Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทักษะทางภาษาเพื่อการสื่อสาร - Coggle Diagram
ทักษะทางภาษาเพื่อการสื่อสาร
ทักษะด้านการส่งสาร
1.การเขียน
ลักษณะของงานเขียนที่ดี
มีเนื้อหาดีและรายละเอียดเด่นชัด
มีรูปแบบการเขียนเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหา
มีความกระจ่าง
ใช้ภาษาถูกต้องเหมาะสม
มีสัมพันธภาพ
เรื่องราวชวนติดตาม
มีเอกภาพ
มีจินตนาการที่สอดคล้องกับเนื้อหา
มีจุดมุ่งหมายในการเขียนที่ชัดเจน
การพัฒนาทักษะการเขียน
ทักษะการเขียนเป็นทักษะที่สามารถพัฒนาจนเกิดความชำนาญได้โดยควรศึกษาและหมั่นฝึกฝนในเบื้องต้นในเรื่อง “การเขียนย่อหน้า” แล้วฝึกเขียนเชื่อมเนื้อความแต่ละย่อหน้าให้สัมพันธ์กันโดยอยู่ในขอบเขตของจุดประสงค์ในการเขียน หรือ หัวข้อในการเขียน
ความหมายและความสำคัญของการเขียน
การเขียน หมายถึง การที่มนุษย์พยายามถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้ ความรู้สึกนึกคิดของตนเอง เพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยอาศัยสัญลักษณ์
ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์
การเขียนเชิงสร้างสรรค์ คือ การสื่อความหมาย โดยการเรียบเรียงความรู้ ความคิดและความรู้สึก ตลอดจนประสบการณ์ต่าง ๆ ของผู้เขียนออกมาอย่างอิสระ
2.การพูด
จุดมุ่งหมายของการพูด
เพื่อเกลี้ยกล่อมหรือจูงใจ
เพื่อกระตุ้นหรือสร้างความประทับใจ
เพื่อสอนหรือแจ้งข่าวสารให้ทราบ
เพื่อความบันเทิง
ลักษณะของการพูดอย่างมีประสิทธิภาพ
การพูดที่หวังผลสำเร็จนั้นทำไม่ได้ง่ายนัก นอกจากมีความสนใจ มีความรู้ความสามารถรอบตัวแล้ว ควรจะมีการฝึกหัดมาอย่างถูกวิธีมากพอ สนใจศึกษาศิลปะการพูด
องค์ประกอบของการพูด
เครื่องมือในการสื่อความหมาย (Communication)
เนื้อหาสาร (Message)
ผู้ฟังคือผู้รับสาร (Audience)
ผู้พูด (Speaker)
ตัวอย่างบทพูดในโอกาสสำคัญต่าง ๆ
การพูดแนะนำบุคคล
การพูดเมื่อได้รับเชิญให้พูด
ความหมายและความสำคัญของการพูด
การพูดหมายถึง พฤติกรรมการสื่อความหมายของมนุษย์โดยอาศัยภาษา ผ่านถ้อยคำ น้ำเสียง และอาจมีกิริยาท่าทางร่วมด้วย เพื่อถ่ายทอดความคิดและความรู้สึก การพูดมีความสำคัญยิ่งต่อมนุษย์
ทักษะการพูดนำเสนอเชิงวิชาการ
การนำเสนองานเชิงวิชาการ หมายถึง การนำเสนอเนื้อหาสาระให้แก่บุคคลเป้าหมายให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจ และยอมรับในสาระที่นำเสนอตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ และอาจมีการใช้สื่อต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจ และให้เกิดความชัดเจน และน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
ทักษะด้านการรับสาร
2.การอ่าน
จุดมุ่งหมายของการอ่าน
อ่านเพื่อหาคำตอบ
อ่านเพื่อปฏิบัติตาม
อ่านเพื่อความรู้
อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน
ประโยชน์ของการอ่าน
ประโยชน์ต่อตนเอง คือก่อให้เกิดความรอบรู้ คืออ่านมากย่อมรู้มาก
ประโยชน์ต่อสังคม เช่น ทางด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม การอ่านเป็นกุญแจในการสืบค้น
กระบวนการการอ่าน
การเข้าใจความหมายของสาร
การมองเห็นตัวอักษร สัญลักษณ์ หรือข้อความชัดเจนแล้วเข้าใจ
การมีปฏิกิริยาต่อสาร
การบูรณาการความคิด
ทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์
การอ่านช่วยพัฒนาสติปัญญาของผู้อ่าน ช่วยให้ผู้อ่านทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน
ความหมายและความสำคัญของการอ่าน
การอ่านเป็นทักษะประเภทหนึ่งที่มนุษย์ใช้สำหรับสืบค้นและเรียนรู้บรรดาศิลปวิทยาการต่าง ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ความคิดและประสบการณ์
1.การฟัง
ประโยชน์ของการฟัง
ประโยชน์ต่อตนเอง คือ การฟังที่ดีเป็นพฤติกรรมของผู้มีมารยาทในการเข้าสังคม
ประโยคต่อสังคม การฟังที่ดีเป็นกระบวนการสื่อสารที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
มารยาทในการฟัง
มารยาทในการฟังระหว่างบุคคล เช่น การพูดคุยสนทนา
มารยาทในการฟังกลุ่ม เช่น การฟังโต้วาที
จุดมุ่งหมายของการฟัง
การฟังเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์
การฟังเพื่อสังคม
วิธีฝึกฝนและพัฒนาทักษะการฟัง
พยายามจดบันทึกทุกครั้งในขณะที่ฟัง
ปัญหาการจับใจความสำคัญ
พยายามหาประโยชน์จากการฟัง
ขณะฟัง ต้องหมั่นฝึกปฏิบัติให้ได้ตามขั้นตอนการฟัง
ต้องรู้จักสังเกตอวัจนภาษาของผู้พูด
ไม่เป็นคนใจแคบ
ฟังให้ครบ
รักษามารยาทในการฟัง
ฟังอย่างสุภาพและตั้งใจจริง
ทำตัวให้มีความพร้อมที่จะรับฟัง
กระบวนการฟัง
การเข้าใจสิ่งที่ได้ยิน (Comprehension)
การตีความสิ่งที่ได้ยิน (Interpretation)
การตอบสนอง (Reaction)
การมีสมาธิต่อสิ่งที่เราได้ยินนั้น (Concentration)
การได้ยินเสียงที่มากระทบโสตประสาท (Hearing)
ทักษะการฟังเชิงรุก
การฟังเชิงรุก (ในที่นี้มีความหมายเดียวกับการฟังด้วยใจ, การฟังอย่างตั้งใจ) คือการฟังที่มีความหมายครอบคลุมทั้งการได้ยินเสียงที่อีกฝ่ายพูด โดยไม่ใช้ประสบการณ์ อคติ หรือความคาดหวังของตนไปตัดสินว่าเรื่องที่ได้ยินนั้นผิดหรือถูก
ความหมายและความสำคัญของการฟัง
การฟังเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งของการรับสาร (Inputting) ซึ่งนับว่าเป็นทักษะที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นทักษะที่มนุษย์ต้องใช้ในชีวิตประจำวันการฟังเป็นทักษะทางภาษาที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ มนุษย์รู้จักรับฟังมาตั้งแต่รับรู้สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
ข้อแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นฝึกการฟัง
การฟังเชิงรุกไม่ใช่การนั่งเงียบตลอดเวลา ผู้ฟังสามารถสื่อสารโต้ตอบกลับได้ ทั้งการรับคำ พยักหน้า พูดถามกลับ แสดงความห่วงใย เพื่อให้ผู้พูดรับรู้ได้ว่าเรากำลังตั้งใจฟังอยู่