Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้ป่วยประเทศอิรัก - Coggle Diagram
การดูแลผู้ป่วยประเทศอิรัก
ศาสนา
ชาวอิรักส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม 96%
การให้คําแนะนําผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน
1.การให้คําแนะนําเกี่ยวกับอาหารและการวางแผนมื้ออาหาร
ในระหว่างเดือนรอมฎอนผู้ป่วย ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสมดุล ควรรับประทานอาหารที่ปลดปล่อยพลังงานค่อนข้างช้า เช่น ข้าว ข้าวสาลี ถั่ว เป็นต้น รวมทั้งควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ธัญพืช ผักผลไม้ต่าง ๆ ควรหลีกเลี่ยง อาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตและไขมันสูง
2.การออกกําลังกาย
สามารถออกกําลังกายเบา ๆ จนถึงระดับปานกลาง ได้อย่างปลอดภัย แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกําลังกายที่จริงจังหรือรุนแรง ซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ น้ำตาลในเลือดต่ำได้
3.การตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือด
ผู้ป่วยเบาหวานทุกคนที่ถือศีลอดควรมีการเตรียมการ เกี่ยวกับการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือ รู้สึกไม่สบาย
4.การเฝ้าระวังและการจัดการภาวะแทรกซ้อน
หากผู้ป่วยมีอาการเตือน (warming Symptoms) ของภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวการณ์ขาดน้ำ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ควรแนะนําให้ ผู้ป่วยยุติการถือศีลอด เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจนอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
การดูแลผู้ป่วยเบาหวานระหว่างเดือนรอมฎอน
การดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1
ควรได้รับคําแนะนําในการปรับเปลี่ยนชนิดหรือขนาดของอินซูลินให้เหมาะสม เช่น ใช้อินซูลินที่ออกฤทธิ์ยาว (ultralente) วันละ 2 ครั้ง ทุก 12 ชั่วโมง
การดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
Metformin ผู้ป่วยที่รับประทานยา metformin เพียงอย่างเดียว สามารถถือศีลอดได้อย่างปลอดภัย
Acarbose เป็นยาที่ออกฤทธิ์ที่ทางเดินอาหาร และถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อยมาก การ รับประทานยา acarbose ในระหว่างถือศีลอด สามารถรับประทานยาได้ตามมื้ออาหารที่ผู้ป่วยรับประทาน หาก ไม่ได้รับประทานอาหารก็ไม่ต้องรับประทานยา
Sulfonylureas ยากลุ่มนี้มีโอกาสทําให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้มาก โดยเฉพาะที่ออก ฤทธิ์นาน เช่น glibcnclamide ที่ออกฤทธิ์นาน 12-24 ชั่วโมง จึงไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่ถือศีลอด
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลด้วยยาฉีดอินซูลิน
ผู้ป่วยที่ใช้ pre-mired insulins วันละ 2 ครั้ง ควรมีการสลับขนาดและเวลาในการฉีด
ผู้ป่วยที่ใช้อินซูลินที่ออกฤทธิ์ยาวร่วมกับยารับประทาน ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่ำสามารถใช้ ยา repaginide วันละ 3 ครั้ง ร่วมกับอินซูลิน glargine วันละ 1 ครั้ง
การดูแลผู้ป่วยเบาหวานหลังเดือนรอมฎอน
ผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับการตรวจร่างกาย เพื่อติดตามเกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือด ค่า HbAlc น้ำหนักตัว ความดันโลหิต รวมทั้งระดับไขมันในเลือด หรือค่า ทางชีวเคมีอื่นๆ ตามปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละราย และประการสําคัญแพทย์จะต้องมีการพิจารณาปรับเปลี่ยน ขนาดและวิธีการใช้ยาของผู้ป่วยให้กลับสู่สภาวะปกติ โดยอาจจะพิจารณาจากผลการตรวจร่างกายหลังจาก สิ้นสุดการถือศีลอด
แนวทางในการนำทฤษฎีsunrise model ไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล
การประเมิน ข้อมูลจากการประเมินภาวะสุขภาพ 11 แบบแผน
การกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล
มีโอกาสได้รับภาวะแทรกซ้อนจากการรับประทานอาหารเย็นที่มากขึ้นและรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
มีโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากแบบแผนการดำเนินชีวิตตามความเชื่อของตนเองโดยไม่สอดคล้องกับแผนการรักษา
การวางแผนการพยาบาลและการปฏิบัติการพยาบาล
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าผู้ป่วยสามารถนำอาหารมารับประทานเองได้และสามารถรับประทานอาหารตามเวลาของผู้ป่วยได้
แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายและไม่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลสูงมาก เช่น ข้าวกล้อง ถั่วลันเตา สาลี่ แอปเปิล
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแผนการรับประทานอาหารของผู้ป่วยในเดือนรอมฎอนเพื่อปรับเวลาในการให้ยาและขนาดยาให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย
ติดตามประเมินน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยหลังปรับการให้ยาตามแผนการรักษา
การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้ป่วยสามารถบอกเกี่ยวกับอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตได้และบอกให้ผู้ป่วยเปลี่ยนการรับประทานอาหารเช่น เปลี่ยนจากข้าวขาวเป็นนข้าวกล้อง เปลี่ยนจากแอปเปิลแดงเป็นแอปเปิลเขียวแทน