Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัด การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย -…
การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัด
การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การประเมินผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
เป็นการประเมินความพร้อมทั้งด้านร่างกาย
และสภาพจิตใจของผู้ปุวย เพื่อลดความเสี่ยงของการผ่าตัด
และการให้ยาระงับความรู้สึก
1.1 การซักประวัติ
ประวัติโรคประจำตัว
ประวัติการผ่าตัดและการได้รับยาระงับความรู้สึกก่อนหน้านี้
ประวัติการแพ้ยาหรืออาหาร
การใช้ยา สารเสพติด การสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
ประวัติของคนในครอบครัวหรือญาติที่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้รับยาระงับ ความรู้สึก ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคทางพันธุกรรมที่มีผลต่อการได้รับยาระงับความรู้สึก
ประวัติเกี่ยวกับโรคของระบบต่างๆของร่างกาย
1.2 การตรวจร่างกาย
สัญญาณชีพ
การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
การตรวจประเมินทางระบบหายใจ
การตรวจร่างกายตามระบบ โดยเน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคหรือบริเวณที่จะทำการผ่าตัด
1.3 การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากการซักประวัติ
และตรวจร่างกาย นอกจากนี้จะช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรค
บอกถึงความรุนแรงของโรค
การเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
เพื่อให้ผู้ปุวยมีร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์
สามารถเผชิญกับความเจ็บปวด รวมทั้งช่วยลด
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจ เกิดขึ้นในขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด
2.1 การเตรียมผู้ป่วย
ด้านร่างกาย
เพื่อปูองกันหรือลดความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ประเมินความสามารถในการทำงานของหัวใจ
และหลอดเลือด เพื่อดูว่าร่างกายสามารถทนต่อการผ่าตัดได้หรือไม่
- ระบบทางเดินหายใจ
ต้องประเมินสภาวะของปอดและหลอดลม
ดูการทำงานของระบบทางเดินหายใจ
- ระบบทางเดินปัสสาวะ
ประเมินสภาวะของไต
- ความสมบูรณ์ของร่างกาย
ได้รับอาหารที่ดีมีประโยชน์ที่เพียงพอและถูกส่วน
เพื่อให้ผู้ป่วยทนต่อการผ่าตัดได้ดี และช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
- ภาวะสารน้ำและอีเล็คโทรลัยต์ในร่างกาย
ประเมินสภาวะความสมดุลของสารน้ำและอีเล็คโทรลัยต์ในร่างกาย
- การพักผ่อนและการออกกำลังกาย
ต้องได้รับการพักผ่อนที่ดี และมีการออกกำลังกาย
ที่พอเหมาะ
- ให้คำแนะนำและข้อมูล
เพื่อให้ผู้ป่วยคลายความกังวล
ด้านจิตใจ
ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ควรได้รับการเตรียมทางจิตใจทุกคน โดยการเยี่ยมผู้ปุวยก่อนผ่าตัด ประเมินความวิตกกังวล
ก่อนผ่าตัด
พยาบาลควรให้ผู้ป่วยได้รับข้อมูลจริง ทำความเข้าใจ
และแก้ไขเกี่ยวกับความเชื่อผิดๆ ซึ่งมีประโยชน์มาก
ขณะเดียวกันเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้แสดงความรู้สึกที่กังวลออกมา
การให้คำแนะนำ
ฝึกทักษะการปฏิบัติตัวในระยะหลังผ่าตัด เพื่อทำให้การพักฟื้นหลังผ่าตัดเร็วขึ้น และช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ที่อาจเกิดขึ้นได้
- Early ambulation
ยกเว้นมีข้อห้าม คือ ก่อนลุกจากเตียงควรมีการ
เตรียมพร้อมกล้ามเนื้อขา เพื่อช่วยในการลุกเดิน
- Quadriceps Setting Exercise (QSE)
ออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขา 4 มัด
ได้แก่ Rectus femeris, Vastus lateralis, Vastus medialis และ Vastus intermediate
- Straight Leg Raising Exercise (SLRE)
ออกกำลังขา ข้อสะโพก และกล้ามเนื้อต้นขา
แบบยกขาขึ้นตรงๆ
- Range of Motion (ROM)
ออกกำลังข้อโดยมีการเคลื่อนไหวใน ทุกทิศทางปกติของข้อต่างๆ ได้แก่ ศีรษะ ลำตัว แขน และขาทั้งสองข้าง
และยังมีการเคลื่อนไหวในส่วนย่อยๆ ที่มือ นิ้วมือ เท้า
และนิ้วเท้า ได้อย่างอิสระ
- Deep-breathing exercises
จัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนหงายศีรษะสูง วางมือทั้ง 2 ข้างบนหน้าอกส่วนล่าง แล้วให้กำมือหลวมๆ ให้นิ้วมือสัมผัสกับหน้าอก เพื่อจะได้รู้สึกการเคลื่อนไหวของปอด
ให้หายใจเข้ายาวๆ ลึกๆ ทั้งทางจมูกและปาก
เพื่อปอดจะได้ขยายเต็มที่
- Effective cough
ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งเอนไปข้างหน้าเล็กน้อย ให้ผู้ป่วยประสานมือทั้ง 2 ข้าง และกดเบาๆ เหนือบริเวณที่คิดว่าจะมีแผลผ่าตัด ้เพื่อช่วยทำให้แผลอยู่นิ่งเป็นการลดอาการเจ็บแผลขณะที่ไอ
- Abdominal breathing
ให้หายใจเข้าออกโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องแทนทรวงอก เพื่อให้ทรวงอกเคลื่อนไหวน้อยลงในระยะแรกหลังผ่าตัด
- Turning and ambulation
พลิกตัวไปทางขวา ให้ขยับตัวไปทางซ้าย ใช้มือซ้าย
จับราวกั้นเตียงซ้าย แล้วพลิกมาทางขวา
- Extremity exercise
ให้ผู้ป่วยนอนในท่าหัวสูงเล็กน้อยหรือนอนในท่าที่สบาย ทำการออกกำลังแขนหรือขาทีละข้างโดยเฉพาะการเหยียดออกและงอเข้าของทุกข้อ ยกเว้นในรายที่มี
ข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวหลังผ่าตัด
- Pian managament
หลังผ่าตัดผู้ปjวยจะได้รับการระงับความเจ็บปวด
ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น การใช้หมอนหรือฝุามือทั้งสองข้างในการพยุงแผลขณะไอ เพื่อลดการกระทบกระเทือน
ของแผล
2.2 การเตรียมผู้ป่วยก่อนวันที่ผ่าตัด
- อาหารและน้ำดื่ม
ควรงดอาหารผู้ป่วยก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
สำหรับอาหารเหลวใสให้ได้ 6 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
ถ้าผู้ป่วยปากแห้ง ให้ผู้ป่วยบ้วนปากบ่อยๆ
- การขับถ่าย
ถ้าเป็นการผ่าตัดใหญ่หรือผ่าตัดเปิดสู่ช่องท้อง
แพทย์จะให้มีการสวนอุจจาระก่อนผ่าตัด
- การเตรียมผิวหนังก่อนผ่าตัด
ต้องมีการเตรียมความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะผ่าตัด
เพื่อเป็นการลดจำนวนจุลินทรีย์ กำจัดขนและสิ่งสกปรกต่างๆ
- การดูแลสภาพร่างกายทั่วไป
คืนก่อนวันผ่าตัด
ให้ผู้ป่วยทำความสะอาดปากและฟัน
ถอดเก็บของมีค่าต่างๆให้ญาติดูแล
เก็บอุปกรณ์ที่เป็นโลหะหรือสื่อไฟฟ้า
ไม่ให้แต่งหน้าหรือทาปาก ทาเล็บ เพราะจะยากต่อการสังเกตอาการเขียวคล้ำ ซื่งเป็นอาการแรกเริ่มของการขาดออกซิเจน
เช้าวันที่จะผ่าตัด
ทำความสะอาดร่างกาย เปลี่ยนชุดสำหรับผ่าตัด นอนพักบนเตียงตลอดเวลา
สังเกตภาวะอารมณ์ของผู้ป่วย ความกลัวการผ่าตัด
สังเกตสภาพร่างกายทั่วไป วัด บันทึกสัญญาณชีพและอาการผู้ป่วยลงในฟอร์ม
- การให้ยาแก่ผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยคลายความวิตกกังวล
และนอนหลับพักผ่อนได้ดี
- เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆที่พิเศษ
เช่น สายใส่จมูกถึงกระเพาะอาหาร ชุดให้สารน้ำ
ทางหลอดเลือดดำ เครื่องมือผ่าหลอดเลือด
เครื่องดูดเสมหะ เป็นต้น
- แผ่นบันทึกรายงานต่างๆ ต้องบันทึกให้ครบ
และรวบรวมให้เรียบร้อย
- การส่งผู้ป่วยไปห้องผ่าตัด
ให้ผู้ป่วยนอนบนรถนอน (Stretcher) ห่มผ้าให้เรียบร้อย ยกไม้กั้นเตียงขึ้น เจ้าหน้าที่ที่เข็นรถนอนต้องเข็นรถด้วยความนุ่มนวล พยาบาลควรอยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลาจนกว่าจะมีเจ้าหน้าที่ ห้องผ่าตัดมารับเข้าห้องผ่าตัด
- การดูแลครอบครัวผู้ป่วย
ต้องแจ้งให้ครอบครัวทราบถึงเวลาที่ผู้ปุวยจะเข้าห้องผ่าตัด ควรให้ญาติมาดูแล ให้กำลังผู้ป่วย คอยรับผู้ป่วยเมื่อออกจากห้องผ่าตัด พยาบาลควรพูดปลอบโยนญาติ
ในกรณีที่ญาติมีความวิตกกังวล
- การเตรียมผ่าตัดผู้ป่วยฉุกเฉิน
เจาะเลือดเพื่อส่งตรวจ CBC และ Blood group ทันที ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ใส่สายยางทางจมูกเข้าไป
ในกระเพาะอาหาร ตามแผนการรักษา
ให้ผู้ปุวยถ่ายปัสสาวะให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
เพื่อตรวจปัสสาวะ และทำให้กระเพาะปัสสาวะว่าง หากไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ให้สวนปัสสาวะ
ทำความสะอาดและเตรียมผิวหนังบริเวณที่จะผ่าตัด
ให้ผู้ป่วยหรือญาติที่มีสิทธิทางกฎหมายเซ็นใบยินยอมผ่าตัด
ถ้าผู้ป่วยไม่มีญาติมาด้วย พยาบาลต้องถามหรือหาที่อยู่ของครอบครัว เบอร์โทรศัพท์ของครอบครัว
และรีบแจ้งให้ครอบครัวทราบโดยเร็วที่สุด
วัดและบันทึกอาการ สัญญาณชีพ รวมทั้งการให้ยาก่อนผ่าตัด
สังเกตสภาพร่างกายทั่วไป อาการและสัญญาณชีพ
ถ้าผิดปกติให้รีบรายงานให้แพทย์ทราบ
การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
การประเมินสภาพผู้ป่วย
1.1 แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
ประวัติโรคหัวใจ โรคปอด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
ที่มีก่อนผ่าตัด
การเปลี่ยนแปลงสัญญาณชีพ
1.2 แบบแผนอาหารและการเผาผลาญ
ประวัติการได้รับและสูญเสียสารน้ำและเกลือแร่
ตั้งแต่ก่อนผ่าตัดจนถึงหลังผ่าตัด
การรับรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการ
การเรียนรู้การรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรค
และพยาธิสภาพหลังผ่าตัด
การเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร
1.3 แบบแผนการขับถ่าย
ประวัติการเสียเลือด สารน้ำทางปัสสาวะ
การขับถ่ายที่ปกติก่อนและหลังผ่าตัด
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงในแบบแผนการขับถ่ายปัจจุบัน
การทำงานของไต
1.4 แบบแผนการรับรู้และการดูแลสุขภาพ
ประเมินความรู้ความเข้าใจ และการยอมรับในการผ่าตัดที่เกิดขึ้น
ความร่วมมือในการปฏิบัติการรักษาพยาบาล
การปฏิบัติตนเพื่อส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของตนเอง
1.5 แบบแผนการปรับตัวและการเผชิญกับความเครียด
ประเมินการรับรู้ และวิธีการเปลี่ยนแปลงความเครียด
สังเกตพฤติกรรมตอบสนองต่อความเครียด
กิจกรรมการพยาบาลหลังผ่าตัด
2.1 การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการหายใจให้โล่ง
และคงไว้ซึ่งการทำงานระบบหายใจ ภายหลังการผ่าตัดระยะแรก
- การจัดท่านอน
ให้นอนราบไม่หนุนหมอน ตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง
ปูองกันลิ้นตก และการสำลักอาเจียน ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัวดี
อาจให้นอนราบหนุนหมอนได้ ยกเว้นในรายที่ได้รับยาชาเข้าทางไขสันหลังให้นอนราบอย่างน้อย 6-12 ชั่วโมง
- สังเกตการหายใจของผู้ป่วย
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งอยู่เสมอโดยการดูดเสมหะ เลือดภายในปากและจมูก
- กระตุ้นให้ผู้ปุวยหายใจเข้าออกลึกๆ
และไออย่างมีประสิทธิภาพ
- เปลี่ยนท่านอนหรือพลิกตะแคงตัวบ่อยๆ
ในรายที่ไม่รู้สึกตัวควรพลิกตะแคง ให้ทุก 1-2 ชั่วโมง
และในรายที่รู้สึกตัวดีควรจัดให้นอนในท่าศีรษะสูง
- กระตุ้นให้ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองเพื่อเพิ่มกิจกรรมการเคลื่อนไหว ขณะอยู่บนเตียงและลดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนท่าเดียวนานๆ
- ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
ติดตามผลการรักษาโดยการสังเกต บันทึกลักษณะสี
กลิ่นและจำนวนของเสมหะ รวมทั้งสังเกตอาการข้างเคียงของยา
- สังเกตอาการบ่งชี้ภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ
- ถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติให้รีบรายงานแพทย์
และให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
2.2 การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการทำงานของระบบหัวใจและไหลเวียน ปัญหาด้านระบบไหลเวียนที่พบบ่อยหลังผ่าตัด
- ตรวจวัดสัญญาณชีพทึก 15 นาที 4 ครั้ง
ทุก 30 นาที 4 ครั้ง และทุก 1 ชั่วโมงจนสัญญาณชีพสม่ำเสมอ
- สังเกตลักษณะบาดแผลและปริมาณสิ่งคัดหลั่งต่างๆ
ที่ออกจากร่างกายผู้ป่วย
- ดูแลให้ได้รับสารน้ำ เลือด หรือพลาส มาทดแทน
ทางหลอดเลือดดำ ตามแผนการรักษา และติดตามอาการ
ของผู้ปวยอย่างต่อเนื่อง
- ควรให้ผู้ป่วยนอนพักนิ่งๆ ในบริเวณที่มีเลือดออกมากๆ
-
เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นให้พร้อมในราย
ที่มีภาวะช็อก
- สังเกต บันทึก และติดตามผลการตรวจคลื่นหัวใจ
โดยเฉพาะในรายที่มีการเต้น หัวใจผิดปกติ
กล้ามเนื้อหัวใจตายหลังผ่าตัด
- ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจ
จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบ สงบ อยู่เป็นเพื่อน คอยใจกำลังใจ เพื่อลดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น
2.3 การพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด
- ประเมินความเจ็บปวดของผู้ป่วยโดยใช้ Pain scale
ดูและให้ได้รับยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
- ดูแลจัดท่าที่เหมาะสมเพื่อลดการดึงรั้งของแผลผ่าตัด
- แนะนำให้ทำกิจกรรมที่เบี่ยงเบนความสนใจและกิจกรรมที่เป็นการกระตุ้นให้มีการหลั่งเอนโดรฟินเพื่อลดความรู้สึกเจ็บปวด
2.4 การพยาบาลเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ปุวย
- กระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกออกจากเตียง หรือจัดท่านอนศีรษะสูงเพื่อลดอาการแน่น ท้อง ท้องอืด
- ดูแลให้ได้รับสารอาหารและพลังงานอย่างเพียงพอ
- สังเกตและบันทึกอาการเปลี่ยนแปลงที่บ่งชี้
ถึงการย่อยและดูดซึมอาหารผิดปกต
2.5 การพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสุขสบาย
และความปลอดภัยของผู้ป่วย
- ดูแลความสุขสบายทั่วไป
ควรซักถามความไม่สุขสบายที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ
และการดูแลแก้ไขตามอาการ
- การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลเกี่ยวกับความสะอาดของร่างกายทั่วไป
- ดูแลความปลอดภัยในรายที่ยังไม่ฟื้นจากยาสลบ
หรือระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง
2.6 การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการหายของแผล
- สังเกตและประเมินปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการหายของแผล
- สังเกตลักษณะแผลที่ผิดปกติ
โดยเฉพาะแผลมีการติดเชื้อ
- ทำความสะอาดแผลด้วยหลักปราศจากเชื้อ
- สอนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลแผล
และวิธีการส่งเสริมการหายของแผล
2.7 การให้คำแนะนำก่อนกลับบ้านสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัด
- เรื่องการดูแลแผล การสังเกตอาการ
และอาการแสดงของการติดเชื้อ
- การเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นข้อจำกัดหลังผ่าตัด
- การส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ป่วย
อาหารที่ควรรับประทานหรือควรงด
สังเกตอาการข้างเคียงของยาที่ได้รับ
- การดูแลความสะอาดของร่างกาย
- การมาตรวจตามแพทย์นัด
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย
หมายถึง การช่วยบุคคลที่ด้อยสมรรถภาพ ทางกาย
จิตใจ บุคคลที่เจ็บปุวยเรื้อรังหรือบุคคลที่อยู่ในระยะ
พักฟื้นได้ตระหนักถึงสมรรถภาพของตนเองที่ยังเหลืออยู่
และนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิต
การช่วยเหลือผู้ป่วยเคลื่อนไหวบนเตียง
1.1 การประเมินผู้ป่วย พยาบาลจะให้การช่วยเหลือผู้ป่วยนั้นควรทราบข้อมูลต่างๆของผู้ป่วย
ความสามารถของผู้ป่วยในการช่วยเหลือตนเอง
ท่าที่เหมาะสมและระยะเวลาที่ผู้ป่วยจะคงอยู่ในท่า
ที่เปลี่ยนให้ใหม่
ความยากลำบากและไม่สุขสบายในขณะเปลี่ยนท่า
หรือเมื่ออยู่ในท่าที่จัดให้
ปัญหาอื่นๆ ที่พบในผู้ป่วย
1.2 ปฏิบัติการพยาบาลในการให้ความช่วยเหลือผู้ปุวยบนเตียง
การเตรียมผู้ปุวย ให้เอาหมอนหนุนศีรษะของผู้ป่วยออก วางหมอนไว้ที่พนัก หัวเตียง ปรับระดับเตียงให้อยู่
ในแนวราบพร้อมทั้งดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วย
การเตรียมตัวพยาบาล พยาบาลควรยืนในท่าที่ถูกต้อง พยุงผู้ป่วยด้วยความ นุ่มนวลและมั่นคง
การจัดท่าผู้ป่วย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความสุขสบายขณะนอนพัก บนเตียงหรือเตรียมทำหัตถการ
และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากท่านอนที่ไม่ถูกต้อง
ท่านอนหงาย
(Dorsal or Supine position)
ท่านอนตะแคง
(Lateral or Slide-lying position)
ท่านอนคว่ำ
(Prone position)
ท่านอนตะแคงกึ่งคว่ำ
(Semiprone position)
ท่านั่งบนเตียง
(Fowler’s position)
ท่านอนหงายชันเข่า
(Dorsal recumbent position)
ท่านอนหงายพาดเท้าบนขาหยั่ง
(Lithotomy position)
ท่านอนคว่ำคุกเข่า
(Knee-chest position)
ท่านอนศีรษะต่ำปลายเท้าสูง
(Trendelenburg position)
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
2.1 หลักการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
ควรจัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายราบอยู่ในท่าที่สบาย
หันหน้าเข้าหาผู้ป่วยและไปในทิศทางที่จะเคลื่อนย้าย
ควรยืนในท่าที่ถูกต้องและมั่นคง
ยืนแยกเท้าทั้งข้างห่างกันพอสมควร และเฉียงปลายเท้าไปตามทิศทางที่ต้องการเคลื่อนย้าย
หลังตรงป้องกันการปวดหลัง
ย่อเข่าและสะโพก
หาวิธีที่เหมาะสมเพื่อผ่อนแรงในการยกหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
ผู้ป่วยควรอยู่ใกล้พยาบาลมากที่สุด
ยกตัวผู้ป่วยให้พ้นจากที่นอนเล็กน้อยเพื่อลดแรงเสียดทาน
ใช้ผ้าขวางเตียงช่วยในการเคลื่อนย้ายผู้ปุวยแทนการเลื่อนผู้ป่วย
ให้สัญญาณเพื่อความพร้อมเพรียง
ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ควรหาผู้ช่วยเหลือตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปและให้สัญญาณขณะยก
2.2 การประเมินผู้ป่วยก่อนการเคลื่อนย้าย
ความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง
ท่าที่เป็นข้อห้ามของผู้ป่วย
ส่วนที่อ่อนแรงหรือพิการ
ความมั่นคงในการคงท่าของผู้ป่วย
ส่วนที่จำเป็นต้องให้อยู่นิ่งๆ
ผู้ป่วยอ่อนเพลียมากน้อยแค่ไหน
ความต้องการการเคลื่อนย้ายเปลี่ยนท่า
และความสุขสบายของผู้ป่วย
2.3 วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
แจ้งให้ผู้ป่วยทราบและบอกวิธีการให้ความร่วมมือถ้าทำได้
นำหมอนหนุนศีรษะของผู้ป่วยออก วางหมอนที่พนักหัวเตียง อุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นเอาออกจากเตียง
พยาบาลยืนในท่าที่ถูกต้องมั่นคงและใช้หลักการของกลไกการเคลื่อนไหวร่างกาย
พยุงผู้ป่วยด้วยความนุ่มนวลและมั่นคง โดยใช้วิธีสอดมือเข้าไปในตำแหน่งของร่างกายที่จะยกเพื่อรองรับน้ำหนักร่างกายส่วนนั้น
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดิน
3.1 การออกกำลังกายเพื่อเตรียมผู้ป่วยเดิน
เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยให้กล้ามเนื้อ
มีความตึงตัว แข็งแรง และข้อเคลื่อนที่ได้ตามปกติ
เนื่องจากการเดินต้องใช้ตะโพกและขามากที่สุด
และข้อที่จะเคลื่อนไหวได้ต้องอาศัยการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อตะโพก ต้นขา และปลายขา
3.2 การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดิน
พยาบาล 1 คน
กรณีใช้เข็มขัดหรือผ้าคาดเอว
พยาบาลยืนเยื้องด้านหลังผู้ป่วย ใช้มือ 2 ข้างยืดเข็มขัดหรือผ้าคาดเอวเพื่อพยุงผู้ป่วยขณะผู้ป่วยเดิน
กรณีไม่ใช้เข็มขัด
ใช้มือด้านใกล้ตัวจับที่ต้นแขนของผู้ป่วย มือไกลตัวจับที่ปลายแขนของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยเป็นลมให้สอดแขนเข้าใต้รักแร้รับน้ำหนักตัวผู้ป่วยและแยกเท้ากว้าง ดึง ตัวผู้ป่วยขึ้นมาข้างตัวพยาบาลโดยใช้สะโพกรับน้ำหนักตัวผู้ป่วย
และค่อยๆวางตัวผู้ป่วยลงบนพื้น
พยาบาล 2 คน
ให้พยาบาลยืนข้างผู้ป่วยคนละด้าน มือพยาบาลข้างใกล้ตัวผู้ป่วยสอดใต้รักแร้ผู้ป่วย อีกข้างหนึ่งจับปลายแขน
หรือมือผู้ป่วยข้างเดิม ผู้ป่วยและพยาบาลทั้ง 2 คนเดินพร้อมกัน
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดิน
4.1 ชนิดของอุปกรณ์ช่วยเดิน
Parallel bar = ราวคู่ขนาน ราวเดิน
Walker = ไม้เท้าสี่ขา
Cane
Crutches = ไม้ค้ำยัน
4.2 ประโยชน์ของอุปกรณ์ช่วยเดิน
ช่วยแบ่งเบาหรือรับน้ำหนักแทนขา 1 หรือ 2 ข้าง
เมื่อมีข้อห้ามในการรับน้ำหนักเต็มทั้งขาข้างนั้น
ช่วยแบ่งเบาหรือรับน้ำหนักแทนขา 1 หรือ 2 ข้าง
เมื่อมีข้อห้ามหรือมีการอ่อนแรงจนขาไม่สามารถรับน้ำหนักได้
เพิ่มการพยุงตัว เพื่อที่จะสามารถทรงตัวได้
4.3 การเตรียมผู้ป่วยก่อนการฝึกใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
ฝึกความแข็งแรง ความทนทาน และการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อ
ฝึกในท่าตั้งตรง บนเตียงหรือเบาะ
ฝึกในราวคู่ขนาน
4.4 การลงน้ำหนักที่ขาเวลาเดิน
ไม่ลงน้ำหนักของขาข้างที่เจ็บ 0%
เดินโดยเอาปลายเท้าขา้งที่เจ็บแตะพื้น Up to 20%
เดินโดยลงน้ำหนักข้างที่เจ็บได้บางส่วน 20-50%
เดินโดยขาข้างที่เจ็บลงน้ำหนักได้เต็มที่ 100%
เดินโดยขาข้างที่เจ็บลงน้ำหนักเท่าที่ทนไหว (เท่าที่ทนได้)
การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวร่างกาย
การออกกำลังกาย
การเคลื่อนไหวร่างกายที่มีการวางแผน มีการเตรียมตัว เป็นกิจกรรมที่มีการทำซ้ำๆ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มหรือคงไว้ซึ่งสมรรถภาพทางร่างกาย ต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน คำนึงภาวะ สุขภาพ
ความแข็งแรงของร่างกาย และจุดมุ่งหมายที่ต้องการ
1.1 การออกกำลังกายชนิดให้ผู้ป่วยทำเอง
ผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายด้วยตนเอง
ให้ผลดีเพราะข้อต่างๆของร่างกายมีการเคลื่อนไหวและกล้ามเนื้อหดรัดตัว ทำให้กล้ามเนื้อมีความตึงตัวและแข็งแรง
การไหลเวียนโลหิตดี
1.2 การออกกำลังกายโดยให้ผู้อื่นทำให้ผู้ป่วย
สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายด้วยตนเองได้ หรือมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว ช่วยให้ข้อมีการเคลื่อนไหวและช่วยป้องกันการหดรั้งของกล้ามเนื้อผิดรูป
1.3 การออกกำลังกายชนิดที่ให้ผู้ป่วยทำร่วมกับความช่วยเหลือของผู้อื่น
กระตุ้นให้กล้ามเนื้อมีการทำงานร่วมด้วย เช่น การพยุง
หรือช่วยเหลือผู้ป่วยในการลุก – นั่งข้างเตียง เดินข้างเตียง
1.4 การออกกำลังกายโดยให้กล้ามเนื้อทำงานแต่ข้อไม่เคลื่อน
เพื่อเพิ่มความตึงตัวและแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
ป้องกันกล้ามเนื้อลีบ
1.5 การออกกำลังกายให้ผู้ป่วยออกแรงต้านกับแรงอื่น
ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ให้ผู้ป่วยออกแรงต้าน
วิธีนี้ช่วยให้กล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้น มีความแข็งแรง และทำงานได้ดี
การเคลื่อนไหวร่างกาย
การเคลื่อนไหวร่างกายใดๆ ในชีวิตประจำวัน
ไม่ว่าจะในบ้าน ที่ทำงานหรือแม้แต่สันทนาการใดๆ
ผลกระทบจากการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
3.1 ระบบผิวหนัง
เกิดแรงกดทับ
เซลล์ตายและลุกลามกลายเป็นแผล
การเสียดทานเมื่อผู้ป่วยถูกลากหรือเลื่อนตัว
แรงดึงรั้ง เกิดจากแรงกดทับและการเสียดทานที่เกิดขึ้นพร้อมกัน
3.2 ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
กระดูกผุเปราะบาง
การประสานงานของกล้ามเนื้อแขนขาลดลง
หรือไม่สัมพันธ์กัน
กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลีบเล็ก
อาการปวดหลัง เกิดจากท่านอนที่ไม่ถูกต้อง
3.3 ระบบหัวใจและหลอดเลือด
หัวใจทำงานมากขึ้น
มีการคั่งของเลือดในหลอดเลือดดำที่ขา
เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
ความดันต่ำขณะเปลี่ยนท่า
3.4 ระบบทางเดินหายใจ
ปอดขยายตัวลดลง
มีการคั่งของเสมหะมากขึ้น
3.5 ระบบทางเดินอาหาร
มีผลต่อการรับประทานอาหาร ทำให้เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
มีผลต่อการขับถ่าย ทำให้ท้องผูก
3.6 ระบบทางเดินปัสสาวะ
ถ่ายปัสสาวะมากกว่าปกติในระยะแรกๆ
มีการคั่งของปัสสาวะในไตและกระเพาะปัสสาวะ
เกิดนิ่วในไตและกระเพาะปัสสาวะ
3.7 ระบบเมตาบอลิซึมและการเผาผลาญอาหาร
การเผาผลาญอาหารลดลง
มีระดับโปรตีนในกระแสเลือดลดต่ำลง
มีความผิดปกติด้านอัตมโนทัศน์และภาพลักษณ์
กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด
การประเมินสภาพผู้ป่วย
รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นเพื่อนำไปสู่การวางแผนการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
สอดคล้องกับข้อมูลสนับสนุนที่รวบรวมได้จากการประเมินสภาพผู้ป่วย
เช่น วิตกกังวลเนื่องจากกลัวการผ่าตัด
การวางแผนการพยาบาล ให้การพยาบาล
และประเมินผลหลังให้การพยาบาล
ประเมินระดับความวิตกกังวล
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึก และค้นหาสาเหตุของความวิตกกังวล
ร่วมกันหาทางแก้ไขสาเหตุของความวิตกกังวลร่วมกับ
ผู้ป่วยและญาติ
ดูแลความสุขสบายทั่วไป
จัดหมวดหมู่กิจกรรมการพยาบาลเพื่อลดการรบกวน
ผู้ป่วยและให้ผู้ป่วยได้พัก
รายงานแพทย์เมื่อพบอาการผิดปกติ