Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Gut obstuction (ลำไส้อุตตัน) - Coggle Diagram
Gut obstuction (ลำไส้อุตตัน)
การป้องกัน
ลำไส้อุดตันป้องกันได้โดยลดการเกิดปัจจัยเสี่ยงต่างๆด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิต เช่น
เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ รับประทานผักและผลไม้ งดการสูบบุหรี่ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ และผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ควรไปตรวจหามะเร็งลำไส้ปีละ 1 ครั้ง เป็นประจำทุกปี
หลีกเลี่ยงการยกของหนักเพื่อป้องกันความเสี่ยงของการเกิดไส้เลื่อน ซึ่งจะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้นและส่งผลต่อลำไส้ หากพบว่ามีก้อนผิดปกติเกิดขึ้นใต้ผิวหนังที่บริเวณหน้าท้องหรือที่ขาหนีบ ควรไปพบแพทย์
หากพบประวัติการผ่าตัดในช่องท้อง ควรไปติดตามผลกับแพทย์ผู้ดูแลอย่างต่อเนื่อง หากพบว่ามีอาการท้องอืด แน่นท้อง อาเจียน ควรแจ้งแพทย์ผู้ดูแลรักษา
ทฤษฎี
เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ รับประทานผักและผลไม้ งดการสูบบุหรี่ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้
หลีกเลี่ยงการยกของหนักเพื่อป้องกันความเสี่ยงของการเกิดไส้เลื่อน
การรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น กล้วย ส้ม แอปเปิ้ล สตรอเบอร์รี่ มัน ถั่ว ขนมปังธัญพืช เป็นต้น
หากพบประวัติการผ่าตัดในช่องท้อง ควรไปติดตามผลกับแพทย์ผู้ดูแลอย่างต่อเนื่อง หากพบว่ามีอาการท้องอืด แน่นท้อง อาเจียน ควรแจ้งแพทย์ผู้ดูแลรักษา
สาเหตุ
ภาวะลำไส้ตีบตัน (Mechanical Obstructions)
ภาวะที่เกิดจากบางสิ่งไปอุดตันทางเดินของลำไส้ โดยเฉพาะการเกิดพังผืดในลำไส้ซึ่งมักเกิดภายหลังการผ่าตัดภายในช่องท้อง เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการอุดตันของลำไส้ หรืออาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้ มะเร็งลำไส้ใหญ่ เนื้องอกในลำไส้เล็ก ไส้เลื่อน นิ่วในถุงน้ำดี
ภาวะลำไส้อืด (Nonmechanical Obstructions)
ภาวะการทำงานผิดปกติของลำไส้ ซึ่งทำให้ไม่สามารถบีบตัวและเคลื่อนไหวได้ตามปกติ ส่งผลต่อการทำงานของระบบขับถ่าย หรือเรียกภาวะนี้ว่า Paralytic Ileus โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
การติดเชื้อ เช่น กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไส้ติ่ง เป็นต้น
การใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาอาการซึมเศร้า กลุ่มยาระงับปวดโอปิออยด์ (Opioids) หรือกลุ่มยาแอนตี้มัสคารินิก (Antimuscarinics) เป็นต้น
การผ่าตัดในช่องท้องหรืออุ้งเชิงกราน
ความไม่สมดุลของแร่ธาตุและอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย
เช่น ระดับโพแทสเซียมในเลือดที่ลดลง เป็นต้น
ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อและระบบประสาท เช่น โรคพาร์คินสัน (Parkinson’s Disease) โรคเบาหวาน เป็นต้น
ความหมาย
ภาวะที่มีสิ่งอุดตันหรือมีการรบกวนการบีบตัวของลำไส้ ทำให้อาหารหรือของเหลวต่างๆ เคลื่อนผ่านไม่ได้ตามปกติ ทำให้เกิดอาการปวดท้อง แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง อาการที่เกิดขึ้นมักบอกถึงตำแหน่งการอุดตันของลำไส้ โดยลำไส้อาจเกิดการอุดตันเพียงบางส่วนหรืออุดตันได้ทั้งหมด ซึ่งมีหลายสาเหตุ เช่น ท้องผูกรุนแรง พังผืดในลำไส้ ลำไส้ทำงานผิดปกติ เป็นต้น
พยาธิสภาพ
nonmechanical obstruction เกิดจากระบบกล้ามเนื้อประสาท(neuromuscular) หรือโรคหลอดเลือด ภาวะลำไส้อัมพาต (paralytic ileus) เป็นสามารถที่พบบ่อยในการอุดตันจาก nonmechanicalบางครั้งเกิดขึ้นเมื่อหลังผ่าตัด สาเหตุอื่นๆ คือการอักเสบ เช่น ภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ภาวะไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน เป็นต้น หรือภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย โดยเฉพาะภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ และการบาดเจ็บที่ไขสันหลังส่วน lumbar จากการหักหรือการทำหัตถการที่มีการสอดเครื่องมือแพทย์ ภาวะหลอดเลือดอุดตันเป็นสาเหตุที่น้อยราย ซึ่งเป็นเหตุให้ไม่มีเลือดไปเลี้ยงที่ลำไส้mechanical obstructionเกิดจากสาเหตุที่ lumen ของลำไส้อุดตัน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการอุดตันที่ส่วน ileum เพราะเป็นส่วนที่แคบที่สุดของลำไส้เล็ก และ 90% ของการอุดตันเกิดขึ้นที่ลำไส้เล็ก mechanical obstruction นี้รวมถึงการอุดตันที่เกิดจากพังผืดในช่องท้องด้วยพังผืด (adhesion) หรือจากภาวะไส้เลื่อน เกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด สาเหตุอื่นๆคือ อุจจาระอุดตัน (impacted feces) Diverticular Diseaseเนื้องอกของลำไส้ มะเร็งลำไส้intussuception
(ลำไส้กลืนกัน) volvulus (ลำไส้บิดเป็นเกลียว) เช่น ตัวลำไส้เองบิดหมุน (twisting of bowel) หรือการตีบแคบจากการอักเสบ (stricture inflammatory) ส่วนที่เหลือจากอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น เศษมะพร้าว ก็สามารถอุดตันลำไส้ได้
ทฤษฎี
ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 52 ปี การวินิจฉัยโรคเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนต้น มีการเจริญผิดที่ของเซลล์ทำให้เกิดการอุดตันทางเดินของลำไส้เป็นหลักที่ทำให้เกิดการอุดตันของลำไส้
อาการและอาการแสดง
ขึ้นกับลักษณะของพยาธิสภาพที่เกิดขึ้น ลำไส้อุดตันอาจแสดงออกได้หลายอาการ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของลำไส้ที่อุดตัน เช่น เบื่ออาหาร ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น ช่องท้องมีเสียงดังผิดปกติ เป็นต้น ลำไส้อุดตันทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ดังนั้น ควรรีบไปพบแพทย์หากมีอาการที่บอกถึงการอุดตันของลำไส้ รวมถึงหากพบอาการอื่นๆ ดังต่อไปนี้
อาการซึ่งเป็นผลมาจากการอุดตันที่ลำไส้เล็ก
คลื่นไส้ อาเจียน
ท้องอืด แน่นท้อง หรืออาจกดแล้วเจ็บที่บริเวณท้อง
ปวดท้องรุนแรงบริเวณใต้ซี่โครงหรือสะดือ มีอาการเป็นๆ หายๆ หรือพบอัตราการเต้นของชีพจรและการหายใจที่เร็วกว่าปกติร่วมด้วย
อาการที่เป็นผลมาจากการอุดตันที่ลำไส้ใหญ่
ท้องอืด แน่นท้อง
ปวดท้อง อาการจะรุนแรงหรือไม่ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการอุดตัน
เลือดออกทางทวารหนัก
ท้องผูกในช่วงที่เกิดการอุดตันของลำไส้หรือก่อนหน้านั้นเป็นเวลาหลายเดือน
ท้องเสียหรือท้องร่วง ของเหลวในอุจจาระเล็ดลอดผ่านลำไส้ที่เกิดการอุดตันเพียงบางส่วน
ทฤษฎี
ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 52 ปี
มีอาการท้องอืด แน่นท้อง ไม่สามารถผายลมได้ ท้องผูกในช่วงที่เกิดการอุดตันของลำไส้หรือก่อนหน้านั้นเป็นเวลา 9 วัน
ภาวะแทรกซ้อน
หากปล่อยไว้หรือไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ภาวะขาดน้ำ ระดับแร่ธาตุและอิเล็กโทรไลต์ในร่างกายไม่สมดุล ลำไส้ทะลุ ภาวะไตวาย หากการอุดตันที่เกิดขึ้นไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดไม่ให้ไปยังส่วนต่างๆ ของลำไส้อาจทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น เนื้อเยื่อในลำไส้ตาย ลำไส้ทะลุและเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด การทำงานของอวัยวะภายในล้มเหลว หรือเสียชีวิตได้
ทฤษฎี
ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 52 ปี การวินิจฉัยโรคเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนต้น มีการเจริญผิดที่ของเซลล์ทำให้เกิดการอุดตันทางเดินของลำไส้เป็นหลักที่ทำให้เกิดการอุดตันของลำไส้