Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
(Activity Therapy), นาย อิบรอฮิม สิเดะ เลขที่ 88 - Coggle Diagram
(Activity Therapy)
จุดมุ่งหมายในการจัดกลุ่มกิจกรรมบำบัด
1) เพื่อป้องกันการถดถอย (Regression)
2) เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-confidence)
3) เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง (Self-esteem)
4) เพื่อให้ผู้ป่วยมีการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยอื่น ๆ
5) เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าเป็นที่ยอมรับของกลุ่มและบุคคลอื่น
6) เพื่อให้ผู้ป่วยมีโอกาสระบายความรู้สึก
7) เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ในความเป็นจริงไม่อยู่กับการรับรู้ที่ผิด ๆ
8) เพื่อให้ผู้ป่วยได้รู้จักตนเองรู้ถึงความสามารถของตนเอง
9) ให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และผ่อนคลาย
10) เพื่อช่วยในการประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย
คุณสมบัติของกลุ่ม
1) กลุ่มมีความสามารถพัฒนาความผูกพัน ความเห็นอกเห็นใจกัน
2) กลุ่มมีความสามารถควบคุม ให้รางวัลและลงโทษพฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่มก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคม
3) กำหนดขอบเขตของความเป็นจริงให้กับผู้ป่วยแต่ละคนได้
4) ช่วยให้สมาชิกแสดงอารมณ์และระบายอารมณ์ที่รุนแรงในทางที่เหมาะสม
5) เปรียบเทียบและสะท้อนกลับ
องค์ประกอบของกลุ่มกิจกรรมบำบัด
1) สถานที่
2) ผู้นำกลุ่มผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำ
3) สมาชิกกลุ่ม
4) กิจกรรม
5) บรรยากาศ
หลักการรักษาด้วยกลุ่มกิจกรรมบำบัด
1) สนองความต้องการขั้นพื้นฐาน (Meeting basic need)
2) ป้องกันความเสื่อมถอย (Prevention)
3) พัฒนาเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น (Development)
4) การคงสภาพที่เหลืออยู่เอาไว้ (Maintenance)
ชนิดของกิจกรรมบำบัด
1 กลุ่มอาชีวบำบัด (Occupational Therapy Group)
เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณค่าของตนเอง และสอนทักษะใหม่ ๆ ในด้านอาชีวะใช้ได้กับ ผู้ป่วยทุกวัย ทั้งฝ่ายกาย และฝ่ายจิต
2 นันทนาการบำบัด (Recreation Therapy Group)
เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อรื่นเริงบันเทิงใจ และให้ทุกคนในกลุ่มได้สนุกสนาน เพลิดเพลิน อยากเข้าร่วมกลุ่ม
3 กลุ่มการศึกษาบำบัด (Re-Education Therapy Groups)
เป็นกลุ่มกิจกรรมที่สัมพันธ์โดยตรงกับปัญหาในการปรับตัวบางอย่างของผู้ป่วย
4 กลุ่มฝึกหัดการเข้าสังคม (Resocialization Therapy Groups)
เป็นกลุ่มที่จัดให้ผู้ป่วยได้พบปะสังสรรค์กัน เพื่อฝึกการเข้าสังคม รู้จักวางตัวให้ถูกต้องเหมาะสม
แนวคิดเกี่ยวข้องกับการทำงานเป็นกลุ่ม
1) ความต้องการของมนุษย์ โดยพื้นฐานมีความ
ปรารถนาจะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม
2) บุคคลแต่ละคนมีความสามารถพิเศษในตนเองและมีความแตกต่างกัน
3) การอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มทำให้มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแต่ละคนมีผลต่อการ
พัฒนาทางด้านอารมณ์และสังคม
ประเภทของกลุ่ม
1) แบ่งตามลักษณะการรับสมาชิก
Open Group:การรับสมาชิกเข้ากลุ่มแต่ละครั้งไม่ยึดติดว่าจะเป็นสมาชิกกลุ่มเดิม สมาชิกสมัครเข้ากลุ่มได้อย่างอิสระ
Closed Group : กลุ่มที่มีการรับสมาชิกคงที่ และจำกัด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจนกว่าจะเสร็จสิ้นการดำเนินกลุ่ม
2) แบ่งตามเทคนิคการดำเนินการ
-กำหนดโครงสร้าง
-ไม่กำหนดโครงสร้าง
3) แบ่งตามวัตถุประสงค์
ขั้นตอนในการทำกลุ่มกิจกรรมบำบัด
ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียม
ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินการ
ขั้นเปิดกลุ่ม
ขั้นดำเนินกิจกรรม
ขั้นปิดกลุ่ม
ขั้นที่ 3 ขั้นสรุปประเมินผล
ความหมายของกลุ่มกิจกรรมบำบัด
เป็นวิธีการรักษาอย่างหนึ่งโดยใช้สิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด (Milieu Therapy) จัดให้ผู้ได้ทำกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมให้เข้าสู่สภาพปกติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ความสำคัญของกลุ่มกิจกรรมบำบัด
การบำบัดรักษาในกลุ่มกิจกรรมบำบัด สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วยของตนเองจากการพูดคุยกับสมาชิกในกลุ่ม ทำให้ผู้ป่วยลดความวิตกกังวล สามารถเรียนรู้ เลียนแบบพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสม
ประโยชน์ของกระบวนการกลุ่ม
ช่วยให้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มได้นำเอาความสามารถต่าง ๆ ของตนเองออกมาใช้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ช่วยเสริมสร้างทัศนคติและพฤติกรรมของสมาชิก และประสบการณ์ที่ได้รับจากกลุ่มจะส่งเสริมให้สมาชิกในกลุ่มได้พัฒนาความสามารถพิเศษขึ้น
นาย อิบรอฮิม สิเดะ เลขที่ 88