Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 9 การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ - Coggle Diagram
บทที่ 9 การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ
ปัจจัยที่มีผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะ
อายุหรือพัฒนาการในวัยต่างๆ (Developmental growth)
วัยเด็ก เด็กทารกกระเพาะปัสสาวะมีความจุน้อย การขับถ่ายปัสสาวะจึงบ่อยคร้ังกว่า ผู้ใหญ่ เด็กวัยก่อนเรียนจะเริ่มควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้เองโดยจะควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะในตอน กลางวันก่อนกลางคืน
ผู้สูงอายุ จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามวัย เมื่อมีน้ําปัสสาวะเพียง 150-200 มิลลิลิตร กระเพาะปัสสาวะก็จะบีบตัวทําให้รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะและทําให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งข้ึน
น้ําและอาหาร (Food and fluid)
จํานวนน้ําที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake)
จํานวนน้ําที่ร่างกายสูญเสีย (Loss of body fluid)
อาหารที่ร่างกายได้รับ (Food intake)
ยา (Medication) เช่น ยาที่ขับออกทางระบบปัสสาวะจะส่งผลให้สีของน้ําปัสสาวะ เปลี่ยนแปลง ยาที่มีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติจะรบกวนการขับถ่ายปัสสาวะทําให้ปัสสาวะคั่ง
ด้านจิตสังคม (Psychosocial factors) เช่น ความเครียดและความวิตกกังวลกระตุ้น ให้อยากถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น ความกลัวที่รุนแรงอาจทําให้กลั้นปัสสาวะไม่ได้
สังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural factor) สังคมและวัฒนธรรมประเพณี รวมถึงการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวมีอิทธิพลต่อนิสัยการขับถ่ายของบุคคล
ลักษณะท่าทาง (Body position) โดยปกติผู้ชายจะใช้ท่ายืนซึ่งพบว่าผู้ชายบางรายจะมี ปัญหาในการขับถ่ายปัสสาวะเมื่ออยู่ในท่านอนราบ
กิจกรรมและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Activity and Muscle tone)
การออกกําลังกายสม่ำเสมอ
ผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะไว้เป็นเวลานาน ทําให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวน้อยลง
สตรีในภาวะหมดประจําเดือน
ผู้ที่นอนอยู่บนเตียงนานๆ ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว
พยาธิสภาพ (Pathologic conditions) พยาธิสภาพของโรคหลายชนิดมีผลต่อ การสร้างปัสสาวะทั้งปริมาณและคุณภาพ
การผ่าตัดและการตรวจเพื่อการวินิจฉัยต่างๆ (Surgical and diagnostic procedure)
ความเครียดและความวิตกกังวลในกระบวนการรักษาทําให้ร่างกายหลั่ง ADH
การตรวจวินิจฉัยในระบบทางเดินปัสสาวะ
การฉีดยาชาที่ไขสันหลังส่งผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะของผู้ป่วย
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะและการขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะในคนปกติ
อยากถ่ายปัสสาวะเมื่อมีปริมาณปัสสาวะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ 100-400 มิลลิลิตร
กรณีอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ทันที
เวลาที่ใช้ในการถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้งมักไม่เกิน 30 วินาที
ตลอดการถ่ายปัสสาวะจะไม่มีอาการเจ็บปวด
ลําปัสสาวะช่วงแรกจะพุ่งแรงและใหญ่กว่าตอนสุด
ปัสสาวะประมาณ 4-6 ครั้งต่อวัน
มักถ่ายปัสสาวะก่อนนอน ตอนเช้าหลังตื่นนอน ก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร
การถ่ายปัสสาวะจะเว้นช่วงห่างประมาณ 2–4 ชั่วโมงในเวลากลางวัน และ6-8 ชั่วโมง ในเวลากลางคืน
Residual urine ไม่ควรเกิน 50 มิลลิลิตร ในผู้ใหญ่
ลักษณะของปัสสาวะที่ปกติ
ปริมาณปัสสาวะปกติในผู้ใหญ่ ประมาณวันละ 800–1,600 มิลลิลิตร
ลักษณะใส ไม่ขุ่น ไม่มีตะกอน
สีเหลืองจางจนถึงสีเหลืองเข้ม สีเหลืองฟางข้าว
มีความเป็นกรดอ่อนๆ pH ประมาณ 4.6-8.0
ความถ่วงจําเพาะ (Specific gravity) ประมาณ 1.015-1.025
เมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic examination) ไม่พบ Casts,Bacteria, Albumin หรือน้ําตาล ไม่พบเม็ดเลือดแดง
ปัสสาวะใหม่มีกลิ่นแอมโมเนียอ่อนๆ ถ้าตั้งทิ้งไว้นานๆ
การขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
ไม่มีปัสสาวะ(Anuria/Urinarysuppression)เป็นภาวะที่มีปริมาณปัสสาวะน้อยกว่า 50 มิลลิลิตรต่อวันหรือไม่มีการปัสสาวะเลย
ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ(Oliguria)เป็นภาวะที่มีปัสสาวะน้อยกว่า500มิลลิลิตรใน24 ชั่วโมง
หรือน้อยกว่า 30 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง หรือ
น้อยกว่า 0.5-1 มิลลิลิตร/น้ําหนักตัว 1 กก./ชั่วโมง
ปัสสาวะมากกว่าปกติ(PolyuriaหรือDiuresis)เป็นภาวะที่ไตผลิตปัสสาวะออกมา จํานวนมากกว่าปกติ (มากกว่า 2,500–3,000 มิลลิลิตรต่อวัน) อาจเป็นภาวะที่เกิดขึ้นชั่วคราว
ปัสสาวะตอนกลางคืน (Nocturia) เป็นภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะในตอนกลางคืน มากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป ถือเป็นความผิดปกติที่ต้องสังเกต
ปัสสาวะขัดปัสสาวะลําบาก(Dysuria)เป็นภาวะที่มีการเบ่งถ่ายปัสสาวะผู้ป่วยจะรู้สึก ปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ ถ่ายลําบาก ต้องใช้เวลาและใช้แรงในการเบ่งเพิ่มขึ้น
ถ่ายปัสสาวะบ่อยหรือกะปริบกะปรอย (Pollakiuria) เป็นภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะ บ่อยครั้งกว่าปกติ
ปัสสาวะรดที่นอน(Enuresis)เป็นภาวะที่มีปัสสาวะไหลออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจในเด็กที่มีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป แต่ถ้าเกิดกับเด็กอายุน้อยกว่านี้ถือว่าปกติ
ปัสสาวะคั่ง(Urinaryretention)เป็นภาวะที่มีน้ําปัสสาวะคั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ เป็นจํานวนมากกว่าปกติและไม่สามารถจะถ่ายปัสสาวะออกมาได้
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้(Urinaryincontinence)เป็นภาวะที่ไม่ สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่โดยสิ้นเชิง (True Incontinence)
กลั้นปัสสาวะไม่ทัน หรือ ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน (Urge incontinence/ Urgency/ Overactive bladder)
ปัสสาวะเล็ด (Stress incontinence)
ปัสสาวะท้น (Overflow incontinence)
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ที่เกิดจากภาวะหรือโรคอื่น ๆ (Functional Incontinence)
ส่วนประกอบของปัสสาวะที่ผิดปกติ
ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria) หมายถึง ภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงปนออกมาในน้ําปัสสาวะ
ทําให้ปัสสาวะเป็นสีแดง อาจเห็นชัดเป็นเลือดสดๆ
น้ําตาลในปัสสาวะ (Glycosuria) หมายถึง ภาวะคนปกติจะตรวจไม่พบน้ําตาลในปัสสาวะ
โปรตีนในปัสสาวะ (Proteinuria หรือ Albuminuria) หมายถึง ภาวะที่มีโปรตีน
คีโตนในปัสสาวะ (Ketonuria) หมายถึง ภาวะที่ตรวจพบคีโตนในน้ําปัสสาวะโดยคีโตนเป็น ผลจากการเผาผลาญไขมันให้เป็นพลังงาน
ปัสสาวะมีสีเหลืองน้ําตาลของบิลิรูบิน (Bilirubinuria หรือ Choluria) หมายถึงภาวะที่ตรวจพบบิลิรูบินในน้ําปัสสาวะ โดย bilirubin เป็น Breakdown product ของ Hemoglobin
ปัสสาวะมีสีดําของฮีโมโกลบิน (Hemoglobinuria)
หมายถึง ภาวะที่มีการสลายตัวของ เม็ดเลือดแดงทําให้เกิด Oxyhemoglobin หรือ Methemoglobin ในปัสสาวะ
ปัสสาวะเป็นหนอง (Pyuria) หมายถึง ภาวะปัสสาวะที่มีเซลล์หนอง เม็ดเลือดขาวในน้ําปัสสาวะบางครั้งอาจพบมีแบคทีเรียร่วมด้วย
นิ่วในปัสสาวะ (Calculi) หมายถึง ภาวะที่มีก้อนนิ่วปนออกมากับน้ําปัสสาวะเนื่องจากมี การตกตะกอนของเกลือแร่ในร่างกาย
ไขมันในปัสสาวะ (Chyluria) หมายถึง ภาวะปัสสาวะที่มีไขมันออกมาในน้ําปัสสาวะทําให้ เห็นปัสสาวะเป็นสีขาวขุ่น
หลักการส่งเสริมสุขภาพในระบบทางเดินปัสสาวะ
ส่งเสริมให้ได้รับน้ําอย่างเพียงพอ
ในผู้ใหญ่ควรได้รับน้ําสะอาด อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว หรือประมาณ 1,500-2,000 มิลลิลิตร อาจต้องเพิ่มขึ้นให้สัมพันธ์กับจํานวนน้ําที่สูญเสียออกจากร่างกาย
ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
ดื่มน้ําอย่างน้อยวันละ8แก้ว(แก้วละ240มิลลิลิตร)
ฝึกถ่ายปัสสาวะบ่อยๆทุก2-4ชั่วโมงเพื่อชะล้างแบคทีเรียออกจากท่อปัสสาวะ
ดื่มน้ํา2แก้วก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์และปัสสาวะทิ้งทันทีหลังจากมีเพศสัมพันธ์
อาบน้ําด้วยฝักบัวแทนอาบในอ่างอาบน้ําหลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่แรงการแช่ฟองสบู่ในอ่างอาบน้ํา
ใส่ชุดชั้นในที่ทําด้วยผ้าฝ้ายดีกว่าทําด้วยไนล่อน
หลีกเลี่ยงการใส่กางเกงที่แน่นหรือคับเกินไป
เพิ่มความเป็นกรดของปัสสาวะโดยการรับประทานวิตามินซีและดื่มน้ําผลไม้ที่เป็นกรด
ใช้ Estrogen cream ตามแผนการรักษาของแพทย์
ส่งเสริมให้กล้ามเนื้อทํางานอย่างเต็มที่
การกระตุ้นให้บริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันกล้ามเนื้อหย่อนสมรรถภาพได้ โดยการทํา Kegel exercise ด้วยการขมิบก้น นับ 1 ถึง 10 แล้วคลาย ทําซ้ำเช่นนี้ 10-25 ครั้งต่อวัน วันละ 3-4 ครั้งเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ถึง1 เดือน Kegel exercise จะมีประสิทธิภาพเมื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ํามากๆ
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ
กรณีปัสสาวะไม่ออก
จัดให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียวในที่มิดชิดขณะถ่ายปัสสาวะ สิ่งแวดล้อมในห้องน้ําสะอาด
ช่วยให้ผู้ป่วยได้ถ่ายปัสสาวะในท่าที่สะดวกเป็นธรรมชาติ
การเปิดก๊อกน้ําให้ได้เห็น หรือได้ยินเสียงน้ําไหลจะช่วยในด้านองค์ประกอบทางอารมณ์
การใช้ความร้อนช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ
ให้เวลาในการขับถ่ายปัสสาวะ ไม่เร่งรัดผู้ป่วยเกินไป
ช่วยกดหน้าท้องเบาๆ เหนือบริเวณกระเพาะปัสสาวะจะช่วยให้ปัสสาวะสะดวก
สอนให้นวดกระเพาะปัสสาวะ การนวดกระเพาะปัสสาวะเป็นเทคนิคที่ช่วยทําให้กระเพาะ ปัสสาวะว่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความบกพร่องที่ระบบประสาทควบคุมการถ่ายปัสสาวะ
เสริมสร้างนิสัยของการถ่ายปัสสาวะ เป็นวิธีที่ใช้สําหรับผู้ป่วยที่มีความบกพร่องเกี่ยวกับ ความรู้ความเข้าใจในช่วงเวลาถ่ายปัสสาวะที่ยาวนานมาก
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ กรณีท่ีไม่สามารถไปห้องน้ําได้ พยาบาลอาจ
ต้องนําหม้อนอน (Bedpan) ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้หญิง
การสวนปัสสาวะ
วัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะ
1) เพื่อระบายเอาน้ําปัสสาวะออกในผู้ป่วยที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะเองได้
3) เพื่อตรวจสอบจํานวนน้ําปัสสาวะท่ีเหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ
4) เพื่อเก็บน้ําปัสสาวะส่งตรวจเพาะเชื้อ
5) เพื่อสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ หรือใส่ยาในกระเพาะปัสสาวะ
6) เพื่อศึกษาความผิดปกติของท่อปัสสาวะ
7) เพื่อตรวจสอบจํานวนน้ําปัสสาวะท่ีขับออกมาในผู้ป่วยอาการหนักอย่างถูกต้อง
2) เพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่างในผู้ป่วยท่ีต้องทําหัตถการต่างๆ
ชนิดของการสวนปัสสาวะ มี 2 ชนิด
การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว(Intermittentcatheterization)
การสวนคาสายสวนปัสสาวะ (Indwelling catheterization or retained catheterization)
อุปกรณ์
1) ชุดทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ 1 ชุด หม้อนอน ถุงมือสะอาด 1 คู่ ถุงกระดาษหรือ
ถุงพลาสติกสําหรับทงิ้สําลีใช้แล้ว
2) ชุดสวนปัสสาวะที่ปราศจากเชื้อ (Sterile catheterization set)
3) สารหล่อลื่นสายสวนชนิดละลายน้ําได้ เช่น KY-jelly
4) น้ํากลั่นปลอดเชื้อ (Sterile water) และน้ํายาทําลายเชื้อ (Antiseptic solution)
5) กระบอกฉีดยาปลอดเชื้อ (Sterile syringe) ขนาด 10 มิลลิลิตร 1 อัน
6) Transfer forceps
7) ถุงรองรับปัสสาวะปลอดเชื้อและเป็นระบบปิด (Sterile urine bag) 1 ใบ
8) โคมไฟ หรือไฟฉาย
9) พลาสเตอร์, เข็มกลัด, ผ้าปิดตา
10) สายสวนปัสสาวะ
วิธีการสวนปัสสาวะ
1) การสวนคาสายสวนปัสสาวะ (Indwelling หรือ Retention catheter)
การถอดสายสวนปัสสาวะที่คาไว้ (Removing Indwelling or Retention catheters)
หลักการพยาบาลผู้ป่วยได้รับการใส่ถุงยางอนามัยเพื่อระบายปัสสาวะ (Condom catheter)
วัตถุประสงค์
1) เพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง เนื่องจากเปียกปัสสาวะ บ่อย ๆ
2) ป้องกันการเกิดแผลกดทับในรายที่ต้องรักษาตัวนาน ๆ 3) ป้องกันการติดเชื้อจากการใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้
4) ป้องกันการอักเสบในรายที่มีแผล
การใส่ถุงยางอนามัย เป็นการระบายปัสสาวะภายนอก ในผู้ชายให้ปัสสาวะไหลไปตามท่อลงสู่ ภาชนะหรือถุงรองรับปัสสาวะ การใส่ถุงยางอนามัยจะพิจารณาผู้ที่มีปัญหา ไม่สามารถควบคุมการขับถ่าย ปัสสาวะ เพราะถุงยางอนามัยลดอัตราเสี่ยงการนําเชื้อเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ
การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
วิธีการเก็บปัสสาวะแบบรองเก็บปัสสาวะช่วงกลาง (Clean mid-stream urine) โดย ให้ผู้ป่วยทําความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยน้ําสะอาด ล้างมือให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง ให้ ปัสสาวะทิ้งช่วงต้นไปเล็กน้อย เก็บปัสสาวะในช่วงถัดมาประมาณครึ่งภาชนะ หรือประมาณ 30-50 ml. โดยห้ามสัมผัสด้านในของภาชนะ แล้วปัสสาวะช่วงสุดท้ายทิ้งไป นําปัสสาวะไปส่งให้เจ้าหน้าที่โดยเร็วที่สุด
วิธีการเก็บปัสสาวะจากสายสวนปัสสาวะที่คาไว้
1) ใช้ Clamp หนีบสายสวนปัสสาวะที่ใต้รอยต่อระหว่างสายต่อของถุงกับสายสวนไว้นาน ประมาณ 15–30 นาที
เพื่อให้มีปัสสาวะใหม่เก็บอยู่ก่อน
2) เตรียม Syringe sterile เข็มปลอดเชื้อ Sterile swab น้ํายาฆ่าเชื้อ
3) ล้างมือ สวมถุงมือสะอาด เช็ดบริเวณที่จะเก็บปัสสาวะด้วยน้ํายาฆ่าเชื้อ
4) ใช้กระบอกฉีดยาที่มีเข็มปลอดเชื้อแทงที่สายสวนปัสสาวะตรงตําแหน่งที่ทําความสะอาด ฆ่าเชื้อไว้แล้ว ดูดปัสสาวะออกมาประมาณ 10 มล. ส่งตรวจเพาะเชื้อทันที
วิธีการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง เป็นการเก็บปัสสาวะที่มีการรวบรวมไว้จนครบ 24 ชั่วโมงแล้ว ส่งตรวจ เริ่มเก็บปัสสาวะเวลา 08.00 น. โดยให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะทิ้งก่อนเริ่มเก็บ และรวบรวม น้ําปัสสาวะที่เก็บได้หลัง 08.00 น. จนครบกําหนด 24 ชั่วโมง แล้วถ่ายปัสสาวะเก็บเป็นครั้งสุดท้าย คือ เวลา 08.00 น. เช้าวันรุ่งขึ้น ควรแนะนําให้งดโปรตีน คาเฟอีน ก่อนการเก็บปัสสาวะประมาณ 6 ชั่วโมง และให้ผู้ป่วยดื่มน้ํามากๆ ก่อนและระหว่างการเก็บ (ถ้าไม่มีข้อห้าม)
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะ
การประเมิน
1) การซักประวัติแบบแผนและลักษณะการขับถ่ายปัสสาวะปกติจํานวนครั้งใน24ชั่วโมง ลักษณะและสีของปัสสาวะ ปริมาณน้ําดื่มต่อวัน
2) ตรวจร่างกายในระบบทางเดินปัสสาวะ
3) วิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
จากข้อมูลของกรณีตัวอย่างร่วมกับข้อมูลสนับสนุนที่ได้จาก
การประเมินสามารถกําหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การวางแผนการพยาบาล และการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อลดการติดเชื้อในระบบทางเดิน ปัสสาวะของผู้ป่วย
ประเมินผลการพยาบาล ภายหลังให้การพยาบาลควรมีการประเมินทุกครั้งตามเกณฑ์ การประเมินผล เช่น ปัสสาวะสีเหลืองใสไม่มีตะกอน สัญญาณชีพปกติ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ไม่พบเชื้อ เป็นต้น