Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ - Coggle Diagram
รูปแบบการจัดการเรียนรู้
เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย
รูปแบบการจัดการเรียนรู้มโนทัศน์ ผู้คิดค้น Joyce & Weil
กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ มี 6 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 2 ผู้สอนอธิบายกติกาในการเรียนให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจตรงกัน ผู้สอนชี้แจงวิธีการเรียนรู้ให้
ขั้นตอนที่ 3 ผู้สอนเสนอข้อมูลตัวอย่างของมโนทัศน์ที่ต้องการสอน และข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวอย่าง
ขั้นตอนที่ 1 ผู้สอนเตรียมข้อมูลสำหรับให้ผู้เรียนฝึกหัดจำแนกผู้สอนเตรียมข้อมูล 2 ชุด ชุดหนึ่งเป็นตัวอย่างของมโนทัศน์ที่ต้องการสอน อีกชุดหนึ่งไม่ใช่ตัวอย่างของมโนทัศน์ที่ต้องการสอนในการเลือกตัวอย่างข้อมูล 2 ชุด
ขั้นตอนที่ 4 ให้ผู้เรียนบอกคุณสมบัติเฉพาะของสิ่งที่ต้องการสอนจากกิจกรรมที่ผ่านมาในขั้นต้น
ขั้นตอนที่ 5 ให้ผู้เรียนสรุปและให้คำจำกัดความของสิ่งที่ต้องการสอน
ขั้นตอนที่ 6 ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายร่วมกันถึงวิธีการที่ผู้เรียนใช้ในการหาคำตอบ
รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิก ผู้คิดค้น โจนส์และคณะ
ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญๆ 5 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 2 ผู้สอนแสดงวิธีสร้างฟังกราฟิก
ขั้นตอนที่ 3 ผู้สอนชี้แจงเหตุปลของการใช้ผังกราฟิกนั้นและอธิบายวิธีการใช้
ขั้นตอนที่ 1 ผู้สอนเสนอตัวอย่างการจัดข้อมูลด้วยผังกราฟิกที่เหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์
ขั้นตอนที่ 4 ผู้เรียนฝึกการสร้างและใช้ผังกราฟิกในการทำความเข้าใจเนื้อหาเป็นรายบุคคล
ขั้นตอนที่ 5 ผู้เรียนเข้ากลุ่มและนำเสนอผังกราฟิกของตนแลกเปลี่ยนกัน
รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกของคล้าก
ประกอบด้วยขึ้นตอนการเรียนการสอนที่สำคัญ
ขั้นก่อนสอน
1.ผู้สอนพิจารณาลักษณะของเนื้อหา
2.ผู้สอนพิจารณาและคิดหาผังกราฟิก
3.ผู้สอนเลือกผังกราฟิกหรือวิธีการจัดระเบียบเนื้อหาที่เหมาะสมที่สุด
4.ผู้สอนคาดคะเนปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นแก่ผู้เรียนในการใช้ผังกราฟิกนั้น
ขั้นสอน
1.ผู้สอนเสนอผังกราฟิกที่เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหาสาระแก่ผู้เรียน
2.ผู้เรียนทำความเข้าใจเนื้อหาสาระและนำเนื้อหาสาระใส่ลงในผังกราฟิก
3.ผู้สอนซักถาม แก้ไขความเข้าใจผิดของผู้เรียนหรือขยายความเพิ่มเติม
4.ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดเพิ่มเติม
5.ผู้สอนให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียน
เน้นการบูรณาการ
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ผู้คิดค้น จอห์นสัน
หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ 5 ประการ
1.การเรียนรู้ต้องอาศัยหลักพึ่งพากันดดยถือว่าทุกคนมีความสำคัญเท่าเทียมกันและจะต้องพึ่งพากันเพื่อความสำเร็จร่วมกัน
2.การเรียนรู้ที่ดีต้องอาศัยการหันหน้าเข้าหากัน มีปฏิสัมพันธ์กันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อมูล และการเรียนรู้ต่าง ๆ
3.การเรียนรู้ร่วมกันต้องอาศัยทักษะทางสังคม โดยเฉพาะทักษะในการทำงานร่วมกัน
4.การเรียนรู้ร่วมกันควรมีการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่มที่ใช้ในการทำงาน
5.การเรียนรู้ร่วมกันจะต้องมีผลงานหรือผลสัมฤทธิ์ทั้งรายบุคคลและราย กลุ่มที่สามารถตรวจสอบและวัดประเมินได้
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโฟร์แมทซิสเต็ม ผู้คิดค้น แมคคาร์ซี
การจัดกระบวนการเรียนรู้ 8 ขั้นตอนของวัฎจักรการเรียนรู้ (4MAT) แบ่งเป็น 4 ส่วน
ส่วนที่ 1 การบูรณาการประสบการณ์ให้เป็นส่วนของตนเอง
ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างประสบการณ์
ขั้นที่ 2 ขั้นวิเคราะห์ประสบการณ์
ส่วนที่ 2 การสร้างความคิดรวบยอด ในการเรียนรู้ในขั้นตอนการเชื่อมโยง ประสบการณ์ ข้อมูล หลักการ มาคิดวิเคราะห์อย่างไตร่ตรอง เพื่อสร้างความคิดรวบยอด
ขั้นที่ 3 ขั้นปรับประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอด
ขั้นที่ 4 พัฒนาความคิดด้วยข้อมูล
ส่วนที่ 3 การปฏิบัติการเรียนรู้ตามลักษณะเฉพาะตัว
ขั้นที่ 5 ทำตามแนวคิดที่กำหนดผู้เรียนจะทำตามใบงานหรือคู่มือหรือแบบฝึกหัดหรือทำตามขั้นตอนที่กำหนด
ขั้นที่ 6 สร้างชิ้นงานตามความถนัด/ความสนใจ เป็นขั้นบูรณาการการสร้างสรรค์อย่างแท้จริง
ส่วนที่ 4 การบูรณาการการประยุกต์ใช้กับประสบการณ์ของตน
ขั้นที่ 7 วิเคราะห์ผลและประยุกต์ใช้
ขั้นที่ 8 แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดกับผู้อื่น
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา
แนวทางการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้สะเต็มศึกษา แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 ขั้นระบุปัญหา
ขั้นที่ 2 ขั้นรวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
ขั้นที่ 3 ขั้นวางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 4 ขั้นทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขชิ้นงาน
ขั้นที่ 5 ขั้นนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาและผลการแก้ปัญหาชิ้นงาน
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Story Line
การสอนแบบ Story Line มีขั้นตอนการสอนดังนี้
1.สร้างหน่วยการเรียน
2.สร้างสถานการณ์จำลองหรือเรื่องราวจากหน่วยการเรียน
3.จัดทำเส้นทางการดำเนินเรื่อง
เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ
รูปแบบการจัดการเรียนรู้กระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม ผู้คิดค้น จอยส์ และ วีล
กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ มี 6 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 ให้ผู้เรียนเผชิญปัญหาหรือสถานการณ์ที่ชวนให้งุนงงสงสัย
ขั้นที่ 2 ให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาหรือสถานการณ์นั้น
ขั้นที่ 3 ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนในการแสดงหาความรู้
ขั้นที่ 4 ให้ผู้เรียนดำเนินการแสดงหาความรู้
ขั้นที่ 5 ให้ผู้เรียนวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลข้อมูล นำเสนอและอภิปรายผล
ขั้นที่ 6 ให้ผู้เรียนกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการสืบเสาะหาคำตอบต่อไป
รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยยืดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา หรือรูปแบบการประสานหน้าแนวคิด ผู้คิดค้น ทิสนา แขมมณี
ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินการ 7 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิม
ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่
ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความเดิม
ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม
ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้
ขั้นที่ 6 การปฏิบัติ และ/หรือ การแสดงผลงาน
ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้
การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผู้คิดค้น มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (มสส.)
มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 9 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 ทดสอบความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาที่จะสอนก่อนเรียน
ขั้นที่ 2 ให้ความรู้เบื้องต้นก่อนเริ่มกิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นที่ 3 เปิดโอกาสให่้เด็กเสนอสิ่งที่อยากเรียนรู้
ขั้นที่ 4 แบ่งกลุ่มเด็กในการทำกิจกรรม
ขั้นที่ 5 สร้างกติกาในการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
ขั้นที่ 6 ให้เด็กลงมือปฎิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง
ขั้นที่ 7 ครูให้เด็กสรุปสิ่งที่เรียนรู้จากการทำกิจกรรมและให้เด็กได้นำเสนอผลงานของตน
ขั้นที่ 8 ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง
ขั้นที่ 9 การประเมินผลการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน มี 7 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 ขั้นการรับรู้ เป็นขั้นการให้ผู้เรียนรับรู้ในสิ่งที่จะทำ โดยการสังเกตการณ์ทำงานนั้นอย่างตั้งใจ
ขั้นที่ 2 ขั้นการเตรียมความพร้อม เป็นขั้นการปรับตัวให้พร้อมเพื่อการทำงานหรือแสดงพฤติกรรมนั้น
ขั้นที่ 3 ขั้นการสนองตอบภายใต้การควบคุม ซึ่งอาจใช้วิธีการให้ผู้เรียนเลียนแบบการกระทำจนสามารถตอบสนองได้อย่างถูกต้อง
ขั้นที่ 4 ขั้นการให้ลงมือ กระทำจนกลายเป็นกลไกที่สามารถกระทำได้เอง
ขั้นที่ 5 ขั้นการกระทำอย่างชำนาญ เป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการ กระทำนั้นๆ จนผู้เรียนทำได้อย่างคล่องแคล่ว
ขั้นที่ 6 ขั้นการปรับปรุงและประยุกต์ใช้ เป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนปรับปรุงทักษะหรือการปฏิบัติของตนให้ดียิ่งขึ้น
ขั้นที่ 7 ขั้นการคิดริเริ่ม เมื่อผู้เรียนสามารถปฏิบัติหรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างชำนาญ และประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย
เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัยของบลูม
ด้านจิตพิสัยหรือความรู้สึกนั้น บลูมได้จัดขั้นการเรียนรู้ไว้ 5 ขั้นประกอบด้วย
ขั้นที่1 การรับรู้ การที่ผู้เรียนได้รับรู้ค่านิยมที่ต้องการปลูกฝังในตัวผู้เรียน
ขั้นที่ 2 การตอบสนอง การที่ผู้เรีนได้รับรู้และเกิดความสนใจในค่านิยมนั้นแล้วตอนสนอง
ขั้นที่ 3 การเห็นคุณค่า เป็นขั้นที่ผู้เรียนได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับค่านิยมนั้น แล้วเกิดเห็นคุณค่า
ขั้นที่ 4 การจัดระบบ เป็นขั้นที่ผู้เรียนรับค่านิยมที่ตนเห็นคุณค่านั้นเข้ามาอยู่ในระบบค่านิยมความคิดของตน
ขั้นที่ 5 การสร้างลักษณะนิสัย เป็นขั้นที่ผู้เรียนปฏิบัติตนตามค่านิยมที่รับมาอย่างสม่ำเสมอและทำจนกระทั่งเป็นนิสัย