Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพัฒนาระบบสารสนเทศ - Coggle Diagram
การพัฒนาระบบสารสนเทศ
ความสำคัญที่องค์กรต้องมีการจัดหาหรือพัฒนาระบบสารสนเทศมาใช้งาน
การพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นการสร้างระบบใหม่ หรือปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมที่มีอยู่แล้วให้สามารถทำงานเพื่อแก้ปัญหาการดำเนินงานทางธุรกิจได้ตามความต้องการของผู่ใช้งาน
บทบาทและหน้าทีของนักวิเคราะห์ระบบ
นักวิเคราะห์ระบบ หรือเรียกว่า SA มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาระบบ ซึ่งนอกจากบทบาทสำคัญของนักวิเคราะห์ระบบคือ ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และตัวแทนการเปลี่ยนแปลง หน้าที่หลักของนักวิเคราะห์ระบบคือ การวางแผน การวิเคราะห์ระบบ และการออกแบบระบบ
วงจรการพัฒนาระบบ
การพัฒนาระบบแบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน
การค้นหาปัญหาขององค์กร (Problem Recognition) เป็นกิจกรรมแรกที่สำคัญในการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการปรับปรุงโดยใช้ระบบเข้ามาช่วยนำข้อมูลปัญหาที่ได้มาจำแนกจัดกลุ่มและจัดลำดับความสำคัญ เพื่อใช้คัดเลือกโครงการที่เหมาะสมที่สุดมาพัฒนา โดยโครงการที่จะทำการพัฒนาต้องสามารถแก้ปัญหาที่มีในองค์กรและให้ประโยชน์กับองค์กรมากที่สุด
การศึกษาความเหมาะสม (Feasibility Study) ว่าเหมาะสมหรือไม่ที่จะปรับเปลี่ยนระบบ โดยให้เสียค่าใช้จ่าย (Cost) และเวลา (Time) น้อยที่สุดแต่ให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ และหาความต้องการของผู้เกี่ยวข้องใน 3 เรื่อง คือ เทคนิคเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ บุคลากรและความพร้อม และความคุ้มค่า เพื่อใช้นำเสนอต่อผู้บริหารพิจารณาอนุมัติดำเนินการต่อไป
การพัฒนาและทดสอบ (Development & Test) เป็นขั้นตอนการการเขียนโปรแกรม (Coding) เพื่อพัฒนาระบบจากแบบบนกระดาษให้เป็นระบบตามคุณลักษณะที่กำหนดไว้ จากนั้นทำการทดสอบหาข้อผิดพลาด (Testing) เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง จนมั่นใจว่าถูกต้องและตรงตามความต้องการ หากพบว่ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นจากการทำงานของระบบต้องปรับแก้ไขให้เรียบร้อยพร้อมใช้งานก่อนนำไปติดตั้งใช้จริง
การติดตั้ง (Implementation) เป็นขั้นตอนการนำระบบที่พัฒนาจนสมบูรณ์มาติดตั้ง (Installation) และเริ่มใช้งานจริง ในส่วนนี้นอกจากติดตั้งระบบใช้งานแล้ว ยังต้องมีการจัดเตรียมขั้นตอนการสนับสนุนส่งเสริมการใช้งานให้สามารถใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ โดยจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมผู้ใช้งาน (Training) เอกสารประกอบระบบ (Documentation) และแผนการบริการให้ความช่วยเหลือ (Support) เพื่อให้ระบบสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
การซ่อมบำรุงระบบ (System Maintenance) เป็นขั้นตอนการบำรุงรักษาระบบต่อเนื่องหลังจากเริ่มดำเนินการ ผู้ใช้ระบบอาจจะพบกับปัญหาที่เกิดขึ้นภายหลัง เช่น ปัญหาเนื่องจากความไม่คุ้นเคยกับระบบใหม่ จึงควรกำหนดแผนค้นหาปัญหาอย่างต่อเนื่อง ติดตามประเมินผล เก็บรวบรวมคำร้องขอให้ปรับปรุงระบบ วิเคราะห์ข้อมูลร้องขอให้ปรับปรุงระบบ จากนั้นออกแบบการทำงานที่ต้องการปรับปรุงแก้ไขและติดตั้ง ซึ่งต้องมีการฝึกอบรมการใช้งานระบบให้แก่ผู้ใช้งาน เพื่อที่จะทราบความพึงพอใจของผู้ใช้
การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นการรวบรวมข้อมูลปัญหาความต้องการที่มีเพื่อนำไปออกแบบระบบ ขั้นตอนนี้จะศึกษาจากผู้ใช้ โดยวิเคราะห์การทำงานของระบบเดิม (As Is) และความต้องการที่มีจากระบบใหม่ (To Be) จากนั้นนำผลการศึกษาและวิเคราะห์มาเขียนเป็นแผนภาพผังงานระบบ (System Flowchart) และทิศทางการไหลของข้อมูล (Data Flow Diagram)
การออกแบบ (Design) นำผลการวิเคราะห์มาออกแบบเป็นแนวคิด (Logical Design) เพื่อแก้ไขปัญหา โดยในส่วนนี้จะยังไม่ได้มีการระบุถึงรายละเอียดและคุณลักษณะอุปกรณ์มากนัก เน้นการออกแบบโครงร่างบนกระดาษ แล้วส่งให้ผู้ออกแบบระบบนำไปออกแบบ (System Design) ซึ่งขั้นตอนนี้จะเริ่มมีการระบุลักษณะการทำงานของระบบทางเทคนิค รายละเอียดคุณลักษณะอุปกรณ์ที่ใช้ เทคโนโลยีที่ใช้ ชนิดฐานข้อมูลการออกแบบ เครือข่ายที่เหมาะสม ลักษณะของการนำข้อมูลเข้า ลักษณะรูปแบบรายงานที่เกิด และผลลัพธ์ที่ได้
การติดตั้งระบบงาน
การติดตั้งระบบงาน มีอยู่ 4 วิธี
การติดตั้งแบบคู่ขนาน เป็นการติดตั้งที่ยังคงใช้งานระบบเดิม ควบคู่กับการใช้งานระบบใหม่ ซึ่งจะดำเนินงานคู่ขนานกันไประยะเวลาหนึ่ง เช่น 2 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน จนกระทั่งมั่นใจว่า ระบบงานใหม่สามารถทดแทนระบบงานเดิมได้แล้ว จึงยกเลิกระบบงานเดิม และหันมาใช้ระบบงานใหม่ในที่สุด
การติดตั้งแบบเป็นระยะ เป็นวิธีการติดตั้งแบบทีละส่วนเป็นระยะ ๆ ด้วยการติดตั้งทีละระบบย่อย และค่อย ๆ ดำเนินการติดตั้งระบบย่อยอื่น ๆ ต่อไปจนครบทุกระบบ
การติดตั้งแบบนำร่อง เป็นวิธีการติดตั้งที่มีความคล้ายคลึงกับวิธีการติดตั้งแบบเป็นระยะ โดยจะนำร่องด้วยการติดตั้งระบบเฉพาะส่วนงานใดส่วนงานหนึ่งก่อน เช่น หากเป็นหน่วยงานที่มีหลายสาขาก็สามารถทดลองติตั้งนำร่องในสาขาใดสาขาหนึ่งก่อน จนกระทั่งคิดว่าระบบสามารถทำงานได้ดีก็จะทยอยติดตั้งในสาขาอื่น ๆ จนครบทุกสาขา
การติดตั้งแบบทันที เป็นรูปแบบการติดตั้งเมื่อถึงวันกำหนดการติดตั้งระบบ ระบบงานเดิมที่ใช้งานอยู่นั้นจะถูกยกเลิกทั้งหมด และถูกแทนที่ด้วยระบบใหม่โดยทันที