Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มารดาหลังคลอด, การพยาบาล, กิจกรรมการพยาบาล, การพยาบาล, กิจกรรมการพยาบาล,…
มารดาหลังคลอด
สุขภาพร่างกาย
สัญญาณชีพ
BP = 120/88 mmHg อยู่ในระดับปกติ (ค่าปกติ Systolic = 90-140 mmHg ) , (Diastolic = 60-90 mmHg )
ความดันโลหิต ควรอยู่ในเกณฑ์ปกติหากพบว่าความดันโลหิตสูงกว่าปกติ อาจจะเกิดจากภาวะครรภ์เป็นพิษที่พบได้ภายหลังคลอด หากความดันโลหิตต่ำกว่าปกติ อาจเกิดจากภาวะเลือดออกมากผิดปกติหรือการได้รับสารน้ำไม่เพียงพอ
2.PR = 100 bpm อยู่ในระดับปกติ ( 60-100 ) ในช่วงแรกอัตราเต้นของชีพจรอาจช้ากว่าปกติเล็กน้อย เนื่องจากมีการเพิ่มของ Cardiac output และ stroke volume ประมาณสัปดาห์ที่ 8 ถึง 10 หลังคลอด อัตราการเต้นของชีพจรจะเท่ากับก่อนตั้งครรภ์ หลังคลอดควรเต้นในอัตราปกติ หากพบว่ามีการเต้นเร็วกว่าปกติต้องหาสาเหตุ เช่น ระยะแรกของภาวะภาวะช็อคจากเลือดออกมากผิดปกติ ปวดแผลฝีเย็บหรือการได้รับสารน้ำไม่เพียงพอ
3.RR = 18 ครั้ง/นาที อยู่ในระดับปกติ (ค่าปกติ 16-20 )
อาจจะช้าลงเล็กน้อยจากการลดขนาดของมดลูก มีผลทำให้กระบังลมเคลื่อนต่ำลง ทำให้ตำแหน่งของหัวใจ อัตราการหายใจกลับเข้าสู่ภาวะปกติเท่ากับก่อนตั้งครรภ์ในช่วงสัปดาห์ที่ 6 ถึง 8 หลังคลอด
4.BT = 38 องศาเซลเซียส ปกติในระยะหลังคลอด (ค่าปกติ ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส ) ภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด อุณหภูมิอาจสูงขึ้นเล็กน้อยแต่ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส เนื่องจากการสูญเสียน้ำซึ่งมีผลจากการคลอด จะเรียกภาวะนี้ว่า reactionary fever แต่ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 38 องศาเซลเซียสนานเกิน 24 ชั่วโมง แสดงว่าอาจจะมีการติดเชื้อ เช่น เต้านมอักเสบ เยื่อบุมดลูกอักเสบ หรือมีการติดเชื้อที่ฝีเย็บ นอกจากนี้ในระยะ 2-3 วันหลังคลอดอาจมีไข้ต่ำๆ จากการคัดตึงเต้านมที่เรียกว่า milk fever ซึ่งเกิดจาก vascular และ lymphatic engorgement ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงปกติในระยะหลังคลอด
REEDA scale = 2
REEDA scale ซึ่งคะแนนเต็ม 15 คะแนน คะแนน 0 หมายถึง แผลฝีเย็บปกติดี ส่วนคะแนนที่เพิ่มขึ้น หมายถึงแผลฝีเย็บมีความผิดปกติระดับนุนแรงมากขึ้น และจากกรณีศึกษา REEDA scale = 2 คะแนน แปรผล : แผลฝีเย็บบวมข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง 10-20 mm. มีลักษณะผิดปกติ และเฝ้าระวังและสังเกตอาการเพิ่มเติม
เนื่องจากมารดาหลังคลอดมีแผลฝีเย็บบวมเล็กน้อย Reeda scale=2 คะแนน
REEDA scale คะแนนเต็มจะเท่ากับ 15 คะแนน ควรประเมินวันละ 1 ครั้ง โดยมีเกณฑ์ให้คะแนนแต่ละอาการตาม REEDA scale
คือ
R = Redness แผลฝีเย็บมีสีแดงหรือไม่
E = Edema ลักษณะบวมหรือไม่
E = Echymosis ลักษณะช้ำเลือดหรือไม่
D = Discharge มีสิ่งคัดหลั่งจากแผลหรือไม่
A = Approximate ลักษณะขอบแผลฝีเย็บ เย็บเสมอกันหรือไม่
Pain score = 7
12B
1.Background:การประเมินภูมิหลงัของมารดาหลังคลอด มารดารายนี้อายุ 32 ปี คลอดบุตรคนที่ 4 เวลา 10.00 น. มี Estimate blood loss 300 ml
Body condition : การประเมินสภาวะทั่วไปของมารดาหลังคลอด มีสีหน้าอ่อนเพลีย
Body temperature and blood pressure : ประเมินสัญญาณชีพหลังคลอด BP=120/80 mmHg PR=100 bpm RR=1 8 bpm BT=38 C
Breast and lactation : การประเมินหัวนมและการหลั่งน้ำนม
วันที่ 3 หลังคลอด เห็นตุ่มน้ำบริเวณหัวนมข้างขวา มีรอยแตก มีเลือดซึมๆ หนักเต้านม ปริมาณน้ำนมในวันแรกไหล 1-2 หยด และวันที่ 2 ลักษณะน้ำนมสีเหลือง จากการประเมินทารกรายนี้ได้รับนมไม่เพียงพอ เนื่อจากทารกอุจจาระ 1 ครั้ง/วัน
5.Belly and uterus : ประเมินหน้าท้องและมดลูก วันแรกพบลอนนิ่มบริเวณระดับสะดือ 2วันหลังคลอดพบมดลูกกลมแข็งต่ำกว่าระดับสะดือ 1 นิ้ว
6.Bladder:ประเมินการขับถ่ายปัสสาวะ 6 ชั่วโมงหลังคลอดพบว่ายังไม่ถ่ายปัสสาวะ ถ้าหาก 6-8 ชั่วโมงหลังคลอดยังไม่ถ่ายจะพิจารณาสวนปัสสาวะ
Bleeding and lochia : การประเมินลักษณะและปริมาณน้ำคาวปลา 2 วันหลังคลอดมีลักษณะน้ำคาวปลาสีแดงจางๆ
8.Bottom:ประเมินฝีเย็บบริเวณอวัยวะสืบพนัธุ์ภายนอกและทวารหนัก ประมินแผลฝีเย็บพบบวมเล็กน้อย REEDA scale = 2 คะแนน ปวดแผลฝีเย็บ Pain score = 7 คะแนน
Bowel movement : ประเมินการทางานของลำไส้ในระยะ 1-2 วันแรกหลังคลอด มารดาหลังคลอดมักมีอาการท้องอืดและท้องผูกเนื่องจากลำไส้ยังทำงานได้ไม่ดี
10.Blues:ประเมินภาวะด้านจิตสังคมของมารดาหลังคลอด
Bonding and attachment : ประเมินสัมพนั ธภาพระหว่างมารดากับทารกและพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงสัมพันธภาพที่ไม่ดีระหว่างมารดากับทารก
Baby : ประเมินลักษณะทั่วไปของทารก 3 วันหลังคลอด ทารกมีนัยน์ตา สีผิวบริเวณใบหน้าและหน้าอกสีเหลือง ถ่ายอุจจาระ 1 ครั้ง
น้ำนม
กลไกการหลั่งน้ำนม/
Let-down reflex
มารดาได้มีการสร้างและหลั่งน้ำนมแล้ว เนื่องจาก การสร้างและการหลั่งน้ำนมต้องอาศัยฮอร์โมน อยู่ 2 ชนิด คือ Prolactin และ Oxytocin โดยการสร้างฮอร์โมน 2 ชนิดน้ีจะถูกควบคุมจากประสาทสัมผัสของหัวนมข้ึนไปยังสมองส่วน Hypothalamus ท่ีกระตุ้นให้ Pituitary gland สร้างฮอร์โมนไปกระตุ้นการสร้างและการหลั่งของน้ำนม ซึ่งในสถานการณ์น้ีมีการสร้างและหลั่งน้ำนมแล้วเนื่องจากทารกมีการดูดนมและมีน้ำนมไหลออกมา
มารดาบอกว่า “เมื่อทารกดูดนมข้างซ้ายจะมีน้ำนมไหลจากเต้านมขวาด้วย และมีอาการปวดมดลูกขณะทารกดูดนม”
2 วันหลังคลอด
ระยะหลังคลอดจนถึง1-3วันแรก(Colostrum)ประกอบด้วยสารสร้างภูมิต้านทานได้แก่ IgA , Lactoferrin , WBC และ โปรตีน
การกระตุ้นการสร้างน้ำนมของมารดา ดังน้ี
1.การได้รับน้ำและอาหารอย่างเพียงพอต่อการสร้างน้ำนม
2.การนวดและประคบเต้านมดว้ยความร้อนซึ่งจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตส่งเสริมให้น้ำนมไหลเร็วและมีปริมาณมากข้ึน
3.การดูแลช่วยเหลือและให้กำลังใจในการให้นมบุตรมีผลทำให้มารดามีน้ำนมหลั่งเร็วข้ึน
4.เมื่อทารกคลอดออกมาแล้วให้ทารกได้ดูดนมทันทีหลังคลอดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างอย่าต่อเนื่อง และแนะนำการดูนมที่ถูกต้อง
ปัจจัยที่ทำให้น้ำนมหลั่งน้อย
1.ขาดการกระตุ้นเต้านมอย่างถูกต้อง บุตรไม่ได้ดูดนมทันทีหลังคลอด บุตรดูดนมไม่ถูกวิธี ดูดไม่บ่อย ดูดไม่สม่ำเสมอ และไม่เกลี้ยงเต้า เนื่องจากมารดาคิดว่า น้ำนมยังไม่ไหล
2.ความเครียดด้านร่างกายและจิตใจ ทำให้มีการหลั่ง dopamine จาก Hypothalamus ซึ่งเป็นสารยับยั้งการหลั่ง prolactin ส่งผลให้การสร้างน้ำนมลดลง
3.ความเจ็บปวด ความไม่สุขสบาย ความเหนื่อยล้า มีผลยับยั้งการหลั่ง prolactin และ oxytocin ในการกระตุ้นให้น้ำนมไหลเพียงพอได้
ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ดำเนินการตามบันได 10 ขั้น
บันไดขั้นที่ 1 ต้องมีการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง มีนโยบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน โดยสามารถสื่อสารกับบุคลากร และบิดามารดาอย่างเป็นประจำสม่ำเสมอ
บันไดขั้นที่ 2 สนับสนุนบุคลากรให้มีความรู้ สมรรถนะและประสบการณ์ที่เพียงพอในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมเเม่
บันไดขั้นที่ 3 พูดคุยให้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวทราบถึงความสำคัญ และวิธีการบริหารจัดการในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
บันไดขั้นที่ 4 เอื้ออำนวยความสะดวกให้กับมารดาหลังคลอด โดยให้มารดาโอบกอดทารกแบบเนื้อแนบเนื้อ และช่วยเหลือมารดาในการให้ทารกดูดนมมารดาภายหลังคลอดโดยปราศจากการรบกวน
บันไดขั้นที่ 5 สนับสนุนให้มารดารู้วิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การทำให้น้ำนมมีปริมาณเพียงพอ และการแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เบื้องต้น
บันไดขั้นที่ 6 ไม่ให้อาหารอื่นหรือน้ำแก่ทารกแรกคลอดนอกจากนมแม่ เว้นแต่จะมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
บันไดขั้นที่ 7 ให้มารดาและทารกอยู่ห้องเดียวกันตลอด 24 ชั่วโมง
บันไดขั้นที่ 8 สนับสนุนให้ทารกดูดนมมารดาตามต้องการ โดยให้มารดาสังเกตอาการแสดงของสัญญาณหิวของทารก
บันไดขั้นที่ 9 ให้คำปรึกษาแก่มารดาเกี่ยวกับปัญหาหรือความเสี่ยงของการให้ทารกดูดนมจากขวด การใช้หัวนมยางและหัวนมปลอม
บันไดขั้นที่ 10 ควรมีการประสานงาน และส่งต่อมารดาและทารกหลังการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลไปยังกลุ่มสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา เพื่อการดูแลและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่อง
ภายหลังคลอด 45 นาที พยาบาลนำทารกแรกเกิดไปดูดนมมารดา
เหมาะสม
เพราะการให้ลูกดูดนมแม่ทันทีนั้น จะทำให้ร่างกายของแม่ขับรกออกมาได้อย่างรวดเร็ว และลดความเสี่ยงจากการตกเลือดหลังคลอดได้ ซึ่งมันเป็นสัญชาตญาณตามธรรมชาติของเด็กแรกคลอด เมื่อตัดสายสะดือแล้วนำตัวเด็กมาวางไว้ที่หน้าท้องแม่ ทารกจะค่อย ๆ ขยับเลื่อนตัวตามกลิ่น มาหานมของแม่ได้เอง ลูกจะดูดภายใน 1 ชั่วโมงแรก ถ้าผ่านช่วง 1 ชั่วโมงเเรกไปแล้วการตอบสนองต่อการดูดจะลดลง และอาจจะต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นถึงหนึ่งวันกว่าจะเรียนรู้การดูดนมแม่ได้ ในครั้งแรกที่ดูดนมแม่นี้ยังไม่ต้องดูดทั้งสองข้างก็ได้ เพราะเป็นเพียงการทำความรู้จักกันครั้งแรก ให้ลูกรับรู้กลิ่นแม่ และรับสัมผัสจากอ้อมอกแม่ แม้เด็กแรกเกิดจะสายตาสั้นเห็นชัดเพียง 1 ฟุตและเห็นเพียงสีขาวดำ แต่ฮอร์โมนในตัวคุณแม่จะปรับสีหัวนมให้เข้มขึ้น นอกจากนี้ยังมีต่อมไขมันพิเศษที่ผลิตกลิ่นเหมือนกลิ่นน้ำคร่ำ และสารให้ความชุ่มชื้นไม่ให้หัวนมแห้งมาก ดังนั้นหากแม่คลอดตามธรรมชาติ ไม่ถูกฉีดยาชา หรือยาสลบ และทารกไม่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ คุณแม่สามารถให้นมลูกน้อยได้ทันทีและสามารถกระตุ้นให้ลูกเข้าเต้ากินนมทุก 1-2 ชั่วโมง เพราะมันจะช่วยกระตุ้นการหลั่งของน้ำนม
ความสำคัญ)
ช่วยกระตุ้นให้มารดามีการสร้างและหลั่งน้ำนมเร็วขึ้นเนื่องจากการดูดนมแม่จะช่วยกระตุ้นฮอร์โมนโปรแลคติน (prolactin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยสร้างน้ำนมและฮอร์โมนออกซิโตซิน (oxytocin) ที่ช่วยการหลั่งน้ำนมโดยเฉพาะหัวน้ำนม (colostrum) และยังส่งผลต่อการมีน้ำนมมากเพียงพอสำหรับทารกในระยะต่อมาอีกด้วย
ช่วยกระตุ้น
ช่วยให้ทารกได้รับหัวน้ำนม (colostrum) ที่มีประโยชน์มากมายเช่นเป็นภูมิคุ้มกันแรกที่ช่วยลดความเสี่ยงจากติดเชื้อและภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดช่วยให้ลำไส้ของทารกแข็งแรงและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ช่วยให้ทารกได้รับความอบอุ่นจากมารดานำไปสู่การสร้างความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารก
ทารกดูดนมไม่ถูกวิธี
มีภาวะหัวนมแตก
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 1 : มีภาวะหัวนมแตก
ข้อมูลสนับสนุน S : มารดาบอกว่าเจ็บตอนที่ทารกดูด
O : มีตุ่มน้ำบริเวณหัวนมข้างขวา มีรอยแตก เเละมีเลือดซึมๆ
เป้าหมายการพยาบาล : ภาวะหัวนมแตกลดลงหรือไม่เเตก
เกณฑ์การประเมินผล
หัวนมไม่แตกเพิ่มขึ้นจากเดิม
ไม่มีอาการเจ็บขณะที่ทารกดูดนม
ลูกดูดนมได้ถูกวิธี
มีภาวะเต้านมคัดตึง
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 3: มีภาวะเต้านมคัดตึงข้อมูล
สนับสนุน
S : มารดาบอกว่าตอนนี้รู้สึกหนักเต้านม
O : คลำได้ก้อน และรู้สึกร้อนบริเวณเต้านมข้างขวา
เป้าหมายการพยาบาล :อาการเต้านมคัดตึงลดลง
เกณฑ์การประเมินผล
-อาการเต้านมคัดตึงลดลง
-เต้านมไม่ร้อน
-คลำไม่พบก้อน
-น้ำนมไหลสะดวก
กิจกรรมการพยาบาล
1.อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้เต้านมคัดตึง คือ การให้ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี ลูกอมหัวนมไม่ลึกถึงลานนม
ดูแลประคบร้อน เพื่อให้เส้นเลือดขยายการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองดีขึ้น โดยใช้ผ้าประคบ ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นจัด บิดให้หมาดประคบเต้านมประมาณ 5 – 10 นาที ประคบด้วยถุงถั่วเขียว ถุงข้าวเหนียวร้อน โดยใช้ข้าวเหนียวที่นึ่งร้อน ห่อผ้าขาวบางแล้วนำมาประคบเต้านมเป็นจุดๆ จุดละประมาณ 1 นาที จนรอบเต้านมประมาณ 3 – 5 รอบแล้วค่อยสลับไปทำอีกข้างหนึ่ง
3.ดูแลบีบน้ำนมออกจากเต้าด้วยมือ จนกระทั่งลานนมนิ่ม ลูกสามารถคาบลานนมได้ติด
สอนและฝึกมารดาหลังคลอดนวดเต้านมและบีบน้ำนมออกจนเกลี้ยงเต้าด้วยตนเอง
วิธีการนวดเต้านมการนวดเต้านมจะทำให้ฮอร์โมนออกซิโตซินหลั่งบีบกล้ามเนื้อรอบท่อน้ำนมจะช่วยให้บีบน้ำนมได้ง่าย1. ก่อนทำล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ 2. ควรใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นจัดประคบเต้านมก่อนประมาณ 1-3 นาที 3. นวดคลึงเต้านมเบา ๆ ในลักษณะเป็นวงกลมแบบก้นหอยจากฐานนม เข้าหาหัวนมดึงหัวนมและคลึงเบา ๆ จะช่วยกระตุ้นให้หลั่งน้ำนมได้ดี 4. ใช้มือข้างขวาหรือข้างซ้ายประคองด้านล่างของเต้านม 5. ใช้นิ้วมือซ้ายทั้ง 4 นิ้ว (หรือขวา) หรือกำมือนวดเบา ๆ เป็นวงไปรอบ ๆ เต้านม
แสดงความเห็นใจ และช่วยให้แม่ผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ ปฏิบัติต่อแม่อย่างนุ่มนวล
ถ้าลูกดูดนมแม่ได้ ช่วยให้ทารกดูดนมอย่างถูกวิธี และมีประสิทธิภาพ ดูดบ่อยขึ้นจนทุเลาอาการคัดลงจึงบีบด้วยมือต่อ
ถ้าลูกไม่สามารถดูดนมได้เพราะแม่ปวดมาก ควรยึดการกระตุ้นฮอร์โมนออกซิโตซินให้หลั่ง เพื่อให้น้ำนมไหลเองโดยลดความเครียด เช่น การฟังเพลง นวดต้นคอเบา ๆ พร้อมทั้งอาจให้บีบนมออกจนเต้านิ่ม หายคัดแล้วจึงให้ลูกดูด
ผ่อนคลายความเครียดของแม่ด้วยการให้แม่นั่งในท่าที่สบายที่สุดจับต้องเต้านมแม่อย่างเบามือ
นวดเต้านมเบา ๆ บีบน้ำนมด้วยมือหรือ breast pump เพื่อให้ลานนมนุ่มและเฝ้าระวังอาการข้างเคียงเช่นการเจ็บหัวนม
การบีบน้ำนมออกทำให้น้ำนมนุ่มมากขึ้นสลับกับการประคบเต้านม
ประเมินเต้านมแม่ความรู้สึกของแม่ถ้าอาการคัดตึงทุเลาลงแล้วจึงนำลูกมาดูดอย่างถูกวิธี
ฝึกแม่ให้บีบน้ำนมด้วยมือ
อธิบายวิธีปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันเต้านมคัด
ถ้ามีอาการมากขึ้นอาจให้ยาแก้ปวดตามความจำเป็น
16.กระบวนการช่วยเหลือทั้งหมดไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมงควรให้แม่ได้พักผ่อนเป็นระยะ ๆ จนถึงเวลามื้อนมมื้อต่อไป
ฝึกให้อุ้มลูกดูดนมแม่ด้วยตนเอง
ทารกได้รับนมไม่เพียงพอ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 2 : มีภาวะตัวเหลือง เนื่องจากได้รับนมไม่พอหรือน้อย
ข้อมูลสนับสนุน O : -สีผิวบริเวณใบหน้าเเละหน้าอกมีสีเหลือง
เป้าหมายการพยาบาล : ไม่มีภาวะตัวเหลือง
กิจกรรมการพยาบาล
การส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือให้ทารกได้รับน้ำนมเเม่อย่างเพียงพอ โดยให้ดูดนมบ่อยทุก 2-3 ชั่วโมง เพื่อช่วยให้ทารกขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ ซึ่งจะช่วยป้องกันภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดได้
ดูแลให้ทารกได้รับสารน้ำสารอาหาร และนม ตามแผนการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และเพิ่มประสิทธิภาพของการขจัดบิลิรูบินออกจากร่างกาย
สังเกตอาการตัวเหลือง โดยใช้นิ้วกดบริเวณผิวหนัง บริเวณจมูก หน้าผากหน้าอก และหน้าแข้ง
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงที่บงชี้ถึงภาวะที่มีการทำลายของเนื้อสมอง ได้แก่ ดูดนมไม่ดี ซึมลง ร้องเสียงแหลม หลังแอ่น ตัวเขียว ชัก หรือกระตุก รีบรายงานเเพทย์
วิธีการนวดเต้านมการนวดเต้านมจะทำให้ฮอร์โมนออกซิโตซินหลั่งบีบกล้ามเนื้อรอบท่อน้ำนมจะช่วยให้บีบน้ำนมได้ง่าย
ก่อนทำล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ
ควรใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นจัดประคบเต้านมก่อนประมาณ 1-3 นาที
นวดคลึงเต้านมเบา ๆ ในลักษณะเป็นวงกลมแบบก้นหอยจากฐานนม เข้าหาหัวนมดึงหัวนมและคลึงเบา ๆ จะช่วยกระตุ้นให้หลั่งน้ำนมได้ดี
ใช้มือข้างขวาหรือข้างซ้ายประคองด้านล่างของเต้านม
ใช้นิ้วมือซ้ายทั้ง 4 นิ้ว (หรือขวา) หรือกำมือนวดเบา ๆ เป็นวงไปรอบ ๆ เต้านม
6 สัปดาห์หลังคลอด
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 1 ขาดทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ข้อมูลสนับสนุน
S : มารดาบอกว่า “ ตนเองเลี้ยงลูกด้วยนมเเม่สลับกับนมผสม ที่ให้นมผสมร่วมด้วยเพราะรู้ว่าน้ำนมไหลน้อย ลูกดูดนมตนเองบ้าง บางครั้งก็ไม่ดูด มีสะบัดหน้าหนีเมื่อเอาหัวนมเข้าปาก
เป้าหมายการพยาบาล :สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
เกณฑ์การประเมินผล :มีทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เช่น สามารถอุ้มลูกดูดนมได้ถูกวิธี การบีบน้ำนมออกจากเต้า
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 2 มีภาวะ nipple confusion
ข้อมูลสนับสนุน S : มารดาบอกว่า “ ตนเองเลี้ยงลูกด้วยนมเเม่สลับกับนมผสม ที่ให้นมผสมร่วมด้วยเพราะรู้ว่าน้ำนมไหลน้อย ลูกดูดนมตนเองบ้าง บางครั้งก็ไม่ดูด มีสะบัดหน้าหนีเมื่อเอาหัวนมเข้าปาก
เป้าหมายการพยาบาล
-สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
-ไม่มีภาวะสับสนหัวนมเกณฑ์การประเมินผล
-ไม่สับสนหัวนม
คลำพบลอนนิ่มบริเวณระดับสะดือ
ภายหลังคลอดมารดายังไม่ปัสสาวะ
เป็นภาวะผิดปกติ ในภาวะปกติภายหลังจากการคลอดบุตรมดลูกจะมีขนาดเล็กลง คลำได้ทางหน้าท้องที่ระดับสะดือ หรือต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง แต่ในกรณีนี้มารดายังไม่ถ่ายปัสสาวะทำให้ขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก ส่งผลทำให้คลำหน้าท้องพบลอนนิ่มบริเวณระดับสะดือ และจากกรณีศึกษา คลำพบลอนนิ่มอยู่ระดับสะดือ ให้คลึงมดลูกแล้วกดไล่ก้อนเลือดออกมาและมารดายังไม่ถ่ายปัสสาวะ อาจจะมีภาวะ bladder full เราต้องให้มารดาถ่ายปัสสาวะบนเตียงโดยใช้หม้อนอนหากมารดามีอาการถ่ายปัสสาวะลำบากให้ดูแลสวนปัสสาวะเพื่อให้มดลูกหดรัดตัวได้ดี
2 วันหลังคลอด คลำพบมดลูกกลมแข็งต่ำกว่าระดับสะดือ 1 นิ้ว น้ำคาวปลาสีแดงจาง
เป็นภาวะปกติ เพราะ 1-2 วันหลังคลอด มดลูกจะอยู่ต่ำกว่าระดับสะดือเล็กน้อย น้ำคาวปลาสีแดงจางโดยส่วนมากจะพบในช่วง 4-9 วันหลังคลอด เรียกว่า Lochia serosa บ่งบอกว่าแผลภายในโพรงมดลูกถูกเกิดการซ่อมแซมแล้ว
สุขภาพจิต
มีความวิตกกังวล
พยาบาลสอนวิธีการอาบน้ำทารก
มารดาบอกว่า “ทำไม่ถูก กลัวลูกจมน้ำ”
การปรับตัวด้านจิดสังคม
เหมาะสม เนื่องจากใน 1-2 วันแรกคลอด มารดาจะอยู่ในระยะ Taking in phase เป็นระยะเริ่มเข้าสู่บทบาทการเป็นมารดาหรือระยะพึ่งพา โดยระยะนี้ร่างกายมารดาจะมีการอ่อนล้า ไม่สุขสบาย ทำให้ช่วงนี้มารดาจะสนใจแต่ตัวเอง มีความต้องการพึ่งพาผู้อื่น
มีสีหน้าวิตกกังวล หงุดหงิดง่าย บางครั้งร้องไห้คนเดียว
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
เป็นอาการที่เกิดได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ มีการลดลงทันทีของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนสนช่วง 72 ชั่วโมงแรกหลังคลอด , เครียดทางกาย เช่น อ่อนเพลีย เจ็บแผลฝีเย็บ , รู้กสึกถูกละเลย ซึ่งภาวะนี้มักจะเกิดขึ้นเองและหายไปเองตามธรรมชาติ
มารดาแจ้งว่าไม่อยากให้ลูกดูดนมสีเหลือง
คำแนะนำ
สอบถามคุณแม่ว่าทำไมถึงไม่อยากให้ลูกดูดนมสีเหลือง (Colostrum)
2.ให้ความรู้เเละข้อดีเกี่ยวกับน้ำนมสีเหลือง (Colostrum) ดังนี้
ได้แก่
น้ำนมเหลือง (Colostrum) เป็นน้ำนมที่ออกมาวันแรก ๆ หลังคลอด มีสารภูมิคุ้มกันในปริมาณสูง ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อในทารกแรกเกิด น้ำนมสีเหลืองจะมีปริมาณเม็ดเลือดขาวสูงสุด ประกอบไปด้วย โปรตีน สารระบบภูมิคุ้มกัน เกลือแร่ วิตามิน โดยเฉพาะวิตามิน A วิตามิน K และสารช่วยการเจริญเติบโต ที่น้ำนมColostrumมีสีเหลืองก็เพราะมีปริมาณแคโรทีน (carotene) มากกว่านมระยะหลังถึง 10 เท่า และยังมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ ทำให้ขี้เทาถูกขับถ่ายสะดวก ช่วยลดปัญหาตัวเหลืองและอาการท้องผูกให้ลูกได้ด้วย
บทบาทหน้าที่ของ colostrum
ปกป้องทารกจากเชื้อไวรัสและการติดเชื้อด้วยส่วนประกอบที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น อิมมูโนโกลบูลิน ที่เรียกกว่า secretory immuglobulin (IgA)
มีฤทธิ์ช่วยระบายอ่อน ๆ และกระตุ้นการขับถ่ายอุจจาระแรก (meconium) ที่มีลักษณะหนาและมีสีดำอมเขียวออกจากลำไส้ดังนั้นColostrum จึงช่วยป้องกันการเกิดดีซ่าน
ช่วยให้ระบบย่อยอาหารมีสุขภาพดีและอุจจาระจับตัวเป็นก้อนนิ่ม ๆ ด้วยส่วนประกอบที่มีโอลิโกแซคคาไรด์ Colostrum จึงเป็นอาหารสำหรับแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้ใหญ่ และเป็นแหล่งของใยอาหารอีกด้วย.
การพยาบาล
-ให้ข้อมูลให้ชัดเจน ถูกต้องโดยพยาบาลควรอธิบายสาเหตุของความปวดในแต่ละตำแหน่ง เช่น การปวดมดลูกเกิดจากเกิดจากการหดรัดตัวและการคลายตัวของมดลูก การปวดฝีเย็บ เกิดจากกล้ามเนื้อฝีเย็บถูกตัดในระยะคลอดทารกทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดและเส้นประสาท ได้รับบาดเจ็บ เพื่อให้มารดาหลังคลอดได้ทราบถึงสาเหตุและยอมรับสภาพความปวด
-การอยู่เป็นเพื่อน พยาบาลควรช่วยดูแลทารกในระยะ 24 ชั่วโมงหลังคลอด และอนุญาติให้สามีหรือครอบครัวอยู่ดูแลมารดาหลังคลอดและทารก เพื่อลดความวิตกกังวลของมารดาหลังคลอดและครอบครัว
จัดท่านอน ควรจัดให้นอนตะแคง เพราะเป็นท่าที่ช่วยป้องกันแรงกดที่แผลฝีเย็บได้ดี ซึ่งท่านอนหงายจะทำให้มารดาหลังคลอดรู้สึกตรึงแผลมากกว่า
-แนะนำให้มารดาหลังคลอดนอนตะแคงด้านตรงข้ามกับด้านที่มีแผลฝีเย็บ เพื่อช่วยลดการกดทับบริเวณแผลฝีเย็บ
-การประคบ ในช่วงแรกที่แผลฝีเย็บมีอาการปวดและบวม ควรใช้ความเย็นในการบรรเทาอาการโดยใช้ผ้าห่อน้ำแข็ง หรือเจลประคบเย็น ประคบบริเวณแผลฝีเย็บครั้งละ 2-3 นาที
-ถ้าบวมมาก ปวดมากจนนั่งไม่สะดวกให้ใช้ห่วงยางเล็กๆรองนั่ง เพื่อไม่ให้บริเวณแผลฝีเย็บถูกกดทับ
-การเบี่ยงเบนความสนใจจากความเจ็บปวด โดยแนะนำการผ่อนคลายด้วยวิธีต่างๆ เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือ
การเคลื่อนไหวและเปลี่ยนท่า (movement and position)ควรแนะนำเกี่ยวกับท่านั่ง บนเตียงหรือบนเก้าอี้ ท่ายืน หรือท่าเดิน โดยไม่ควร นอนหงายอยู่บนเตียงตลอดเวลา
-การฝึกการหายใจ (breathingexercise) เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจและลดความปวด การฝึกการหายใจสามารถทำได้โดยการหายใจเข้าช้าๆลึกๆ ทางจมูก และหายใจออกทางปากช้าๆ
-ดูแลให้ยาตามอผนการรักษาของแพทย์ ในการบรรเทาอาการปวดแผลฝีเย็บ ควรให้รับประทานยา Paracetamol ซึ่งเป็นยาที่ควรเลือกใช้เป็นอันดับแรก ให้รับประทานเมื่อมีอาการปวด อาจให้ร่วมกันยาในกลุ่ม NSAIDs
กิจกรรมการพยาบาล
อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้หัวนมแตก คือ การอุ้มลูกดูดนมไม่ถูกวิธี ลูกอมหัวนมไม่ลึกถึงลานนม
แนะนำให้บีบน้ำนมทาบริเวณหัวนมที่แตกแล้วปล่อยให้แห้งเอง แล้วค่อยใส่ยกทรง โดยใช้แผ่นซับน้ำนมหรือกระดาษนุ่มรองในยกทรง
ช่วยให้อุ้มลูกได้ถนัด ก่อนให้ลูกดูดนมแม่ เพราะการดูดนมแต่ละครั้งในระยะที่มีหัวนมแตก แม่จะเจ็บมาก ถ้าแม่อุ้มได้ถนัดและสบายจะทำให้สร้างความมั่นใจ ในเบื้องต้น
4.ให้ลูกดูดนมข้างที่เป็นแผลน้อยก่อน ซึ่งจะมีข้อดี เพราะโดยธรรมชาติเวลาเมื่อลูกเริ่มดูดนมลูกจะดูดแรง ถ้าให้ลูกดูดข้างที่เป็นแผลมาก แผลจะยิ่งเป็นมากขึ้น ทำให้มารดาหลังคลอดยิ่งเจ็บมากขึ้น นอกจากนั้นการที่ลูกดูดนมแรงในระยะแรก จะทำให้Oxytocin reflex ทำงานได้ดี น้ำนมก็จะไหลดีขึ้น เมื่อย้ายลูกมาดูดข้างที่เป็นแผลมากน้ำนมก็จะไหลสะดวก มารดาหลังคลอดจะเจ็บน้อยลง
ช่วยให้ลูกอ้าปากกว้างที่สุด เคลื่อนศีรษะลูกเข้าหาเต้านมโดยเร็ว เพื่อจะได้งับลานหัวนมลึกพอ เคลื่อนไหวมือทั้ง 2 ข้างที่จับเต้านมและมือที่ประคองบริเวณท้ายทอยลูก จนกว่าลูกจะดูดติดจึงปล่อยมือได้
6.หลีกเลี่ยงการดูดถูกหัวนมที่แตก ไม่ควรใช้ครีมทาแผลที่หัวนมเพราะอาจทำให้แผลเป็นมากขึ้น
แนะนำวิธีการถอนหัวนมจากปากอย่างถูกวิธี คือ ให้สอดนิ้วก้อย ลงไปที่มุมปากลูก เพื่อให้อากาศเข้าไปช่วยคลายผนึกที่ลูกดูดติดอยู่กับหัวนม ทำให้มารดาหลังคลอดไม่เจ็บหัวนมและหัวนมไม่แตกเพิ่มขึ้น
ติดตามและฝึกมารดาหลังคลอดให้นมบุตรด้วยตนเองอย่างถูกวิธี จนมารดาหลังคลอดเกิดความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
9.ให้ญาติและสามีเข้ามามีส่วนร่วมในการให้นมบุตร เช่น การบีบน้ำนมทาบริเวณที่หัวนมแตก
การพยาบาล
1) ดูแลช่วยเหลือและตอบสนองความต้องการของมารดาหลังคลอดทางดานร่างกายในเรื่องการรับประทานอาหาร การพักผ่อน การรักษาความสะอาดน่างกาย เพื่อลดภาวะความไม่สุขสบายและประคับประคองทางด้านจิตใจ
2) ให้การพยาบาลด้วยท่าทีที่อบอุ่น เห็นอกเห็นใจ เพื่อให้มารดาหลังคลอดรู้สึกอบอุ่นใจ
3) เปิดโอกาสให้มารดาหลังคลอดได้ระบายความรู้สึกและรับฟังด้วยความสนใจ เพื่อช่วยให้มารดาสบายใจ
4) เปิดโอกาสให้มารดาพูดถึงบุตรที่เห็นในปัจจุบันกับบุตรที่ตนคิดไว้ เป็นการละลายความคิดขัดแย้งระหว่างภาพบุตรที่เห็นกับภาพบุตรที่คิดไว้
5) สอนและสาธิตการอุ้มบุตรในท่าต่างๆ เช่น ท่าหันหน้าเข้าหากันร่วมกับการประสานสายตาและพูดคุยกับบุตรเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดากับบุตรโดยบุตรจะตอบสนองต่อเสียง จ้องมองมารดา และเคลื่อนไหวร่างกายทำให้มารดาและบุตรมีประสบการณ์สร้างปฏิสัมพันธ์ส่งผลให้มารดามีความมั่นใจในการแสดงบทบาทมากขึ้น
6) สาธิตการอุ้มบุตร การอาบน้ำ การสระผม เช็ดตา เช็ดสะดือ การทำความสะอาดบุตรหลังปัสสาวะ อุจจาระ โดยให้มารดาปฏิบัติให้ดูโดยพยาบาลคอยให้กำลังใจและช่วยแนะนำในสิ่งที่ยังปฏิบัติไม่ถูกต้อง
7) ให้สามีหรือญาติคอยช่วยเหลือให้กำลังใจมารดาในการดูแลบุตร การได้รับแรงสนับสนุนจากผู้ใกล้ชิดย่อมส่งผลให้มารดามีกำลังใจและมีความพร้อมในการดูแลบุตร
กิจกรรมการพยาบาล
พูดคุยแนะนำถึงประโยชน์ของนมแม่ที่มีต่อลูกและต่อแม่ แนะนำให้เลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวนานอย่างน้อย 6 เดือน เพราะน้ำนมมารดามีประโยชน์ มีคุณค่าทางสารอาหารสูง เหมาะสำหรับเลี้ยงทารก สะอาด ประหยัด และมีภูมิต้านทานโรค
สอนและฝึกปฏิบัติการให้นมบุตรในท่าที่ถูกต้อง เพื่อช่วยให้มารดาหลังคลอดเกิดความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และประสบผลสำเร็จสอนวิธีการให้นมอย่างถูกวิธี โดยอุ้มให้ถูกต้อง ใช้มือจับเต้านม โดยใช้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านบน และนิ้วอื่นๆ รองรับเต้านม ปากทารกอยู่บริเวณลานหัวนม
3.ให้ญาติและสามีเข้ามามีส่วนร่วมในการให้นมบุตร เช่น การประคองหัวเด็กช่วยขณะมารดาให้นมบุตร
พูดคุยให้กำลังใจมารดาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
การให้อาหาร ให้ทารกกินนมมารดาอย่างเดียวนาน 6 เดือน แล้วจึงให้อาหารเสริมตามวัย ซึ่งดูได้ในสมุดบันทึกสุขภาพสีชมพู
สอนและจัดท่านอนที่ถูกต้องหลังการดูดนม อุ้มทารก หรือนอนยกศีรษะสูงเล็กน้อย เพื่อป้องกันการสำลักนม
การพยาบาล
ได้แก่
1.สังเกตสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง อุณหภูมิหลังคลอดสูงขึ้นแต่ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส ใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดBP อาจสูงหรือต่ำกว่าเดิมได้ ถ้าต่ำกว่า 100 mmHg อาจแสดงถึงภาวะเสียเลือดมาก ถ้าสูงกว่าปกติเกิน 140 mmHg ร่วมกับมีอาการปวดศรีษะ ตาพร่ามัว อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะชักได้ PR ประมาณ 50-70 bpm ถ้าพบชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติเกิน 90 mmHg อาจพบได้ในกรณีที่เสียเลือด
2.การติดตามการเปลี่ยนแปลงของมดลูก ควรมีการติดตามดูการหดรัดตัวของมดลูกต่อจากระยะที่ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด เนื่องจากอาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะในมารดาที่ผ่านการคลอดมาหลายครั้ง
3.การสังเกตแผลฝีเย็บและเลือดที่ออกทางช่องคลอดต้องตรวจดูแผลของลักษณะฝีเย็บว่ามีการตึงรั้ง บวม มีก้อนเลือดใต้ผิวหนังหรือไม่และสังเกตเลือดที่ออกทางช่องคลอดว่ามีมากน้อยเพียงใด และแนะนำมารดาไม่นั่งท่าขัดสมาธิเนื่องจากการสมานของแผลใช้ระยะชิดของเนื้อเยื่อตลอดเวลา
4.ตรวจดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่างอยู่เสมอ และให้ถ่ายปัสสาวะภายใน 8 ชั่วโมงหลังคลอด เพราะถ้ากระเพาะปัสสาวะโป่งตึงจำส่งผลต่อการหดรัดตัวของมดลูก ทำให้มดลูกหดรัดตัวได้ไม่ดี
5.ให้มารดาพักผ่อนอย่างเพียงพอ นอนหลับในตอนกลางคืน 8-10 ชั่วโมง และควรได้รับการพักผ่อนในตอนบ่ายอย่างน้อยวันละ 2 ชั่วโมง
6.จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย มีแสงสว่างเพียงพอ และไม่มีเสียงดังรบกวนการพักผ่อน
7.การรักษาความสะอาดร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์ ควรกระตุ้นให้ลุกไปทำความสะอาดร่างกายและเต้านมและอวัยวะสืบพันธุ์รวมทั้งการเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ เมื่อเปียกชุ่ม และให้อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายเพื่อช่วยให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น ควรอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น อาจจะสระผมร่วมด้วยก็ได้
8.ดูแลการรับประทานอาหารให้มารดารับประทานอาหารเพียงพอและมีประโยชน์ โดยกระตุ้นให้มารดารับประทานอาหาร เนื่องจากมารดาในระยะแรกมักเบื่ออาหารอยากนอนพักผ่อนมากกว่า การรับประทานอาหารจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและกลับสู่สภาพปกติได้เร็วขึ้น ควรให้อาหารครบทั้ง 5 หมู่ และให้ได้รับพลังงานประมาณ 2,600-2,800 แคลอรี่/วัน
คำแนะนำ
1) อธิบายมารดาหลังคลอดว่าการมีน้ำนมไหลออกจากเต้านมขวาในขณะที่ลูกดูดนมซ้ายนั้นมีสาเหตุมาจากกลไกการหลั่งน้ำนมหรือ Let-down reflex ทำให้มารดามีน้ำนมมากเกินความต้องการของลูก โดยอาการจะเกิดในช่วงที่ร่างกายของแม่กำลังปรับปริมาณการผลิตน้ำนมให้เข้ากับปริมาณการกินของลูก ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 6 สัปห์ดา – 3 เดือน และเมื่อร่างกายปรับตัวได้แล้ว ปริมาณน้ำนมก็จะพอดีกับความต้องการของลูก ร่างกายก็จะไม่มีน้ำนมส่วนเกินออกมา
2) อธิบายให้มารดาหลังคลอดรู้เรื่องการปวดมดลูกว่าเกิดจากกล้ามเนื้อทดลูกหดตัวสลับกับการคลายตัวของมดลูก การสูญเสียความตึงตัวของกล้ามเนื้อจะทำให้มดลูกปวดมากยิ่งขึ้น ยิ่งถ้าให้บุตรดูดนมร่างกายก็จะปล่อยสาร oxytocin ทำให้มดลูกหดรัดตัวมากขึ้น แต่ก็มีข้อดีคือสามารถป้องกันการตกเลือดหลังคลอดได้ การให้ความรู้จะช่วยให้การทนต่อความเจ็บปวดเพิ่มมากขึ้น
3) สอนเทคนิคการผ่อนคลายโดยการบริหารการหายใจเป็นจังหวะ โดยให้สูดลมหายใจเข้าทางจมูกและค่อยๆผ่อนลมหายใจออกทางปาก
4) แนะนำให้นอนคว่ำเอาหมอนหนุนหน้าท้องเป็นการกระตุ้นใยประสาทขนาดใหญ่ ปิดประตูความเจ็บปวดระดับไขสันหลังจึงช่วยลดความเจ็บปวดได้
การพยาบาล
1.ควรเช็ดทำความสะอาดฝีเย็บทุกครั้งที่ถ่ายปัสสาวะและถ่ายอุจจาระเพื่อป้องกันการดูแลฝีเย็บการอักเสบและติดเชื้อจากด้านอวัยวะเพศไปด้านทวารหนักอย่างเบามือแล้วซับไห้แห้ง ส่วนเวลาใช้สายชำระควรระวังมีระดับความเบา - แรงของน้าแต่ละที่ต่างกัน เพื่อความปลอดภัยควรทดลองฉีดก่อนและควร หลีกเลี่ยงการฉีดน้าโดนแผลโดยตรงเพราะอาจทำไห้แผลที่ฝีเย็บมีอาการอักเสบจากความแรงของน้า หากมีน้ำคาวปลาออกมามากก็ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆเพื่อให้แผลแห้งสะอาดอยู่เสมอ ลดการสะสมของเชื้อโรคความชื้น และการติดเชื้อที่อาจตามมาได้
2.ประคบด้วยความเย็นในช่วง 24 ชั่วโมงแรกเพื่อลดปวดและบวมบริเวณแผลฝีเย็บ ความเย็นทำไหเหลอดเลือดหดรัดตัว ลดการไหลเวียนของโลหิต ความเย็นทำให้การเผาผลาญ อาหารและความต้องการออกซิเจนภายในเซลล์ลดลง ทำให้การส่งผ่านอาหารในเลือดที่ส่งผ่านหลอดเลือดฝอยลดลง เป็นผลให้อาการปอดบวมลดลง
3.ประคบด้วยความร้อนชื้น หลังจาก24 ชั่วโมงแรกแล้วอาจใช้ความร้อน ในการลดปวด เช่น การแช่ก้น(sitz bath) ด้วยน้ำอุ่นปะมาน 10-20นาที วันละ 2-4 ครั้ง หรือใช้ความร้อนแห้ง โดยการอบแผลด้วยดวงไฟที่มีรังสีต่ำกว่าแสงสีแดง วันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น เพื่อลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ลดการคลั่งของโลหิต ทำให้ช่วยลดปวดและบวม
4.แนะนำให้มารดาหลังคลอดนอนตะแคงซ้ายตรงข้ามกับด้านที่มีแผลฝีเย็บ เพื่อช่วยลดการกดทับ บริเวณแผลฝีเย็บ ช่วยไห้อาการปวดลดลง
5.ควรหลีกเลี่ยงการนั่งขัดสมาธิ เนื่องจากจะทำให้เจ็บแผลมากเพราะต้องแยกขาหนีบออกจากกันทำให้แผลถูกดึงรั้ง
6.ถ้าบวมมาก ปวดมากจนนั่งไม่สะดวกทำให้ห่วงยางเล็กๆ รองนั่งเพื่อไม่ให้บริเวณแผลฝีเย็บถูกกดทับและทำให้การไหลเวียนเลือดเป็นปกติ
NURSE program
ได้แก่
N = nourishment (nutrition) and needs ได้แก่ การดูแลให้มารดาหลังคลอดได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอมารดาหลังคลอดที่เลี้ยงทารกด้วยนมตนเองมีความต้องการสารอาหารมากกว่าในระยะตั้งครรภ์เพราะต้องนำไปใช้ในการฟื้นฟูสภาพภายหลังคลอดและแปรเปลี่ยนสารอาหารให้เป็นนมแก่ทารกแรกเกิดโดยควรได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นอีกวันละประมาณ 300 แคลอรี่และดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้วต่อวัน
u = understanding อธิบายให้มารดาหลังคลอดเข้าใจถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในการกลับสู่สภาพเดิมพยาบาลควรให้คำแนะนำมารดาหลังคลอดและครอบครัวเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังคลอดการดูแลทารกและการป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดแบบรายบุคคลรายกลุ่มและการให้ข้อมูลและคำปรึกษาหลาย ๆ ด้านเช่นผ่านทาง Social media website และ Internet ทั้งนี้อาจให้ญาติและสามีเข้าร่วมฟังด้วยจะเป็นสิ่งที่ดียิ่งระยะที่เหมาะสมในการให้คำ uusturians mon RO 9 Taking in phase (1-3 วันหลังคลอด) และ Takrg-hold please (3-10 วันหลังคลอต) เพราะเป็นระยะที่มารดาหลังคลอดอยากพูดคุยยังพึ่งพาบุคคลอื่นต้องการคำแนะนำและการช่วยเหลือจากบุคคลอื่นและยอมรับฟังคำแนะนำด้วยดี
R = rest and relaxation ดูแลให้มารดาหลังคลอดพักผ่อนให้เพียงพอเพราะการพักผ่อนเป็นสิ่งที่สำคัญในระยะหลังคลอดสตรีหลังคลอดยังคงอ่อนเพลียจากการสูญเสียเลือดและพลังงานในขณะคลอดฉะนั้นสตรีหลังคลอดควรได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอโดยเฉพาะช่วง 2 สัปดาห์แรกกลางคืนควรได้หลับพักนาน 6-8 ชั่วโมงและควรหลับกลางวันขณะทารกหลับประมาณ 2-1 ชั่วโมงทุกวันสำหรับการทำงานในระยะ 6 สัปดาห์หลังคลอดควรทำงานที่ออกแรงน้อยเมื่อครบ 6 สัปดาห์หลังคลอดจึงจะทำงานทุกอย่างได้ตามปกติ
S = spirituality ส่งเสริมความเชื่อเพื่อช่วยให้รู้สึกมีแหล่งพึ่งพาทางจิตใจดังนั้นควรมีการส่งเสริมให้มารดาหลังคลอดใต้ทำกิจวัตรหรือกิจกรรมทางศาสนาที่เหมาะสมตามความต้องการ)
E = exercise การออกกำลังกายช่วยให้สารเอนโดรฟินหลั่งส่งผลให้ร่างกายสดชื่น (1 การบริหารร่างกายในระยะหลังคลอดมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกเหรอของร่างกายทำให้มีรูปร่างและทรวดทรงที่เหมาะสมส่งเสริมบุคลิกภาพและสุขภาพที่ดีรวมทั้งช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนบางอย่างที่อาจจะตามมาในระยะหลังคลอดมารดาหลังคลอดปกติประมาณ 6 ถึง 8 ชั่วโมงควรมีการเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็วที่สุดกล่าวคือเมื่อได้รับการพักผ่อนเพียงพอและไม่มีปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนใด ๆ เกิดขึ้นก็เริ่มบริหารร่างกายได้ทันที
บทบาทบิดา
ได้แก่
1) พยาบาลควรอธิบายให้สามีเข้าใจถึงความรู้สึกและการเผลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ของมารดาหลังคลอดและสนับสนุนให้มารดาหลังคลอดพูดคุยกับสามี
2) ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยประเมินทัศนคติในการมีลูกของมารดาและบิดา เนื่องจากหากมีทัศนคติไม่ดีจะเป็นโอกาสที่ดีที่จะพูดคุยให้ความรู้จนเกิดความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
3) ให้ความรู้และฝึกทักษะเกี่ยวกับการเลี้ยงลูก เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมสามีในการช่วยดูแลบุตร
4) สนับสนุนให้สามีมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือมารดาหลังคลอด และสนับสนุนให้สามีมีส่วนร่วมในการให้มารดาคลายความวิตกกังวล
5) ส่งเสริมบทบาทสามีในการอุ้มทารกที่ถูกต้อง
6) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสามีในการจัดสิ่งแวดล้อมให้มารดาและทารกอยู่ด้วยกัน
การพยาบาล
ได้แก่
เลี้ยงทารกด้วยการดูดนมจากเต้าเป็นวิธีที่ช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกเข้าอู่เร็วขึ้นโดยในขณะที่มารดาหลังคลอดให้นมลูกจะมีอาการปวดที่บริเวณท้องน้อยซึ่งเป็นอาการที่แสดงถึงมดลูกมีการบีบตัว
การรักษาอุณหภูมิร่างกายมารดาหลังคลอดในอบอุ่นเช่นการดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆการอยู่ไฟเป็นวิธีที่ทำกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่สมัยโบราณจะช่วยให้ร่างกายขับน้ำคาวปลาที่ค้างอยู่ให้ออกมาทั้งหมดช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วและยังช่วยในการกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนดีช่วยให้ไม่เกิดอาการหนาวสะท้านช่วยลดอาการคัดตึงเต้านมช่วยให้หน้าท้องแบนและช่วยให้แผลแห้งเร็ว
การมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดจะช่วยให้ฮอร์โมนทำงานได้ดีช่วยให้มดลูกเข้าอู่ไวและการมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดควรจะรอไปจนถึงช่วงประมาณ 6 อาทิตย์ซึ่งเป็นช่วงที่ฮอร์โมนทุกอย่างในร่างกายของมารดาหลังคลอดกลับมาเป็นปกติเกือบสมบูรณ์และแม้จะเป็นช่วงหลังคลอดได้ไม่นานการมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดก็จะต้องคำนึงถึงเรื่องการคุมกำเนิดด้วย
การนวดประคบสมุนไพรช่วยในการขับน้ำคาวปลาทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วหน้าท้องยุบตัวไวขึ้นและช่วยในการบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้เป็นอย่างดีรวมถึงช่วยกระตุ้นและเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
การประคบด้วยอิฐเผาไฟช่วยให้แผลสมานตัวได้เร็วขึ้นโดยนำอิฐไปเผาไฟให้ร้อนแล้วจึงนำมาห่อด้วยผ้าหลาย ๆ ชั้นหรือห่อด้วยใบพลับพลึงแล้วนำมาวางบริเวณหน้าท้องหรือตามร่างกาย
การนวดบริเวณหน้าท้องโดยให้นวดเบา ๆ ตรงบริเวณหน้าท้องที่มีก้อนกลม ๆ ให้นวดไปเรื่อย ๆ จนกว่ามดลูกจะเข้าอู่ (มดลูกเข้าสู่สภาพปกติ)
วิธีทับหม้อเกลือใช้เป็นการฟื้นฟูสภาพหลังคลอดช่วยให้น้ำคาวปลาไหลได้สะดวกช่วยบรรเทาอาการปวดมดลูกอาการเมื่อยล้าอาการปวดกล้ามเนื้อหลังคลอดช่วยทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องแข็งแรงยุบเร็วช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้ดีขึ้นและช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว
กิจกรรมการพยาบาล
ได้แก่
1.ให้กำลังใจแม่ สร้างความมั่นใจให้แม่
2.ให้ทารกสงบก่อนให้ดูดนมแม่
3.ฝึกการดูดของทารก โดยการเอาหัวนมเข้าปากลูก แล้วบีบน้ำนมช่วย
4.ใช้ lactation aid ในกรณีที่น้ำนมน้อย
5.แนะนำมารดาไม่ควรให้จุกหลอกหรือขวดนมแก่ทารก เพื่อป้องกันภาวะสับสนหัวนม