Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิธีการสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด, image, image, image, image - Coggle…
วิธีการสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด
๑. สันทัสสนา อธิบายให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้ง เหมือนจูงมือไปดูเห็นกับตา
๓. สมุตเตชนา เร้าใจให้แกล้วกล้า บังเกิดกำลังใจ ปลุกให้มีอุตสาหะแข็งขัน มั่นใจว่าจะทำให้สำเร็จได้ ไม่หวั่นระย่อต่อความเหนื่อยยาก
๒. สมาทปนา จูงใจให้เห็นจริงด้วย ชวนให้คล้อยตาม จนต้องยอมรับและนำไปปฏิบัติ
๔. สัมปหังสนา ชโลมใจให้แช่มชื่น ร่าเริง เบิกบาน ฟังไม่เบื่อ และเปี่ยมด้วยความหวัง เพราะมองเห็นคุณประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฏิบัติ
1.1 แจ่มแจ้ง อธิบายแจ่มแจ้งดุจนำมาวางให้ตรงหน้า
1.3 หาญกล้า ทำให้ผู้ฟังเกิดความกล้าหาญ มั่นใจที่จะปฏิบัติตาม
1.4 ร่าเริง ให้ผู้ฟังเกิดฉันทะในการฟัง สนุกสนานไปกับการสอน ไม่เบื่อ
1.2 จูงใจ พูดจูงใจอยากปฏิบัติตามที่สอน
2 ลีลาการสอน
เมื่อมองกว้างๆ การสอนของพระพุทธเจ้าแต่ละครั้ง จะดำเนินไปจนถึงผลสำเร็จ โดยมีคุณลักษณะซึ่งเรียกได้ว่าเป็นลีลาในการสอนดังนี้ (พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต),2544 : 45)
พระพุทธเจ้าทรงสอนพุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือบุคคลทั่วไปทั้งเทวดาและมนุษย์ ตามพระนามที่ได้รับการยกย่องว่า สตฺถา เทวมนุสฺสานํ ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย และมีคำเสริมพระคุณว่า อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ แปลว่า เป็นสารถีฝึกคนได้ไม่มีใครยิ่งกว่า พระนามเหล่านี้ ส่อแสดงความหมายในตัวว่า ปราชญ์และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายเคารพบูชาและยกย่องเทิดทูนพระองค์ในฐานะทรงเป็นนักการสอนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ทรงมีพระปรีชา
สามารถอย่างยอดเยี่ยมในการอบรมสั่งสอน และได้ทรงประสบผลสำเร็จในงานนี้เป็นอย่างดี เนื้อพระธรรมคำสอน หลักการสอน และวิธีการสอนของพระพุทธองค์นั้น ปรากฏอยู่แล้วในพระไตรปิฎก และคัมภีร์อธิบายมีอรรถกถาเป็นต้นแล้ว แต่คัมภีร์เหล่านั้นมีเนื้อหามากมาย มีขนาดใหญ่ การศึกษาวิธีสอนของพระพุทธเจ้าจึงเท่าเป็นการศึกษาวิธีสอนตามหลักพระพุทธศาสตร์และเราอาจจะได้หลักการบางอย่างเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในหลักการศึกษาของเราปัจจุบันได้
1 หลักทั่วไปในการสอน
ในเรื่องหลักทั่วไปของการสอน จากการเรียบเรียงของพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้แบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), 2544 : 33)
วิธีการสอนของพระพุทธเจ้านี้มีผู้ได้ทำการเรียบเรียงไว้หลายท่าน ผู้วิจัยได้สรุปวิธีการสอนของพระพุทธเจ้าโดยการนำเอาหลักที่สามารถเชื่อมโยงกับวิธีการสอนของพระภาวนาวิศาลเถระ (บุญมี โชติปาโล) โดยการศึกษาวิธีการสอนของพระพุทธเจ้าจากการเรียบเรียงของพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), ศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม, วศิน อินทสระ และ พ.ท. ประสาท ทองภักดีจำแนกหลักวิธีการสอนเป็นขั้นตอนดังนี้
1.1เกี่ยวกับเนื้อหาหรือเรื่องที่สอน
สอนจากสิ่งที่รู้เห็นเข้าใจง่ายหรือรู้เห็นเข้าใจอยู่แล้ว ไปหาสิ่งที่เห็นเข้าใจยากหรือยังไม่รู้ไม่เห็นไม่เข้าใจ ตัวอย่างที่เห็นชัด คือ อริยสัจ ซึ่งทรงเริ่มสอนจากความทุกข์ ความเดือดร้อน ปัญหาชีวิตที่คนมองเห็นและประสบการณ์อยู่โดยธรรมดา รู้เห็นประจักษ์กันอยู่ทุกคนแล้ว ต่อจากนั้นจึงสาวหาสาเหตุที่ยากลึกซึ้ง และทางแก้ไขต่อไป
1.2เกี่ยวกับตัวผู้เรียน
รู้ คำนึงถึง และสอนให้เหมาะตามความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น คำนึงถึงจริต 6อันได้แก่ โทสจริต โมหจริต ศรัทธาจริต พุทธิจริต และวิกลจริต (ดูวิสุทธิมรรค ปริเฉทที่ 3) และรู้ระดับความสามารถของบุคคล
1.3เกี่ยวกับตัวการสอน
การสอนนั้น การเริ่มต้นเป็นจุดสำคัญมากอย่างหนึ่ง การเริ่มต้นที่ดีมีส่วนช่วยให้การสอนสำเร็จผลดีเป็นอย่างมาก อย่างน้อยก็เป็นเครื่องดึงความสนใจ และนำเข้าสู่เนื้อหาได้พระพุทธเจ้าทรงมีวิธีเริ่มต้นที่น่าสนใจมาก โดยปกติพระองค์จะไม่ทรงเริ่มสอนด้วยการเข้าสู่เนื้อหา ธรรมทีเดียว แต่จะทรงเริ่มสนทนากับผู้ทรงพบหรือผู้มาเฝ้าด้วยเรื่องที่เขารู้เข้าใจดี หรือสนใจอยู่เช่น เมื่อทรงสนทนากับควานช้าง ก็ทรงเริ่มสนทนาด้วยเรื่องวิธีฝึกช้าง พบชาวนาก็เริ่มสนทนาเรื่อง การทำนา
หลักการสอน