Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทบาทพยาบาลในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช,…
บทบาทพยาบาลในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพ
ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช
Somatic therapy
1.3 การผูกยึดและการจำกัดพฤติกรรม
พฤติกรรมที่ต้องผูกมัด
หรือ จำกัดบริเวณ
2) พฤติกรรมสับสนวุ่นวาย พฤติกรรมแปลกๆ
3) มีพฤติกรรมที่แสดงออกมาจากผลของความขัดแย้งในใจ
4) พฤติกรรมที่แสดงถึงความไม่สบายต่าง ๆ
5) พฤติกรรมที่ต้องยึดผู้อื่นเป็นที่พึ่งพิง
1) พฤติกรรมในรูปของการทำลาย
1.3.1 การผูกมัด (Physical restrain)
1 คน ต้องพยายามพูดให้ผู้ป่วยสนใจ เพลิดเพลิน
เจ้าหน้าที่ 2 คน จะจับแขนผู้ป่วยไว้คนละข้าง
กรณีที่ผู้ป่วยไม่ยอม ต้องให้เจ้าหน้าที่อีก 2 คนยกตัวผู้ป่วยขึ้นให้เท้าลอยจากพื้นแล้วผูกยึดตัวผู้ป่วย
1.3.2 การใช้ยาและการจำกัดขอบเขต
สำหรับรายฉุกเฉิน แพทย์อาจให้ฉีดยาเพื่อให้ผู้ป่วยสงบก่อนนำผู้ป่วยเข้าห้อง หรือให้ยา)หลังจากนำผู้ป่วยเข้าห้องเรียบร้อยแล้ว
ขั้นตอนในการทำโดยสรุป
1) วางแผนให้รอบคอบว่าจะหยุดพฤติกรรมผู้ป่วยแบบใด
2) บอกให้ผู้ป่วยทราบว่าจะช่วยเหลือเขาโดยการจำกัดสถานที่
3) จับผู้ป่วยด้วยความนิ่มนวล พร้อมเพรียง และรวดเร็ว
4) อยู่เป็นเพื่อนระยะหนึ่งเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้ว่าไม่ใช่การทำโทษ
5) เยี่ยมผู้ป่วยเป็นระยะ
6) กรณีผู้ป่วยหลังให้ยาต้องทดสอบอาการรู้สึกตัวก่อนจึงจะแก้มัดได้
การพยาบาล
1) ทีมผู้รักษาจะต้องมีทัศนคติที่ดีต่อผู้ป่วยมีความสม่ำเสมอทั้งคำพูด และท่าทาง
2) ให้ความนับถือผู้ป่วยในฐานะบุคคล ๆ หนึ่ง
4) ขณะที่ควบคุมผู้ป่วย พยาบาลต้องไม่พูดหรือแสดงกิริยาดูถูกว่าผู้ป่วยพูดไม่รู้เรื่อง
3) การจำกัดพฤติกรรมควรใช้คำพูดก่อน
5) ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
Milieu therapy
ลักษณะของ Milieu therapy
1) มีโปรแกรมสำหรับการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน
2) มีรูปแบบการปกครองตนเอง
3) ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรับผิดชอบมากขึ้น
4) มีความหลากหลายของกิจกรรมบำบัด
5) ต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับครอบครัว
6) ต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับชุมชน
7) ทีมสุขภาพจิตต้องร่วมกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
8) ทีมสุขภาพจิตต้องมีความเป็นมนุษย์ในตนเอง
วัตถุประสงค์
1) ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดทัศนคติที่ดีต่อทีมสุขภาพจิต
2) เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย
3) เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของจิตใจ
4) เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพสังคมที่เป็นจริง
5) เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างคุณค่าในตัวเอง
หลักการในการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด
1)ยึดหลักการอำนวยความสะดวกสบาย
2) สมาชิกทุกคนในทีมผู้บำบัดต้องแสดงตนเป็นแบบอย่างหรือตัวอย่างที่ดี
3) การแต่งกายของพยาบาลไม่ยึดหลักการแสดงสัญลักษณ์ของความเจ็บป่วย
4) โปรแกรมนิเวศบำบัด ต้องวางแผนอย่างดี
5) กลุ่มบำบัดแต่ละชนิดควรมีจำนวนที่เหมาะสม
6) การตัดสินใจทุกอย่างของผู้ป่วยและผู้บำบัดจะต้องเห็นชอบด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย
7) หลักการช่วยเหลือผู้ป่วยต้องการกระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกอยากทำงาน หรืออยากแสดงออก
8) การจัดกิจกรรมในนิเวศบำบัด ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน
9) ในการทำงานหากมีสิ่งบกพร่องเกิดขึ้น ผู้บำบัดจะปักความรับผิดชอบ
10) การชี้ปัญหาหรือข้อบกพร่องของสมาชิกในกลุ่ม ควรกระทำกันต่อหน้าผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกคนและควรทำในขณะ ปัญหานั้นๆ เกิดขึ้นทันที
องค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมที่เป็นการบำบัดผู้ป่วย
1) สิ่งแวดล้อมที่เป็นวัตถุ
สภาพของโรงพยาบาลและหอผู้ป่วย การเงียบสงบ ร่มรื่น น่าอยู่อาศัย
ผู้ป่วยมีอิสระในการไปไหน หรือการกระทำสิ่งใดตามความเหมาะสม
บรรยากาศในหอผู้ป่วย ควรมีความอบอุ่นเป็นมิตร
2) สิ่งแวดล้อมด้านบุคคล
(1) มีความรู้ความเข้าใจในด้านจิตเวชอย่างเพียงพอ
(2) มีทัศนคติที่ดีต่อผู้ป่วย ยอมรับผู้ป่วยเป็นบุคคลคนหนึ่ง
3) สัมพันธภาพระหว่างบุคคลในหน่วยรักษา
บทบาทของพยาบาลในการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด
1) เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการตอบสนองทางอารมณ์
2) เป็นตัวแทนของบุคคลในสังคมปกติ
3) เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านพฤติกรรมทางสังคม
นาย อิบรอฮิม สิเดะ เลขที่ 88