Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 12 ความซื่อสัตย์สุจริต - Coggle Diagram
บทที่ 12 ความซื่อสัตย์สุจริต
ความหมายของความซื่อสัตย์สุจริต
แง่มุมหนึ่งของศีลธรรม แสดงถึงคุณลักษณะทางบวกและคุณธรรม อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความจริงใจ และความตรงไปตรงมา พร้อมด้วยความประพฤติตรง ตลอดจนการงดเว้นการโกหก การคดโกง หรือการลักขโมย เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น ความซื่อสัตย์ยังหมายถึงความน่าไว้วางใจ ความภักดี ความเป็นธรรมและความบริสุทธิ์ใจ
ความเป็นมาของความซื่อสัตย์สุจริต
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเรื่องการทำงานก็ทรงเน้นเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตเป็นสำคัญ การที่จะทำงานให้สัมฤทธิ์ผลสมปรารถนาคือให้เน้นประโยชน์และเน้นธรรมด้วยนั้นจะอาศัยความรู้อย่างเดียวไม่ได้จำเป็นต้องอาศัยความสุจริต ความบริสุทธิ์ใจ
กายสุจริต เป็นความสุจริตทางร่างกาย ทำสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ประพฤติชอบด้วยกาย ไม่แย่งชิงลักขโมย
วจีสุจริต เป็นสุจริตทางวาจา ทำสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยวาจา ละเว้นการพูดเท็จ
มโนสุจริต เป็นสุจริตทางใจ ทำสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยใจ
แนวทางความซื่อสัตย์สุจริตของครู
สิ่งที่ควรตระหนักไว้เสมอ ก็คือ ความพร้อมของผู้เรียนในระดับพื้นฐาน คือ สติปัญญา สุขภาพจิตและประสบการณ์ทางสังคม นอกจากนั้นความเชื่อในผลแห่งการกระทำของตน ความมุ่งอนาคตมากกว่ามุ่งปัจจุบันและความสามารถบังคับตนเองอย่างมีเหตุผลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญซึ่งผู้เรียนควรจะมีความพร้อมและควรพัฒนาและเสริมสร้างไปด้วยกันทั้งนี้เพราะจะทำให้เกิดการเรียนรู้ในการพิจารณา ตัดสิน และฝึกฝนการแสดงออกของพฤติกรรมที่สอดคล้องกับความซื่อสัตย์สุจริตได้เร็วขึ้นและดีขึ้น
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของ Kohlberg
ความรู้เชิงจริยธรรม หมายถึง ความรู้ว่าอะไรดีอะไรชั่วภายในสังคมของตน แต่ความรู้ว่าอะไรดีอะไรชั่วนี้ยังเป็นข้อสรุปว่า คนจะต้องทำตามที่ตนเองรู้เสมอไปเช่นรู้ว่าคอรัปชั่นเป็นสิ่งเลว ก็ไม่แน่ว่าจะไม่คอรัปชั่น
ทัศนคติเชิงจริยธรรม คือ ความรู้สึก ของบุคคลที่มีต่อสิ่งถูกสิ่งผิดในสังคมว่า ชอบหรือไม่ชอบ ทัศนคติมีลักษณะจูงใจให้คนทำพฤติกรรมตามทัศนคติค่อนข้างมาก
เหตุผลเชิงจริยธรรม หมายถึง การใช้เหตุผลที่บุคคลใช้เลือกที่จะทำ หรือไม่เลือกที่จะทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ถ้าเด็กคนจนต้องขโมยเงินมาซื้อยาให้แม่ที่เจ็บป่วยอยู่เด็กจะให้เหตุผลว่าเขาทำอย่างนั้นถูกแล้วเพราะเขาต้องมีความกตัญญู จริยธรรมเรื่องความซื่อสัตย์ต้องเป็นรองเพราะเขาเป็นคนจน
พฤติกรรมเชิงจริยธรรม เป็น พฤติกรรม ที่คนแสดงออกมาตามที่สังคมนิยมชื่นชอบ หรืองดเว้นการแสดงพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ของสังคม เช่นการให้ทาน นอกจากนั้น ยังหมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกในสภาพการณ์ที่ยั่วยุ เช่น ถ้ามีคนมาให้สินบนข้าราชการเขาจะรับหรือไม่
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของ Kohlberg
ขั้นที่ 1 การถูกลงโทษและการเชื่อฟัง
ขั้นที่ 2 กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน
ขั้นที่ 3 ความคาดหวังและการยอมรับในสังคม
ขั้นที่ 4 กฎและระเบียบ
ขั้นที่ 5 สัญญาสังคมหรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา
ขั้นที่ 6 หลักการคุณธรรมสากล
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
1.ระดับกฎเกณฑ์ภายนอก เป็นระดับที่เด็กยึดเกณฑ์ต่างๆจากภายนอกโดยพ่อแม่หรือผู้ใหญ่เกี่ยวข้องกับอิทธิพลต่อจริยธรรม
2.ระดับที่เด็กมีกฎเกณฑ์ของตน เป็นระดับที่เด็กเริ่มปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอกมากขึ้น ระยะนี้เด็กจะมีความคิดเป็นของตนเอง