Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
:warning:บทบาทพยาบาลในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิ…
:warning:
บทบาทพยาบาลในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช
:warning:
การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด (Milieu therapy)
:star:
การจัดสภาพบรรยากาศเพื่อการบำบัดอย่างมีจุดมุ่งหมายเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตเวชอย่างมีแบบแผน มีหลักการ มีวัตถุประสงค์ และวิธีการเฉพาะซึ่งต่างจากผู้ป่วยทั่วไป
วัตถุประสงค์
ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดทัศนคติที่ดีต่อทีมสุขภาพจิต
ได้รับการยอมรับจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง เป็นการฝึกทักษะการอยู่ในสังคม
เพิ่มความแข็งแกร่งของจิตใจ
สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพสังคมที่เป็นจริง
พัฒนาและเสริมสร้างคุณค่าในตัวเอง
บทบาทของพยาบาล
เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการตอบสนองทางอารมณ์ ผู้ป่วยจะได้เห็นแบบอย่างของการแสดงออกของพฤติกรรมที่เหมาะสม
เป็นตัวแทนของบุคคลในสังคมปกติ
เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านพฤติกรรมทางสังคม
กิจกรรมบำบัดเพื่อฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยจิตเวช (Activity Therapy)
:star:
การจัดกิจกรรมในรูปแบบของการรักษาที่มีบุคคลมากกว่า 2 คน ร่วมกันทำกิจกรรมเป็นกลุ่มโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
ร่วมกัน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้
ความสำคัญ
สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วยของตนเองจากการพูดคุยกับสมาชิก
ผู้ป่วยลดความวิตกกังวล
สามารถเรียนรู้ เลียนแบบพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสม
หลักการรักษา
สนองความต้องการขั้นพื้นฐาน
ป้องกันความเสื่อมถอย
พัฒนาเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น
การคงสภาพที่เหลืออยู่เอาไว้
ประโยชน์ของกระบวนการกลุ่ม
สมาชิกได้นำเอาความสามารถต่าง ๆ ของตนเองออกมาใช้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
เสริมสร้างทัศนคติและพฤติกรรมของสมาชิก
ประสบการณ์ที่ได้รับจะส่งเสริมให้สมาชิกได้พัฒนาความสามารถพิเศษขึ้น แล้วนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง
พัฒนาทางด้านสังคมไปในทางที่ดี
บทบาทของพยาบาล
วางแผนการดำเนินกลุ่มให้เหมาะกับผู้ป่วยและ
เตรียมผู้ป่วยให้พร้อมก่อนเข้ากลุ่ม
เป็นผู้นำและดำเนินกลุ่มให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยให้ผู้ป่วยมีบทบาทในการทำกิจกรรมให้มากที่มากที่สุด
ให้กำลังใจและส่งเสริมให้ผู้ป่วยมั่นใจตนเองใน
การทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้สำเร็จ
สนับสนุนให้ผู้ป่วยมั่นใจตนเองในการแก้ปัญหา
และส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความเป็นผู้นำ
พฤติกรรมบำบัด (Behavior Therapy)
:star:
เป็นวิธีการรักษาทางจิตเวชที่นำหลักการของทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning Theory) มาประยุกต์ใช้ เพื่อแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
บทบาทของพยาบาล
เป็นผู้บำบัดหรือผู้ช่วยเหลือผู้บำบัด
ช่วยสถานที่และจัดสภาพการณ์ที่เหมาะสมกับวิธีการรักษาแต่ละวิธี
ร่วมกับแพทย์และผู้ป่วยเลือกวิธีการรักษา
ให้กำลังใจผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มต้นการรักษาจนสิ้นสุดการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังใจรักษาอย่างต่อเนื่อง
ร่วมกับผู้ป่วยประเมินผลการรักษา
องค์ประกอบในการใช้พฤติกรรมบำบัด
การรักษามีรูปแบบและโครงสร้างที่แน่นอน
เน้นที่ปัญหาปัจจุบัน
เคราะห์สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้พฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นและยังคงดำเนินต่อมา
ทำการประเมินปัญหาทั้งก่อนและหลังการรักษา
ผู้ป่วยจะมีส่วนในการกำหนดโปรแกรมการรักษา
ในการรักษาแต่ละครั้งจะมีเป้าหมายที่ชัดเจน
จิตบำบัด (Psychotherapy)
:star:
การรักษาทางจิตเวช เพื่อแก้ไขอาการที่เกิดจากความผิดปกติด้านจิตใจอารมณ์หรือปรับปรุงบุคลิกภาพของผู้ป่วย โดยอาศัยความสัมพันธ์การสื่อสารระหว่างผู้บำบัดกับผู้ป่วยและทฤษฎีทางจิตวิทยาเป็นสำคัญ ทำให้ความคิดความรู้สึกและพฤติกรรมของผู้ป่วยเป็นที่ยอมรับของสังคม
ประเภทของจิตบำบัด
จิตบำบัดรายบุคคล (Individual psychotherapy)
จิตบำบัดกลุ่ม (Group Psychotherapy)
ครอบครัวบำบัด (Family therapy)
การบำบัดเชิงการรู้คิด
:star:
เป้าหมาย :
เพื่อค้นพบที่มาของปัญหาทางอารมณ์ เพื่อที่จะช่วยให้ผู้ที่มีมีปัญหาได้ปรับเปลี่ยนความคิด
ขั้นตอนการให้การปรึกษา
สร้างสัมพันธภาพแห่งความไว้วางใจ
ให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในมุมมองของแนวคิดทางปัญญาตามรูปแบบ
แนะนำให้ผู้รับการปรึกษารู้จักการให้การปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม
ให้ผู้รับการปรึกษามีความหวังในการที่จะปรับลดอารมณ์ที่ทำให้เกิดทุกข์ของตนเอง
ปรับความคาดหวังของผู้รับการปรึกษาให้เหมาะสมกับผลลัพธ์
ตั้งประเด็นสำหรับการให้การปรึกษาในวันนี้ร่วมกัน
ระบุอารมณ์และให้คะแนนระดับความแรงของอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม
สำรวจเบื้องต้นถึงเรื่องราวของปัญหา
ระบุปัญหาและตั้งเป้าหมายในการแก้ปัญหาร่วมกัน
สอนผู้รับการปรึกษาถึงความเชื่อมโยงของความคิดอารมณ์พฤติกรรม
มอบหมายการบ้านให้ผู้รับการปรึกษาสังเกตความเชื่อมโยงของความคิดอารมณ์พฤติกรรมและสรีระของตนเอง
สรุปการสนทนาและให้ข้อมูลย้อนหลับจาก ผู้รับการปรึกษา
นางสาวปิยธิดา เตราชูสงค์ เลขที่ 37