Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 11 การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล - Coggle…
บทที่ 11 การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
[1] ชนิดของการรับผู้ป่วยใหม่
(1.1) ผู้ป่วยใน (Inpatient) ระยะเวลาของการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลมากกว่า 24 ชั่วโมง
1) วางแผนเป็นผู้ป่วยในหรือกรณีไม่เร่งด่วน (Planned or Non-urgent) หรือเป็นผู้ป่วยในตามปกติ
2) การรับแบบฉุกเฉิน (Emergency admission) เป็นการนอนพักรักษา ในโรงพยาบาลแบบไม่ได้วางแผนไว้
3) การรับโดยตรง (Direct admission) เป็นการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลแบบไม่ได้วางแผนไว้
ไม่ได้ตรวจที่แผนกฉุกเฉิน
(1.2) ผู้ป่วยนอก (Outpatient) ระยะเวลาของการอยู่ในโรงพยาบาลน้อยกว่า 24 ชั่วโมง
แผนกตรวจผู้ป่วยนอก เมื่อตรวจเสร็จแล้วแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้
[2] หลักการส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาล
1.ต้องช่วยให้ผู้ป่วยปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง โดยการอธิบายและแนะนาถึงข้อปฏิบัติตัว
ต่างๆ ที่ผู้ป่วยต้องการทราบ และให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วย
2.พยาบาลช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยได้โดยบอกให้ผู้ป่วยทราบถึงโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ การพยากรณ์โรค และการรักษา
3.ควรพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย โดยการซักถามถึงประสบการณ์ในอดีตในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาล
4.พยาบาลจะต้องให้เกียรติผู้ป่วยตาม ความเหมาะสม ซึ่งการเรียกผู้ป่วยควรเรียกชื่อ และมีคำนำหน้านามที่เหมาะสม ไม่ควรเรียกผู้ป่วยโดยใช้หมายเลขเตียง
5.ไม่ลบหลู่ความเชื่อและพฤติกรรมต่างๆ เป็นของผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนมีความแตกต่าง
ในด้านนิสัยและการแสดงพฤติกรรม ตลอดจนความเชื่อที่เป็นของตนเอง
6.การสังเกตและการซักถามต่างๆ โดยวางแผนการพยาบาลตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มเข้ามาอยู่ในโรงพยาบาล แผนการพยาบาลจะเปลี่ยนแปลง เมื่ออาการหรือปัญหาของผู้ป่วยเปลี่ยน
[3] วัตถุประสงค์และขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
(3.1) วัตถุประสงค์
3) ผู้ป่วยได้รับการประเมินปัญหาและความต้องการทางร่างกาย และจิตสังคม ได้ถูกต้อง
4) ผู้ป่วยและญาติคลายความวิตกกังวล เต็มใจและให้ความร่วมมือใน การรักษาพยาบาล
2) ผู้ป่วยมีเครื่องใช้ที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล เหมาะสม ครบถ้วน
5) ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและสุขสบายเพิ่มขึ้น
1) ผู้ป่วยและญาติมีความรู้และปฏิบัติตามกฎระเบียบและกิจวัตรของโรงพยาบาล ได้อย่างถูกต้อง
6) ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย
(3.2) การเตรียมอุปกรณ์
1) เตรียมเตียงหรือห้องพักผู้ป่วยให้พร้อมเพื่อต้อนรับการพักรักษาตัวของผู้ป่วย
2) เอกสารรายงานการรับผู้ป่วยใหม่หรือแบบบันทึกต่างๆ
3) อุปกรณ์ที่จาเป็นตามความเหมาะสมสาหรับผู้ป่วยแต่ละราย
4) เครื่องมือตรวจสัญญาณชีพ น้าหนักและส่วนสูง
5) สมุดบันทึกการรับใหม่
6) เครื่องใช้ส่วนตัว บางโรงพยาบาลอาจมีเตรียมไว้ให้สำหรับผู้ป่วย
กรณีไม่มีให้ อาจแจ้งให้ผู้ป่วยหรือญาติเตรียมมาให้พร้อม
วิธีการรับแผนการรักษา
(2) กรอกรายละเอียดแผนการรักษาในใบรับคำสั่งแผนการรักษา
(3) หากมีคำสั่งแผนการรักษาให้สารละลายทางหลอดเลือดดำให้เขียนป้ายสำหรับติดขวดสารละลายตามจำนวนที่แพทย์กำหนด
(1) อ่านแผนการรักษาทั้งเฉพาะวันและตลอดไปให้เข้าใจโดยตลอด หากสงสัยหรือเขียนไม่ชัดเจนให้ถามแพทย์ผู้กำหนดแผนการรักษา
(4) ปฏิบัติตามแผนการรักษา พร้อมทั้งทำเครื่องหมายหรือบันทึกชื่อผู้ทำในใบรับคำสั่งแผนการรักษา
[4] สาเหตุและอุปกรณ์การจำหน่ายผู้ป่วย
(4.1) ประเภทการจำหน่ายผู้ป่วย
2) การจำหน่ายโดย ไม่สมัครอยู่พยาบาลจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติ
3) การจำหน่ายในกรณีผู้ป่วยหนีกลับจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่พยาบาลเพื่อทำการบันทึก
4) การจำหน่าย เนื่องจากผู้ป่วยถึงแก่กรรม ผู้ช่วยพยาบาลจะต้องให้ความช่วยเหลือในการให้ข้อมูล
1) การจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อมีอาการทุเลาลงจากภาวะที่อันตราย
5) การจำหน่ายผู้ป่วยเนื่องจากมีการส่งต่อให้ไปรับการดูแลรักษายังสถานบริการสุขภาพอื่น
(4.2) การจำหน่ายผู้ป่วย
1) เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
4) เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมมีร่างกายสะอาด อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด อยู่ในสิ่งแวดล้อม ที่สงบเรียบร้อย
2) เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
3) เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามขนบธรรมเนียม และความเชื่อทางศาสนา
5) เพื่อได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
(4.3) อุปกรณ์ในการจำหน่ายผู้ป่วย
2) สมุดจำหน่ายผู้ป่วย
3) เสื้อผ้าผู้ป่วย
1) รายงานผู้ป่วยทั้งหมด
4) บัตรประจำตัวของโรงพยาบาล
5) ใบนัด
6) ใบสั่งยา
7) กรณีถึงแก่กรรมให้เตรียมเครื่องใช้ในการอาบน้า สาลี ก๊อซ บัตรติดข้อมือศพด้วย
(4.4) ขั้นตอนจาหน่ายผู้ป่วย การจาหน่ายผู้ป่วยกรณีแพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน และการจาหน่ายผู้ป่วยเมื่อถึงแก่กรรม
2) การจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อถึงแก่กรรม
(2) จัดท่าให้เร็วที่สุด โดยให้นอนหงาย จัดแขน ขาให้ตรงอยู่ในท่าที่สบาย
(3) ใส่อวัยวะปลอม
(1)ใช้มือลูบหนังตาผู้ป่วยให้ปิดลงเมื่อแพทย์ลงความเห็นว่าเสียชีวิตแล้ว
(4) ผูกบัตรแข็งประจำตัวของโรงพยาบาลไว้ที่ข้อมือข้างหนึ่ง
(5) ภายหลังศพอยู่ในหอผู้ป่วยอย่างน้อย 2 ชั่วโมงตามเจ้าหน้าที่มารับศพ
(6) รวบรวมรายงานลงสมุดจำหน่าย
1) การจำหน่ายผู้ป่วยกรณีแพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน
(3)ให้ญาติผู้ป่วยไปซื้อยาตามใบสั่งยา
(4)แนะนำผู้ป่วยให้สอดคล้องกับสภาพความเจ็บป่วยทั้งด้านร่างกาย
(2)แจ้งผู้ป่วยและญาติให้ทราบ
(5)ให้ใบนัด พร้อมบัตรประจำตัวของผู้ป่วย
(1)ตรวจสอบแผนการรักษาของแพทย์
(7)เตรียมล้อเข็น หรือเปลนอนในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตามความเหมาะสม
(6)นำเสื้อผ้าและของมีค่าคืนให้ผู้ป่วยพร้อมทั้งช่วยแต่งกายให้เรียบร้อย
(8)ลงสมุดจำหน่ายผู้ป่วย ลบรายชื่อออกจากกระดานรายชื่อ
(9)เก็บอุปกรณ์ ทำความสะอาด เพื่อรอรับผู้ป่วยใหม่ต่อไป
[5] บทบาทพยาบาลในการจาหน่ายผู้ป่วยตามรูปแบบ D-M-E-T-H-O-D
M = Medication ให้ความรู้เกี่ยวกับยาที่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องที่บ้าน
E = Environment & Economic กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ญาติ เห็นความสาคัญของการใช้สถานบริการสุขภาพในชุมชน
T = Treatment แนะนาผู้ป่วย/ญาติ ให้เข้าใจเป้าหมายการรักษา แนะนำให้ปฏิบัติกิจกรรมการรักษา
D = Diagnosis ให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็นอยู่เกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
H = Health ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดในการทำกิจกรรมให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ญาติ
O = Outpatient referral ชี้แจงให้ผู้ป่วย/ญาติตระหนัก/ เข้าใจถึงความสำคัญของการมาตรวจตามนัดแลอาการผิดปกติที่ต้องมาก่อนนัด
D = Diet ให้ความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรค หลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ
[6] ข้อบ่งชี้และการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา
ภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรม
1.Algor mortis อุณหภูมิของร่างกายลดลง 1◦C (1.8◦F) ต่อชั่วโมงจนเท่าอุณหภูมิห้อง
2.Livor mortis เมื่อการไหลเวียนเลือดหยุด ผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำๆ (Bluish purple)
ตามบริเวณส่วนล่างของร่างกาย
3.Rigor mortis คือ การแข็งทื่อของร่างกายหลังเสียชีวิต ประมาณ 2-4 ชั่วโมง
เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อโครงกระดูก