Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลตามพฤติกรรมที่ผิดปกติ :warning: - Coggle Diagram
การพยาบาลตามพฤติกรรมที่ผิดปกติ :warning:
อาการหลงผิด(Delusion)
เป็นความเชื่อหรือความคิดของผู้ป่วยที่ผิดไปจากความเป็นจริง เป็นความเชื่อที่ฝังแน่น ไม่ว่าจะมีหลักฐานมาหักล้าง ผู้ป่วยก็ยังเชื่อความคิดของตนเอง
สาเหตุของอาการหลงผิด
ทางด้านร่างกาย ได้แก่ ความผิดปกติของพันธุกรรม การทำงานของ Neurotransmitter ในสมองผิดปกติ การเสื่อมจากความสูงอายุ การได้รับอุบัติเหตุ เป็นต้น
ทางด้านจิตใจ ได้แก่ ความวิตกกังวลในระดับสูง เรื้อรัง การใช้กลไกทางจิตป้องกันตนเองมากเกินไป หรือการเผชิญความเครียดแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เป็นต้น
การพยาบาล
1.สร้างสัมพันธภาพเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ
2.รับฟังความคิดของผู้ป่วยโดยไม่ตัดสินหรือตำหนิผู้ป่วย
3.ไม่ได้เถียงกับผู้ป่วย หรือให้เหตุผลว่าความเชื่อของผู้ป่วยนั้นผิด
4.ขณะพูดคุยสนทนากับผู้ป่วย เน้น Present reality
5.จัดให้เข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยได้ติดต่อกับสิ่งที่เป็นจริง
อาการประสาทหลอน ( Hallucination )
เป็นการรับรู้ความรู้สึกต่างๆที่ เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งเร้าจากภายนอก ไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้โดยใช้เหตุผลความเป็นจริงต่างๆ
ประเภทการรับรู้
1.Auditory hallucination อาการประสาทหลอนทางการได้ยิน หรือ อาการหูแว่ว พบได้บ่อย ที่สุดในผู้ป่วยโรคจิตเภท โดยผู้ป่วยมักได้ยินเสียงคนพูดเป็นเรื่องเป็นราว ลักษณะที่พบบ่อยคือได้ยินเสียงคนพูดกันเรื่องของผู้ป่วย (Voice discussing) เสียงวิจารณ์พฤติกรรมของผู้ป่วย (Voice commenting)
2.Visual hallucination อาการประสาทหลอนทางการมองเห็น หรือภาพหลอน ผู้ป่วยอาจเห็นคนใกล้ชิด เห็นเจ้าพ่อเจ้าแม่ เห็นภาพอย่างอื่น บางครั้งอาจเห็นแค่แสง
3.Olfactory hallucination อาการประสาทหลอนทางการได้กลิ่น
ผู้ป่วยบอกหรือแสดงอาการว่าตนเองได้กลิ่นแปลกๆต่างไปจากคนอื่น
4.Tactile hallucination อาการประสาทหลอนทางการสัมผัส ผู้ป่วยมีความรู้สึกเหมือนมีอะไร มาไต่ตามตัว
5.Gustatory hallucination อาการประสาทหลอนทางการรับรส ผู้ป่วยมีการรับรู้รสแปลกๆ เช่น รู้สึกว่าอาหารที่รับประทานมีรสขมของยาพิษ
สาเหตุของอาการประสาทหลอน
ทางด้านร่างกาย ได้แก่ เกิดการเจ็บป่วยทางกาย มีพยาธิสภาพที่สมอง สมองเสื่อมสมรรถภาพได้รับอุบัติเหตุ การได้รับสารพิษ แอลกอฮอล์ หรือสิ่งเสพติดอื่น ๆ ที่มีผลต่อการทำงานของระบบประสาท
ทางด้านจิตใจ ได้แก่ บุคคลมีความเครียดทางจิตใจ เกิดความรู้สึกวิตกกังวลมาก รู้สึกถูกทอดทิ้ง
การพยาบาล
1.รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการประสาทหลอนของผู้ป่วยทุกโอกาสที่สามารถจะรวบรวมได้โดยให้ครอบคลุม
2.ไม่โต้แย้ง ขำ หรือเห็นเป็นเรื่องตลก เกี่ยวกับอาการประสาทหลอนที่ผู้ป่วยบอก และบอกถึงสภาพความเป็นจริง (Present reality) ตามความคิดและความรู้สึกของพยาบาล
3.ให้ผู้ป่วยได้พบปะกับบุคคลอื่น โดยชักชวนให้ผู้ป่วยพูดคุยกับผู้ป่วยอื่น เช่น การทำกลุ่มบำบัด