Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทบาทพยาบาลในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช,…
บทบาทพยาบาลในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพ
ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช
พฤติกรรมบำบัด (Behavior Therapy)
เป็นวิธีการรักษาทางจิตเวชวิธีหนึ่งที่นำหลักการของทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning Theory) มาประยุกต์ใช้ เพื่อแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
องค์ประกอบในการใช้พฤติกรรมบำบัด
1) การรักษามีรูปแบบและโครงสร้างที่แน่นอน
2) การรักษาจะเน้นที่ปัญหาปัจจุบัน
3) วิเคราะห์สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้พฤติกรรมนั้นเกิดขึ้น และยังคงดำเนินต่อมา
4) ทำการประเมินปัญหาทั้งก่อนและหลังการรักษา
5) ผู้ป่วยจะมีส่วนในการกำหนดโปรแกรมการรักษา
6) ในการรักษาแต่ละครั้งจะมีเป้าหมายที่ชัดเจน
7) จุดประสงค์หลักของการรักษา คือ การที่ผู้ป่วยพัฒนาความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมปัญหา
8) ผู้รักษาจะช่วยสอนให้ผู้ป่วยพัฒนาทักษะใหม่ๆ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา หรือแก้ไขทักษะเดิมที่มีอยู่ให้ดีขึ้น
9) เทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการรักษาต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ในผู้ป่วยแต่ละราย โดยอาศัยหลักการของทฤษฎีการเรียนรู้
เทคนิคที่ใช้บ่อยในการรักษาผู้ป่วยจิตเวช
1) การใช้แรงเสริมพฤติกรรม (Reinforcement)
2) การฝึกการแสดงออกที่เหมาะสม (Assertive Training)
3) การขจัดความรู้สึกอย่างเป็นระบบ (Systemic Desensitization)
4) การเรียนรู้จากตัวแบบ (Social Modeling Technique)
5) การใช้ตัวกระตุ้นที่ไม่พึงพอใจ (Aversive Therapy)
6) การสร้างพฤติกรรมใหม่ (Behavior rehearsal)
7) การขจัดพฤติกรรม (Extinction)
บทบาทของพยาบาล
1) เป็นผู้บำบัดหรือผู้ช่วยเหลือผู้บำบัด
2) ช่วยสถานที่และจัดสภาพการณ์ที่เหมาะสมกับวิธีการรักษาแต่ละวิธี
3) ร่วมกับแพทย์และผู้ป่วยเลือกวิธีการรักษา
4) ให้กำลังใจผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มต้นการรักษาจนกระทั่งสิ้นสุดการรักษา
5) ร่วมกับผู้ป่วยประเมินผลการรักษา
การบำบัดรักษาทางจิตใจหรือจิตบำบัด (Psychotherapy)
เป็นการรักษาทางจิตเวชชนิดหนึ่ง เพื่อแก้ไขอาการอันเกิดจากความผิดปกติด้านจิตใจ อารมณ์ หรือปรับปรุงบุคลิกภาพของผู้ป่วย โดยอาศัยความสัมพันธ์ การสื่อสาร ระหว่างผู้บำบัดกับผู้ป่วยและทฤษฎีทางจิตวิทยา
เป็นสำคัญ
2 จิตบำบัดกลุ่ม (Group Psychotherapy)
ชนิดของกลุ่มจิตบำบัด
-กลุ่มการสอน (Directive Group)
-กลุ่มพบปะสังสรรค์ (Therapeutic Social Club)
-กลุ่มปลุกเร้าความรู้สึกเก็บกด (Repressive Inspiration Group)
-กลุ่มการแสดงออกอย่างเสรี (Free Interaction group or Group Centered Psychotherapy)
-ละครจิตบำบัด (Psychodrama)
1 จิตบำบัดรายบุคคล
(Individual psychotherapy)
1)จิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
2)จิตบำบัดแบบหยั่งเห็น (Insight Psychotherapy)
แก้ไขปัญหาความขัดแย้งของจิตใจเฉพาะเรื่อง
แก้ไขกลไกทางจิตที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพ
ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจความจริงของชีวิต
3)จิตบำบัดแบบประคับประคอง (Supportive Psychotherapy)
1) Reassurance คือ การให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วย
2) Encouragement คือ การสนับสนุน ส่งเสริม ให้กำลังใจ
3) Guidance คือ การแนะแนวทางที่เหมาะสมที่เป็นไปได้แ
4) Externalization of internet คือ การหันเหความสนใจไปสู่ภายนอก
5) Environmental manipulation คือ การจัดการกับสิ่งแวดล้อม
6) Suggestion คือ การจูงใจ
7) Persuasion คือ การโน้มน้าวชักนำให้ผู้ป่วยหัดพิจารณาการกระทำ
8) Ventilation or Catharsis คือ การระบายอารมณ์ ความรู้สึก
9) Desensitization คือ การลดความอ่อนไหวของผู้ป่วย
4 การสะกดจิต (Hypnosis)
บทบาทของพยาบาลในการทำจิตบำบัดรายบุคคล
1) พยาบาลทั่วไป ได้แก่ พยาบาลที่จบหลักสูตรการพยาบาลที่มีวุฒิปริญญาตรี
2) พยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางการพยาบาลจิตเวช หรือ Clinical nurse specialist เป็นพยาบาลที่ได้รับการศึกษาขั้นปริญญาโททางการพยาบาลจิตเวช
นาย อิบรอฮิม สิเดะ เลขที่ 88