Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผล - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผล
1. ชนิดของแผลและปัจจัยการส่งเสริมการหายของแผล
1.1 ชนิดของแผลแบ่งตามสาเหตุ
แผลที่เกิดจากการผ่าตัด เรียก surgical wound, sterile wound
แผลที่เกิดจากถูกของมีคมตัด เรียก cut wound เช่น แผลจากโดนมีดฟัน
แผลที่เกิดจากถูกของมีคมทิ่มแทง เรียก stab wound เช่น แผลถูกแทงด้วยมีด
แผลที่เกิดจากโดยระเบิด เรียก explosive wound
แผลที่เกิดจากถูกบดขยี้ เรียก crush wound เช่น แผลถูกเครื่องบดนิ้วมือ
แผลที่เกิดจากการกระแทกด้วยวัตถุลัษณะมน เรียก traumatic wound เช่น แผลของอวัยวะภายในช่องท้องถูกกระแทกจากพยงมาลัยรถยนต์
แผลที่เกิดจากถูกยิง เรียก gunshot wound
แผลที่มีขอบแลขาดกะรุ่งกะริ่ง เรียก lacerated wound
แผลที่เกิดจากการถูไถลถลอก เรียก abrasion wound
แผลที่เกิดจากการติดเชื้อมีหนอง เรียก infected wound
แผลที่เกิดจากการตัดอวัยวะบางส่วน เรียก stump wound เช่น แผลตัดเหนือเข่า
แผลที่เกิดจากการกดทับ เรียก pressure sore, bedsore
แผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงกายภายและเคมี เช่น ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
แผลที่เกิดจากการปลูกผิวหนัง
1.2 ชนิดของแผลแบ่งตามลักษณะพื้นผิว
แผลลักษณะแห้ง (dry wound) ลักษณะของแผลมีขอบแผลติดกัน อาจเกิดการติดกันเอง ไม่มีสารคัดหลั่ง เช่น แผลผ่าตัดเย็บปิด
แผลลักษณะเปียกชุ่ม (wet wound) ลักษณะของขอบแผลไม่ติดกัน มีสารคัดหลั่ง เช่น แผลผ่าตัดยังไม่เย็บปิด
1.3 ชนิดของแผลแบ่งตามลำดับความสะอาด
Class I: Clean wound ประเภทที่ 1 แผลผ่าตัดสะอาด เป็นแผลไม่มีการติดเชื้อ ไม่มีการอักเสบมาก่อน
Class II: Clean-contaminated ประเภทที่ 2 แผลสะอาดกึ่งปนเปื้อน เป็นแผลที่มีการผ่าตัดผ่านระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ
Class III: Contaminated ประเภทที่ 3 แผลปนเปื้อน ลักษณะแผลเปิด แผลสด แผลจากการได้รับอุบัติเหตุแผลที่เกิดการปนเปื้อนสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินอาหาร
Class IV: Dirty/Infected ประเภทที่ 4 แผลสกปรก/แผลติดเชื้อ ลักษณะแผลเก่า แผลมีเนื้อตาย แผลมีการติดเชื้อมาก่อน
1.4 ชนิดของบาดแผลแบ่งตามระยะเวลาการเกิด
แผลที่เกิดเฉียบพลัน (acute wound) เป็นการเกิดแผล และรักษาให้หายในระยะเวลาอันสั้น
แผลเรื้องรัง (chronic wound) เป็นแผลที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน และรักษายาก
แผลเนื้อตาย (gangrene wound) เป็นแผลที่เกิดจากการขาดเลี้ยงไปเลี้ยงหรือเลือดมาเลี้ยงไม่เพียงพอ
1.5 ชนิดของแผลแบ่งตามการรักษา
การรักษาผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกด้วยวิธีการจัดกระดูกให้อยู่นิ่ง (retention) ด้วยการดามกระดูกด้วยเหล็ก
การรักษาแผลด้วยสุญญากาศ (Negative Pressure Wound Therapy:NPWT) เป็นการรักษาแผลที่มีเนื้อตาย
แผลท่อระบาย เป็นแผลผ่าตัดซึ่งศัลยแพทย์เจาะผิวหนังเพื่อใส่ท่อระบายของเสียจากการผ่าตัดเป็นท่อระบายระบบปิด
แผลท่อหลอดคอ (tracheostomy tube) เป็นแผลท่อระบายที่ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัดเปิดหลอดลม
แผลท่อระบายทรวงอก (chest drain) เป็นแผลท่อระบายที่ศัลยแพทย์ทำการเจาะปอด
แผลวารเทียมหน้าท้อง (colostomy) เป็นแผลท่อระบายที่ศัลยแพทย์ทำผ่าตัดเปิดลำไส้ใหญ่ออกทางหน้าท้อง
1.6 ปัจจัยที่มีผลต่อการหายของบาดแผล
- ปัจจัยเฉพาะที่ (Local factors)
แรงกด (pressure)
ภาวะแวดล้อมแห้ง (dry environment)
การได้รับอันตรายและอาการบวม (trauma and edema)
การติดเชื้อ (infection)
ภาวะเนื้อตาย (necrosis)
ความไม่สุขสบาย (incontinence)
- ปัจจัยระบบ (Systemic factors)
อายุ (age)
โรคเรื้อรัง (chronic disease)
น้ำในร่างกาย (body fluid)
การไหลเวียนของโลหิตบกพร่อง (vascular insufficiencies)
ภาวะกดภูมิคุ้มกันและรังสีรักษา (immunosuppression and radiation therapy)
ภาวะโภชนาการ (nutritional status)
2. ลักษณะและกระบวนการหายของแผล
กระบวนการหายของแผล (stage of wound healing)
ระยะที่ 1 ห้ามเลือดและอักเสบ (Hemostasis and Inflammatory phase)
การห้ามเลือดจะเกิดขึ้นก่อนในเวลา 5 - 10 นาที แผลปกติจะใช้เวบา 1 - 3 วัน
ระยะที่ 2 การสร้างเนื้อเยื่อ (Proliferate phase)
เป็นระยะการสร้างเนื้อเยื่อใหม่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 4 - 12 วัน หลังเกิดบาดแผลในระยะนี้แผลจะเริ่มแข็งแรงขึ้น และการหดตัวมากขึ้น จะเริ่มแห้ง ตกสะเก็ด
ระยะที่ 3 การเสริมความแข็งแรง (Remodeling phase)
เป็นระยะสุดท้ายของการสร้างและความสมบูรณ์ของคอลลาเจน ผิวหนังปกติจะใช้เวลาหลังการผ่าตัด 20 วัน แล้วจะเพิ่มความแข็งแรงของผิวหนังเป็นปกติใช้เวลาอีก 60 - 180 วัน
ลักษณะการหายของแผล (Type of wound healing)
2.1 การหายของแผลแบบปฐมภูมิ (Primary intention healing)
เป็นแผลประเภทที่ผิวหนังมีการสูญเสียเนื้อเยื่อเพียงเล็กน้อย เช่น แผลผ่าตัด
2.2 การหายของแผลแบบทุติยภูมิ (Secondary intention healing)
เป็นแผลขนาดใหญ่ที่เนื้อเยื่อถูกทำลาย มีการสูญเสียเนื้อเยื่อบางส่วน เช่น แผลกดทับ
2.3 การหายของแผลแบบตติยภูมิ (Tertiary intention healing)
เป็นแผลชนิดเดียวกับแผลทุติยภูมิ เมื่อทำการรักษาโดยการทำแผลจนมีเนื้อเยื่อเกิดใหม่ปกคลุมสีแดงสด
การบันทึกลักษณะบาดแผล
ชนิดของแผล เช่น แผลผ่าตัด เย็บกี่เข็ม
ตำแหน่ง/บริเวณ เช่น ตำแหน่ง RLQ
ขนาด ควรระบุเป็นเซนติเมตร
สี เช่น แดง เหลือง ดำ หรือปนกัน
ลักษณะผิวหนัง เช่น ผื่น เปียกแฉะ ตุ่มน้ำพองใส
ขั้นหรือระยะความรุนแรงของบาดแผล เช่น แผลกดทับขั้น4
สิ่งที่ปกคลุมบาดแผลหรือสารคัดหลั่ง เช่น หนอง สารคัดหลั่ง
วิธีการเย็บแผลและวัสดุที่ใช้ในการเย็บแผล
วิธีการเย็บแผล
1. Continuous method
เป็นวิธีการเย็บแบบต่อเนื่องตลอดความยาวของแผล ไม่มีการตัดจนกว่าจะเสร็จสิ้นการเย็บ
2. Interrupted method
เป็นวิธีการเย็บแผลที่ต้องตัดวัสดุเย็บแผลในทุกฝีเข็ม
2.1 Simple interrupted method
เป็นวิธีการเย็บแผลเพื่อดึงรั้งให้ขอบแผลทั้งสองติดกัน เหมาะสำหรับเย็บบาดแผลผิวหนังทั่วไป
2.2 Interrupted mattress method
เป็นวิธีการเย็บแผลโดยการตักเข็มเย็บที่ของแผลของสองครั้ง เหมาะสำหรับเย็บแผลที่ลึกและยาว
3. Subcuticular method
เป็นการเย็บแผลแบบ continuous method แต่ใช้เข็มตรงในการเย็บ และซ่อนวัสดุเย็บแผลไว้ในชั้นใต้ผิวหนัง เหมาะสำหรับการเย็บด้านศัลยกรรมตกแต่งเพื่อความสวยงาม
4. Retention method (Tension method)
เป็นวิธีการเย็บรั้งแผลเข้าหากัน เพื่อพยุงแผลในกรณีผู้ที่มีชั้นไขมันหน้าท้องหนา หรือแผลที่ตึงมาก
วัสดุที่ใช้ในการเย็บแผล
1. วัสดุที่ละลายได้เอง (Absorbable sutures)
1.1 เส้นใยธรรมชาติ
ได้แก่ catgut ทำมาจาก collagen ใน submucosa ของลำไส้แกะหรือวัว เริ่มยุ่ยสลาย 4-5 วันและจะหมดไปภายใน 2 สัปดาห์
1.2 เส้นใยสังเคราะห์
เช่น polyglycolic acid, polyglycan และ polydioxanone ละลายได้เร็ว 5-10 วัน ใช้เย็บกล้ามเนื้อที่ไม่ลึกมากไม่ต้องใช้แรงในการดึงรั้งมาก เช่น บริเวณปาก
2. วัสดุที่ไม่ละลายเอง (Non-absorbable sutures)
2.1 เส้นใยตามธรรมชาติ
เช่น ไหมเย็บแผลราคาถูก ผูกปมง่าย และไม่คลายง่าย เหมาะสำหรับเย็บแผลบริเวณที่มีผิวหนังหนา เช่น หนัง ศีรษะ
2.2 เส้นใยสังเคราะห์
เช่น nylon เส้นเหล่านี้มีความแข็งแรงมากกว่าไหมเย็บแผลแต่ผูกปมยากและคลายได้ง่าย
2.3 วัสดุที่เย็บเป็นโลหะ
เช่น ลวดเย็บ เป็นวัสดุเย็บแผลสำเร็จรูป แต่ต้องมีเครื่องมือสำหรับใส่ลวดเย็บ
3. วิธีการทำแผลชนิดต่างๆและการตัดไหม
ชนิดของการทำแผล
1. การทำแผลแบบแห้ง (Dry dressing)
การทำแผลที่ไม่ต้องใช้ความชุ่มชื้นในการหายของแผล
2. การทำแผลแบบเปียก (Wet dressing)
การทำแผลที่ต้องใช้ความชุ่มชื้นในการหายของแผล
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำแผล
1. อุปกรณ์ทำความสะอาดแผล
1.1 ชุดทำแผล (dressing set)
ที่ปราศจากเชื้อ ประกอบด้วย ปากคีบไม่มีเขี้ยว ปากคีบมีเขี้ยว ถ้วยใส่สารละลาย ลำสี
1.2 สารละลาย (solution)
ได้แก่
แอลกอฮอล์ ใช้เช็ดผิวหนังรอบแผล ฆ่าเชื้อโรคที่ผิวหนัง
น้ำเกลือล้างแผล
เบตาดีน หรือโปรวิโดน ไอโอดีน
2. วัสดุสำหรับปิดแผล
ได้แก่
ผ้าก๊อซ (gauze dressing)
ผ้าก๊อซหุ้มสำลี (top dressing)
ผ้าซับเลือด (abdominal swab)
วายก๊อซ (y-gauze)
วาสลินก๊อซ (Vaseline gauze)
ก๊อซเดรน (drain gauze)
transparent film
แผ่นเทปผ้าปิดแผล
antibacterial gauze dressing
3. วัสดุสำหรับยึดติดผ้าปิดแผล
เช่น transpore เพราะง่าย สะดวก แต่ระคายเคืองผิวหนัง และเจ็บขณะดึงออก ในผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้ที่ผิวหนังแพ้ plaster ควรใช้ plaster ชนิดพิเศษ เช่น micropore tape, fixomull
4. อุปกรณ์อื่นๆ
เช่น กรรไกรตัดไหม กรรไกรตัดเชื้อเนื้อ ช้อนขูดเนื้อตาย
5. ภาชนะสำหรับทิ้งสิ่งสกปรก
เช่น ชามรูปไต ถุงพลาสติก
การทำแผลผ่าตัดแบบแห้ง (Dry dressing)
เปิดแผลโดยใส่ถุงมือ หยิบผ้าปิดแผลโดยพับส่วนที่สัมผัสแผลด้านในทิ้ง
เปิดชุดทำแผล ตามหลักการของ IC
หยิบ non-tooth forceps ใช้คีบส่งของ sterile
หยิบ tooth forceps ใช้รับของ sterile
หยิบสำลีชุบ alcohol 70% เช็ดรอบๆ
หยิบสำลีชุบ 0.9% NSS เช็ดจากบนลงล่าง
ทาแผลด้วย antiseptic solution ตามแผนการรักษา
ปิดแผลด้วย gauze ติดพลาสเตอร์ตามแนวขวางของลำตัว
เก็บอุปกรกร์ ถอดถุงมือ ถอด mask และล้างมือ
การทำแผลผ่าตัดแบบเปียก (Wer dressing)
เปิดแผลโดยใส่ถุงมือ เปิดชุดทำแผลตามหลัก IC หยิบผ้าปิดแผลส่วนบนทิ้ง เปิดผ้าปิดแผลชั้นที่ติดกับแผลด้วย tooth forceps
ทำความสะอาดริมขอบแผลเช่นเดียวกับการทำ dry dressing
ใช้สำลีชุบน้ำเกลือ ตามแผนการรักษาเช็ดภายในแผลจนสะอาด
ใช้ผ้า gauze ชุบน้ำยา solution ใส่ในแผล เพื่อฆ่าเชื้อและดูดซับสารคัดหลั่งให้ความชุ่มชื้นแก่เนื้อเยื้อ
ปิดแผลด้วยผ้า gauze และปิดพลาสเตอร์ตามแนวขวางของลำตัว
การทำแผลผ่าตัดที่มีท่อระบาย (Tube drain)
การเตรียมเครื่องใช้ในการทำแผล เช่นเดียวกับการทำแผลแบบแห้ง
ใช้ non-tooth forceps หยิบสำลีชุบ alcohol 70% ส่งต่อให้ tooth forceps เช็ดผิวหนังรอบท่อระบายวนจากในออกนอกแบบครึ่งวงกลม
ใช้สำลีชุบ NSS เช็ดตรงกลางแผลท่อระบาย แล้วเช็ด้วยสำลีแห้ง
ใช้สำลีชุบ alcohol 70% เช็ดท่อระบายจากเหนือแผลออกมาด้านปลายท่อระบายเช็ดด้วยสำลีแห้ง
กรณี Penrose drain และแพทย์มีแผนการรักษาให้ตัดท่อยางให้สั้น
พับครึ่งผ้า gauze วางสองข้างของท่อระบายแล้วางผ้า gauze ปิดทับท่อระบายอีกชั้น และปิดพลาสเตอร์ให้เรียบร้อย
หลังการทำแผลเสร็จแล้วจัดท่าให้ผู้ป่วยสุขสบาย และดูแลสภาพแวดล้อม
การตัดไหม (Suture removal)
- หลักการตัดไหม
ตรวจสอบคำสั่งการรักษาของแพทย์ทุกครั้งว่ามีจุดประสงค์ให้ตัดไหมทุอัน หรือตัดอันเว้นอัน
เศษไหมที่เย็บแผลส่วนที่มองเห็นเป็นส่วนที่มีการสัมผัสเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ ในการตัดและดึงไหมออกจึงไม่ควรดึงไหมส่วนที่มองเห็นลอดผ่านใต้ผิวหนัง
ขณะตัดไหมหากพบว่ามีขอบแผลแยกให้หยุดทำ และปิดแผลด้วยวัสดุที่ช่วยดึงรั้งให้ขอบแผลติดกัน
- วิธีทำการตัดไหม
ทำความสะอาดแผล ใช้ alcohol 70% เช็ดรอบแผล เช็อรยพลาสเตอร์ออกด้วยเบนซิน และเช็ดตามด้วย alcohol 70% และน้ำเกลือล้างแผล แล้วเช็ดแห้ง
การตัดไหมที่เย็บแลชนิด interrupted method โดยใช้ไหมผูกเป็นปมแยกเป็นอันๆ โดยใช้ tooth forceps จับชายไหมส่วนที่อยู่เหนือปมที่ผูกไว้ ดึงขึ้นพอตึงมือจะเห็นไหมใต้ปมโผล่พ้นผิวหนังขึ้นมา
การตัดไหมที่เย็บแผลชนิด interrupted mattress โดยใช้ไหมผูกปมเป็นอันๆชนิดสองชั้น ให้ตัดไหมส่วนที่มองเห็นและอยู่ชิดผิวหนังมากที่สุด ซึ่งอยู่ด้านตรงกันข้ามกับปมไหม
การตัดไหมที่เย็บแผลแบบต่อเนื่อง continuous method ให้ตัดไหมส่วนที่อยู่ชิดผิวหนังด้านตรงกันข้ามกับปมที่ผูกอันแรกและอันถัดไปด้านเดิม เมื่อดึงไหมออกส่วนที่เป็นปมผูกไว้อัน และส่วนที่อยู่ชิดผิวหนัง ซึ่งติดกับไหมที่เย็บอันที่สองจะหลุดออก
กรณีที่ใช้ลวดเย็บเป็นวัสดุเย็บแผล ทำความสะอาดแผลผ่าตัดตามปกติ การตัดลวดเย็บแผลต้องใช้เครื่องมือตัด เรียกว่า removal staple โดยอ้าส่วนปลายซึ่งมีลักษณะคล้ายคีมสอดใต้ลวดเย็บกดด้านมือจับให้ส่วนปลายกดวลดเย็บงอแล้วดึงลวดออกทีละเข็มจนครบ
ภายหลังตัดไหมครบทุกเส้นแล้ว เช็ดแผลด้วย normal saline 0.9% และเช็ดให้แห้งอีกครั้ง ปิดแผลต่อไว้อีก 1 วัน
4. วิธีการพันแผลชนิดต่างๆ
ชนิดของผ้าพันแผล
ได้แก่
1. ผ้าสามเหลี่ยม (triangular bandage)
ไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง ด้านยาวยาวกว่าด้านกว้าง
2. ผ้าพันแผลชนิดม้วน (roller bandage)
ชนิดไม่ยืดและชนิดยืด
3. ผ้าพันแผลชนิดพิเศษ (special bandage)
เช่น ผ้าพันท้องงหลายหาง ปัจจุบันมีวัสดุการแพทย์ที่ทันสมัยมาใช้แทน เช่น abdominal support
หลักการพันแผล
ปฏิบัติดังนี้
ผู้พันผ้าและผู้บาดเจ็บหันหน้าเข้าหากัน จัดท่าให้ผู้บาดเจ็บอยู่ในท่าที่สบาย
ตำแหน่งที่ต้องการจะพันผ้าผิวหนังบริเวณนั้นต้องสะอาดและแห้ง
การลงน้ำหนักมือเพื่อดึงผ้าพันแผลควรระวังใช้น้ำหนักให้เหมาะสม
ต้องทำความสะอาดบาดแผล และปิดผ้าปิดแผลให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงพันผ้าปิดทับ
ตำแหน่งที่บาดเจ็บ เช่น นิ้วมือ นิ้วเท้า ต้องใช้ผ้าก๊อซคั่นระหว่างนิ้วก่อน ป้องกันการเสียดสีของผิวหนังทำให้เกิดแผลระหว่างนิ้วได้
การพันผ้าบริเวณเท้า ขา ตะโพก ต้องมีผู้ช่วยคอยประคองอวัยวะส่วนนั้นไว้
การพันผ้าใกล้ข้อ ต้องพันผ้า โดยคำนึงถึงการขยับเคลื่อนไหวของข้อนั้นด้วย
วิธีการพันแผล
การใช้ผ้าสามเหลี่ยม ที่มีมุมยอดเป็นมุมฉาก ขนาดของผ้าที่ใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของตัวผู้ป่วยและอวัยวะที่ต้องการพันผ้า
การใช้ผ้าพันแผลชนิดม้วน ได้แก่ เริ่มต้นพันผ้าจากส่วนเล็กไปหาส่วนใหฐ่ พันผ้าเข้าหาตัวผู้ป่วย ตั้งต้นและจนผ้าพันด้วยการพันรอบทุกครั้งเพื่อให้ผ้าไม่เลื่อนหลุดการเริ่มต้น การต่อผ้า ต้องระวังไม่ตำแหน่งที่เริ่มหรือจบผ้านั้นต้องไม่ตรงกับบริเวณที่เป็นแผลหรือมีการอักเสบ
การพันผ้าแบบชนิดม้วน
มี 5 แบบ
1. การพันแบบวงกลม (circular turn)
เหมาะสำหรับพันอวัยวะที่มีรูปทรงกระบอก เช่น แขน ขา นิ้วมือ
2. การพันแบบเกลียว (spiral turn)
เหมาะสำหรับพันอวัยวะที่มีรูปทรงกระบอก เช่น แขน ขา นิ้วมือ
3. การพันแบบเกลียวพับกลับ (spiral reverse)
เหมาะสำหรับอวัยวะที่เป็นทรงกระบอก การพันแบบนี้ต้องการความอบอุ่นหรือต้องการแรงกด
4. การพันเป็นเลข 8 (figure of eight)
เหมาะสำหรับพันบริเวณข้อพับ เช่น ข้อศอก ข้อเข่า ข้อเท้า เพื่อให้ข้อดังกล่าวเคลื่อนไหวได้
5. การพันแบบกลับไปกลับมา (recurrent)
เหมาะสำหรับการพันเพื่อยึดผ้าปิดแผลที่ศีรษะ หรือการพันแผลที่เกิดจากการถูกตัดแขน ขา เพื่อบรรเทาอาการบวม
5. ปัจจัยที่ทำให้เกิดแผลกดทับ ระยะของแผลกดทับและการป้องกันแผลกดทับ
พยาธิสภาพของการเกิดแผลกดทับ
ขณะที่มีแรงกดทับลงบริเวณผิวหนังจะมีค่าเฉลี่ยของแรงกดทับหลอดเลือดฝอยเท่ากับ 25 มม.ปรอท เมื่อมีแรงกดทับผิวหนังที่ทำกับปุ่มกระดูกเป็นเวลานานทำให้ผิวหนังและเนื้อเยื่อรอบๆขาดออกซิเจนจากโลหิตมาเลี้ยงไม่ได้ ทำให้เกิดการตายของผิวหนังและเนื้อเยื่อต่างๆ
ปัจจัยส่งเสริมการเกิดแผลกดทับ
แบ่งออกเป็น
- ปัจจัยภายในร่างกาย
ได้แก่
อายุ ผู้ป่วยที่เกิดแผลกดทับ ร้อยละ 70 เป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ทำให้มีความเปลี่ยนแปลงของชั้นผิวหนัง จะมีการแบนราบของ rate ridges อย่างมาก
ภาวะโภชนาการ ผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ
ยาที่ได้รับการรักษา ได้แก่ ยาขับปัสสาวะ ยาระบาย
การผ่าตัด ผู้ป่วยที่ใช้เวลานการนานกว่า 3 ชั่วโมง จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ
- ปัจจัยภายนอกร่างกาย
ได้แก่
แรงกด เป็นแรงที่กดบริเวณลงระหว่างผิวหนังผู้ป่วยกับพื้นรองรับน้ำหนักเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของการเกิดแผลกดทับ
แรงเสียดทาน เกิดระหว่างผิวหนังชั้นนอกกับพื้นผิวสัมผัน เช่น เสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน โดยเฉพาะการดึง
แรงเฉือน เป็นแรงดึงรั้งระหว่างชั้นผิวหนังเกี่ยวข้องกับแรงโน้มถ่วงของโลกและแรงต้านที่ทำให้ผิวหนังอยู่กับที่
ความชื้น เกิดจากสารคัดหลั่งของร่างกายผู้ป่วยเองจะทำให้ความต้านทานต่อแรงกดลดลงจะเกิดแผลกดทับได้ง่าย
ระยะของแผลกดทับ
ระดับที่ 1
ผิวหนังแดงไม่มีการฉีกขาดของผิวหนังและไม่จางหายไปภายใน 30 นาที
ระดับที่ 2
ผิวหนังแดงเริ่มมีแผลเล็กๆ มีหนังแท้ถูกทำลายฉีกขาดเป็นแผลตื้น
ระดับที่ 3
แผลลึกถึงชั้นไขมัน แต่ยังไม่ถึงชั้นกล้ามเนื้อ มีสิ่งคัดหลั่งจากแผล
ระดับที่ 4
แผลลึก เป็นโพรงถึงกล้ามเนื้อ กระดูก และเยื่อหุ้มข้อ พบเนื้อตาย
บริเวณที่อาจเกิดแผลกดทับได้ง่ายในท่าทางต่างๆ
คือ
ท่านอนหงาย บริเวณที่เกิดคือ ท้ายทอย ใบหู
ท่านอนคว่ำ บริเวณที่เกิดคือ ใบหูและแก้ม หน้าท้อง
ท่านอนตะแคง บริเวณที่เกิดคือ ศีรษะด้านข้าง หัวไหล่
ท่านั่ง บริเวณที่เกิดคือ ก้นกบ ปุ่มกระดูกก้น
การป้องกันการเกิดแผลกดทับ
การประเมินความเสี่ยงตามแบบประเมินความเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับ
การเฝ้าระวังความเสี่ยงและควรการประเมินซ้ำเมื่อมีปัจจัยเสี่ยง
ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับและเพิ่มปัจจัยเสริมการหายของแผล
6. กระบวนการพยาบาลในการพยาบาล ผู้ป่วยที่มีแผล
1. การประเมินภาวะสุขภาพ (Assessment)
การประเมินภาวะสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจ
2. ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
วัตถุประสงค์
เกณฑ์การประเมินผล
3. การปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวม (Hoslistic nursing care)
ด้านร่างกาย
ด้านจิตใจ
ด้านสังคม
ด้านจิตวิญญาณ
4. การประเมินผล (Evaluation)
การประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
การประเมินผลของการปฏิบัติงานเพื่อนำมาปรับปรุงการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป
การประเมินคุณภาพของผลการปฏิบัติงาน เพื่อนำมาปรับปรุงการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป