Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ
ปัจจัยที่มีผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะ
อายุ หรือ พัฒนาการในวัยต่าง ๆ
วัยเด็ก
เด็กทารกกระเพาะปัสสาวะมีความจุน้อย
เด็กวัยก่อนเรียนจะเริ่มควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้เองโดยจะควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะในตอน กลางวันก่อนกลางคืน
เด็กวัยเรียนระบบขับถ่ายปัสสาวะจะเจริญเต็มที่
จะปัสสาวะ 6-8 ครั้งต่อวัน ปัสสาวะรดที่นอน
ในตอนกลางคืนจะลดลง
ผู้สูงอายุ
กระเพาะปัสสาวะก็จะบีบตัวทําให้รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะและทําให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งข้ึน
กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะบีบ ตัวลดลง
ปัสสาวะคั่ง
เกิดการติดเชื้อ
น้ําและอาหาร
จํานวนน้ําที่ร่างกายได้รับ
ถ้าร่างกายได้รับน้ํามากจํานวนครั้งของการขับถ่ายและปริมาณปัสสาวะก็จะมาก
จํานวนน้ําที่ร่างกายสูญเสีย
จะมีผลต่อลักษณะ จํานวนครั้ง
และปริมาณปัสสาวะ
เสียเหงื่อ
ท้องเสีย
อาหารที่ร่างกายได้รับ
อาหารที่มีความเค็มมาก
ปัสสาวะจะออกน้อยลงและเข้มข้นมาก
ยา
ยาที่ขับออกทางระบบปัสสาวะ
ส่งผลให้สีของน้ําปัสสาวะ เปลี่ยนแปลง
ยาที่มีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ
จะรบกวนการขับถ่ายปัสสาวะทําให้ปัสสาวะคั่ง
ด้านจิตสังคม
ความเครียดและความวิตกกังวล
กระตุ้นให้อยากถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
ความกลัว
กลั้นปัสสาวะไม่ได้
สังคมและวัฒนธรรม
การอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวมีอิทธิพล
ต่อนิสัยการขับถ่ายของบุคคล
การขับถ่ายปัสสาวะเป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่ต้องการให้ใครเห็น
ลักษณะท่าทาง
ผู้ชายจะใช้ท่ายืน
ผู้หญิงจะใช้ท่านั่ง
กิจกรรมและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
การออกกําลังกายสม่ำเสมอ
ทําให้การเผาผลาญอาหารเพิ่มขึ้น
การผลิตปัสสาวะ มากขึ้นและถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
กล้ามเนื้อหูรูดทําหน้าที่ได้ดี
ผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะไว้เป็นเวลานาน
ทําให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวน้อยลง
ปัสสาวะไหลตลอดเวลา
ทําให้กระเพาะปัสสาวะไม่มีโอกาสยืดขยาย
สตรีในภาวะหมดประจําเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง
ทําให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัว ลดลง
ผู้ที่นอนอยู่บนเตียงนาน ๆ ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว
ทําให้ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ กระเพาะปัสสาวะ
และกล้ามเนื้อหูรูดลดลง
การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะไม่ดี
ปัสสาวะตกตะกอน
พยาธิสภาพ
พยาธิสภาพของโรคหลายชนิดมีผลต่อ
การสร้างปัสสาวะทั้งปริมาณและคุณภาพ
นิ่ว
เบาหวาน
ความดันโลหิตสูง
การเปลี่ยนแปลงของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย
สตรีตั้งครรภ์มดลูกมีการขยายตัวขึ้นทําให้กด ทับกระเพาะปัสสาวะ
ส่งผลให้ความจุของกระเพาะปัสสาวะลดลงจ
อยากถ่ายปัสสาวะบ่อย
การผ่าตัดและการตรวจเพื่อการวินิจฉัยต่าง ๆ
ความเครียดและความวิตกกังวล
ในกระบวนการรักษาทําให้ร่างกายหลั่ง ADH
และยังทํา ให้มีการเพิ่มขึ้นของ Aldosterone
ทําให้เกิดการคั่งของโซเดียมและน้ํา
การตรวจวินิจฉัยในระบบทางเดินปัสสาวะ
การส่องกล้องเพื่อตรวจในระบบทางเดิน ปัสสาวะส่วนล่าง
มีผลทําให้มีเลือดออกในปัสสาวะ
การฉีดยาชาที่ไขสันหลัง
ส่งผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะของผู้ป่วย
ผู้ป่วยไม่รู้สึกอยาก ถ่ายปัสสาวะ
การได้รับยาสลบ ยาแก้ปวดชนิดเสพติด
ทําให้อัตราการกรองที่ โกลเมอรูสัส (Glomerulus) ลดลง
ส่งผลให้ปริมาณปัสสาวะลดลง
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะและ
การขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
คนแต่ละวัยจะมีปัสสาวะที่ขับถ่ายออกมาในแต่ละครั้ง
แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการทําหน้าที่ของการขับถ่ายปัสสาวะ
การขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
ไม่มีปัสสาวะ
จากภาวะไตสูญเสียหน้าที่ จึงไม่มีปัสสาวะหรือมีน้อยมากจนไม่สามารถกระตุ้นผนังกระเพาะปัสสาวะให้เกิดความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะได้
ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ
เป็นภาวะที่มีปัสสาวะน้อยกว่า500มิลลิลิตรใน24 ชั่วโมง หรือน้อยกว่า 30 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง
ปัสสาวะมากกว่าปกติ
ไตผลิตปัสสาวะออกมา จํานวนมากกว่าปกติ อาจเป็นภาวะที่เกิดขึ้นชั่วคราว เนื่องจาก ดื่มน้ํามาก ได้รับยาขับปัสสาวะ ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
ปัสสาวะตอนกลางคืน
มักพบในผู้สูงอายุชายที่มีต่อมลูกหมากโต ท่อปัสสาวะตีบแคบ ทําให้ปัสสาวะไม่สุดและมีปัสสาวะตกค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ทําให้ปัสสาวะบ่อย ทั้งในเวลากลางวันและเวลากลางคืน
ปัสสาวะขัดปัสสาวะลําบาก
ภาวะที่มีการเบ่งถ่ายปัสสาวะผู้ป่วยจะรู้สึก ปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ ถ่ายลําบาก ต้องใช้เวลาและใช้แรงในการเบ่งเพิ่มขึ้น
ถ่ายปัสสาวะบ่อยหรือกะปริบกะปรอย
เป็นภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะ บ่อยครั้งกว่าปกติ
และมีจํานวนปัสสาวะที่ถ่ายออกแต่ละครั้งลดน้อยลง
เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะมี ความจุลดลงจากก้อนเนื้องอก นิ่ว หรือมีการหดตัว
ปัสสาวะรดที่นอน
เป็นภาวะที่มีปัสสาวะไหลออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ
ประสาทที่ควบคุมการขับถ่ายยัง เจริญไม่เต็มที่
ปัสสาวะคั่ง
เป็นภาวะที่มีน้ําปัสสาวะคั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
เป็นจํานวนมากกว่าปกติและไม่สามารถจะถ่ายปัสสาวะออกมาได้
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่โดยสิ้นเชิง
ปัสสาวะจะไหลตลอดเวลา โดยไม่มีความรู้สึกปวดอยากถ่ายปัสสาวะ
กลั้นปัสสาวะไม่ทัน หรือ ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน
เป็นภาวะที่เมื่อรู้สึกปวดอยากถ่ายปัสสาวะก็มีปัสสาวะเล็ดหรือราด ออกมาทันทีไม่สามารถควบคุมได้
เนื่องจากการขยายตัวที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ
ปัสสาวะเล็ด
การที่มีปัสสาวะไหลซึมออกมาโดยไม่ตั้งใจ
ขณะที่มีความดันในช่องท้องสูงขึ้น
ไอ จาม
หัวเราะ
ปัสสาวะท้น
มีปัสสาวะจํานวนมากเกินกว่า ที่กระเพาะปัสสาวะจะ
เก็บกักไว้ได้ จึงทําให้ปัสสาวะส่วนเกินไหลออกมา
เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะบีบตัวน้อยลงหรือไม่บีบตัว
มีการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะส่วนลา่ง
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ที่เกิดจากภาวะหรือโรคอื่น ๆ
สาเหตุจากจิตใจ-อารมณ์ อาการเพ้อคลั่ง
ผลของยาบางชนิด
ภาวะที่ถูกจํากัดการเคลื่อนไหว
ส่วนประกอบของปัสสาวะที่ผิดปกติ
ปัสสาวะเป็นเลือด
ภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงปนออกมาในน้ําปัสสาวะ
ทําให้ปัสสาวะเป็นสีแดง
น้ําตาลในปัสสาวะ
ภาวะที่มีน้ำตาลปนออกมาในน้ำปัสสาวะ
มักจะพบในผู้ป่วยเบาหวาน
โปรตีนในปัสสาวะ
ภาวะไตเป็นโรค ทํา ให้การกรองของกรวยไตไม่ดี
ซึ่งอาจเกิดจากกรวยไตอักเสบ
คีโตนในปัสสาวะ
เป็น ผลจากการเผาผลาญไขมันให้เป็นพลังงาน
แทนพลังงานที่ได้จากน้ําตาล
พบในผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการ รักษาไม่ดี
ควบคุมระดับน้ําตาลไม่ได้ และพบในผู้ป่วยที่ขาดอาหารรุนแรง
ปัสสาวะมีสีเหลืองน้ําตาลของบิลิรูบิน
มีการอุดตันของทางเดินน้ําดีจาก การมี Hemolytic jaundice แต่ถ้าพบ Urobilirubin ในปัสสาวะแสดงว่าเซลล์ตับถูกทําลาย
ปัสสาวะมีสีดําของฮีโมโกลบิน
ภาวะที่มีการสลายตัวของ เม็ดเลือดแดงทําให้เกิด Oxyhemoglobin หรือ Methemoglobin ในปัสสาวะ
อาจเกิดจากการได้รับ เลือดผิดกลุ่ม
ปัสสาวะเป็นหนอง
พบในผู้ป่วยที่มีการอักเสบติดเชื้อใน
ระบบทางเดินปัสสาวะ
นิ่วในปัสสาวะ
ภาวะที่มีก้อนนิ่วปนออกมากับน้ําปัสสาวะเนื่องจาก
มีการตกตะกอนของเกลือแร่ในร่างกาย
ไขมันในปัสสาวะ
ภาวะปัสสาวะที่มีไขมันออกมาในน้ําปัสสาวะ
หลักการส่งเสริมสุขภาพในระบบทางเดินปัสสาวะ
ส่งเสริมให้ได้รับน้ําอย่างเพียงพอ
ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
หรือมีนิ่วในทางเดิน ปัสสาวะ จะต้องได้รับน้ําเพิ่มมากขึ้นประมาณวันละ 2,000-3,000 มิลลิลิตร
เพื่อให้มีปัสสาวะจํานวนมาก พอที่จะชะล้างเชื้อโรค
ให้ออกจากระบบทางเดินปัสสาวะ
ลดการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะจากนิ่ว
กระตุ้นกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะให้ทํางาน
ป้องกันการ ลีบเล็ก (Atrophy) ของกระเพาะปัสสาวะ
กรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจวายหรือไตวาย
ต้องจํากัดน้ํา ให้น้อยลง
เพื่อป้องกันภาวะน้ําเกินและภาวะบวม
ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
พยาบาลควรสอนและแนะนําผู้ป่วยในการป้องกัน
การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
ส่งเสริมให้กล้ามเนื้อทํางานอย่างเต็มที่
การกระตุ้นให้บริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
จะช่วยป้องกันกล้ามเนื้อหย่อนสมรรถภาพได้
รับประทาน อาหารที่มีกากมากๆ
เพื่อให้อุจจาระอ่อนตัวขับถ่ายได้สะดวก
ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ
พยายามระงับอาการไอ และหลีกเลี่ยงการยกของหนัก
สามารถลดอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ กรณีปัสสาวะไม่ออก
จัดให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียวในที่มิดชิดขณะถ่ายปัสสาวะ
สิ่งแวดล้อมในห้องน้ําสะอาดและปลอดภัย
ช่วยให้ผู้ป่วยได้ถ่ายปัสสาวะในท่าที่สะดวก
ช่วยในด้านองค์ประกอบทางอารมณ์
ทำให้ถ่ายปัสสาวะได้
การใช้ความร้อนช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ
ให้เวลาในการขับถ่ายปัสสาวะ ไม่เร่งรัดผู้ป่วยเกินไป
กดหน้าท้องเบาๆ เหนือบริเวณกระเพาะปัสสาวะ
จะช่วยให้ปัสสาวะสะดวก
สอนให้นวดกระเพาะปัสสาวะ
กลั้นหายใจขณะที่กดปลายนิ้วลงไปที่กระเพาะปัสสาวะ
ในระหว่างที่นวดให้ผู้ป่วยขมิบกล้ามเน้ือฝีเย็บสลับกับการนวด
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ
กรณีท่ีไม่สามารถไปห้องน้ําได้
พยาบาลอาจต้องนําหม้อนอน (Bedpan)
ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้หญิง หรือ กระบอกปัสสาวะ (Urinal)
ในกรณีที่ผู้ป่วย เป็นผู้ชายมาให้ผู้ป่วยที่เตียง
เสริมสร้างนิสัยของการถ่ายปัสสาวะ
กระตุ้นให้ผู้ป่วยไปปัสสาวะ ชมเชย และให้กําลังใจ
ความสําเร็จขึ้นอยู่กับความเต็มใจและความขยันของผู้ป่วย
การสวนปัสสาวะ
ชนิดของการสวนปัสสาวะ ม
การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว
เป็นการใส่สายสวน ปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะ
เข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ
เพื่อระบายน้ําปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะ
การสวนคาสายสวนปัสสาวะ
เป็นการสอดใส่สายสวนปัสสาวะชนิด Foley catheter
ผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสู่ กระเพาะปัสสาวะแล้วคาสายสวนสวนปัสสาวะ
วัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะ
เพื่อระบายเอาน้ําปัสสาวะออกในผู้ป่วยที่ไม่สามารถ
ถ่ายปัสสาวะเองได้
เพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่างในผู้ป่วยท่ีต้องทําหัตถการต่างๆ
เพื่อตรวจสอบจํานวนน้ําปัสสาวะท่ีเหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ
เพื่อเก็บน้ําปัสสาวะส่งตรวจเพาะเชื้อ
เพื่อสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ หรือ
ใส่ยาในกระเพาะปัสสาวะ
เพื่อศึกษาความผิดปกติของท่อปัสสาวะ
เพื่อตรวจสอบจํานวนน้ําปัสสาวะท่ีขับออกมาในผู้ป่วยอาการหนักอย่างถูกต้อง
หลักการพยาบาลผู้ป่วยได้รับการใส่ถุงยางอนามัย
เพื่อระบายปัสสาวะ
วัตถุประสงค์
เพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันการระคายเคือง
ของผิวหนัง เนื่องจากเปียกปัสสาวะ บ่อย ๆ
ป้องกันการเกิดแผลกดทับในรายที่ต้องรักษาตัวนาน ๆ
ป้องกันการอักเสบในรายที่มีแผล
ป้องกันการติดเชื้อจากการใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้
การใส่ถุงยางอนามัย เป็นการระบายปัสสาวะภายนอก
ในผู้ชายให้ปัสสาวะไหลไปตามท่อลงสู่ ภาชนะหรือถุงรองรับปัสสาวะ
การใส่ถุงยางอนามัยจะพิจารณาผู้ที่มีปัญหา
ไม่สามารถควบคุมการขับถ่าย ปัสสาวะ
ถุงยางอนามัยลดอัตราเสี่ยงการนําเชื้อเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ และไม่ทําให้เกิด อันตรายต่อท่อปัสสาวะ
ต้องเปลี่ยนถุงยางอนามัยอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งที่เปลี่ยนถุงยางอนามัย
การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
การตรวจปัสสาวะสามารถบอกหน้าที่ของไต
และการทํางานของระบบอื่น
วิธีการเก็บปัสสาวะแบบรองเก็บปัสสาวะช่วงกลาง
เก็บปัสสาวะในช่วงถัดมาประมาณครึ่งภาชนะ
หรือประมาณ 30-50 ml. โดยห้ามสัมผัสด้านใน
ของภาชนะ แล้วปัสสาวะช่วงสุดท้ายทิ้งไป
วิธีการเก็บปัสสาวะจากสายสวนปัสสาวะที่คาไว้
ใช้ Clamp หนีบสายสวนปัสสาวะที่ใต้รอยต่อระหว่างสายต่อของถุงกับสายสวนไว้นาน ประมาณ 15–30 นาที
เพื่อให้มีปัสสาวะใหม่เก็บอยู่ก่อน
เตรียม Syringe sterile เข็มปลอดเชื้อ Sterile swab น้ํายาฆ่าเชื้อ
ล้างมือ สวมถุงมือสะอาด เช็ดบริเวณที่จะเก็บปัสสาวะ
ด้วยน้ํายาฆ่าเชื้อ
ใช้กระบอกฉีดยาที่มีเข็มปลอดเชื้อแทงที่สายสวนปัสสาวะตรงตําแหน่งที่ทําความสะอาดฆ่าเชื้อไว้แล้ว ดูดปัสสาวะออกมาประมาณ 10 มล. ส่งตรวจเพาะเชื้อทันที
วิธีการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
ควรแนะนําให้งดโปรตีน คาเฟอีน ก่อนการเก็บปัสสาวะประมาณ 6 ชั่วโมง และให้ผู้ป่วยดื่มน้ํามากๆ ก่อนและระหว่างการเก็บ
เป็นการเก็บปัสสาวะที่มีการรวบรวมไว้จนครบ 24 ชั่วโมงแล้ว ส่งตรวจ