Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อาหารตามธาตุ กับวัฒนธรรมจีน - Coggle Diagram
อาหารตามธาตุ
กับวัฒนธรรมจีน
วัฒนธรรรมจีน
เป็นเทศกาลที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยอดีตมาจนถึงปัจจุบัน ขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อ อันเป็นจุดกำเนิดของชาวจีน
อาหารจีน
นิยมรับประทานอาหารจานผักและธัญพืชเป็นหลัก
นอกจากในราชสำนักที่จะมีอาหารประเภทเนื้อเป็นหลัก อุปกรณ์การกินหลัก คือตะเกียบมีอาหารจีน 2 ตระกูลใหญ่ คืออาหารเมืองเหนือ และเมืองใต้ มีการแบ่งอาหารเป็น 8ตระกูลใหญ่
บางแหล่งแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆตามมณฑลต่างๆได้อีกเช่น อาหารเสฉวน,อาหารกวางตุ้ง,อาหารฮกเกี้,อาหารไหหลำ,อาหารปักกิ่ง,อาหารซัวเถา
อาหารบ่งชี้ชนชั้น นอกจากอาหารจะสะท้อนความเชื่อ ความหมายอันแฝงไว้ซึ่งความเป็นมงคล มันจึงยังเป็นการแสดงสถานะทางสังคมรูปแบบหนึ่งในวัฒนธรรมจีน อาหารจึงเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและสถานะทางสังคม แสดงถึงตัวตนของผู้กิน
การแพทย์และยาแผนจีน
คนจีนมีความเชื่อพื้นฐานว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติซึ่งประกอบขึ้นจากธาตุหยินและหยาง หากสภาพความสมดุลของหยินและหยางถูกทำลาย ก็ย่อมทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้น
การฝังเข็ม ทฤษฎีพื้นฐานของวิชาการฝังเข็มก็คือทฤษฎีเส้นทางการไหลเวียนของเลือดลมภายในร่างกายการรักษาโดยวิธีการฝังเข็มโดยทั่วไปมักจะเลือกฝังเข็มบนจุดลมปราณที่อยู่บนเส้นทางการไหลเวียนของเลือดลม
ทฤษฎีธาตุห้าวัฒนธรรมอาหารจีน
ชาวจีนเชื่อว่าอาหารที่ดี ไม่ได้ทำหน้าที่แค่ให้ท้องอิ่มหรือรสชาติดีเป็นสำคัญ
การปรุงอาหารจึงต้องรู้หลักความสมดุลหยิน-หยาง และให้ความสำคัญกับธาตุทั้ง 5 จากความเชื่อที่ว่า ‘ฟ้า ดิน และมนุษย์เป็นหนึ่งเดียวกัน’ คือธาตุที่ประกอบด้วยไม้ ไฟ ดิน โลหะ และน้ำ
อันหมายถึงลมปราณทั้ง 5 ที่ต้องสอดประสานไปกับธรรมชาติ
การกินจึงต้องคำนึงถึงฤดูกาล สภาพแวดล้อม อากาศ และอาหารที่ให้ฤทธิ์ร้อน-เย็น รวมทั้งรสชาติที่ส่งผลต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกายและอาหารทำหน้าที่เป็นยาป้องกันและรักษา อันมาจากความเชี่อที่ว่านอกเหนือจากเชื้อโรคและปัจจัยภายนอก ความเจ็บป่วยจึงเป็นเรื่องของสมดุลธาตุในร่างกายเป็นหลัก
ความเชื่อเกี่ยวกับวัฒนธรรมอาหารจีน
คนจีนมีความเชื่อที่ว่า ‘ดินน้ำถิ่นใด ก็เพื่อเลี้ยงผู้คนถิ่นนั้น’
และกลายเป็นรากของอาหารกวางตุ้งที่ขึ้นชื่อเรื่องความหลากหลายของวัตถุดิบ
พูดง่ายๆ คือคนกวางตุ้งกินได้ทุกอย่างไม่ว่าจะอยู่บนฟ้า ในน้ำ หรือบนดินก็จับมาปรุงอาหารได้หมด
ทั้งเป็ด ไก่ หมู กุ้ง หอย ปู ปลา ไปจนถึง ‘เหย่เว่ย
ในปัจจุบัน แม้แต่การกินค้างคาว ที่สันนิษฐานว่าเป็นสาเหตุการแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่าหรือ Covid-19 ทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการป่วยปอดอักเสบอย่างรุนแรงและกลายเป็นการระบาดครั้งใหญ่
ทฤษฏีหยิน – หยาง
“ร่างกายมนุษย์จำเป็นต้องดำรงหยิน-หยางให้คงไว้ในสภาวะสมดุล”
ร่างกายประกอบด้วยเนื้อเยื่อ โครงกระดูก เส้นผม เล็บ ซึ่งเป็นหยิน ส่วนหยางคือพลังงานของชีวิต ภายใต้สภาพปกติหยินหยางจะมีสภาวะสมดุลในลักษณะที่ตรงกันข้าม ก่อให้เกิดการไหลเวียนของพลังในร่างกายไปทั่วทุกจุดแล้ว
เราสามารถจำแนกลักษณะโรคหยินและหยางได้ดังนี้
โรคหยาง เป็นโรคชนิดเฉียบพลัน มีลักษณะเดินหน้าและเพิ่มขึ้น มักปรากฏเป็นอาการไข้สูง จิตใจกระสับกระส่ายกระหายน้ำ ชอบกินของเย็น ท้องผูก ขัดเบา
โรคหยิน เป็นโรคชนิดเรื้อรัง
มีลักษณะถอยหลังและลดลง มักปรากฏเป็นอาการเย็นง่าย หนาวง่าย เซื่องซึม
ไม่มีเรี่ยวแรง กินอาหารน้อยลง ท้องเดิน อุจจาระเหลว มือเท้าเย็น
รสทั้งห้าของอาหาร
รสเผ็ด เป็นอาหารจำพวกหยาง ช่วยระบาย ช่วยให้พลังเดิน ทำให้โลหิตไหลเวียน แก้ไข้ปวดกระเพาะ ปวดรอบเดือน
อาหารรสนี้ได้แก่ ขิง กระเทียม ฮวยเจีย กุ้ยพวย กานพลู
รสหวาน (รวมรสจืด) เป็นอาหารจำพวกหยาง ช่วยปรับโจงชี่ให้สมดุล มักใช้บำบัดม้ามและกระเพาะอ่อนแอ อาหารไม่ย่อย สตรีร่างกายอ่อนแอหลังคลอด ปวดตามกระดูกและเอว
อาหารรสหวานได้แก่ พุทราจีน ลำไย
รสเปรี้ยว (รวมรสฝาด) เป็นอาหารจำพวกหยิน ช่วยหยุดการหลั่งของเหลวและเพิ่มน้ำในร่างกาย มักใช้บำบัดอาการเหงื่อออกผิดปกติขณะหลับ ปัสสาวะบ่อย ม้ามพร่อง สตรีตกขาว ร้อนใน
อาหารรสเปรี้ยวได้แก่ ลูกเคียมซิก เม็ดบัว ลูกบ๊วย
รสขม เป็นอาหารจำพวกหยิน ช่วยขับร้อน สลายชื้น ปรับสภาวะพลังย้อนกลับ มักใช้บำบัดอาการหวัดแดด เป็นไข้ ตามัว ดีซ่าน
อาหารรสขมได้แก่ เก๋ากี้ ผักขม มะระ
รสเค็ม เป็นอาหารจำพวกหยิน ช่วยระบาย และขับของเหลวในร่างกาย บำรุงไต และเลือด
มักใช้บำบัดอาการท้องผูก ฝี ตัวบวม ไตพร่อง ขาดเลือด
อาหารรสเค็มนี้ได้แก่ สาหร่าย ปลิงทะเล
การกินตาม
หยิน– หยาง
สิ่งแรกที่ทุกคนมักคิดถึงคือหลักของความสมดุลที่เรียกว่า หยิน – หยาง
กล่าวคือปกติคนเราต้องมีหยินและหยางเท่ากัน
หากอย่างใดอย่างหนึ่งมากหรือน้อยไปจะเกิดโรค
ในการกินอาหารจึงต้องสังเกตว่าสภาพร่างกายของตัวเองร้อนหรือเย็น
เช่นถ้าตัวร้อนจะกินของเย็น คืออาหารที่เป็นหยิน แต่ถ้าร่างกายเย็นให้กินของร้อน คืออาหารที่เป็นหยาง เพื่อปรับสมดุล”
อาการที่พบบ่อยเมื่อหยิน หยางไม่สมดุล
หยินพร่อง
คือสารที่เป็นน้ำในร่างกายน้อยทำให้มีอาการคล้ายคนขาดน้ำ คือ ร้อนใน
ปากแห้ง คอแห้งโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ขี้หงุดหงิด ผิวแห้งเหี่ยว
ฝ่ามือและฝ่าเท้าร้อน อาการคล้ายคนวัยทอง
การกินเยียวยาอาการหยินพร่อง
แนะนำให้กินผักและผลไม้ที่มีน้ำมาก เช่น สาลี่ แครอท หัวไช้เท้า กินผักมากๆ
งดของเผ็ด เพราะรสเผ็ดทำให้มีการขับน้ำออกจากร่างกายมากขึ้นทำให้ภายในร่างกายแห้ง
หยางพร่อง
เกิดจากความอบอุ่นหรือไฟในร่างกายน้อยลง ข้างในจึงเย็น มีอาการฝ่ามือ – ฝ่าเท้าเย็นหนาวง่าย ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน หน้าตาซีดเซียว
หยางเกิน
เกิดจากหยางพุ่งขึ้นข้างบน ทำให้เลือดพุ่งขึ้นข้างบนทำให้มีอาการหน้าแดง ตาแดงโมโหง่าย ความดันโลหิตสูง
การกินเยียวยาอาการหยางเกิน
ควรงดแอลกอฮอล์ กาแฟ รวมทั้งยาบำรุงบางชนิดที่ให้ความร้อน เพราะจะยิ่งทำให้เลือดสูบฉีด
และควรกินอาหารที่เป็นหยินซึ่งมีฤทธิ์เย็นเพิ่มขึ้น
ความสัมพันธ์ของธาตุทั้ง 5
ธาตุทั้งห้าจะมีความสัมพันธ์ต่อกันใน 2 ลักษณะ
การสร้าง หมายถึงการหนุนเนื่องให้มีการเกิดและการพัฒนา ธาตุที่เป็นตัวสร้างถือเป็น ธาตุ”แม่” ส่วนธาตุที่ถูกสร้างถือว่าเป็นธาตุ “ลูก” ตัวอย่างเช่น น้ำ สร้างไม้ น้ำจึงเป็นแม่ของไม้ และไม้เป็นลูกของน้ำ แต่ไม้สร้างไฟ ไม้ จึงเป็นแม่ของไฟและไฟเป็นลูกของไม้
การข่ม หมายถึงการคุม หรือกดกันไว้
ดังนั้นการสร้างและการข่มจะดำเนินควบคู่สัมพันธ์กันในลักษณะสมดุลเพื่อทำให้สิ่ง ทั้งหลายเกิดขึ้นเจริญเติบโต ทรงตัวอยู่ได้ และตายไป หากสมดุลถูก ทำลาย ความผิดปกติจะเกิดขึ้น
ความรู้ที่ได้รับ
วัฒนธรรมของจีน
ความเชื่อของจีน
ทฤษฎีต่างๆของจีน
อาการที่พบบ่อย
อาการการกิน