Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนต้น (Cancer Caecum) - Coggle Diagram
มะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนต้น (Cancer Caecum)
พยาธิสภาพ
ตำแหน่งของเนื้องอกลำไส้ใหญ่ที่เป็น Intraperitoneum หรือ Extraperitoneum จะมีผลต่อลักษณะการแพร่กระจายของโรคโดยที่มะเร็งที่เกิดบริเวณลำไส้ใหญ่ที่มีเยื่อบุช่องท้องปกคลุม เวลาโรคลุกลามจะแพร่กระจายไปตามเยื่อบุช่องท้อง (Peritoneal Seeding) ส่วนมะเร็งที่เกิดที่ลำไส้ใหญ่ในส่วนที่ไม่มีเยื่อบุช่องท้องปกคลุมจะมีการกลับเป็นซ้ำแบบเฉพาะที่ (Local Recurrence) สูง
บริเวณลำไส้ใหญ่ที่มีเยื่อบุช่องท้องปกคลุมประกอบด้วย Cecum, Transverse Colon, Sigmoid Colon ลำไส้ใหญ่ส่วนที่ไม่มีเยื่อบุช่องท้องปกคลุมคือ บริเวณด้านหลังของ Ascending, Decending Colon และ RectumRectum ยาวประมาณ 15 เซ็นติเมตร ส่วนปลาย 5-7 เซ็นติเมตร จะมีเลือดมาเลี้ยงจาก 2 ระบบ คือ Middle และ Inferior Hemorrhoidal Veins จะรับเลือดดำกลับสู่ Inferior Vena Cava โดยตรง
ดังนั้นมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เกิดบริเวณนี้จึงสามารถแพร่กระจายไปที่ปอดได้โดยตรง ส่วนเลือดดำอีกระบบหนึ่งคือ Superior Hemorrhoidal Vein จะรับเลือดจากส่วนต้นของ Rectum ไปสู่Portal System เช่นเดียวกับลำไส้ใหญ่ส่วน Colon เพราะฉะนั้นมะเร็งที่เกิดที่ Colon หรือ Rectum
ส่วนต้น มักจะแพร่กระจายไปที่ตับก่อนโดยแพร่กระจายไปตาม Portal Vein11
การรักษา
มะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยต้องดูความรุนแรงของโรคและชนิดของมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ผู้ป่วยเป็น ทั้งนี้อาจใช้การรักษาเพียงวิธีเดียวในการรักษาหรือใช้หลายวิธีสลับกัน การผ่าตัด เป็นการรักษาหลักที่แพทย์มักใช้ในการรักษาผู้ป่วย ซึ่งขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งเกิดบริเวณส่วนใด รุนแรงมากน้อยแค่ไหน การรักษาด้วยการผ่าตัดมักต้องรักษาควบคู่กับการทำเคมีบำบัด อาจเป็นก่อนหลังการผ่าตัดก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ เพื่อช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สาเหตุ
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัดแต่พบปัจจัยที่มีส่วนที่ทำให้เกิดโรคได้หลายปัจจัย ดังนี้
พันธุกรรม
-การรับประทานอาหาร
อายุที่เพิ่มมากขึ้น
-การกลายพันธุ์ของยีน
การอักเสบของในลำไส้
ความหมาย
มะเร็งลำไส้ใหญ่ คือ เนื้องอกชนิดที่เป็นเนื้อร้ายเจริญขึ้นบริเวณผนังลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับสามรองลงมาเป็นมะเร็งปอดและมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เป็นเนื้อร้ายเจริญมาจากนอกที่เป็นติ่งยื่นออกมาจากผนังลำไส้ใหญ่จากติ่งเนื้อจะโตมากขึ้นเรื่อยเรื่อยจนในที่สุดจะมีการเปลี่ยนแปลงจากเนื้องอกธรรมดากลายเป็นเนื้อร้าย หรือมะเร็งในที่สุดซึ่งต้องใช้เวลาหลายปี
ซีกั้ม (caecum) เป็นลำไส้ใหญ่ส่วนต้นเหนือท้องน้อย อยู่ทางด้านขวา ยาวประมาณ 6.3-7.5 เซนติเมตร มีไส้ติ่ง ยื่นออกมาขนาดเท่านิ้วก้อย ความยาวประมาณโดยเฉลี่ย 8-10 เซนติเมตร
การตรวจประเมินเบื้องต้น
แนะนำให้เริ่มตรวจประเมินเบื้องต้นทั้งผู้ชายและผู้หญิงเมื่ออายุ 50 ปี โดยวิธีการตรวจประเมินเบื้องต้นทำได้ ดังนี้
การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (colonoscopy)
การใช้สารทึบแสงแบเรียมร่วมกบการถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซเรย์ CT scan (double contrast barium enema: DCBE)
การตรวจโดยใช้เครื่องมือซิกมอยด์โดสโคป (sigmoidoscope)
การตรวจหาเลือดในอุจจาระ (fecal occult blood test: FOBT)
การวินิจฉัย
เมื่อคาดการณ์ว่ามีแนวโน้มเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการสังเกตอาการของโรค แพทย์จะสอบถามประวัติอาการและการรักษาตัวของผู้ป่วย ประวัติการป่วยของบุคคลในครอบครัว ตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยเฉพาะบริเวณท้อง และอาจตรวจบริเวณทวารหนัก รวมไปถึงการตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น
อาการและอาการแสดง
ลักษณะอุจจาระเรียวยาวกว่าปกติ
ไม่สบายท้อง รวมทั้งปวดแสบร้อน อาหารไม่ย่อย และปวดเกร็ง
ุอุจจาระปนเลือดสดๆ หรือเลือดสีคล้ำมาก
น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
ท้องเสีย ท้องผูก หรือรู้สึกท้องอืด
อ่อนเพลียหรืออ่อนแรง