Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Acute Ischemic Stroke โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน - Coggle Diagram
Acute Ischemic Stroke โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน
ข้อมูลทั่วไป
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
: ญาติปฏิเสธการให้ข้อมูล
ประวัติเจ็บป่วยในครอบครัว
: พี่ชายเป็นเนื้องอกในสมอง และเป็นโรคเบาหวาน
อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล
: ขณะทำงานลุกขึ้นยืนเซล้มลง แขนขาซ้ายอ่อนแรง พูดไม่ชัดปากเบี้ยว 3 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล เพื่อนร่วมงานจึงนำตัวส่งพยาบาลกรุงไทย
ไม่มีประวัติการแพ้อาหาร ยา และสารเคมี
การวินิจฉัยโรคในปัจจุบัน
: Acute Ischemic Stroke โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน
ผู้ป่วยเพศหญิง
อายุ 51 ปี เชื้อชาติ ไทย สัญชาติไทย ศาสนา พุทธ อาชีพพนักงานธนาคาร เงินเดือน 15,000 บาท/เดือน
E3V5M6 ,mortor power แขนขาซ้าย grade 0 ,แขนขาขวา grade 5
พยาธิสภาพของโรค
เกิดจากการมีก้อนเลือดไปอุดตันในหลอดเลือดที่สมอง โดยเฉพาะบริเวณ origin ของ internal carotid artery, carotid siphon ส่วนต้นของ middle cerebral artery, basilar artery และ intracranial part ของ vertebral artery กลไกการเกิดการอุดตันนี้อาจเกิดจากการมี plaque ที่บริเวณเส้นเลือดที่สมองเองหรือหลุดมาจากส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
อาการของโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน
แขนขา ชา อ่อนแรงหรือชาครึ่งซีกข้างใดข้างหนึ่งทันทีทันใด
พูดตะกุกตะกัก พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ นึกคำพูดไม่ออกหรือฟังไม่เข้าใจทันทีทันใด
ตามัว มองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่งทันทีทันใด
ปวดศีรษะรุนแรงเฉียบพลันชนิดไม่เคยเป็นมาก่อน
เวียนศีรษะบ้านหมุน เดินเซ เสียการทรงตัว
เปรียบเทียบกับเคส : ลุกยืน ทรงตัวไม่ได้ ล้มนั่งลง แขนขาด้านซ้ายชาอ่อนแรง มุมปากด้านซ้ายตก พูดไม่ชัด
ปัจจัยเสี่ยง
อายุ ในกลุ่มประชากรที่มีอายุมากขึ้นอุบัติการณ์การเกิดโรคหลอดเลือดสมองจะเพิ่มขึ้นตามด้วย
เพศ พบว่าเพศชายจะมีอุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าเพศหญิง
เชื้อชาติ จากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่าชาวผิวดาจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าชาวผิวขาว
เบาหวาน /ความดันโลหิตสูง /โรคหัวใจ/ไขมันในเลือดสูง/อ้วน
การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เปรียบเทียบกับเคส :
-Total Cholesterol 287 mg/dL (สูง)
-LDL 201 mg/dL (สูง)
-ประกอบอาชีพเป็นพนักงานธนาคาร
สาเหตุ
ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักพบมากในผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
การตรวจพิเศษ
: CT scan Brain
แปลผล** : Hypodense at Rt insular lobe สมองขาดเลือดที่ด้านซีกขวาของส่วนกลีบอินซูลาร์
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่2
มีโอกาสเกิดการพลัดตกหกล้มได้ง่าย เนื่องจากผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้น้อย
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
เกณฑ์การประเมิณ
ผู้ป่วยไม่เกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม
ไม่เกิดบาดแผลตามร่างกาย
ข้อมูลสนับสนุน
O : ผู้ป่วยลุกเดินช่วยเหลือตนเองไม่ได้ มุมปากซ้ายตก แขนขาซ้ายอ่อนแรง
O : ผู้ป่วยพยายามช่วยพลิกตัวเองบนเตียง
A : อาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดสมองที่ทำให้เกิดอัมพาตชั่วขณะ เนื่องจากสมองได้รับความเสียหายจากการอุดตันของหลอดเลือดทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงสมองเฉียบพลัน ส่งผลให้สมองนั้นไม่สามารถควบคุมการทรงตัวและสามารถช่วยเหลือตนเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย
O : แขนขาด้านซ้ายอ่อนแรง motor power grade 0 คะแนน แขนขาด้านขวา motor power grade 5 คะแนน
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมิน Glasgow Coma Scale /motor power เพื่อประเมินว่าผู้ป่วยมีข้อจำกัดในการ เคลื่อนไหวมากน้อยเพียงใด
2.จัดให้มีญาติมาคอยเฝ้าดูแลผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
3.ยกไม้กั้นเตียงขึ้นทั้ง 2 ข้างขึ้นทุกครั้งหลังจากทำหัตถการบนเตียงผู้ป่วยเสร็จ เพื่อป้องกันผู้ป่วยพลิกตะแคงตัวหรือพลัดตกหกล้ม
4.จัดสิ่งแวดล้อมรอบเตียงผู้ป่วยให้เหมาะสม และดูแลความสะอาดสุขวิทยาผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยสุขสบายและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
5.พยาบาลช่วยเหลือและดูแลผู้ป่วยร่วมกันกับญาติ เพื่อทราบความก้าวหน้าในและการวางแผนในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่1
มีโอกาสเกิดภาวะเลือดออกง่าย เนื่องจากได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
ข้อมูลสนับสนุน
O : บริเวณแขนด้านที่ทำหัตถการมีรอยช้ำจ้ำเลือดง่าย เช่น เจาะเลือด วัด Blood pressure
O : ผู้ป่วยได้รับยาต้านการแข็งตัวเลือดตามแผนการรักษาของแพทย์ Aspirin ฃ ก่อนอาหาร
O : ค่าแข็งตัวของเลือด PT 11.7 เลือดแข็งตัวไว
A : ได้รับยา Aspirin กลไกการออกฤทธิ์ของยา คือการไปยับยั้งเอนไซม์ในร่างกายที่ทำให้เกิดสารอักเสบ ชื่อว่าไซโคลออกซีเจเนส (Cyclooxygenase) หรือ ค็อกซ์ (COX) และเอนไซม์ค็อกซ์ (COX enzyme) จะกระตุ้นยับยั้งการสร้างสารที่ทำให้เกิดการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ทร็อมบ็อกเซน-เอทู (Thromboxane-A2) หากร่างกายได้รับการบาดเจ็บเลือดออกจะทำให้มีโอกาสเกิดการเลือดออกแล้วหยุดยาก
เกณฑ์การประเมิณ
ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะเลือดออกง่าย
ค่าแข็งตัวของเลือดอยู่ในช่วงระดับปกติคือ PT = 12-15
วัตถุประสงค์
ป้องกันการเกิดภาวะเลือดออก
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมิน Glasgow Coma Scale /motor power เพื่อประเมินว่าผู้ป่วยมีข้อจำกัดในการ เคลื่อนไหวมากน้อยเพียงใด
2.ประเมินวัดสัญญาณชีพ เพื่อทราบระดับความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
ดูแลไม่ให้เกิดรอยช้ำจ้ำเลือด จากกการทำหัตถการ หรือ หลังจากทำหัตถการเสร็จควรกดบริเวณที่เจาะเลือดค้างนานไว้ 5-15 นาที เพื่อป้องกันเลือดออกไหลไม่หยุด
4.แนะนำให้ผู้ป่วยและญาติ ให้ทราบถึงอาการผิดปกติที่ต้องเฝ้าระวังระหว่างการ ใช้ยา และอาการผิดปกติที่ต้องแจ้งแพทย์พยาบาลทราบ เช่น จุดจ้ำเลือดตามตัว เลือดออกตามไรฟัน ปัสสาวะเป็นเลือด
5.ติดตามผล Lab เช่น PTT , PT, INR ทางห้องปฏิบัติการและรายงานแพทย์
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่3
การช่วยเหลือตนเองและปฏิบัติกิจวัตรประจำวันบกพร่องเนื่องจากแขนขาซ้ายอ่อนแรง
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยตัวเองได้มากขึ้น
เกณฑ์การประเมิณ
Glasgow Coma Scale = E4V5M6
Motor power แขนขาด้านซ้าย 5 คะแนน แขนขาด้านขวา 5 คะแนน
ไม่มีแผลกดทับ กล้ามเนื้อเหี่ยวลีบหรือการหดรั้ง
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้ป่วยบอกว่าแขนขาข้างซ้ายยกเองไม่ได้
O : Glasgow Coma Scale = E3V5M6 ผู้ป่วยตื่นเมื่อเรียก พูดรู้เรื่อง ทำตามสั่งได้
O : แขนขาด้านซ้ายอ่อนแรง motor power grade 0 คะแนน แขนขาด้านขวา แขนขาด้านซ้ายอ่อนแรง motor power grade 5 คะแนน
O : On NG tube , On retain foley cathteter
O : On Retain foley catheter
A : เกิดจากสมองได้รับความเสียหายจากการอุดตันของหลอดเลือดทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงสมองเฉียบพลัน ส่งผลให้สมองนั้นไม่สามารถควบคุมการทรงตัวและสามารถช่วยเหลือตนเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินอาการทางระบบประสาท เพื่อประเมินว่าผู้ป่วยมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวมากน้อยเพียงใด
ตรวจสอบสีผิว ความตึงตัวของผิวหนัง อุณหภูมิ ความชื้น ทุก 2-4 ชั่วโมง ดูว่ามีอาการบวมแดงหรือแดงบริเวณใดบางโดยเฉพาะบริเวณที่กดทับนานๆ
จัดท่าให้ผู้ป่วยนั่งและนอนในท่าที่สบาย ให้ศีรษะ ไหล่ สะโพก อยู่ในท่าที่ถูกต้องไม่จัดท่าคอหักพับงอ และช่วยพลิกตะแตงตัวทุก 2 ชม. พลิกตะแคงตั้งศีรษะจนถึงปลายเท้าให้ตะแคงไปแทบเดียวกัน เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ
แนะนำให้ญาติมีส่วนร่วมในการดูแลการให้อาหารเหลวและน้ำทางสายยาง BD (1:1) 300x4 feed และการดูแลทำความสะอาดหลังการขับถ่ายและดูแลผ้าปูที่นอนให้เรียบตึง
5.ประสานงานกับนักกายภาพบำบัด เพื่อแนะนำให้และญาติได้มีส่วนร่วมในการดูแลทำ passive exercise กระตุ้นให้ผู้ป่วยออกกำลังกายกล้ามเนื้อส่วนที่อ่อนแรงและกล้ามเนื้อส่วนที่ยังแข็งแรงอยู่ เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อเหี่ยวและหดรั้ง
6.ให้กำลังใจและส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจในตนเอง
ยาที่ผู้ป่วยได้รับ
ยาที่ผู้ป่วยได้รับต่อเนื่อง
Aspirin รับประทานครั้งละ 1 เม็ดวันละ1 ครั้ง ก่อนอาหาร
Atorvastatin 40 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 1 เม็ดวันละ1 ครั้ง ก่อนนอน
0.9% NSS 1,000 ml IV rate 60 ml/hr.
การรักษาด้วยการฝังเข็ม
ยาที่ผู้ป่วยเคยได้รับใน1วัน
(rtPA)ยาละลายลิ่มเลือด 5 มิลลิกรัม ให้ทางหลอดเลือดดำ ในเวลา 1 นาที,
ยาละลายลิ่มเลือด 45 มิลลิกรัม ให้ทางหลอดเลือดดำ ในเวลา 1 ชั่วโมง
Dimenhydrinate 1 แอมป์ ให้ยาทางหลอดเลือดดำ ทุก 8 ชั่วโมง