Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ
ปัจจัยที่มีผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะ
อายุ หรือ พัฒนาการในวัยต่างๆ (Developmental growth)
วัยเด็ก
เด็กทารกกระเพาะปัสสาวะมีความจุน้อย การขับถ่ายปัสสาวะจึงบ่อยครั้งกว่าผู้ใหญ่
อายุมากกว่า 5ปีไปแล้วยังมีปัสสาวะรดที่นอน ควรต้องหาสาเหตุ ว่าเกิดจากอะไร เช่น ความเครียดการเจ็บป่วย
ผู้สูงอายุ
จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามวัย เมื่อมีน้ําปัสสาวะเพียง150-200 มิลลิลิตร
กระเพาะปัสสาวะก็จะบีบตัวทําให้รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะและทําให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้นและมักจะตื่นขึ้นมาปัสสาวะในตอนกลางคืน
กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะบีบตัวลดลง ทําให้มีปัสสาวะคั่ง ทําให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
น้ําและอาหาร (Food and fluid)
จํานวนน้ําที่ร่างกายได้รับ
จํานวนน้ําที่ร่างกายสูญเสีย
อาหารที่ร่างกายได้รับ
ยา (Medication)
ยาที่ขับออกทางระบบปัสสาวะจะส่งผลให้สีของน้ำปัสสาวะเปลี่ยนแปลง
ยาที่มีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติจะรบกวนการขับถ่ายปัสสาวะทําให้ปัสสาวะคั่ง
ด้านจิตสังคม (Psychosocial factors)
ความเครียดและความวิตกกังวลกระตุ้นให้อยากถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
ความกลัวที่รุนแรงอาจทําให้กลั้นปัสสาวะไม่ได้
สังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural factor)
สังคมและวัฒนธรรมประเพณี รวมถึงการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวมีอิทธิพลต่อนิสัยการขับถ่ายของบุคค
ลักษณะท่าทาง (Body position)
โดยปกติผู้ชายจะใช้ท่ายืนซึ่งพบว่าผู้ชายบางรายจะมีปัญหาในการขับถ่ายปัสสาวะเมื่ออยู่ในท่านอนราบ
ส่วนผู้หญิงจะใช้ท่านั่ง ถ้าจําเป็นต้องใช้หม้อนอนบนเตียงราบก็อาจจะไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้หมด
กิจกรรมและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Activity and Muscle tone)
การออกกําลังกายสม่ําเสมอ ทําให้การเผาผลาญอาหารเพิ่มขึ้น
ผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะไว้เป็นเวลานาน ทําให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวน้อยลงเนื่องจากปัสสาวะไหลตลอดเวลา
สตรีในภาวะหมดประจําเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ก็ทําให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวลดลงด้วยเช่นกัน
ผู้ที่นอนอยู่บนเตียงนานๆ ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว มีผลทําให้ความตึงตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อหูรูดลดลง
พยาธิสภาพ (Pathologic conditions)
พยาธิสภาพของโรคหลายชนิดมีผลต่อการสร้างปัสสาวะทั้งปริมาณและคุณภาพ
การผ่าตัดและการตรวจเพื่อการวินิจฉัยต่างๆ (Surgical and diagnostic procedure)
ความเครียดและความวิตกกังวลในกระบวนการรักษาทําให้ร่างกายหลั่ง ADH และยังทําให้มีการเพิ่มขึ้นของ Aldosteroneทําให้เกิดการคั่งของโซเดียมและน้ํา
การตรวจวินิจฉัยในระบบทางเดินปัสสาวะ
การฉีดยาชาที่ไขสันหลัง ส่งผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะของผู้ป่วย ทําให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะ
การได้รับยาสลบ ยาแก้ปวดชนิดเสพติดทําให้อัตราการกรองที่โกลเมอรูสัสลดลง ส่งผลให้ปริมาณปัสสาวะลดลง
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะและการขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
คนแต่ละวัยจะมีปัสสาวะที่ขับถ่ายออกมาในแต่ละครั้งแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่อการทําหน้าที่ของการขับถ่ายปัสสาวะ
ลักษณะของปัสสาวะที่ปกติ
ปริมาณปัสสาวะปกติในผู้ใหญ่ ประมาณวันละ 800–1,600 มิลลิลิตร
ลักษณะใส ไม่ขุ่น ไม่มีตะกอน
สีเหลืองจางจนถึงสีเหลืองเข้ม สีเหลืองฟางข้าว หรือสีเหลืองอําพัน
มีความเป็นกรดอ่อนๆ pH ประมาณ 4.6-8.0
มีความถ่วงจําเพาะ (Specific gravity) ประมาณ 1.015-1.025
เมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic examination) ไม่พบ Casts,Bacteria, Albumin หรือน้ําตาล ไม่พบเม็ดเลือดแดง
การขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
ลักษณะการขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดไปจากแบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
ส่วนประกอบของปัสสาวะที่ผิดปกติ
ปัสสาวะที่ปกติจะประกอบด้วย น้ำ 96% ยูเรีย 2% และสารอื่นๆ2%
ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria)
น้ําตาลในปัสสาวะ (Glycosuria)
โปรตีนในปัสสาวะ (Proteinuria หรือ Albuminuria)
คีโตนในปัสสาวะ (Ketonuria)
ปัสสาวะมีสีเหลืองน้ําตาลของบิลิรูบิน(Bilirubinuria หรือ Choluria)
ปัสสาวะมีสีดําของฮีโมโกลบิน(Hemoglobinuria)
ปัสสาวะเป็นหนอง (Pyuria)
นิ่วในปัสสาวะ (Calculi)
ไขมันในปัสสาวะ (Chyluria)
หลักการส่งเสริมสุขภาพในระบบทางเดินปัสสาวะ
ส่งเสริมให้ได้รับน้ําอย่างเพียงพอ
ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
ส่งเสริมให้กล้ามเนื้อทํางานอย่างเต็มที่
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะกรณีปัสสาวะไม่ออก
สอนให้นวดกระเพาะปัสสาวะ
เสริมสร้างนิสัยของการถ่ายปัสสาวะ
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะกรณีที่ไม่สามารถไปห้องน้ําได้
การสวนปัสสาวะ
วัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะ
1)เพื่อระบายเอาน้ําปัสสาวะออกในผู้ป่วยที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะเองได้
2)เพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่างในผู้ป่วยที่ต้องทําหัตถการต่างๆ
3)เพื่อตรวจสอบจํานวนน้ําปัสสาวะที่เหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ
4)เพื่อเก็บน้ําปัสสาวะส่งตรวจเพาะเชื้อ
5)เพื่อสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ หรือใส่ยาในกระเพาะปัสสาวะ
6)เพื่อศึกษาความผิดปกติของท่อปัสสาวะ
7)เพื่อตรวจสอบจํานวนน้ําปัสสาวะที่ขับออกมาในผู้ป่วยอาการหนักอย่างถูกต้อง
ชนิดของการสวนปัสสาวะ
การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว
การสวนคาสายสวนปัสสาวะ
หลักการพยาบาลผู้ป่วยได้รับการใส่ถุงยางอนามัยเพื่อระบายปัสสาวะ
วัตถุประสงค์
1)เพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง เนื่องจากเปียกปัสสาวะบ่อย ๆ
2) ป้องกันการเกิดแผลกดทับในรายที่ต้องรักษาตัวนาน ๆ
3) ป้องกันการติดเชื้อจากการใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้
4)ป้องกันการอักเสบในรายที่มีแผล
การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
วิธีการเก็บปัสสาวะแบบรองเก็บปัสสาวะช่วงกลาง
เก็บปัสสาวะในช่วงถัดมาประมาณครึ่งภาชนะ หรือประมาณ 30-50 ml. โดยห้ามสัมผัสด้านในของภาชนะแล้วปัสสาวะช่วงสุดท้ายทิ้งไปนําปัสสาวะไปส่งให้เจ้าหน้าที่โดยเร็วที่สุด
วิธีการเก็บปัสสาวะจากสายสวนปัสสาวะที่คาไว้
1)ใช้Clamp หนีบสายสวนปัสสาวะที่ใต้รอยต่อระหว่างสายต่อของถุงกับสายสวนไว้นานประมาณ 15–30 นาทีเพื่อให้มีปัสสาวะใหม่เก็บอยู่ก่อน
2)เตรียม Syringe sterile เข็มปลอดเชื้อ Sterile swab น้ํายาฆ่าเชื้อ
3)ล้างมือสวมถุงมือสะอาดเช็ดบริเวณที่จะเก็บปัสสาวะด้วยน้ํายาฆ่าเชื้อ
4)ใช้กระบอกฉีดยาที่มีเข็มปลอดเชื้อแทงที่สายสวนปัสสาวะตรงตําแหน่งที่ทําความสะอาดฆ่าเชื้อไว้แล้ว ดูดปัสสาวะออกมาประมาณ 10 มล. ส่งตรวจเพาะเชื้อทันที
วิธีการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
เป็นการเก็บปัสสาวะที่มีการรวบรวมไว้จนครบ 24 ชั่วโมงแล้วส่งตรวจ
ควรแนะนําให้งดโปรตีน คาเฟอีนก่อนการเก็บปัสสาวะประมาณ 6 ชั่วโมง และให้ผู้ป่วยดื่มน้ํามากๆก่อนและระหว่างการเก็บ
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะ
การประเมิน
การซักประวัติ
ตรวจร่างกายในระบบทางเดินปัสสาวะ
วิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อมูลของกรณีตัวอย่างร่วมกับข้อมูลสนับสนุนที่ได้จากการประเมินสามารถกําหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลดังนี้
1) มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
การวางแผนการพยาบาล และการปฏิบัติการพยาบาล
เพื่อลดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะของผู้ป่วย
ประเมินผลการพยาบาล
ภายหลังให้การพยาบาลควรมีการประเมินทุกครั้งตามเกณฑ์การประเมินผล