Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
NSTEMI (non-ST elevation myocardial infarction) โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด…
NSTEMI (non-ST elevation myocardial infarction) โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
พยาธิสภาพ
อาการและอาการแสดง
เจ็บแน่นหน้าอกเหมือนมีอะไรมากดทับอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตรงกลางอก และเป็นนานเกินกว่าหนึ่งนาทีขึ้นไป
เจ็บแน่นหน้าอกร้าวไปยังบริเวณคอ กราม ไหล่และแขนทั้งสองข้าง
ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอกร้าวไปไหล่ซ้าย
มีเหงื่อออกตามร่างกาย
เหนื่อยง่าย หายใจถี่กระชั้น
ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยเล็กน้อย
วิงเวียน หน้ามืด
ชีพจรเต้นเร็ว
สาเหตุ
โรคนี้เกิดจากการมีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน เกิดจากการที่ร่างกายมีภาวะไขมันมากเกินไปจนพอกเป็นตะกรัน (plaque) เกาะอยู่ตามผนังของหลอดเลือดเมื่อเวลาผ่านไปตะกรันนี้จะแตกตัวหรือปริออก หลอดเลือดจะพยายามซ่อมแซมตัวเอง จนเกิดลิ่มเลือดไปอุดกั้นหลอดเลือดถ้าเป็นการแตกตัวที่หลอดเลือดแขนงเล็ก ผู้ป่วยจะมีเพียงอาการเจ็บหน้าอก แต่ถ้าลิ่มเลือดนี้อุดตันหลอดเลือดขนาดใหญ่ก็อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
การวินิจฉัย
การซักประวัติและอาการของผู้ป่วย
ผู้ป่วยได้รับการซักประวัติและถามอาการที่เป็น
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram)
ผู้ป่วยได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram)
การถ่ายภาพรังสีของทรวงอก (chest X-ray)
การสวนหัวใจหรือการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ (cardiac catheterization or coronary angiogram)
แพทย์มีแผนการรักษาให้ไปทำ Coronary angiography with Percutaneous coronary intervention
หมายถึง การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจร่วมกับการการใส่ขดลวดเข้าไปเพื่อถ่างขยายหลอดเลือด
การรักษา
แพทย์จะทำการฉีดสีเพื่อให้ตำแหน่งที่หลอดเลือดอุดตันแสดงในฟิล์มเอกซเรย์ แล้วจึงทำการเปิดหลอดเลือดโดย การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดร่วมด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดหลุดลอยไปอุดตันบริเวณส่วนปลายของหลอดเลือด ในกรณีที่หลอดเลือดตีบหลายเส้นแพทย์อาจพิจารณาใช้วิธีการผ่าตัดต่อหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจหรือการผ่าตัดบายพาส
ผู้ป่วยกำลังเข้ารับการรักษาโดยการขยายหลอดเลือดหัวใจโดยใช้บอลลูน และใช้ขดลวดร่วมด้วย
ปัจจัยเสี่ยง
ความดันโลหิตสูง
ไขมันในเลือดสูง
เบาหวาน
ผู้ป่วยไม่เคยไปตรวจสุขภาพเลยทำให้ไม่ทราบว่าเป็นโรคอะไรบ้าง แต่ล่าสุดที่มาโรงงพยาบาลมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง แพทย์จึงกำลังสงสัยว่าเป็นเบาหวาน กำลังรอผลแลปส่งตรวจอยู่
การสูบบุหรี่
ผู้ป่วยมีประวัติสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ 15 ปี จนถึงปัจจุบันอายุ 59 ปี สูบวันละ 1 ซอง หรือ 20 มวน
มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
ผู้ป่วยบอกว่ามีน้องชายเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กำลังรักษาอยู่
โรคอ้วน
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ข้อที่ 1 พร่องกิจวัตรประจำวันเนื่องจากเจ็บหน้าอก (Chest Pain)
เฝ้าระวังและประเมินอาการเจ็บหน้าอก โดยใช้แบบวัดความเจ็บปวด pain scale
จัดท่านอนศีรษะสูง 45 องศาเพื่อทำให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนมากขึ้น หายใจสะดวกขึ้น ลดอาการเหนื่อย
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง และดูลักษณะการหายใจดูว่า มีการหายใจเร็วและแรงขึ้น หายใจลำบากเพื่อประเมินความรุนแรงของโรค
ประเมินคลื่นไฟฟ้าหัวใจ monitor EKG เพื่อดูถึงความเปลี่ยนแปลงของอาการของโรคและประเมินดูการรักษาได้ทันท่วงที
Absolute bed rest จำกัดการทำกิจกรรมและจัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบเพื่อให้ผู้ป่วยได้พักผ่อน
ดูแลให้ได้รับยาขยายหลอดเลือดตามแผนการรักษา คือยา Isosorbide dinitrate
ข้อที่ 2 มีโอกาสเกิดภาวะ hypoglycemia /hyperglycemia เนื่องจากพร่องความรู้เรื่องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ประเมินและสังเกตอาการของการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย ปวดศีรษะและอาการของการมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น หัวใจเต้นเร็ว เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย
หากผู้ป่วยมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเมื่อเริ่มมีอาการควรรีบตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือด โดยวิธีการเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว และแก้ไขตามระดับอาการดังนี้ อาการไม่มากและรู้สึกตัวดีให้กินอาหารทันที ถ้าเวลาที่เกิดใกล้มื้ออาหารหลัก แต่หากอยู่ระหว่างมื้ออาหารควรกินอาหารว่าง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารเฉพาะโรคเป็นอาหารจืด เบาหวาน ไขมันต่ำ ตรงตามเวลาในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยควบคุมอาการไม่ให้แย่ลง การจดบันทึกและตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ ติดตามผลเลือดเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด (Blood sugar)
ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และการเกิดภาวะ hypoglycemia/ hyperglycemia จากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงนานๆ โดยไม่สามารถควบคุมให้อยู่ในระดับปกติได้
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีและย้ำให้ผู้้ป่วยตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินให้ถูกต้องและการออกกำลังกายที่เหมาะสมเพื่อป้องกันอันตรายจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาลดระดับน้ำตาลในเลือดคือยา Metformin ขนาด 500 มิลลิกรัม และฉีดยาอินซูลินเป็นยาฉีดควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดตามแผนการรักษา
ข้อที่ 3 ผู้ป่วยและญาติวิตกกังวลเนื่องจากอาการเจ็บป่วยของโรคและแผนการรักษา
สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยและญาติเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถบอกถึงสาเหตุของความวิตกกังวลและสามารถให้การดูแลได้อย่างเหมาะสม
ช่วยเหลือทางด้านจิตใจคือตระหนักและยอมรับว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะวิตกกังวล ศึกษาเหตุการณ์ก่อนความวิตกกังวลยอมรับการแสดงออกของผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับตนเองและเผชิญต่อภาวะวิตกกังวลโดยไม่เพิ่มความวิตกกังวลอื่นๆให้ผู้ป่วยและช่วยให้ผู้ป่วยใช้พลังงานส่วนเกินไปในทางที่สร้างสรรค์
ให้กำลังใจและพูดกับผู้ป่วยและญาติในเชิงที่สร้างสรรค์เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติมีกำลังใจมีพลังงานใจในการดำรงชีวิตมากขึ้น
หากิจกรรมให้ผู้ป่วยทำโดยไม่ขัดกับโรคที่เป็นอยู่อาจจะเป็นกิจกกรมเบาๆ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง พูดคุยกับญาติที่มาเยี่ยม คนข้างเตียงเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
ข้อที่ 4 พร่องความรู้ในการดูแลตนเองก่อนและหลังผ่าตัดเนื่องจากขาดข้อมูลเกี่ยวกับโรค
อธิบายให้คนทราบถึงแนวทางการปฏิบัติตนทั้งก่อนไป และหลังไปทำการตรวจการสวนหัวใจ
ขั้นตอนการเตรียมตรวจสวนหัวใจ
เตรียมเอกสารสิทธิบัตรของท่านในการรักษาให้เรียบร้อย
นอนโรงพยาบาลก่อนทำการสวนหัวใจล่วงหน้า 1 วัน เพื่อเจาะเลือดตรวจ,เอกซเรย์,ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ,ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียง ความถี่สูง
ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง
ทำความสะอาดโกนขนบริเวรขาหนีบซ้ายและขวาหรือแขนซ้ายและขวา หลังจากนั้นให้ทำความสะอาดร่างกายและสระผม
งดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืน(24.00 น.) ก่อนวันตรวจอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนตรวจ
ให้สารน้ำตามแผนการรักษาของแพทย์
ประเมินชีพจรส่วนปลาย (หลังเท้า)
เช้าวันตรวจให้งดน้ำและอาหาร แต่ให้รับประทานยาตามปกติ ยกเว้นยาขับปัสสาวะและยาเบาหวาน
ไม่ควรนำของมีค่า ฟันปลอม และไม่สวมแว่นไม่สวมรองเท้า ไม่ใส่ชุดชั้นในเข้าไปในห้องสวนหัวใจ
ก่อนไปห้องสวนหัวใจผู้ป่วยจะได้รับประทานยาผ่อนคลายความเครียดและยาฉีดป้องกันการแพ้ยาป้องกันการแพ้สารทึบแสง หรืออื่นๆตามแผนการรักษาของแพทย์
ผู้ป่วยจะต้องปัสสาวะก่อนไปห้องสวนหัวใจ
การดูแลหลังการสวนหัวใจ
ให้นอนหงายราบห้ามยกศรีษะ ห้ามงอขาข้างขวา(แขนขวา) หรือข้างที่ใส่สายสวนหัวใจและจะมีการวางหมอนทรายทับแผลไว้ เป็นเวลา 4 ชั่วโมงเพื่อห้ามเลือด
เมื่อกลับถึงหอผู้ป่วยถ้าไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ให้ดื่มน้ำ หรือ น้ำหวานได้ทันที และสามารถรับประทานอาหารได้ ในท่านอนจนกว่าจะครบ 4 ชั่วโมงหลังจากการทำจึงลุกขึ้นรับประทานได้หากมีข้อสงสัยติดต่อเจ้าหน้าที่
ผู้ป่วยสามารถลุกนั่งบนเตียงได้เมื่อครบ 4 ชั่วโมงและเดินได้ครบ 24 ชั่วโมง หรือวันรุ่งขึ้น หลังใส่สายสวนหัวใจ
ห้ามไอ จามแรงๆ หรือเบ่งเพราะอาจทำให้เลือดออกจากแผลบริเวณขาหนีบได้
ถ้ารู้สึกอุ่นๆ บริเวณขาหนีบอาจเกิดจากมีเลือดออกจากแผลให้รีบแจ้งพยาบาลทราบทันทีเพื่อให้การแก้ไข
ถ้ามีแผลบวม ปวดแผล ชาที่ขา หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ให้แจ้งพยาบาลทันที
ขณะยังไม่ครบ 4 ชั่วโมงหลังจากการทำท่าปวดปัสสาวะมากหรือปัสสาวะไม่ออก จะต้องใส่สายสวนปัสสาวะ
มีการตรวจวัดความดันโลหิต ชีพจรอย่างใหล้ชิด ทุก 15 นาที 4 ครั้งทุก 30 นาที และทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าปกติ
มีการตรวจคลื่อไฟฟ้าหัวใจทันทีที่มาถึงหอผู้ป่วยและวันรุ่งขึ้น
แพทย์ทำการสวนหัวใจจะเป็นคนให้ข้อมูลการตรวจการ
ยาที่ได้รับ
Plavix ขนาด 75 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้า เป็นยาต้านเกล็ดเลือด
ยา RI ให้ยึดตามระดับน้ำตาลในเลือด scale กลางของโรงพยาบาล เป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด (ยาฉีด)
Isosorbide dinitrate ขนาด10 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 1 เม็ด 3 เวลาก่อนอาหาร เช้า กลางวัน เย็น เป็นยาขยายหลอดเลือด
Metformin ขนาด 500 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้า เป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด