Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ
ปัจจัยที่มีผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะ
สังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural factor)
สังคมและวัฒนธรรมประเพณีรวมถึงการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวมีอิทธิพลต่อนิสัยการขับถ่ายของบุคคล
ลักษณะท่าทาง (Body position)
ผู้้ชายจะใช้ท่ายืนซึ่งพบว่าผู้ชายบางรายจะมี
ปัญหาในการขับถ่ายปัสสาวะเมื่ออยู่ในท่านอนราบ
ผู้หญิงจะใช้ท่านั่ง ถ้าจำเป็นต้องใช้หม้อนอนบน
เตียงราบก็อาจจะไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได
ด้านจิตสังคม (Psychosocial factors)
ความเครียดและความวิตกกังวลกระตุ้น
ให้อยากถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
ความกลัวที่รุนแรงอาจทำให้กลั้นปัสสาวะไม่ได
ความปวดมีผลยับยั้งการถ่ายปัสสาวะ
ความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะเมื่อได้ยินคนพูดเรื่องถ่ายปัสสาวะหรือได้ยินเสียงน้ำไหล
กิจกรรมและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Activity and Muscle tone)
การออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำให้การเผาผลาญอาหารเพิ่มขึ้น ทำให้มีการผลิตปัสสาวะมากขึ้นและถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
ผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะไว้เป็นเวลานาน ทำให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวน้อยลงเนื่องจากปัสสาวะไหลตลอดเวลา
สตรีในภาวะหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ก็ทำให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวลดลง
ผู้ที่นอนอยู่บนเตียงนาน ๆ ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว มีผลทำให้ความตึงตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อหูรูดลดลง
ยา (Medication)
ยาที่ขับออกทางระบบปัสสาวะจะส่งผลให้สีของน้ำปัสสาวะ
เปลี่ยนแปลง
ยาที่มีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติจะรบกวนการขับถ่ายปัสสาวะทำให้ปัสสาวะคั่ง
พยาธิสภาพ (Pathologic conditions)
โรคหลายชนิดมีผลต่อการสร้างปัสสาวะทั้งปริมาณและคุณภาพ เช่น นิ่ว ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ภาวะหัวใจล้มเหลว
ในสตรีตั้งครรภ์มดลูกมีการขยายตัวขึ้นทำให้กดทับกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้ความจุของกระเพาะปัสสาวะลดลงจึงรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะบ่อย
น้ำและอาหาร (Food and fluid)
จำนวนน้ำที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake) ถ้าร่างกายได้รับน้ำมากจำนวนครั้งของการขับถ่ายและปริมาณปัสสาวะก็จะมาก
จำนวนน้ำที่ร่างกายสูญเสีย (Loss of body fluid) เช่น การสูญเสียเหงื่อ มีไข้สูง เสียเลือดมาก อาเจียน ท้องเสีย
อาหารที่ร่างกายได้รับ (Food intake) เช่น อาหารที่มีความเค็มมาก (มีปริมาณโซเดียมสูง) ปัสสาวะจะออกน้อยลงและเข้มข้นมาก เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนจะทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น
การผ่าตัดและการตรวจเพื่อการวินิจฉัยต่าง ๆ (Surgical and diagnostic procedure)
การตรวจวินิจฉัยในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น การส่องกล้องเพื่อตรวจในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (Cystoscopy)
การฉีดยาชาที่ไขสันหลัง ส่งผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะ
ความเครียดและความวิตกกังวลในกระบวนการรักษาทำให้ร่างกาย
อายุ หรือ พัฒนาการในวัยต่าง ๆ (Developmental growth)
วัยเด็ก เด็กทารกกระเพาะปัสสาวะมีความจุน้อย การขับถ่ายปัสสาวะจึงบ่อยครั้งกว่าผู้ใหญ
ผู้สูงอาย จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามวัย เมื่อมีน้ำปัสสาวะเพียง 150-200 มิลลิลิตร กระเพาะปัสสาวะก็จะบีบตัวทำให้รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะและทำให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้น
หลักการส่งเสริมสุขภาพในระบบทางเดินปัสสาวะ
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ กรณีปัสสาวะไม่ออก
จัดให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียวในที่มิดชิดขณะถ่ายปัสสาวะ
ช่วยให้ผู้ป่วยได้ถ่ายปัสสาวะในท่าที่สะดวกเป็นธรรมชาต
ช่วยกดหน้าท้องเบาๆ เหนือบริเวณกระเพาะปัสสาวะจะช่วยให้ปัสสาวะสะดวก
การเปิดก๊อกน้ำให้ได้เห็น หรือได้ยินเสียงน้ำไหลจะช่วยในด้านองค์ประกอบทางอารมณ
การใช้ความร้อนช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ เช่น การใช้น้ำอุ่นราดบริเวณฝีเย็บ
ให้เวลาในการขับถ่ายปัสสาวะ ไม่เร่งรัดผู้ป่วยเกินไป
สอนให้นวดกระเพาะปัสสาวะ
การนวดกระเพาะปัสสาวะเป็นเทคนิคที่ช่วยทำให้กระเพาะ
ปัสสาวะว่าง
ส่งเสริมให้กล้ามเนื้อทำงานอย่างเต็มท
การกระตุ้นให้บริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
จะช่วยป้องกันกล้ามเนื้อหย่อนสมรรถภาพได้ โดยการทำ Kegel exercise
เสริมสร้างนิสัยของการถ่ายปัสสาวะ
วิธีการคือใช้วิธีกระตุ้นให้ผู้ป่วยไปปัสสาวะ ชมเชย และให้กำลังใจ ความสำเร็จขึ้นอยู่กับความเต็มใจและความขยันของผู้ป่วย
ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
อาบน้ำด้วยฝักบัวแทนอาบในอ่างอาบน้ำ หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่แรง
ใส่ชุดชั้นในที่ทำด้วยผ้าฝ้ายดีกว่าทำด้วยไนล่อน เนื่องจากผ้าฝ้ายทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
ดื่มน้ำ 2 แก้วก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์ และปัสสาวะทิ้งทันทีหลังจากมีเพศสัมพันธ
หลีกเลี่ยงการใส่กางเกงที่แน่นหรือคับเกินไป เพราะทำให้ระคายเคืองบริเวณรูเปิดท่อปัสสาวะ
ฝึกถ่ายปัสสาวะบ่อยๆ ทุก 2-4 ชั่วโมง
เพิ่มความเป็นกรดของปัสสาวะ โดยการรับประทานวิตามินซี และดื่มน้ำผลไม้ที่เป็นกรด
ใช้ Estrogen cream ตามแผนการรักษาของแพทย์
ดื่มน้ำ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว (แก้วละ 240 มิลลิลิตร)
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ กรณีที่ไม่สามารถไปห้องน้ำได้
พยาบาลอาจต้องนำหม้อนอน (Bedpan) ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้หญิง หรือ กระบอกปัสสาวะ (Urinal) ในกรณีที่ผู้ป่วย
ส่งเสริมให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
ผู้ใหญ่ควรได้รับน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ
6-8 แก้ว หรือประมาณ 1,500-2,000 มิลลิลิตร
หลักการพยาบาลผู้ป่วยได้รับการใส่ถุงยางอนามัยเพื่อระบายปัสสาวะ (Condom
catheter)
วัตถุประสงค์
ป้องกันการเกิดแผลกดทับในรายที่ต้องรักษาตัวนาน ๆ
ป้องกันการติดเชื้อจากการใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้
เพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง เนื่องจากเปียกปัสสาวะ
บ่อย ๆ
ป้องกันการอักเสบในรายที่มีแผล
ความหมาย
เป็นการระบายปัสสาวะภายนอก ในผู้ชายให้ปัสสาวะไหลไปตามท่อลงสภาชนะหรือถุงรองรับปัสสาวะ การใส่ถุงยางอนามัยจะพิจารณาผู้ที่มีปัญหา ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะและการขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
ลักษณะของปัสสาวะที่ปกต
มีความเป็นกรดอ่อนๆ pH ประมาณ 4.6-8.0
มีความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) ประมาณ 1.015-1.025
สีเหลืองจางจนถึงสีเหลืองเข้ม สีเหลืองฟางข้าว หรือสีเหลืองอำพัน
มื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic examination) ไม่พบ Casts,
Bacteria, Albumin หรือน้ำตาล ไม่พบเม็ดเลือดแดง
ลักษณะใส ไม่ขุ่น ไม่มีตะกอน
ปัสสาวะใหม่มีกลิ่นแอมโมเนียอ่อนๆ ถ้าตั้งทิ้งไว้นานๆ จะได้กลิ่นแอมโมเนียที่แรง
ปริมาณปัสสาวะปกติในผู้ใหญ่ ประมาณวันละ 800–1,600 มิลลิลิตร
การขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกต
ปัสสาวะขัด ปัสสาวะลำบาก (Dysuria)
เป็นภาวะที่มีการเบ่งถ่ายปัสสาวะ ผู้ป่วยจะรู้สึก
ปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ ถ่ายลำบาก ต้องใช้เวลาและใช้แรงในการเบ่งเพิ่มขึ้น
ถ่ายปัสสาวะบ่อยหรือกะปริบกะปรอย (Pollakiuria)
เป็นภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งกว่าปกติ และมีจำนวนปัสสาวะที่ถ่ายออกแต่ละครั้งลดน้อยลง
ปัสสาวะตอนกลางคืน (Nocturia)
เป็นภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะในตอนกลางคืน
มากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป ถือเป็นความผิดปกติที่ต้องสังเกต
ปัสสาวะรดที่นอน (Enuresis)
เป็นภาวะที่มีปัสสาวะไหลออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจในเด็กที่มี
อายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป
ปัสสาวะมากกว่าปกติ (Polyuria หรือ Diuresis)
เป็นภาวะที่ไตผลิตปัสสาวะออกมา
จำนวนมากกว่าปกติ (มากกว่า 2,500–3,000 มิลลิลิตรต่อวัน)
ปัสสาวะคั่ง (Urinary retention)
เป็นภาวะที่มีน้ำปัสสาวะคั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
เป็นจำนวนมากกว่าปกติและไม่สามารถจะถ่ายปัสสาวะออกมาได
ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ (Oliguria)
เป็นภาวะที่มีปัสสาวะน้อยกว่า 500 มิลลิลิตร ใน 24
ชั่วโมง หรือน้อยกว่า 30 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง หรือ น้อยกว่า 0.5-1 มิลลิลิตร/น้ำหนักตัว 1 กก./ชั่วโมง
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้ (Urinary incontinence)
กลั้นปัสสาวะไม่ทัน หรือ ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน (Urge incontinence/Urgency/ Overactive bladder) เป็นภาวะที่เมื่อรู้สึกปวดอยากถ่ายปัสสาวะก็มีปัสสาวะเล็ดหรือราดออกมาทันทีไม่สามารถควบคุมได
ปัสสาวะเล็ด (Stress incontinence) คือการที่มีปัสสาวะไหลซึมออกมาโดยไม่ตั้งใจขณะที่มีความดันในช่องท้องสูงขึ้น เช่น ไอ จาม หัวเราะ
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่โดยสิ้นเชิง (True Incontinence) ปัสสาวะจะไหลตลอดเวลาโดยไม่มีความรู้สึกปวดอยากถ่ายปัสสาวะ
ปัสสาวะท้น (Overflow incontinence) เป็นภาวะที่มีปัสสาวะจำนวนมากเกินกว่าที่กระเพาะปัสสาวะจะเก็บกักไว้ได้ จึงทำให้ปัสสาวะส่วนเกินไหลออกมาโดยไม่มีความรู้สึกปวดปัสสาวะ
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ที่เกิดจากภาวะหรือโรคอื่น ๆ(Functional Incontinence)เช่น จากการติดเชื้อ สาเหตุจากจิตใจ-อารมณ์ อาการเพ้อคลั่ง (Delirium)
ไม่มีปัสสาวะ (Anuria/Urinary suppression)
ภาวะที่มีปริมาณปัสสาวะน้อยกว่า
50 มิลลิลิตรต่อวันหรือไม่มีการปัสสาวะเลย
ส่วนประกอบของปัสสาวะที่ผิดปกติ
ปัสสาวะมีสีเหลืองน้ำตาลของบิลิรูบิน (Bilirubinuria หรือ Choluria)
ภาวะที่ตรวจพบบิลิรูบินในน้ำปัสสาวะ โดย bilirubin เป็น Breakdown product ของ Hemoglobin ซึ่งปกติจะไม่พบในปัสสาวะ
ปัสสาวะมีสีดำของฮีโมโกลบิน (Hemoglobinuria)
ภาวะที่มีการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงทำให้เกิด Oxyhemoglobin หรือ Methemoglobin ในปัสสาวะ อาจเกิดจากการได้รับือดผิดกลุ่ม ติดเชื้อ ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
คีโตนในปัสสาวะ (Ketonuria)
ภาวะที่ตรวจพบคีโตนในน้ำปัสสาวะโดยคีโตนเป็น
ผลจากการเผาผลาญไขมันให้เป็นพลังงาน แทนพลังงานที่ได้จากน้ำตาล
ปัสสาวะเป็นหนอง (Pyuria)
ภาวะปัสสาวะที่มีเซลล์หนอง เม็ดเลือดขาวในน้ำ
ปัสสาวะบางครั้ง
โปรตีนในปัสสาวะ (Proteinuria หรือ Albuminuria)
ภาวะที่มีโปรตีนหรือแอลบูมิน ในปัสสาวะมากกว่า 150 มิลลิกรัมต่อวัน
นิ่วในปัสสาวะ (Calculi)
ภาวะที่มีก้อนนิ่วปนออกมากับน้ำปัสสาวะ
น้ำตาลในปัสสาวะ (Glycosuria)
ภาวะที่มีน้ำตาลปนออกมาในน้ำปัสสาวะ โดย
คนปกติจะตรวจไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะ
ไขมันในปัสสาวะ (Chyluria)
ภาวะปัสสาวะที่มีไขมันออกมาในน้ำปัสสาวะทำให้
เห็นปัสสาวะเป็นสีขาวขุ่น
ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria)
ภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงปนออกมาในน้ำปัสสาวะ
ทำให้ปัสสาวะเป็นสีแดง
การสวนปัสสาวะ
วัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะ
เพื่อเก็บน้ำปัสสาวะส่งตรวจเพาะเชื้อ
เพื่อสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ หรือใส่ยาในกระเพาะปัสสาวะ
เพื่อตรวจสอบจำนวนน้ำปัสสาวะที่เหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ
เพื่อศึกษาความผิดปกติของท่อปัสสาวะ
เพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่างในผู้ป่วยที่ต้องทำหัตถการต่างๆ
เพื่อตรวจสอบจำนวนน้ำปัสสาวะที่ขับออกมาในผู้ป่วยอาการหนักอย่างถูกต้อง
เพื่อระบายเอาน้ำปัสสาวะออกในผู้ป่วยที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะเองได้
ชนิดของการสวนปัสสาวะ
การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว (Intermittent catheterization) เป็นการใส่สายสวนัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ เพื่อระบายน้ำปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะเมื่อกระเพาะปัสสาวะว่างไม่มีน้ำปัสสาวะไหลออกมาแล้วจะถอดสายสวนปัสสาวะออก
ก า ร ส ว น ค า ส า ย ส ว น ป ั ส ส า ว ะ ( Indwelling catheterization or retainedcatheterization) เป็นการสอดใส่สายสวนปัสสาวะชนิด Foley catheter ผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสกระเพาะปัสสาวะแล้วคาสายสวนสวนปัสสาวะไว้
การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
ความหมาย
การเก็บปัสสาวะส่งตรวจมีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยโรค เนื่องจากไตทำหน้าที่ขับของเสีย
ออกจากเลือด ดังนั้นการตรวจปัสสาวะสามารถบอกหน้าที่ของไต
วิธีการเก็บปัสสาวะแบบรองเก็บปัสสาวะช่วงกลาง (Clean mid-stream urine)
ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยน้ำสะอาด ล้างมือให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง ให้
ปัสสาวะทิ้งช่วงต้นไปเล็กน้อย เก็บปัสสาวะในช่วงถัดมาประมาณครึ่งภาชนะ หรือประมาณ 30-50 ml
วิธีการเก็บปัสสาวะจากสายสวนปัสสาวะที่คาไว้
ใช้Clamp หนีบสายสวนปัสสาวะที่ใต้รอยต่อระหว่างสายต่อของถุงกับสายสวนไว้นาน
ประมาณ 15–30 นาทีเพื่อให้มีปัสสาวะใหม่เก็บอยู่ก่อน
วิธีการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
เป็นการเก็บปัสสาวะที่มีการรวบรวมไว้จนครบ 24 ชั่วโมงแล้ว
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะ
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
การประเมิน
ตรวจร่างกายในระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ การเคาะบริเวณไต เพื่อหาตำแหน่งที่
ปวด
วิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การซักประวัติแบบแผนและลักษณะการขับถ่ายปัสสาวะปกติ จำนวนครั้งใน 24 ชั่วโมง
ลักษณะและสีของปัสสาวะ
ประเมินผลการพยาบาล
ควรมีการประเมินทุกครั้งตามเกณฑการประเมินผล เช่น ปัสสาวะสีเหลืองใสไม่มีตะกอน สัญญาณชีพปกติ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อ