนอกจากจะส่งผลต่ออาชีพและเศรษฐกิจของตนให้ดีขึ้น แล้วยังส่งผลต่อการรวมกลุ่มสู่เศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจทางสังคม
2.4 ด้านประชาธิปไตย การอ่านเป็นปัจจัยพื้นฐานในการนำเสนอความคิดแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ ทั้งโดยตรงและผ่านสื่อมวลชน ด้วยทัศนะที่หลากหลายเป็นที่ยอมรับกันด้วยความรู้ด้วยเหตุผล ทำให้ระบบประชาธิปไตยก่อเกิดและยั่งยืน
2.5 ด้านคุณธรรมและสันติธรรม การเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขวางมองเห็นความเป็นอยู่ ทุกข์ สุข ของเพื่อนมนุษย์ ก่อให้เกิดความเมตตากรุณาต่อกัน ผลที่สุดปรารถนาให้สังคมอยู่กันอย่างสันติ
จุดมุ่งหมายของการอ่าน
เพื่อแสวงหาความรู้
เพื่อแสวงหาความบันเทิง
เพื่อแสวงหาข่าวสารความคิด
เพื่อจุดประสงค์เฉพาะแต่ละครั้ง
เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
เพื่อพัฒนาและปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ
ประเภทของการอ่าน
1. การอ่านอย่างคร่าวๆ
เป็นการอ่านเฉพาะชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง สารบัญ คำนำ หรือเป็นการอ่านเพียงบางตอน การอ่านเพื่อสังเกตเนื้อหา หรือค้นหาหัวข้อที่ต้องการ
2. การอ่านแบบตรวจตรา
เป็นการอ่านอย่างละเอียดในข้อความที่ต้องการรู้ เป็นการอ่านเพื่อเก็บข้อมูลโดยการอ่านหัวข้อที่สนใจหรือเรื่องเดียวกันจากหนังสือหรือบทความหลายๆเล่ม
3. การอ่านแบบศึกษาค้นคว้า
เป็นการอ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วนตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย เพื่อให้รู้เนื้อหาอย่างละเอียดทุกขั้นตอน และทำความเข้าใจแนวคิด เพื่อสรุปสาระสำคัญของเนื้อความทั้งหมด
4. การอ่านเชิงวิเคราะห์
เป็นการอ่านอย่างละเอียดให้ได้ใจความครบถ้วน แล้วพิจารณาใคร่ครวญแยกแยะส่วนประกอบของเรื่องที่อ่าน โดยพิจารณาสาระหรือความหมาย และความสำคัญอย่างไร
5. การอ่านโดยใช้วิจารณญาณ
เป็นการอ่านโดยสอดแทรกการวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อ่านไปด้วย โดยผู้อ่านต้องมีความรู้พื้นฐาน และต้องอาศัยเทคนิคการอ่านทุกวิธีอย่างมีประสิทธิภาพ แล้วจึงเกิดการสรุปประมวลเป็นความคิดรวบยอด สามารถวิพากษ์วิจารณ์อย่างมีเหตุผลและถูกต้อง
การอ่านเชิงวิเคราะห์
ประโยชน์ของการอ่านเชิงวิเคราะห์
ช่วยให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมทั้งหมดของงานเขียนแต่ละชิ้น
ช่วยให้ผู้อ่านเกิดทักษะในการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
ช่วยให้ผู้อ่านเพิ่มประสิทธิภาพการอ่านให้แก่ตนเอง
ช่วยให้ผู้อ่านนำเอาวิธีการและผลจากการอ่านมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต หรือใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ
ความหมาย
การอ่านเชิงวิเคราะห์ หมายถึง การอ่านอย่างละเอียด เพื่อทำความความเข้าใจในเรื่องที่อ่าน สามารถแยกแยะสิ่งที่อ่านได้ว่า ใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร รวมทั้งความหมาย ความสำคัญ องค์ประกอบ และเนื้อหาแต่ละส่วนสัมพันธ์กับส่วนอื่น ๆ อย่างไร นอกจากนี้ยังสามารถแยกข้อเท็จจริง ความคิดเห็น สรุปเรื่องตามแนวคิดของผู้แต่งหรือผู้เขียน
การเขียนเชิงสร้างสรรค์
ความหมาย
การเขียนเชิงสร้างสรรค์ คือ การสื่อความหมาย โดยการเรียบเรียงความรู้ ความคิดและความรู้สึก ตลอดจนประสบการณ์ต่าง ๆ ของผู้เขียนออกมาอย่างอิสระ อาจเป็นเรื่องธรรมดาของคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม หรือเรื่องราวที่ผิดแผกแปลกไปจากธรรมชาติ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสื่อสารระหว่างผู้เขียนกับผู้อื่นให้เข้าใจตรงกัน
ประโยชน์ของการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์
ฝึกทักษะและการพัฒนาการใช้ภาษาในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
ช่วยให้รู้จักวงศัพท์มากขึ้น สามารถเลือกใช้ถ้อยคำ สำนวน วลี ที่ก่อให้เกิดความสนุกสนาน มีชีวิตชีวาแก่ผู้อ่านและก่อให้เกิดความสุขความเพลิดเพลินในการเขียน
รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และยังเป็นการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้เขียน ให้ยอมรับและนับถือตนเอง
ช่วยให้มีความรู้ ความซาบซึ้งในวรรณคดีที่มีคุณค่าต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประสบการณ์สะสมที่นำไปใช้ในโอกาสต่อไป
เป็นงานที่สร้างความสุขสนุกสนาน ท้าทายสำหรับครู เพราะมีการวางแผนหากลวิธีในการสอน ซึ่งเป็นการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของผู้สอน ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในการสอน สร้างความเชื่อมั่นและคุณค่าให้กับผู้สอน
หลักเกณฑ์การสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์
ผลงานที่ถือว่าเกิดจากการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์นั้น สิ่งแรกที่จะต้องคำนึงถึงคือ จะต้องเป็นสิ่งใหม่ที่แตกต่างออกไปจากเดิม หรือมีลักษณะเฉพาะตัว
จะต้องเน้นความคิดแบบอเนกนัย (divergent thinking)
ใช้กลวิธีที่จะกระตุ้นให้เกิดความคิด พัฒนาความคิดของตนเอง และมีอิสระที่จะแสดงความคิดของตนได้อย่างเต็มที่
ก่อนที่จะลงมือเขียนแต่ละครั้งควรจะตั้งจุดมุ่งหมายและสำรวจความคิดของตนเองเสียก่อน
รู้จักเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมให้สัมพันธ์กับความคิดใหม่
6.ในการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์นั้น กระบวนการในการทำงานสำคัญเท่ากับผลงาน
จะต้องจัดสถานการณ์เพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ทั้งสถานการณ์ทางกายและจัดสถานการณ์ทางจิตใจ
การสอนแบบสร้างสรรค์จะประสบผลสำเร็จมากกว่าล้มเหลว
ในการพิจารณาผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ ควรเน้นและชมเชยในเรื่องของความแปลกใหม่ ลักษณะเฉพาะตัว ความคิดริเริ่มและความเป็นตัวของตัวเองในแต่ละคน
ลำดับขั้นในการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์
ขั้นจูงใจ
ขั้นแลกเปลี่ยนความคิดในเรื่องที่สนใจ
ขั้นเขียน
ขั้นแลกเปลี่ยนความคิดจากเรื่องที่เขียน
ขั้นติดตามผลกิจกรรมบางอย่างที่เหมาะสม
การประเมินผลการเขียนเชิงสร้างสรรค์
เกณฑ์ในการพิจารณางานเขียนเชิงสร้างสรรค์ ควรจะพิจารณาในด้านความคิด จินตนาการ ความสามารถในการเรียบเรียงเรื่องและลีลาในการเขียน นอกจากนี้ควรพิจารณาด้านกลไกลในการเขียนอีกด้วย
ทักษะการพูดนำเสนอเชิงวิชาการ
การนำเสนองานเชิงวิชาการ หมายถึง
การนำเสนอเนื้อหาสาระให้แก่บุคคลเป้าหมายให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจ และยอมรับในสาระที่นำเสนอตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ และอาจมีการใช้สื่อต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจ และให้เกิดความชัดเจน และน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
ขั้นตอนการนำเสนอ
การศึกษาข้อมูล
• เรื่องที่จะนำเสนอ
• ผู้รับฟัง
• สถานที่ที่จะนำเสนอ
• เวลาที่จะนำเสนอ
การวางแผนการนำเสนอ
• เนื้อหาการนำเสนอ ควรมีการกำหนดเค้าโครงการนำเสนอ จัดลำดับเนื้อหาก่อนหลัง
• วิธีการนำเสนอ การนำเสนอเชิงวิชาการ จะต้องนำเสนอแบบเป็นทางการ มีแบบแผน ใช้ภาษาวิชาการหรือราชการ
• สื่อและเอกสารการนำเสนอ สื่อจะช่วยให้การนำเสนอมีความสมบูรณ์มากขึ้น
• สถานที่ผู้นำเสนอควรตรวจสอบสถานที่และอุปกรณ์ก่อนนำเสนอ เพื่อจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ต้องการเพิ่มเติมได้ทันท่วงที
• เวลาในการนำเสนอ ผู้ศึกษาควรวางแผนการนำเสนอในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยเลือกวิธีการนำเสนอให้เหมาะสมกับเวลาเสนอเนื้อหาโดยกระชับ
• ตัวผู้นำเสนอ ผู้นำเสนอควรมีการเตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ
การนำเสนอ
เป็นการพูดเพื่อนำเสนอข้อมูลหรือความรู้ แก่ผู้ฟัง ตามแผนที่วางไว้ การนำเสนอจึงต้องการสมาธิและความมั่นใจ อย่างไรก็ตามอาจมีเหตุการณ์ที่ทำให้การนำเสนอสะดุดลง ผู้นำเสนอจึงต้องทำการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้การนำเสนอนั้นลุล่วงด้วยดี
สื่อในการนำเสนอ
1. พลิปชาร์ต(flip chart)
ซึ่งเป็นการเขียนแผนภูมิข้อความ รูปภาพหรืออื่นๆ ลงบนกระดาษขนาดใหญ่ สามารถพลิกไปมาได้ มีข้อดีคือเตรียมง่าย ไม่ต้องใช้ทักษะใดๆ ราคาไม่แพง
2. วีดีทัศน์/ภาพยนตร์(vidios/movies)
รวมถึงสื่ออื่นๆ เช่น VCD DVD เป็นการนำเสนอในลักษณะที่เป็นภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงประกอบ มีข้อดีคือนำเสนอสิ่งที่ภาพนิ่งนำเสนอไม่ได้ สร้างความเพลิดเพลิน เล่นซ้ำได้
3. แผ่นใส (Transparencies)
คือการใช้แผ่นพลาสติกที่มีความใส เขียนทับด้วยปากกาหมึก แล้วฉายบนจอ ข้อดีคือสามารถเขียนภาพหรือร่างเค้าโครงล่วงหน้าได้
4. Microsoft Office PowerPoint
เป็นโปรแกรมการนำเสนอของบริษัทไมโครซอฟท์ โดยการออกแบบ Microsoft Office PowerPoint แต่ละเฟรม ซึ่งการนำเสนอโดยใช้ Microsoft Office PowerPoint เป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน
5. โปสเตอร์(Poster)
โปสเตอร์เป็นสื่อประเภทไม่มีการเคลื่อนไหว ทำด้วยกระดาษแข็งหรือไม้ ปัจจุบันมักใช้ vinyl เนื่องจากมีน้ำหนักเบา และทนทานกว่า การนำเสนอโดยโปสเตอร์มักใช้ในการนำเสนอผลงานวิจัย โดยให้โปสเตอร์ทำหน้าที่บอกรายละเอียดของผลงานวิจัย และมีนักวิจัยมีรออยู่ใกล้ๆ โปสเตอร์เพื่อคอยตอบคำถามหรือให้คำอธิบายเพิ่มเติมแก่ผู้ชม