Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตสื่อมัลติมีเดีย - Coggle Diagram
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตสื่อมัลติมีเดีย
เทคโนโลยีไมโครคอมพิวเตอร์ ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) เป็นเครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็ก มีส่วนของหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุดสามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC)ปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงกว่าในสมัยก่อนมาก อาจเท่ากับหรือมากกว่าเครื่องเมนเฟรมในยุคก่อน นอกจากนั้นยังราคาถูกลงมากดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้มาก ทั้งตามหน่วยงานและบริษัทห้างร้าน ตลอดจนตามโรงเรียน สถานศึกษา และบ้านเรือน บริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่าย ได้แก่ Acer , Apple, Compaq, Dell, IBM เป็นต้นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
แบบติดตั้งใช้งานอยู่กับที่บนโต๊ะทำงาน (Desktop Computer)
2.แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable Computer) สามารถพกพาติดตัว อาศัยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จากภายนอก ส่วนใหญ่มักเรียกตามลักษณะของการใช้งาน ได้แก่
แล็ปท็อป (Laptop Computer) หรือ โน๊ตบุ๊ค (Notebook Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่สามารถขนย้ายไปไหนมาไหนได้สะดวกโดยปกติจะมีน้ำหนักประมาณ 1-3 กก. การทำงานของแล็ปท็อปจะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ในขณะเดียวกันก็สามารถใช้พลังงานได้โดยตรงโดยการเสียบปลั๊กไฟ ประสิทธิภาพของแล็ปท็อปโดยทั่วไปจะพอกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะแบบปกติ ในขณะที่ราคาจะสูงกว่า โดยส่วนที่จะแตกต่างกับคอมพิวเตอร์ทั่วไปคือ จอภาพจะเป็นลักษณะจอแอลซีดี และจะมีทัชแพดที่ใช้สำหรับควบคุมการทำงานของลูกศรบริเวณหน้าจอ
ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่นเป็นพจนานุกรม เป็นสมุดจนบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลเฉพาะบางอย่างที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้สะดวก
แท็บเล็ต พีซี (Tablet personal computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก ออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมัน แท็บเล็ต พีซีแตกต่างจากคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (laptops) ตรงที่อาจจะไม่มีแป้นพิมพ์ (keyboard) ในการใช้งาน แต่อาจจะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน โดยมีแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอใช้การสัมผัสในการพิมพ์ แท็บเล็ต พีซี ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน
โมบายคอมพิวเตอร์ (Mobile computer) หรือ สมาร์ทโฟน (Smart Phone) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์ มีความสามารถในการพูดคุย ติดต่อสื่อสาร และเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายได้
เทคโนโลยีอุปกรณ์นำเข้าและแสดงข้อมูล
อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Device) คืออุปกรณ์ที่ใช้ป้อนข้อมูลและคำสั่ง หรือ โปรแกรม เข้าสู้คอมพิวเตอร์ โดยจะทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่ได้จากการรับเข้าเพื่อให้คอมพิวเตอร์ดำเนินการประมวลผลตามที่ผู้ใช้ต้องการ อุปกรณ์รับข้อมูลแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
อุปกรณ์แบบกด (Kay Devices) อุปกรณ์ประเภทนี้ได้แก่ แป้นพิมพ์หรือ คีย์บอร์ด (Keyboard)
อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งและวาดรูป (Pointing and Drawing Devices) คือ อุปกรณ์รับข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถชี้หรือวาดรูปแทรกการคีย์หรือพิมพ์ อุปกรณ์นี้ได้ออกแบบมาเพื่อการใช้งานด้านกราฟิกที่ได้รับความนิยม ได้แก่ เมาส์ (mouse) นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งหรือวาด รูปอื่นๆ เช่น Trackball, Track point, Touchpad, Joystick, light pen, stylus, touch screen
อุปกรณ์กวาดข้อมูล (Scanning devices) เป็นอุปกรณ์เพื่อใช้บันทึกข้อความ ภาพวาด หรือ สัญลักษณ์พิเศษอื่นๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ โดยมีหลักการทำงานคือ อุปกรณ์จะแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ดิจิตอลที่สามารถนำไปประมวลผลและแสดงบนจอภาพได้ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
คือสแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านหรือ สแกน (Scan) ข้อมูลบนเอกสารเข้าสู้เครื่องคอมพิวเตอร์ โดย เอกสารที่อ่านอาจจะประกอบด้วยข้อความหรือรูปภาพกราฟิกก็ได้ สแกนเนอร์ สามารถแบ่งตามวิธีการใช้งานได้ 3 ประเภท คือ
1.สแกนเนอร์แบบมือถือ (Hand-held scanner) มีราคาถูก เพราะกลไกลที่ใช้ไม่สลับซับซ้อน ผู้ใช้ต้องเลื่อนหัว
สแกนเนอร์ไปบนหนังสือหรือรูปภาพเอง มีขนาดเล็กเหมาะกับพกพา
2.สแกนเนอร์แบบแท่นนอน (Flatbed scanners) สแกนเนอร์แบบแท่นเป็นสแกนเนอร์ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน ผู้ใช้เพียงวางกระดาษต้นฉบับที่ต้องการไปบนเครื่องสแกนเนอร์ มีวิธีการทำงานคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร ทำให้ใช้งานและสะดวก
3.สแกนเนอร์แบบสอดกระดาษ (Sheet-fed scanner) เป็นสแกนเนอร์ที่ผู้ใช้ต้องสอดภาพหรือเอกสารเข้าไป ยังช่องสำหรับอ่านข้อมูล(Scan head) เครื่องชนิดนี้เหมาะสำหรับการอ่านเอกสารที่เป็นแผ่น ๆ แต่ไม่สามารถอ่าน เอกสารที่เย็บเป็นเล่มได้
เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Reader) มี 2 แบบ คือ เครื่องอ่านแบบมือถือ(Wand reader) และ เครื่องอ่านแบบติดตั้ง(platform reader)
อุปกรณ์รับข้อมูลมัลติมีเดีย (Multimedia Input Devices) แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
อุปกรณ์รับข้อมูลเสียง (Sound Input Devices) เสียงที่เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ สามารถที่จะนำมาแก้ไข เปลี่ยนแปลงโดยใช้โปรแกรมจัดการเสียง ไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้รับเสียง ซึ่งเสียงเสียงที่ได้จากไมโครโฟนจะถูกส่งไปแปลงสัญญาณในซาวด์การ์ด เพื่อเก็บลงในคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์บันทึกภาพ (Recording Devices) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างภาพหรือบันทึกภาพจากภาพจริง แล้วแปลงให้อยู่ในรูปดิจิทัล เช่น กล้องถ่ายภาพ กล้องวีดีโอดิจิทัล
อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล (Output Devices) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่แปลงข้อมูลผ่านการประมวลผลจากคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบที่ผู้ใช้เข้าใจ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) หมายถึง การแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานแล้วก็หายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ แต่ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานในภายหลัง หน่วยแสดงผลที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ คือ จอภาพ เครื่องฉายภาพ อุปกรณ์ส่งออกเสียง
หน่วยแสดงผลถาวาร (Hard Copy) หมายถึง การแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่างๆ ได้ อุปกรณ์ที่ใช้เช่น เครื่องพิมพ์ และ พลอตเตอร์
เทคโนโลยีจอภาพ
CRT (Cathode Ray Tube) : จอตู้แบบเก่าที่อาศัยการยิงกระแสของอิเล็กตรอนที่แบ่งออกเป็นสามมี ( แดง / เขียว / น้ำเงิน ) ซึ่งเมื่อทั้งสามสียิงรวมกันด้วยความเร็วสูงก็จะได้ภาพบนหน้าจอออกมานั่นเอง ข้อเสียของระบบ CRT ก็คือ กินไฟมาก จอใหญ่ ราคาแพง หนัก ไม่สวย
Plasma : ใช้หลักการปล่อยประจุเข้าไปในหลอดแก็สต่างๆเพื่อให้เรืองแสง จุดเด่นได้ความลื่นไหลของภาพ ข้อดีที่เพิ่มขึ้นมาก็คือ ทำให้จอมันบางลงได้แล้ว แต่จอก็ยังหนัก กินไฟ ร้อน แถมนำไปใช้ติดตั้งบนเครื่องบินก็ไม่ได้ เพราะความกดอากาศทำให้ก๊าซทำงานไม่ได้
LCD (Liquid Crystal Display ) : ใช้หลอดไฟ CCFL หรือ Cold Cathode Fluorescent Lamp ซึ่งมีลักษณะเป็นหลอดผอมคล้ายๆหลอดกาแฟ เรียงในแนวนอนยาวลงมาเป็นตัวกำเนิดแสง และมี Liquid Crystal เป็นผลึกแข็งกึ่งเหลวคอยบิดตัวเป็นองศาเพื่อให้แสงแบ็คไลท์ (สีขาว) ลอดผ่านทะลุ Color Filter แม่สี 3 สี ทั้งสีแดง น้ำเงิน เขียว เพื่อแสดงออกมาเป็นสีสันต่างๆ ข้อดี ก็คือ ประหยัดไฟ ทำให้บางมากๆ ได้ แต่มีปัญหาก็คือ สีดำไม่สามารถทำให้ดำสนิทได้เพราะว่าตัวหลอด CCFL ที่ยิงแสงจากด้านหลังเพื่อให้เกิดความสว่างทำให้สีดำไม่สามารถทำสนิทได้ รวมไปถึงสีจะจืดกว่าสีปกติที่ควรจะเป็นหน่อยนึง แถมมุมมองยังไม่กว้างเพียงพอ ต้องมองตรงอย่างเดียวถึงจะได้สีคมชัด
LED (Light Emitting Diode) : หลักการทำงานเหมือนกันจอ LCD แต่เปลี่ยนตัวจ่ายแสงจากหลอด CCFL ให้กลายเป็นแผง LED แทน ผลก็คือประหยัดไฟกว่าเดิม บางลงกว่าเดิม ให้สีที่ดีกว่าเดิม แต่ก็ยังมีข้อจำกัดเก่าๆของ LCD อยู่ เช่นมุมมองยังไม่กว้างเหมือนเดิม
OLED ย่อมาจาก Organic Light-emitting diodes …จอภาพของจอ OLED จะมีลักษณะคล้ายแผ่นฟิล์ม ซึ่งมีส่วนประกอบเป็นสารอินทรีย์ที่สามารถเปล่งแสงเองได้เมื่อได้รับพลังงานไฟฟ้า ทำให้ไม่ต้องพึ่งพาแสง Backlight เพราะตัวจอภาพสามารถเปล่งแสงได้ด้วยตัวของมันเอง และถ้าหากจะแสดงสีดำ ก็จะไม่มีการจ่ายไฟฟ้าเข้าไปในบริเวณนั้น ผลที่ได้ก็คือ ตรงจุดไหนที่เป็นสีดำ ก็จะดำสนิท อีกทั้งยังช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย เพราะไม่มีการจ่ายไฟในจุดที่ไม่จำเป็นต้องใช้นั่นเอง
เทคโนโลยีในการเก็บบันทึกข้อมูล
แฟลชไดรฟ์ (Flash drive)
สมองสำคัญของ Flash drive คือ หน่วยความจำแฟลช (Flash memory) เป็นอุปกรณ์ในการเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ที่เราสามารถลบและเขียนใหม่ได้ เพราะมีลักษณะการทำงานที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด แตกต่างจากฮาร์ดดิสก์ที่ในขณะทำงานจะมีจานแม่เหล็กหมุนตลอดเวลา และ Flash drive นั้นยังมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา เหมาะแก่การพกพาไปยังที่ต่างๆ และเหตุผลสำคัญอย่างที่บอกไปแล้ว คือ เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเขียนข้อมูลลงไป และสามารถลบเพื่อเขียนใหม่ได้ มีความทนทาน อีกทั้งยังสามารถเลือกขนาดความจุได้หลากหลายมากยิ่งขึ้นตามความต้องการ แตกต่างจากในสมัยก่อนที่จะมีเพียงแผ่นดิกส์ เท่านั้นที่สามารถเก็บข้อมูลแล้วพกพาไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ แต่แผ่นดิกส์ก็มีข้อจำกัดตรงที่พื้นที่ในการเก็บข้อมูลเก็บได้น้อย และไม่มีความทนทาน
ประโยชน์ของ Flash drive
เป็นหน่วยความจำรองของคอมพิวเตอร์
ใช้เก็บข้อมูลเพื่อสำรองไฟล์งานต่างๆ
ช่วยให้เราสามารถคัดลอกไฟล์ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องได้
จะเห็นว่าเจ้า Flash drive ตัวเล็กๆนี้มีประโยชน์มากมายมหาศาล ไม่ว่าจะเป้นการถ่ายโอนข้อมูล การเก็บข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสารเพลงหรือหนัง
แผ่นซีดี (Compact Disc หรือ CD) หรือแผ่นดีวีดี (Digital Video Disc หรือ Digital Versatile Disc : DVD)ซีดี (Compact Disc) คือแผ่นออพติคอลเก็บข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ซึ่งเดิมพัฒนาสำหรับเก็บเสียงดิจิทัล ซีดีคือมาตรฐานรูปแบบการบันทึกเสียงทางการค้าในปัจจุบัน แผ่นซีดี หรือซีดี-รอม (CD-ROM : Compact Disc-Read Only Memory) ประดิษฐ์ในนามบริษัท จุดเริ่มต้นคือปี 1978 บริษัทฟิลิปส์และโซนี่จับมือกันผลิตคอมแพ็กดิสก์สำหรับบันทึกเสียง หรือ ซีดขึ้น ซึ่งขณะนั้นฟิลิปส์พัฒนาเครื่องเล่นเลเซอร์ดิสก์ออกจำหน่ายแล้ว และโซนี่ก็ได้วิจัยการบันทึกเสียงแบบดิจิตอลมานานนับสิบปีแล้ว
แผ่นดิสก์ (Diskette)แผ่นดิสก์ (Disk) หรือที่มักเรียกกันว่า แผ่นดิสก์เก็ต หรือ ฟลอบบี้ดิสก์ เป็นอุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูลที่อาศัยหลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก มีขนาดโดยทั่วไป คือ 8 นิ้ว 5.25 นิ้ว และ 3.5 นิ้ว (ดิสก์ 8 นิ้ว และ 5.25 นิ้วปัจจุบันไม่มีการนำมาใช้งานแล้ว ส่วนดิสก์ 3.5 นิ้วปัจจุบันยังมีการใช้งานอยู่บ้าง แต่ก็กำลังจะหมดความนิยมไปในที่สุด เพราะมีอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดอื่นที่จุได้
เทคโนโลยีการย่อขนาดข้อมูล
การย่อข้อมูลที่มีประสิทธิภาพจะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพราะถ้าเก็บภาพจากจอที่มีความละเอียด 1024 + 768 จุด โดยที่ไม่มีการย่อขนาดข้อมูล ก็จะกินเนื้อที่ดิสก็มากกว่า 1 เมกะไบท์ ยิ่งถ้าเป็นการเก็บในลักษณะเป็นวิดีโอในหนึ่งวินาทีที่มีความเร็ว 30 เฟรม อาจใช้เนื้อที่มากกว่า 80 เมกกะไบท์ ดังนั้นการย่อขนาดแฟ้มข้อมูลจึงมีความจำเป็นมากที่จะต้องมีการลดขนาดของข้อมูลให้ลดลงมากที่สุด โดยยังคงความสมบูรณ์ถูกต้องของเนื้อหาไว้ ในระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย การใช้มัลติมีเดียอาจไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความจุของหน่วยเก็บข้อมูลเพราะในระบบนี้อาจมีหน่วยเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ แต่สิ่งที่ต้องคำนึงคือความสามารถของระบบ ในการที่จะขนส่งข้อมูลผ่านระบบสายเคเบิล เช่น ระบบสายเคเบิลที่เป็นสาย Coaxial ถ้าต้องใช้การขนส่งข้อมูล 80 เมกกะไบท์ อาจต้องใช้เวลาหลายนาที ดังนั้นถ้าเทคโนโลยีการลดขนาดข้อมูลมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อความหมายของมัลติมีเดียกับคอมพิวเตอร์ระบบใด ๆ ก็จะมี่ประสิทธิภาพตามไปด้วย
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เครือข่าย
สิ่งที่ระบบคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเข้าไปมีบทบาทร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย ได้แก่การติดต่อสื่อสาร Electronics Mail ซึ่งเดิมเป็นการติดต่อที่เป็นลักษณะ Text Baseเท่านั้นนับว่าเป็นการนำเอาสองเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกันทำให้การติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำได้ทั้งที่เป็นภาพและเสียง การใช้งานระบบมัลติมีเดียจะเข้าหามวลชนมากขึ้น ถ้าเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์พัฒนาถึงระดับเนื่องจากสามารถกระจายได้หลาย ๆ จุดในเวลาเดียวกัน
เทคโนโลยีซอฟต์แวร์
สิ่งที่ทำให้โลกของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเป็นจริงขึ้นมาส่วนหนึ่งก็คือ การพัฒนาของซอฟท์แวร์ที่มีประสิทธิภาพสูง และมีการใช้งานได้ง่ายขึ้นและประการสำคัญที่สุดก็คือความเหมาะสมกับเนื่อหาหรือข้อมูลที่จะนำเสนออีกทั้งยังจะต้องมีความอ่อนตัวในการประยุกต์เข้ากับส่วนอื่น ๆ ของระบบ ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตได้มีการตื่นตัวอย่างสูงในการพัฒนาซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับการสร้างสรรค์งานมัลติมีเดีย เนื่องจากผู้ที่เกี่ยวข้องได้เล็กเห็นถึงความเป็นธรรมชาติในการสื่อความหมายของระบบมัลติมีเดียและแนวโน้มของการพัฒนาต่อไป
เทคโนโลยีการนำเสนอข้อมูล
สิ่งนี้นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในระดับต้นที่จะทำให้ระบบมัลติมีเดียสมบูรณ์ เพราะถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียจะพัฒนาเทคโนโลยีทุก ๆ ด้านก็ตาม แต่ถ้าขาดข้อมูลนำเสนอที่ดี วิธีการนำเสนอที่ไม่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายตลอดจนไม่ได้พิจารณาถึงการใช้เทคโนโลยีการสื่อความหมายที่ดีแล้ว ระบบมัลติมีเดียที่ได้พัฒนานั้นก็จะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้สร้างสรรค์ระบบมัลติมีเดียจึงควรจะต้องพิจารณาเทคโนโลยีด้านนี้ด้วยเป็นประการแรก