Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจลักษณะทั่วไป General appearance - Coggle Diagram
การตรวจลักษณะทั่วไป General appearance
การตรวจผิวหนัง (skin)
โดยใช้เทคนิคการดู การคลำ
สีผิว(Skin color)
ภาวะปกติ
ได้แก่ ผิวขาว ขาวเหลือง ดำแดง ดำ ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ พันธุกรรม หรือการถูกแสงแดด
ภาวะผิดปกติ
ผิวซีด (pallor) ประเมินผิวซีด นิยมตรวจเยื่อบุตา(conjunctiva) เยื่อบุช่องปาก พบในผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง ช็อค การทำงานของเม็ดเลือดลดลง
ผิวเหลือง (jaundice) ตรวจบริเวณ ตาขาว(sclera) เยื่อบุต่างๆ พบในผู้ที่เป็นโรคตับ และถุงน้ำดี
ผิวสีม่วงคล้ำหรือสีเขียวคล้ำ(cyanosis) บริเวณที่ตรวจ ริมฝีปาก ใบหน้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ลิ้นและเล็บ พบในผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ หอบหืด
ผิวสีแดง (erythema) บริเวณที่ตรวจใบหน้า หน้าอกส่วน พบในภาวะไข้ อาย ดื่มสุรา และผู้ที่เป็นโรคตับวาย
ผิวสีอื่นๆ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสี และมีการกระจายตัวอย่างผิดปกติ เช่น ด่างขาว(white freckle) ตกกระ(lentigo senilis)
ลักษณะผิว(Skin texture)
ภาวะปกติ ผิวปกติจะเรียบ เกลี้ยง ไม่หยาบ หรือขรุขระ
ภาวะปิดปกติ ผิวหนังหยาบ ขรุขระ เป็นเกล็ด แห้ง แตกขุย เหี่ยวย่น มันเรียบ พบในผู้ที่มีอาการบวม หรือโรคscleroderma
ความตึงตัว(Skin turgor)
ภาวะปกติ การกลับเข้าสู่สภาพเดิมของผิวหนัง และไม่มีร่องรอยของผิวหนังตั้งอยู่ เรียกว่า normal skin turgor
ภาวะผิดปกติ ผิวหนังจะตั้งอยู่นาน 2-3 วินาที เรียกว่า poor skin turgor
อุณหภูมิของผิวหนัง(Skin temperature)
ภาวะปกติ ผิวกายจะอุ่นทั่วกาย
ภาวะผิดปกติ ผิวหนังร้อน พบในผู้ที่มีไข้ และผิวหนังเย็นชืด อาจพบในผู้สูงอายุ
ความชุ่มชื้น(moisture)
ภาวะปกติ ผิวมีความชุ่มชื้น ไม่แห้งมาก
ภาวะผิดปกติ ผิวหนังมีเหงื่อออกมามาก ผิวแห้ง ขาดความชุ่มชื่น พบในผู้ที่เป็นthyrotoxicosis
เม็ดผื่นและตุ่ม(Skin lesion) ใช้การดู และการคลำ
Macule เป็นจุดสีแดง ขนาดไม่เกิน1ซม. เช่น จุดตกกระ(freckle) จุดเลือดออก(petichiae)
Patch เป็นความผิดปกติที่มีรูปร่างกลมขนาดใหญ่กว่า1ซม. เช่น ด่างขาว(vitiligo)
Nodule มีขนาดใหญ่0.5ซม. ถึง1-2ซม. อยู่ลึกและเเข็งกว่า papule
Tumor เป็นก้อนนูน คลำได้แข็ง มีขนาด1-2ซม. อาจมีผิวหนังหุ้มปกติ หรือแตกเป็นแผล
Wheal เป็นการบวมของผิวหนังเฉพาะที่ นูน รูปร่างไม่แน่นอน มักเป็นชั่วคราว เช่น ผื่นลมพิษ
Ulcer เป็นแผลลึก ขอบแผลเป็นขอบตัดชัดเจน อาจมีเลือดออก เช่น แผลเรื้อรัง แผลกดทับ
จุดเลือดออก
Petichiae เป็นจุดแดงเข้มหรือแดงม่วง มีขนาด1-3มม. ลักษณะกลม แบน พบในผู้ที่เป็นโรคเลือด เกร็ดเลือดต่ำ หรือเชื้อรุนแรง
Echymosis รอยเลือดขนาดใหญ่นูนขึ้น ลักษณะฟกช้ำ สีม่วง หรือม่วงคล้ำจาง พบในผู้ป่วยโรคเลือด และการเเข็งตัวของเลือดผิดปกติ
การบวม(edema)
เทคนิคการดู และการคลำ กดประมาณ 5-10 นาที
ตำแหน่งที่ตรวจพบการบวมได้ง่าย คือ หลังเท้า ข้อเท้า อาจตรวจพบที่บริเวณก้นกบ(presacral area) การบวมกดบุ๋มเรียก pitting edema เป็น 4 ระดับ
ระดับ 1+ การบวมมองไม่เห็นชัดเจน กดบุ๋มลงไป 2 มม.รอยหายไปได้เร็ว
ระดับ 2+ การบวมยังไม่ชัดเจน กดบุ๋มลง 4 มม. รอยบุ๋มหายไปใน 10-15 วินาที
ระดับ 3+ สังเกตเห็นบวมชัดเจน กดบุ๋ม 4 มม. รอยบุ๋มเห็นไดชัด นานหลายนาที พบว่ามีการบวมตึง
ระดับ 4+ เห็นการบวมชัดเจน กดบุ๋มลงไป 8 มม. รอยบุ๋มลึกชัดเจน อยุ่นาน 2-5 นาทีพบว่าผิวตึงบวมและเป็นมัน
การตรวจผมและขน
โดยใช้เทคนิคการดู การคลำ และการดมกลิ่น
ภาวะปกติ
สีผมจะเปลี่ยนไปตามธรรมชาติของเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ ผมในวัยรุ่นควรจะนุ่ม ไม่หยาบและหักง่าย ในผู้สูงอายุผมจะน้อยและลดลง เส้นผมร่วงและแห้งง่าย ขนบริเวณรักแร้และหัวเหน่าลดลง แต่บริเวณหน้าจะเพิ่มขึ้น
ภาวะผิดปกติ
ผมสีเปลี่ยนไป(โดยไม่ย้อมผม) ผมเส้นเล็กหยาบ เปราะแตกง่าย ร่วง มีรังแค เหา มีกลิ่น
การตรวจเล็บ
โดยใช้เทคนิคการดูและการคลำ
ภาวะปกติ
เล็บเป็นสีชมพู เรียบ แข็งและบางหรือหนา แนบสนิทกับเนื้อเยื่อด้านล่าง ในผู้สูงอายุจะมีเล็บแข็งและหนา อาจจะมีสีเหลือง
ภาวะผิดปกติ
สีเล็บผิดปกติ ไม่เรียบ นุ่มหรืองแข็งมาก นูนบางไม่เท่ากัน เช่นลักษณะของเล็บแอ่น หรือที่เรียกว่า เล็บรูปช้อน (spooning (koilonychias)) พบในผู้ป่วยโลหิตจาง หรือมีนิ้วปุ้ม(clubbing finger) เล็บมีความโค้งนูนมากกว่าธรรมดา โคนเล็บจะนุ่มและหยุ่นมาก มักพบในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีลักษณะคล้ายเสี้ยนใต้เล็บ(splinter hemorrhage) พบในผู้ป่วยติดเชื้อหัวใจ
การตรวจศีรษะและคอ
(Head and neck)
ประกอบด้วย การตรวจศีระษะ ใบหน้า ตา จมูก หู ปาก และช่องปาก กล้ามเนื้อคอม หลอดลม ต่อมไทรอยด์
ต่อมน้ำเหลือง
การตรวจศีรษะ
เทคนิคการดู และการคลำ
การดู ดูรูปร่างและขนาดของศีระษะ ผม หนังศีรษะ
ภาวะปกติ
ศีรษะต้องสมดุล ไม่บิดเบี้ยวผิดรูป ผมสีตามเชื้อชาติและวัย มีการกระจายของผมสม่ำเสมอ
ภาวะผิดปกติ
ศีรษะไม่สมดุลกัน บิดเบี้ยวผิดรูป มีการกระจายของผมไม่สม่ำเสมอ
การคลำ เพื่อค้นหาตำแหน่งก้อนผิดปกติต่างๆ
ภาวะปกติ
คลำไม่พบก้อน ไม่มีตำแหน่งกดเจ็บ ไม่พบต่อมน้ำเหลือง
ภาวะผิดปกติ
คลำพบก้อน มีตำแหน่งกดเจ็บ คลำพบต่อมน้ำเหลืองโตที่ท้ายทอย
การตรวจใบหน้า
เทคนิค การดู และการคลำ
การดู สังเกตความสมมาตร
ภาวะปกติ
ใบหน้าทั้งสองซีกมีความสมมาตรเท่ากัน ไม่บิดเบี้ยว ไม่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ ขนคิ้วขนตามีการกระจายอย่างสม่ำเสมอ หลับตาได้สนิท การย่นหน้าผากเท่ากันทั้งสองซีก
ภาวะผิดปกติ
หน้าเบี้ยว ไม่สมมาตร มีการเต้น กระตุก มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ ใบหน้าที่พบบ่อย ได้แก่ nephrotic syndrome ใบหน้าบวม cushing syndrome ใบหน้ากลม หรือ moon face
การตรวจตา
1. ตรวจความสามารถในการมองเห็น (visual acuity)
ภาวะปกติ
ตาทั้งสองข้างมองเห็นได้ชัดเจน
ภาวะผิดปกติ
มองไม่เห็น หรือมองได้ไม่ชัดเจน มัวข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง
2. ตรวจลานสายตา(visual field)
ภาวะปกติ
เห็นนิ้งวผู้ตรวจในระยะใกล้เคียงกับผู้ตรวจ
ภาวะผิดปกติ
เห็นแตกต่างกันมาก จึงต้องตรวจหาความผิดปกติต่อไป
3. ตรวจการเคลื่อนไหวของลูกตา(extraocular movemrnt)
ก. ตรวจ 6 cardinal fields of gaze คือ เคลื่อนนิ้ว 6ทิศ ขวา ขวาบน ขวาล่าง ซ้าย ซ้ายบน ซ้านล่าง
ภาวะปกติ
การเคลื่อนไหวสัมพันธ์กันทั้ง 6 ทิศทาง
ภาวะผิดปกติ
เคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน
ข. ตรวจ accommodation
ภาวะปกติ
ลูกตาเคลื่อนเข้าหากันในระยะ 5-8 ซม. รูม่านตาหดเล็กลง
ภาวะผิดปกติ
ลูกตาเคลื่อนเข้าหากันได้ไม่ดี
4 .ตรวจตำแหน่งลูกตา ตา และบริเวณรอบตา
เพื่อตรวจดูตาโปน(Exopthalmos)
corneal light reflex สังเกตไฟสะท้อนบนกระจกตา
5. ตรวจรูม่านตา(pupils)
การตอบสนองแสงโดยตรง direct light reflex
การหดตัวของรูม่าตา consensual light reflex
ภาวะปกติ
รูม่านตาจะดำ มีขนาด2-6 มม.มีความกลม ขอบเรียบ หดตัวเมื่อถูกแสง(react to light)
ภาวะผิดปกติ
รูม่านตามีเงาทึบอยู่ภายใน ถ้ามีเงาทึบขวางแสงไฟที่สะท้อน เรียกว่า ต้อกระจก(cataract) รูม่านตาขนาดเล็กมากที่เรียกว่า pinpoint หรือขยายเต็มที่ เรียกว่า fully dilate ไมีมีปฏิกิริยาต่อแสง (no react to light) มีปฏิกิริยาต่อแสงช้า (slightly react to light) หรือรูม่านตาขอบไม่เรียบ
6. ตรวจความใสของกระจกตา
ภาวะปกติ
กระจกตาจะใส โค้ง อาจพบวงขาวขุ่นรอบๆ
ภาวะผิดปกติ
กระจกตาขุ่น มีแผล มีติ่งหรือก้อนเนื้อ จากการตาขาวยื่นเข้าในม่านตาที่เรียกว่า ต้อเนื้อ (pterigium)
7. ตรวจตาขาว(sclera)
ภาวะปกติ
ตาขาวจะมีสีเหลือง มีเส้นเลือดฝอยเล็กน้อย
ภาวะผิดปกติ
ตาขาวจะมีสีเหลือง มีเส้นเลือดฝอยจำนวนมาก เจอในผู้ที่เป็นดีซ่าน โรคตับ ภาวะซีด
8. ตรวจเยื่อบุตา (conjunctiva)
ภาวะปกติ
จะมีสีแดง ไม่มีตุ่ม หรือเม็ด เยื่อบุตาจะใส
ภาวะผิดปกติ
มีสีชมพูจาง ซีดขาว มีตุ่มหรือเม็ด หรือสิ่งแปลกปลอม
การตรวจหู
เทคนิคการดูและการคลำ
การดู
ภาวะปกติ
ใบหูทั้งสองข้างจะอยู๋ในระบบเดียวกับตา ในรูหูพบขี้หู เยื่อบุปกติ ไม่มีสิ่งแปลกปลอมหรือความผิดปกติ
ภาวะผิดปกติ
ใบหูสูงหรือต่ำกว่าระดับมุมตา เยื่อบุในรูหูบวมแดง มีสิ่งแปลกปลอมหรือขี้หูมาก
การคลำ
ภาวะปกติ
ปกติจะไม่เจ็บ ทั้งนอกและในรูหู แต่อาจเจ็บเมื่อดึงใบหู
ภาวะผิดปกติ
มีอาการกดเจ็บ บวมแดง มีก้อน มีตุ่มหรือรอยโรค
การตรวจจมูกและโพรงอากาศ
เทคนิคการดู การคลำ และการได้กลิ่่น
การดู
ภาวะปกติ ปีกจมูกและขนาดจมูกเท่ากัน ไม่หุบบานมากขณะหายใจ เยื่อบุจมูกสีชมพู ไม่บวม มีสิ่งคัดหลั่ง
ภาวะผิดปกติ ปีกจมูกทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน มีการบวมแดง หุบบานมากเกินขณะหายใจ เยื่อบวมแดง มีแผล มีสิ่งคัดหลั่งสีเขียวหรือผิดปกติ มีเลือดออก มีสิ่งแปลกปลอม
การคลำ
ภาวะปกติ จมูก ปีกจมูก บริเวณข้างเคียง และโพรงอากาศ กดไม่เจ็บ
ภาวะผิดปกติ กดเจ็บ
การตรวจการได้กลิ่น
ให้ผู้บริการหลับตา เอาสบู่หรือวัตถุที่มีกลิ่นอ่อน และให้บอกว่ากลิ่นอะไร ให้ตรวจจมูกทีละข้างกรณีมีปัญหาการรับกลิ่น
การตรวจการได้ยิน
ภาวะปกติ
จะได้ยิน
ภาวะผิดปกติ
ต้องตรวจละเอียดต่อไป
การตรวจปากและช่องปาก
เทคนิคการดู
ภาวะปกติ
ริมฝีปากสีชมพู ชุ่มชื้น ไม่มีแผล ตุ่มหรือบวม เพดานปากมีสีชมพู ไม่ซีด ไม่มีตุ่มเม็ดผื่น ไม่มีรอยช้ำ ลิ้นไม่เป็นฝ้า เหงือกสีชมพูขนาดปกติคลุมคอฟันมิดชิด ลิ้นไก่อยู่ตรงกลางไม่เฉเอียง ทอนซิลไม่มีการบวมโต ผนังเป็นเป็นชมพู ไม่แดง ไม่มีตุ่ม หรือสิ่งคัดหลั่งที่ผิดปกติ
ภาววะผิดปกติ
ริมฝีปากคล้ำ เขียวหรือซีดมาก บวมแดง มีแผลลึก เยื่อบุช่องปากซีด มีตุ่ม เหงือกซีด หรือบวมแดง ลิ้นไม่มีตุ่มรับรส ลิ้นแดง ช่องปากไม่ดีอาจพบ ฝ้าขาววงๆ ฟัน มีผุ คราบหินปูนเกาะ ฟันหลอหรือบิ่น แตกหักผิดปกติ
การตรวจคอ
เทคนิค การดูและการคลำ
การดู
ภาวะปกติ
ลำคอตั้งตรง มีพื้นที่สามเหลี่ยมของคอ 2 ส่วน สามเหลี่ยมด้านหน้า ด้านในเป็นเส้นแบ่งกลางลำตัว สามเหลื่ยมด้านหลัง
ภาวะผิดปกติ
คอเอียง คอแข็ง กล้ามเนื้อบริเวณคอลีบ ไม่สามารถก้มคอ เอียงคอ หมุนคอแหงน ยึดคอได้ หรือทำได้แต่ไม่สุด หรือมีอาการเจ็บปวดขณะทำ
การคลำ
ภาวะปกติ
สามารถต้านแรงกับผู้ตรวจได้
ภาวะผิดปกติ
ไม่สามารถต้านเเรงได้ หรือเคลื่อนไหวแต่ออ่นแรง หรือเจ็บ
การตรวจต่อมไทรอยด์
(thyroid gland) เทคนิคการดู และการคลำ
ภาวะปกติ
คลำหารูปร่างและขอบเขตได้ไม่ชัดเจน กดไม่เจ็บ
ภาวะผิดปกติ
เป็นก้อน นูนชัดเจน แข็งผิดปกติ หรือกดเจ็บ
การตรวจหลอดลมคอ
(trachea) เทคนิคการคลำ
ภาวะปกติ
หลอดลมคออยู่ตรงกลางคอ
ภาวะผิดปกติ
หลอดลมเฉไปทางใด อาจคลำพบวงกระดูกอ่อนของหลอดลมได้
การตรวจต่อมน้ำหลือง
(lymphnode) เทคนิคการดู และการคลำ
การดู
ภาวะปกติ
ไม่พบก้อน
ภาวะผิดปกติ
พบก้อน นูนโต ยืนยันด้วยการคลำ
การคลำ
ภาวะปกติ
ปกติจะคลำไม่พบต่อมน้ำเหลือง
ภาวะผิดปกติ
คลำพบต่อมน้ำเหลืองที่โตมากกว่าปกติ
การตรวจต่อมน้ำลาย
(parotid gland) อาจคลำพร้อมกับการคลำต่อมน้ำเหลือง ตรวจดูรูปร่าง ขนาด ความหนาแน่น การกดเจ็บ การเคลื่อนไหว ซึ่งปกติจะไม่เห็น แต่โตจะพบก้อนนูนอยุ่ด้านใบหน้าหู
โดยใช้เทคนิคการดู การคลำ การเคาะ