Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน, แหล่งที่มาของข้อมูล, นางสาวกมเลศ…
การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้
ความหมาย
ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเราทั้งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติละมนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมที่จะช่วยพัฒนานักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและหลากหลาย และยังสามารถทำให้เกิดความโน้มเอียงไปกับสภาพแวดล้อมนั้น เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของตลอดจนมีความภาคภูมิใจที่ได้เข้ามาร่วมเป็นสมาชิก
การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ในชั้นเรียน
ด้านบริหาร คือ การดำเนินการใดๆภายในโรงเรียนให้การปฏิบัติงานสำเร็จด้วยการร่วมมือร่วมใจของบุคลากร เป็นมิตรต่อกัน ยิ้มแย้มแจ่มใส รักใคร่ รักองค์กร
เช่น ครูและบุคลากรมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน,เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นเพื่อปรับปรุง เป็นต้น
ด้านวิชาการ คือ การจัดหลักสูตรการสอน พฤติกรรมการสอนของผู้สอน การใช้สื่อต่างๆในการสอน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนและการสร้างบรรยากาศทางวิชาการ
เช่น จัดให้มีทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตในท้องถิ่น,สอดแทรกคุณธรรม,กิจกรรมนันทนาการ เป็นต้น
ด้านกายภาพ คือ การจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นวัตถุ เป็นรูปธรรมทั้งด้านภูมิทัศน์ อาคารสถานที่ ด้านความปลอดภัย
เช่น ทาสีโรงเรียนให้ดูสดใส,ติดไฟเพิ่มความสว่าง,มีรั้วเพื่อความปลอดภัย,โต๊ะและเก้าอี้ เป็นต้น
ความสำคัญ
ช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันตามธรรมชาติของรายวิชานั้นๆ
ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ตระหนักในเรื่องของวินัยในชั้นเรียน
ช่วยให้ส่งเสริมสนับสนุนบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในเวลาเรียนปกติและนอกเวลาเรียน
ช่วยป้องกันสิ่งรบกวนที่เป็นสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อการเรียนการสอนและการทำกิจกรรมต่างๆของผู้เรียน
ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความอบอุ่นในขณะอยู่ในชั้นเรียนและมีความสุขในขณะที่มีการเรียนการสอน
การจัดการชั้นเรียน
ความหมาย
กระบวนการในด้านการจัดเตรียมสภาพห้องเรียน วัสดุอุปกรณ์ และกิจกรรม รวมทั้งวิธีการในการจัดการพฤติกรรมของเด็ก เพื่อรักษาบรรยากาศในชั้นเรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น เด็กเกิดความร่วมมือในกิจกรรมการเรียนรู้
การใช้จิตวิทยาในการจัดการชั้นเรียน
การเสริมแรง (Reinforcement)
1.การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement )
เป็นการให้สิ่งเสริมแรงที่บุคคลพึงพอใจ มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น เช่น นักเรียนที่ทำการบ้านส่งตรงเวลาแล้วได้รับคำชม จะทำการบ้านส่งตรงเวลาสม่ำเสมอ
2.การเสริมแรงทางลบ(Negative Reinforcement)
เป็นการนำเอาสิ่งที่บุคคลไม่พึงพอใจออกไป มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น เช่น นักเรียนที่ทำรายงานส่งตามกำหนดเวลาจะไม่เกิดความวิตกอีกต่อไป ดังนั้นในครั้งต่อไปเขาก็จะรีบทำรายงานให้เสร็จตรงตามเวลา
การลงโทษ (Punishment)
2.การแก้ไขให้ถูกต้องเกินกว่าความผิด(Over correction)
3.การไม่ใส่ใจพฤติกรรมที่ไม่ถึงประสงค์(igorne)
1.การใช้เวลานอก(Timeout)
ความสำคัญ
เป็นการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน เพื่อกระตุ้น ส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้และสร้างเสริมผู้เรียนในด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคมได้เป็นอย่างดี รวมถึงการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของผู้เรียนโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุผลตามเป้าหมายของการศึกษา
แหล่งที่มาของข้อมูล
https://wiratyasorn.wordpress.com
สื่อการนำเสนอของผู้สอน
ตัวอย่างการนำเสนอจากเพื่อนแต่ละกลุ่ม
https://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/04.html
นางสาวกมเลศ โพธิ์ทอง 6110601632