Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พยาธิสภาพ - Coggle Diagram
พยาธิสภาพ
-
การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี
-
-
-
-
-
ภาวะโลหิตจาง (anemia)
เป็นผลมาจากการรับประทานอาหารได้น้อยขาดสารอาหารที่จำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดงและขาดฮอร์โมน erythropoietin ที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงของไขกระดูกทำให้เม็ดเลือดแดงมีจำนวนน้อยลง ภาวะ uremia มีผลทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายและอายุสั้นลง
ภาวะของเสียคั่ง
เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ระยะไตวาย ไตไม่สามารถขับของเสียจากการเผาผลาญออกได้ทำให้ระดับ BUN และ SCr ในเลือดสูงขึ้น มีอาการและอาการแสดงของภาวะ urennia เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย สะอึก กระหายน้ำ ผิวหนังแห้งคัน กล้ามเนื้อกระตุก ง่วงซึม ชัก สับสน ความรู้สึกตัวลดลง เป็นต้น ความรุนแรงของ uremia ยังขึ้นอยู่กับปริมาณโปรตีนที่ร่างกายได้รับและการเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย เพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานด้วย
-
พยาธิสรีรวิทยาพยาธิสรีรวิทยาของโรคไตเรื้อรังมีลักษณะที่มีการเสื่อมลงอย่างช้า ๆ และมีการทำลายของหน่วยไต (neph-ron) ร่วมกับมีการสูญเสียหน้าที่ของไตในขณะที่อัตราการกรองผ่านที่โกลเมอรูลาร์ทั้งหมดลดลงระดับ blood urea nitrogen (BUN) และครีแอตินีนในซีรัมเพิ่มขึ้นหน่วยไตต้องทำหน้าที่ในกรองของเสียอย่างหนักผลที่ตามมาคือโตจะเสียความสามารถในการทำให้ปัสสาวะเข้มข้นได้อย่างเพียงพอซึ่งเป็นอาการแรกที่บ่งบอกถึงภาวะไตเสียหน้าที่และทิบูลจะสูญเสียความสามารถในการดูดซึมอีเล็กโทรไลต์กลับทำให้เกิดผลที่เรียกว่า“ salt wasting” ซึ่งปัสสาวะจะมีโซเดียมจำนวนมากนำไปสู่ภาวะปัสสาวะมาก (polyuria) ในขณะที่ไตถูกทำลายไปมากขึ้นและหน้าที่ของเนฟรอนลดลงอัตราการกรองผ่านของโกลเมอรูลาร์ลดลงมากร่างกายจะไม่สามารถกำจัดน้ำเกลือและของเสียอื่น ๆ ผ่านไตได้เมื่ออัตราการกรองผ่านที่โกลเมอรูลาร์ลดลงต่ำกว่า 10 มิลลิลิตร / นาทีก็จะปรากฏอาการทางคลินิกของยูรีเมียร่างกายจะมีสิ่งเป็นพิษมากขึ้นจนเป็นอันตรายต่อชีวิต
พบจากการตรวจเลือดโดยพบว่ามีระดับครีแอตินีนและบียูเอ็นสูงเนื้อไตทั้ง 2 ข้างถูกทำลายจนทำหน้าที่ได้น้อยกว่าร้อยละ 15 ของเตปกติโดยจะสังเกตว่ามีปัสสาวะออกมากและปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียเหนื่อยง่ายเบื่ออาหารคลื่นไส้อาเจียนท้องเดินบ่อยนอนไม่หลับปวดศีรษะขาดสมาธิตามัวผิวหนังแห้งและมีสีคล้ำคันตามผิวหนังชาตามปลายมือปลายเท้าบางรายอาจมีอาการหอบเหนื่อยสะอึกเป็นตะคริวใจหวิวใจสั่นเจ็บหน้าอกบวมหรือมีเลือดออกตามผิวหนังเป็นจุดแดงล้ำเขียวหรืออาเจียนเป็นเลือดถ่ายเป็นเลือดเมื่อเป็นมากขึ้นจะมีอาการปัสสาวะอกน้อยในระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะมีอาการซึม ชัก หมดสติ