Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Activity Therapy (ต่อ), นาย อิบรอฮิม สิเดะ เลขที่ 88 - Coggle Diagram
Activity Therapy (ต่อ)
แผนผังการจัดกลุ่ม
แบบที่ 1 นั่งรอบโต๊ะ
แบบที่ 2 นั่งรูปตัววี
แบบที่ 3 นั่งรูปวงกลม
บทบาทหน้าที่ของบุคลากรในการทำกลุ่มกิจกรรมบำบัด
1) ผู้นำกลุ่ม (Leader)
จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมบำบัดเป็นอย่างดี
วางแผนการจัดกลุ่มและติดต่อประสานงานกับทีมผู้บำบัด
เตรียมกิจกรรม อุปกรณ์ สถานที่ และเลือกสมาชิกที่จะนำมาเข้ากลุ่ม
เลือกสมาชิกและประเมินผู้ป่วยที่เหมาะสมกับกิจกรรม
มอบหมายให้แก่ผู้ร่วมทีมได้เหมาะสม
บอกให้สมาชิกเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการรักษาแบบกลุ่ม
เป็นผู้คอยกระตุ้นผู้ป่วยเพื่อสร้างความมั่นใจและให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย
เสริมสร้างบรรยากาศภายในกลุ่มให้เกิดความเป็นมิตร
แสดงออกซึ่งภาวะของความเป็นผู้นำ
เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านมนุษยสัมพันธ์
เป็นตัวแทนของผู้นำแห่งสุขภาพ
ประเมินผลหลังทำกลุ่มทุกครั้ง
2) ผู้ช่วยผู้นำกลุ่ม (Co-leader)
ช่วยผู้นำกลุ่มในการเตรียมกิจกรรมอุปกรณ์สถานที่และเลือกสมาชิก
สังเกตพฤติกรรมสมาชิกทุกคนในกลุ่ม
ช่วยผู้นำกลุ่มในการดำเนินกลุ่ม หรือเสริม
กระตุ้นให้สมาชิกทุกคนได้แสดงออกอย่างทั่วถึง
คอยให้คำแนะนำสนับสนุน ให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย
ร่วมประเมินผลหลังทำกลุ่มทุกครั้ง
3) สมาชิกกลุ่ม (Member)
(1) ช่วยผู้นำกลุ่มในการเตรียมกิจกรรม อุปกรณ์ สถานที่ และคัดเลือกสมาชิก
(2) สังเกตพฤติกรรมสมาชิกทุกคนในกลุ่ม และกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้แสดงออกอย่างทั่วถึง
(3) คอยให้คำแนะนำ สนับสนุน ให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจ
(4) ร่วมประเมินผลหลังทำกลุ่มทุกครั้ง
4) ผู้สังเกตการณ์ (Observer)
ผู้ที่สังเกตการดำเนินกลุ่มทุกขั้นตอน สังเกตพฤติกรรมของสมาชิกทุกคน ภายในกลุ่ม สามารถให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะในการทำกลุ่มได้ เป็นผู้ร่วมประเมินภายหลังการดำเนินกลุ่มเสร็จสิ้น
ขนาดของกลุ่มและการกำหนดเวลาในการทำกลุ่มกิจกรรมบำบัด
1) กลุ่มขนาดเล็ก มีจำนวนสมาชิก 8-12 คน ใช้เวลา 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง
2) กลุ่มขนาดกลางมีจำนวนสมาชิก 20-30 คน ใช้เวลา 1 ชั่วโมง
3) กลุ่มขนาดใหญ่มีจำนวนสมาชิก 30-50 คน ใช้เวลา 1 - 2 ชั่วโมง
ข้อตกลงของกลุ่ม (Group Contract)
ผู้รักษาและผู้รับการรักษา ควรจะได้ทำการตกลงกันเรื่องสิทธิและความรับผิดชอบของ ผู้รักษาและสมาชิกเกี่ยวกับกฎระเบียบของกลุ่ม โครงสร้างและการดำเนินการอาจเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หรือตกลงด้วยวาจา
หลักในการเลือกผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรม
1) ผู้ป่วยซึมเศร้า (Depression) ควรจัดให้เข้ากลุ่มกิจกรรม
2) ผู้ป่วยวิตกกังวล (Anxiety) ควรจัดให้เข้ากลุ่มกิจกรรมที่ให้พลังงาน กลุ่มกีฬา
3) ผู้ป่วยก้าวร้าว (Aggressive) ควรจัดให้เข้ากลุ่มกิจกรรมที่ได้ออกแรง เช่น กลุ่มกีฬา
4) สมาชิกในกลุ่มควรมีทั้งเพศชายและหญิง เป็นการฝึกให้ผู้ป่วยได้ปรับตัวอยู่ในสังคมที่เป็นจริง
5) เป็นผู้ป่วยที่มีอาการทุเลาและมีพฤติกรรมที่เหมาะสม
6) เลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับเพศ วัย การศึกษา และความสามารถ
การจัดผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดด้วยกิจกรรม
1) ระยะที่ผู้ป่วยยังมีอาการทางจิต เพื่อลดอาการ กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีปฏิกิริยา ตอบสนอง สนใจ และรับรู้สิ่งแวดล้อม
2) ระยะที่สอง เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีพฤติกรรมสนใจสิ่งแวดล้อม มีปฏิกิริยาที่เหมาะสมและสามารถเข้ากลุ่มได้ ผู้ป่วยจะถูกนำเข้ากลุ่มและเริ่มฝึกการทำกิจกรรมกับผู้อื่น
3) ระยะก่อนกลับบ้าน มุ่งเน้นด้านสัมพันธภาพในสังคม การพัฒนาทักษะพื้นฐานในการทำงาน ทักษะการปฏิบัติตัวในบ้านและที่ทำงาน หรือในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถประกอบอาชีพเดิมได้ ก็จะมีการประเมินความสามารถของผู้ป่วยอีกครั้ง
4) ระยะที่ผู้ป่วยกลับไปอยู่ชุมชน เป็นการติดตามดูแลผู้ป่วยว่าสามารถดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนนั้นได้อย่างปกติสุขหรือไม่ อย่างไร
บทบาทของพยาบาลในการจัดกิจกรรมบำบัด
1) มีความรู้และทักษะในการจัดกิจกรรมนั้นๆ
2) เป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมบำบัดตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสิ้นสุดกิจกรรม
3) ในระหว่างที่กำลังทำกลุ่มผู้นำกลุ่ม ผู้ช่วยผู้นำกลุ่ม และผู้สังเกตการณ์จะต้องคอยดูแลกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนในกลุ่ม
4) ให้กำลังใจและส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจในตนเอง
5) สร้างบรรยากาศในกลุ่มให้มีลักษณะของความเป็นมิตร
6) มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย
ปัญหาในการทำกิจกรรมและแนวทางแก้ไข
1) สมาชิกไม่พูด เหม่อลอย ไม่ฟัง ไม่สนใจผู้อื่น ผู้นำกลุ่มต้องพิจารณาว่าความเงียบเกิดจากอะไร และสร้างแรงจูงใจ
2) สมาชิกโกรธ ผู้นำกลุ่มต้องระมัดระวังจะต้องปรับบรรยากาศของกลุ่ม
3) สมาชิกสร้างฉากกำบัง ผู้นำกลุ่มจะกระตุ้นให้สมาชิกคนอื่นๆ ตะล่อมเพื่อให้เขาพูดถึงความรู้สึกในที่สุด
4) สมาชิกพูดอยู่คนเดียว ผู้นำกลุ่มจะใช้วิธีถามสมาชิกคนอื่นๆ ให้พูดถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในกลุ่ม
5) สมาชิกที่น่ารำคาญใจ ผู้นำกลุ่มจะพยายามให้สมาชิกตระหนักในพฤติกรรมของเขาซึ่งไปขัดขวางความก้าวหน้าของกลุ่ม และกระตุ้นให้สมาชิกคนอื่นทำหน้าที่รักษาหัวข้อเรื่องหรือทิศทางของกลุ่ม
6) สมาชิกไม่สนใจเข้ากลุ่ม ผู้นำกลุ่มค้นหาและแก้ไขตามสาเหตุกระตุ้น และชักชวนหลายครั้ง
นาย อิบรอฮิม สิเดะ เลขที่ 88