Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ
ปัจจัยที่มีผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะ
อายุ หรือ พัฒนาการในวัยต่าง ๆ
วัยเด็ก
เด็กทารกกระเพาะปัสสาวะมีความจุน้อยทำให้ปัสสาวะบ่อย
เด็กวัยก่อนเรียนจะเริ่มควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้เอง
เด็กวัยเรียนระบบขับถ่ายปัสสาวะจะเจริญเต็มที่
อายุมากกว่า 5 ปีไปแล้วยังมีปัสสาวะรด ที่นอน ควรต้องหาสาเหตุ
วัยสูงอายุ
ปัสสาวะบ่อยครั้ง
มักจะตื่นข้ึน มาปัสสาวะในตอนกลางคืน
กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะบีบตัวลดลง ทําให้มีปัสสาวะคั่ง ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
น้ําและอาหาร
จํานวนน้ําที่ร่างกายได้รับ
จํานวนน้ําที่ร่างกายสูญเสีย
อาหารที่ร่างกายได้รับ
ยา
ยาที่ขับออกทางระบบปัสสาวะจะส่งผลให้สีของน้ําปัสสาวะ เปลี่ยนแปลง
ยาที่มีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติจะรบกวนการขับถ่ายปัสสาวะทําให้ปัสสาวะคั่ง
ด้านจิตสังคม
ความเครียดและความวิตกกังวลกระตุ้น ให้อยากถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
ความกลัวที่รุนแรงอาจทําให้กลั้นปัสสาวะไม่ได้
ความปวดมีผลยับยั้งการ ถ่ายปัสสาวะ
ความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะเมื่อได้ยินคนพูดเรื่องถ่ายปัสสาวะหรือได้ยินเสียงน้ําไหล
สังคมและวัฒนธรรม
สังคมและประเพณีมีอิทธิพลต่อนิสัยการขับถ่ายของบุคคล
วัฒนธรรมที่ถือความเป็น ส่วนตัวสูง
การขับถ่ายปัสสาวะเป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่ต้องการให้ใครเห็น
ลักษณะท่าทาง
ผู้ชายบางรายจะมี ปัญหาในการขับถ่ายปัสสาวะเมื่ออยู่ในท่านอนราบ
ผู้หญิงจะใช้ท่านั่งถ้าจําเป็นต้องใช้หม้อนอนบน เตียงราบก็อาจจะไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้
กิจกรรมและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
การออกกําลังกายสม่ำเสมอ
ผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะไว้เป็นเวลานาน ทําให้กระเพาะปัสสาวะไม่มีโอกาสยืดขยาย
สตรีในภาวะหมดประจําเดือน ทําให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวลดลง
ผู้ที่นอนอยู่บนเตียงนาน ๆ ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะไม่ดีและมีปัสสาวะตกตะกอน
พยาธิสภาพ
นิ่ว
ความดันโลหิตสูง
เบาหวาน
ภาวะหัวใจล้มเหลว
การผ่าตัดและการตรวจเพื่อการวินิจฉัยต่าง ๆ
ความเครียดและความวิตกกังวลในกระบวนการรักษาทําให้ร่างกายหลั่ง ADH และยังทํา ให้มีการเพิ่มขึ้นของ Aldosterone ทําให้เกิดการคั่งของโซเดียมและน้ํา
การตรวจวินิจฉัยในระบบทางเดินปัสสาวะ
การฉีดยาชาที่ไขสันหลัง
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะและการขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะในคนปกติ
อยากถ่ายปัสสาวะเมื่อมีปัสสาวะ100-400 มล.
สามารถกลั้นปัสสาวะได้
เวลาปัสสาวะไม่เกิน30วิ
ไม่มีอาการเจ็บขณะถ่ายปัสสาวะ
ลําปัสสาวะช่วงแรกจะพุ่งแรงและใหญ่กว่าตอนสุด
ปัสสาวะประมาณ 4-6 ครั้งต่อวัน
มักถ่ายปัสสาวะก่อนนอน ตอนเช้าหลังตื่นนอน
การถ่ายปัสสาวะจะเว้นช่วงห่างประมาณ 2–4 ชั่วโมงในเวลากลางวัน และ6-8 ชั่วโมง ในเวลากลางคืน
จำนวนปัสสาวะประมาณ 250-400มล.ต่อครั้ง
Residual urine ไม่ควรเกิน 50 มล.ในผู้ใหญ่และไม่ควรเกิน100มล.ในผู้สูงอายุ
ลักษณะของปัสสาวะที่ปกติ
ปริมาณปัสสาวะปกติในผู้ใหญ่ ประมาณวันละ 800–1,600 มล.
ลักษณะใส ไม่ขุ่น ไม่มีตะกอน
สีเหลืองจางจนถึงสีเหลืองเข้ม สีเหลืองฟางข้าว หรือสีเหลืองอําพัน
มีความเป็นกรดอ่อนๆ pH ประมาณ 4.6-8.0
มีความถ่วงจําเพาะ ประมาณ 1.015-1.025
เมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ไม่พบ Casts,
Bacteria, Albumin หรือน้ําตาล ไม่พบเม็ดเลือดแดง
ปัสสาวะใหม่มีกลิ่นแอมโมเนียอ่อนๆ ถ้าตั้งทิ้งไว้นานๆ จะได้กลิ่นแอมโมเนียที่แรง
การขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
ไม่มีปัสสาวะ
ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ น้อยกว่า500มล.ใน24ชม.หรือน้อยกว่า30มล./ชม.
ปัสสาวะมากกว่าปกติมากกว่า2500-3000มล./วัน
ปัสสาวะตอนกลางคืนมากกว่า2ครั้ง
ปัสสาวะขัดปัสสาวะลําบาก
ถ่ายปัสสาวะบ่อยหรือกะปริบกะปรอย
ปัสสาวะรดที่นอน
ปัสสาวะคั่ง
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่โดยสิ้นเชิง
กลั้นปัสสาวะไม่ทัน
ปัสสาวะเล็ด
ปัสสาวะท้น
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ที่เกิดจากภาวะหรือโรคอื่น ๆ
ส่วนประกอบของปัสสาวะที่ผิดปกติ
ปัสสาวะเป็นเลือด
มีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ
น้ําตาลในปัสสาวะ
มีน้ําตาลปนออกมาในน้ําปัสสาวะ
โปรตีนในปัสสาวะ
มีโปรตีนหรือแอลบูมินในปัสสาวะมากกว่า 150มล./วัน
คีโตนในปัสสาวะ
ตรวจพบคีโตนในปัสสาวะ
ปัสสาวะมีสีเหลืองน้ําตาลของบิลิรูบิน
ตรวจพบบิลิรูบินในน้ําปัสสาวะ โดย bilirubin เป็น Breakdown product ของ Hemoglobin ซึ่งปกติจะ ไม่พบในปัสสาวะ
ปัสสาวะมีสีดําของฮีโมโกลบิน
การสลายตัวของ เม็ดเลือดแดงทําให้เกิด Oxyhemoglobinในปัสสาวะ
ปัสสาวะเป็นหนอง
ปัสสาวะที่มีเซลล์หนอง
นิ่วในปัสสาวะ
ภาวะที่มีก้อนนิ่วปนออกมากับน้ําปัสสาวะ
ไขมันในปัสสาวะ
ภาวะปัสสาวะที่มีไขมันออกมาในน้ําปัสสาวะเห็นปัสสาวะเป็นสีขาวขุ่น
หลักการพยาบาลผู้ป่วยได้รับการใส่ถุงยางอนามัย
วัตถุประสงค์
เพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง เนื่องจากเปียกปัสสาวะ บ่อย ๆ
ป้องกันการเกิดแผลกดทับในรายที่ต้องรักษาตัวนาน ๆ
ป้องกันการติดเชื้อจากการใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้
ป้องกันการอักเสบในรายที่มีแผล
วิธีการ
ต้องเปลี่ยนถุงยางอนามัยให้ผู้ป่วยทุกวัน ก่อนที่จะเช็ดตัวหรืออาบน้ํา
ใช้น้ํากับสบู่ทําความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ เช็ดให้แห้ง
หลังจากอาบน้ำจึงใส่ ถุงยางอันใหม่
กรณีที่ผู้ป่วยอยู่ที่บ้าน
ไม่สามารถหาซื้อถุงยางอนามัยได้ ญาติอาจใช้ถุงพลาสติกใช้แทนให้ พอเหมาะ
โดยผนึกปากถุงพลาสติก แล้วเจาะรูกลม ขนาดให้องคชาติสอดเข้าไปได้
ตัดพลาสเตอร์ให้เป็นรูกลม รอยติดอยู่ด้านนอก
เมื่อนําถุงพลาสติกสวมตรง องคชาตแล้ว พลาสเตอร์จะได้ติดที่บริเวณผิวหนังพอดี
ต้องเปลี่ยนถุงพลาสติกทุกครั้งที่ถ่าย ปัสสาวะออกมา
การสวนปัสสาวะ
วัตถุประสงค์
เพื่อระบายเอาน้ําปัสสาวะออกในผู้ป่วยที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะเองได้
เพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่างในผู้ป่วยท่ีต้องทําหัตถการต่างๆ
เพื่อตรวจสอบจํานวนน้ําปัสสาวะท่ีเหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ
เพื่อเก็บน้ําปัสสาวะส่งตรวจเพาะเช้ือ
เพื่อสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ หรือใส่ยาในกระเพาะปัสสาวะ
เพื่อศึกษาความผิดปกติของท่อปัสสาวะ
เพื่อตรวจสอบจํานวนน้ําปัสสาวะท่ีขับออกมาในผู้ป่วยอาการหนักอย่างถูกต้อง
ชนิดของการสวนปัสสาวะ
การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว
การสวนคาสายสวนปัสสาวะ
อุปกรณ์
ชุดทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ 1 ชุด หม้อนอน ถุงมือสะอาด 1 คู่ ถุงกระดาษหรือถุงพลาสติกสําหรับทงิ้สําลีใช้แล้ว
ชุดสวนปัสสาวะที่ปราศจากเชื้อ
ถุงมือปลอดเชื้อ
ผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง 1 ผืน
ชามกลมใหญ่ 1 ใบ
ถ้วย 2 ใบ สําหรับใส่สําลี 6-8 ก้อน และผ้าก๊อส 1-2 ผืน
Forceps 1-2 อัน
สารหล่อลื่นสายสวนชนิดละลายน้ําได้
น้ํากลั่นปลอดเชื้อ และน้ํายาทําลายเชื้อ
กระบอกฉีดยาปลอดเชื้อ
Transfer forceps
ถุงรองรับปัสสาวะปลอดเชื้อและเป็นระบบปิด
โคมไฟ หรือไฟฉาย
พลาสเตอร์, เข็มกลัด, ผ้าปิดตา
สายสวนปัสสาวะ
วิธีการสวนปัสสาวะ
การสวนคาสายสวนปัสสาวะ
1.บอกผู้ป่วยอธิบายให้เข้าใจถึงความจําเป็นของการสวนปัสสาวะ วิธีทําอย่างคร่าว ๆ
2.ล้างมือให้สะอาด เตรียมของใช้ ไปท่ีเตียงผู้ป่วย
ก้ันม่านและจัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ
แขวนถุงรองรับปัสสาวะกับขอบเตียงให้อยู่ต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะ
จัดท่า ปิดตา คลุมผ้าผู้ป่วย
ทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาด
วางชุดสวนปัสสาวะลงบนเตียงระหว่างขาของผู้ป่วย และเปิดผ้าห่อออกด้วยเทคนิค ปลอดเชื้อ
ใช้ Transfer forceps จัดวางเครื่องใช้เรียงไว้ตามลําดับการใช้อยู่ในบริเวณ ผ้าห่อ Set และวางห่างจากขอบผ้าเข้าไปอย่างน้อยประมาณ 1 นิ้ว
เทน้ํายาลงในถ้วย บีบ KY-jelly ลงในผ้าก๊อซ (ถ้ามี) หรือในชามกลมใบใหญ่
ฉีกซองใส่สายสวนปัสสาวะ แล้วใช้ Transfer forceps คีบสายสวนออกจากซอง วางลงในชามกลม ระวังการปนเปื้อนเชื้อโรค
11.ฉีกซองกระบอกฉีดยาลงในชุดสวนปัสสาวะด้วยวิธีปลอดเชื้อ
เปิดซองถุงมือและใส่ถุงมือด้วยวิธีปลอดเชื้อ
ตรวจสอบประสิทธิภาพของบอลลูนที่ปลาย Foley catheter
คลี่และวางผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก โดยให้บริเวณ เจาะกลางอยู่ตรงบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกพอดี
ใช้มือซ้ายแหวก Labia ให้กว้างจนเห็นรูเปิดของท่อปัสสาวะแล้วใช้ Forceps คีบสําลีชุบน้ําเกลือเช็ดบริเวณเปิดของท่อปัสสาวะ ทิ้งในชามรูปไต
ใช้มือข้างที่ถนัดหยิบสายสวนปัสสาวะหล่อลื่น KY-Jelly ประมาณ 1-2 นิ้ว (เพศหญิง) หรือ 6-7 นิ้ว (เพศชาย)
ยกภาชนะรองรับปัสสาวะวางบนผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางระหว่างขาผู้ป่วย
ใช้ Forceps ที่เหลือหรือมือข้างที่ถนัดจับสายสวนปัสสาวะให้มั่นคง ให้ปลายเปิด ด้านโคนของสายสวนปัสสาวะวางอยู่ในภาชนะรองรับน้ําปัสสาวะ
ค่อยๆ สอดสายสวนปัสสาวะเข้าไปในรูเปิดของท่อปัสสาวะลึก 2-3 นิ้ว (เพศหญิง) หรือ 6-8 นิ้ว (เพศชาย) หรือจนกว่าน้ําปัสสาวะจะไหล
ถ้ามีแรงต้านขณะที่สายสวนผ่านเข้า Prostatic sphincter อย่าดันสายสวนเข้าไป จับสายสวน ให้อยู่กับที่สักครู่ บอกผู้ป่วยให้หายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ หมุนสายสวนเบาๆ
ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดที่แหวก Labia (ในเพศหญิง) หรือ จับ Penis (ในเพศชาย)
สอดปลายสายของถุงรองรับปัสสาวะลอดบริเวณเจาะกลางออกมา
เช็ดบริเวณ Vulva ให้แห้งด้วยสําลีที่เหลือ
ถอดถุงมือ ติดพลาสเตอร์ยึดสายสวนกับต้นขาของผู้ป่วย และใช้เข็มกลัดติด สายของถุงรองรับปัสสาวะกับที่นอน
เก็บ Set สวนปัสสาวะออกจากเตียง จัดท่าผู้ป่วยให้สุขสบาย ถ้าผ้าขวางเตียงหรือ ผ้าปูที่นอนเปียกให้เปลี่ยน
เก็บของใช้ไปทําความสะอาด และบันทึกรายงานการสวนคาสายสวนปัสสาวะ
การถอดสายสวนปัสสาวะที่คาไว้
1.เตรียมเครื่องใช้
ถุงมือสะอาด 1 คู่
Syringe สะอาดขนาด 10 มิลลิลิตร 1 อัน
กระดาษชําระ
ชุดทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์
ถุงกระดาษหรือถุงพลาสติก 1 ใบ
2.บอกผู้ป่วย ใส่ถุงมือทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ และบริเวณ Urethra meatus ให้สะอาด
3.ต่อ Syringe เข้ากับหางของสายสวนปัสสาวะที่ใช้สําหรับใส่น้ํากลั่นแล้วดูดน้ํากลั่น ออกจนหมด
4.บอกผู้ป่วยให้หายใจเข้าออกลึกๆ เพื่อให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย ขณะที่ค่อย ๆ ดึงเอาสาย สวนออกแล้วใส่ในถุงที่เตรียมไว้
5.ใช้กระดาษชําระเช็ดบริเวณ Perineum ให้แห้ง
สังเกตลักษณะ จํานวนปัสสาวะในถุงก่อนเอาไปเททิ้ง ลงบันทึกวันเวลาที่เอาสาย สวนออก จํานวน สี ลักษณะของปัสสาวะลงในบันทึกทางการพยาบาล
กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ํามาก ๆ สังเกตความผิดปกติของผู้ป่วย
หลักการส่งเสริมสุขภาพในระบบทางเดินปัสสาวะ
ส่งเสริมให้ได้รับน้ําอย่างเพียงพอ
ควรได้รับน้ําสะอาด
อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว หรือประมาณ 1,500-2,000 มล.
ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
ดื่มน้ําอย่างน้อยวันละ8แก้ว
ฝึกถ่ายปัสสาวะบ่อยๆทุก2-4ชั่วโมง
ดื่มน้ำ2แก้วก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์
อาบน้ําด้วยฝักบัวแทนอาบในอ่างอาบน้ํา
ใส่ชุดชั้นในที่ทําด้วยผ้าฝ้ายดีกว่าทําด้วยไนล่อน
หลีกเลี่ยงการใส่กางเกงที่แน่นหรือคับเกินไป
เพิ่มความเป็นกรดของปัสสาวะโดยการรับประทานวิตามินซี
ใช้ Estrogen cream ตามแผนการรักษาของแพทย์
ส่งเสริมให้กล้ามเนื้อทํางานอย่างเต็มที่
กระตุ้นให้บริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
การทํา Kegel exercise ด้วยการขมิบก้น นับ 1 ถึง 10 แล้วคลาย ทําซ้ำเช่นนี้ 10-25 ครั้งต่อวัน วันละ 3-4 ครั้งเป็นเวลา 2 สัปดาห์
รับประทาน อาหารที่มีกากมากๆ
ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ พยายามระงับอาการไอ
หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ กรณีปัสสาวะไม่ออก
จัดให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียวในที่มิดชิดขณะถ่ายปัสสาวะ
ช่วยให้ผู้ป่วยได้ถ่ายปัสสาวะในท่าที่สะดวกเป็นธรรมชาติ
การเปิดก๊อกน้ําให้ได้เห็น หรือได้ยินเสียงน้ําไหล
การใช้ความร้อนช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ
ให้เวลาในการขับถ่ายปัสสาวะ ไม่เร่งรัดผู้ป่วยเกินไป
ช่วยกดหน้าท้องเบาๆ เหนือบริเวณกระเพาะปัสสาวะ
สอนให้นวดกระเพาะปัสสาวะ
ให้ใช้มือนวดเบาๆ ที่ท้องน้อยเหนือกระดูกหัวเหน่า
ให้ผู้ป่วยกลั้นหายใจขณะที่กดปลายนิ้วลงไปที่
กระเพาะปัสสาวะ
ระหว่างที่นวดให้ผู้ป่วยขมิบกล้ามเน้ือฝีเย็บสลับกับการนวดด้วย
เสริมสร้างนิสัยของการถ่ายปัสสาวะ
ใช้วิธีกระตุ้นให้ผู้ป่วยไปปัสสาวะ ชมเชย และให้กําลังใจ
วิธีที่ใช้สําหรับผู้ป่วยที่มีความบกพร่องเกี่ยวกับ ความรู้ความเข้าใจในช่วงเวลาถ่ายปัสสาวะที่ยาวนานมาก
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ กรณีท่ีไม่สามารถไปห้องน้ําได้
กรณีผู้หญิงให้นำหม้อนอนมาให้ผู้ป่วยที่เตียง
กรณีผู้ชายให้นำกระบอกปัสสาวะมาให้ผู้ป่วยที่เตียง
การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
วิธีการเก็บปัสสาวะแบบรองเก็บปัสสาวะช่วงกลาง
ความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยน้ําสะอาด
ล้างมือให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง
ให้ปัสสาวะทิ้งช่วงต้นไปเล็กน้อย
เก็บปัสสาวะในช่วงถัดมาประมาณครึ่งภาชนะ หรือประมาณ 30-50 ml. โดยห้ามสัมผัสด้านในของภาชนะ
ทิ้งปัสสาวะช่วงท้าย
นําปัสสาวะไปส่งให้เจ้าหน้าที่โดยเร็วที่สุด
วิธีการเก็บปัสสาวะจากสายสวนปัสสาวะที่คาไว้
1) ใช้ Clamp หนีบสายสวนปัสสาวะที่ใต้รอยต่อระหว่างสายต่อของถุงกับสายสวนไว้นาน ประมาณ 15–30 นาที เพื่อให้มีปัสสาวะใหม่เก็บอยู่ก่อน
2) เตรียม Syringe sterile เข็มปลอดเชื้อ Sterile swab น้ํายาฆ่าเชื้อ
3) ล้างมือ สวมถุงมือสะอาด เช็ดบริเวณที่จะเก็บปัสสาวะด้วยน้ํายาฆ่าเชื้อ
4) ใช้กระบอกฉีดยาที่มีเข็มปลอดเชื้อแทงที่สายสวนปัสสาวะตรงตําแหน่งที่ทําความสะอาดฆ่าเชื้อไว้แล้ว ดูดปัสสาวะออกมาประมาณ 10 มล. ส่งตรวจเพาะเชื้อทันที
วิธีการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
เป็นการเก็บปัสสาวะที่มีการรวบรวมไว้จนครบ 24 ชั่วโมงแล้ว ส่งตรวจ
เริ่มเก็บปัสสาวะเวลา 08.00 น. โดยให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะทิ้งก่อนเริ่มเก็บ
รวบรวม น้ําปัสสาวะที่เก็บได้หลัง 08.00 น. จนครบกําหนด 24 ชั่วโมง
ถ่ายปัสสาวะเก็บเป็นครั้งสุดท้าย คือ เวลา 08.00 น. เช้าวันรุ่งขึ้น
ควรแนะนําให้งดโปรตีน คาเฟอีน ก่อนการเก็บปัสสาวะประมาณ 6 ชั่วโมง
ให้ผู้ป่วยดื่มน้ํามากๆ ก่อนและระหว่างการเก็บ