Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้เหตุผลในทางกฏหมาย - Coggle Diagram
การใช้เหตุผลในทางกฏหมาย
ความสำคัญของเหตุผลในทางกฏหมาย
ในการบังคับใช้กฏหมายจำเป็นต้องให้เหตุผลในการใช้กฏหมายที่ดี เป็นธรรม หรือสมเหตุสมผล หรือรับฟังได้เพื่อให้เกิดการยอมรับในสังคมและแก้ปัญหาได้ตรงสภาพอย่างแท้จริง
หลักปรัชญาหรือนิติปรัชญาช่วยให้การใช้เหตุผลในการตรากฏหมายหรือการใช้กฏหมายเป็นธรรมที่สุดแก่สังคม
ตรรกะวิทยาหรือตรรกศาสตร์
ช่วยให้การใช้เหตุผลมีความสมเหตุสมผล แก้ไขปัญหาได้โดยตรงกับสภาพปัญหาที่แท้จริง ไม่เบี่ยงเบน
เหตุผลที่ดี รับฟังได้ ก่อให้เกิดความเป็นธรรม
คือ อำนวยความยุติธรรมแก้ผู้เกี่ยวข้องให้ได้้ความเหมาะสมแก่กรณี
การวิเคราะห์เหตุผลในกฏหมาย
เหตุผลในทางกฏหมายสามารถวิเคราะห์ได้จาก
1.เหตุผลของผู้ร่างกฏหมาย
2.ความเป็นธรรมของตัวกฏหมาย
และนำผลวิเคราะห์มาใช้ประโยชน์ในทางกฏหมาย
การหาเหตุผลของผู้ร่างกฏหมาย
หาได้จาก เอกสาร เช่นบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบการร่างกฏหมาย รายงานาการประชุมพิจารณากฏหมาย คำอภิปรายในสภา (ทฤษฎีอำเภอจิต) จะทำให้วิเคราะห์ได้ถึงเจตนารมของผู้ร่าง
การหาเหตุผลจากตัวกฏหมาย
ค้นได้จากตัวบทบัญญัติกฏหมายและสามารถปรับใช้กฏหมายได้ตามความก้าวหน้าของการพาณิชย์และในทางวิชาการหรือ ทฤษฏีอำเภอการณ์
เหตุผลในการวินิจฉัยคดีและการให้ความเห็นทางกฏหมาย
เหตุผลในการต่อสู้คดี
จะช่วยรักษาความเป็นธรรมแก่คู่ความ โดยที่ฝ่ายแพ้คดีและสังคมยอมรับ การใข้เหตุผลในคดีมีอยู่ทุกขั้นตอน ตั้งแต่การต่อสู้คดีคู่ความ การทำคำพิพากษา ความเห็นแย้งและการให้ความเห็นทางกฏหมาย
หลักเกณฑ์
มีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการใช้เหตุผลในทางกฏหมายอื่นเพราะเป็นการใข้กฏหมายเพื่อรักษาสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณี จึงต้องมีความสมเหตุสมผล เป็นธรรมและสามารถจูงใจให้ผู้อื่นคล้อยตามได้
ประเทศไทย ใช้หลักกฏหมาย Civil law
ตามหลักแล้วสามารถพิจารณาแค่ตัวบทกฏหมาย แต่ในทางปฏิบัติการใช้เหตุผลที่ดี สมเหตุสมผลและเป็นธรรมสามารถนำเหตุผลมาใช้ในกรณีที่มีความคล้ายคลึงกัน
การเขียนคำพิพากษา
การให้เหตุผลของคำพิพากษาหรือการให้ความเห็นทางกฏหมาย มีหลักการทีต้องคำนึงถึง เช่น หลักหรือทฤษฏีกฏหมาย หลักการร่างกฏหมาย หลักการตีความและการอุดช่องว่างกฏหมาย และหลักอื่นๆเช่น ตรรกะวิทยา สามัญสำนึก ศีลธรรม
การเขียนคำพิพากษาที่ดี
หลักหรือทฤษฏีกฏหมาย
หลักการร่างกฏหมาย
หลักการตีความและการอุดช่องว่างกฏหมาย
หลักอื่นๆ ตรรกะ สามัญสำนึก
การเขียนความเห็นแย้ง
ในทางกฏหมายอาจมีผู้ไม่เห็นด้วยกับความเห็นของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นฝ่ายข้างมาก กฏหมายให้สิทธิ์ฝ่ายข้างน้อยในการแสดงความเห็นแย้ง เพื่อประโยชน์ในการทบทวน หรือตรวจสอบคำพิพากษา หรือให้ความเห็นทางกฏหมายข้างมาก
ประโยชน์
ทบทวนคำพิพากษาหรือความเห็นทางกฏหมายโดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้กฏหมาย มีการพิจารณาเรื่องนั้นๆอย่างรอบด้าน และเลือกใช้เหตุผลทางกฏหมายที่เห็นว่าเป็นธรรมและเหมาะสมมากที่สุด