Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Aspirate pneumonia ปอดอักเสบจากการสำลัก, นางสาวอารียา มั่นวงศ์ รหัส…
Aspirate pneumonia
ปอดอักเสบจากการสำลัก
พยาธิสภาพ
โดยการไอ เพื่อขับเชื้อออกทางเสมหะ หรือกลืนลงกระเพาะอาหาร
ถ้าร่างกายไม่มีกลไกดังกล่าว ปอดจะมีการอักเสบ โดยมีน้ำและน้ำเมือกเพิ่มขึ้นบริเวณถุงลม และไหลเข้าสู่หลอดลมฝอย
ทำให้เนื้อที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส O2และ CO2 ลดลง และขจัดเชื้อโรคออกไปยังต่อมน้ำเหลืองและกระแสเลือดเพื่อขจัดออกนอกร่างกาย
ภายในถุงลมจะมีกลไกการป้องกันตามปกติ เช่น การโบกพัดของcilia และการไอเพื่อขจัดเชื้อในเสมหะหรือเมือกออกไป
จะมีเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดง รวมตัวบริเวณที่มีการอักเสบมากขึ้น ทำให้บริเวณถุงลมแคบและเเข็ง
เชื้อที่อยู่ในเสมหะหรือเมือกในทางเดินหายใจส่วนต้นจะแพร่เข้าสู่ถุงลม
น้ำและเมือกที่ติดเชื้อจะแพร่ไปยังปอดส่วนอื่น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไข้ ไอ อาจมีเสมหะร่วมด้วย
ผู้ป่วยมีการสำลักอาหารจากการให้อาหารทางสายยาง จึงทำให้มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
ความหมาย
การสำลักเอาอาหารเข้าไปในทางเดินหายใจ
แล้วทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อปอด ทำให้ปอดทำหน้าที่ได้น้อยลง
ผู้ป่วยจึงมีอาการไอ มีเสมหะ หายใจหอบเหนื่อย มีไข้
สาเหตุ
ผู้ป่วยไม่สามารถกลืนอาหารได้เอง เป็นผู้ป่วยติดเตียงมา 6 เดือน
เกิดจากการที่ผู้ป่วยสำลักอาหารจากการให้อาหารทางสายยาง
อาการและอาการแสดง
มีไข้
ไอ มีเสมหะ
หายใจเหนื่อยหอบ
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
ญาติให้ประวัติว่าผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบเหนื่อยเป็นพักๆ หายใจเสียงดัง แรง ไอ มีเสมหะในลำคอ ซึมลง รับอาหารทาง NG tube ได้น้อยลง
การตรวจร่างกาย
ผู้ป่วยมีอาการหายใจเหนื่อยหอบ ฟังปอดพบ rhonchi และ crepitation
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
WBC 10750 สูง
NEUTROPHIL 76.9 สูง
LYMPHOCYTE 14.4 ต่ำ
Hb17.5 สูง
Hct 50.4 สูง
การแปลผล
ค่า WBC สูง NEUTROPHIL สูง LYMPHOCYTE ต่ำ เกิดจากภาวะที่มีการอักเสบติดเชื้อในร่างกาย
ค่า Hb สูง สาเหตุเกิดจากร่างกายขาด O2 ทำให้ร่างกายกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงมากขึ้น
ค่า Hct สูง เกิดจากภาวะขาดสารน้ำในร่างกาย หรือโรคเลือดข้นจากการขาดO2 เรื้อรัง
การรักษา
การให้ยา
Acetylcysteine 200 mg. oral tid pc
ยาขับเสมหะ หรือยาละลายเสมหะ ใช้รักษาภาวะอาการที่เกิดมูกเหลวเหนียวข้นขึ้นจนเกิดปัญหาการหายใจ จากภาวะหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ
Berodual 2 puff prn for dyspnea
มีฤทธิ์ป้องกัน ขยายและรักษาอาการหดเกร็งของหลอดลม ไม่มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบที่เกิดขึ้นในหลอดลม จึงแนะนำให้ใช้เฉพาะช่วงที่มีอาการหอบเหนื่อยเท่านั้น
การให้ยา Clindamycin 600 mg. vein q 8 hr
ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย
การรักษาแบบ Palliative care
การให้ O2 cannula 3 LPM
การให้อาหารทางสายยาง
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 1 การหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากไม่สามารถขับเสมหะออกเองได้
ข้อมูลสนับสนุน
O : ฟังปอดพบ rhonchi และ crepitation
O : ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ WBC 10750 สูง NEUTROPHIL 76.9 สูง LYMPHOCYTE 14.4 ต่ำ
S : ผู้ป่วยมาด้วยอาการหายใจเหนื่อยหอบ
จุดมุ่งหมาย
ผู้ป่วยหายใจเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เกณฑ์การประเมิน
-ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี
หายใจไม่เหนื่อยหอบ RR = 12-16 ครั้ง/นาที PR = 60-100 ครั้ง/นาที
ไม่ใช้กล้ามเนื้ออื่นช่วยในการหายใจ ไม่มีภาวะ Cyanosis
ฟังปอดไม่พบ rhonchi และ crepitation
ผลWBC, NEUTROPHIL, LYMPHOCYTE ปกติ
-O2 sat > 95 %
กิจกรรมการพยาบาล
1.สังเกตลักษณะ อัตราการหายใจทุก 4 ขั่วโมง เพื่อประเมินความผิดปกติของการหายใจและวางแผนในการแก้ปัญหา
2.ประเมินการทำงานของปอด เพื่อให้ทราบว่าปอดมีสิ่งผิดปกติส่วนไหน จะได้ดูแลผู้ป่วยถูก
3.จัดท่านอน Fowler 's position เพื่อให้กระบังลมหย่อน ปอดขยายเต็มที่ การแลกเปลี่ยนแก๊สเพิ่มขึ้น
4.ดูแลให้ O2 cannula 3LPM ตามแผนการรักษาดูแลสายไม่ให้หลุด หรือหักพับงอ ทดสอบปริมาณO2ก่อนให้ ด้วยการจุ่มน้ำทดสอบ หรือทดสอบบริเวณหลังมือ เพิ่มระดับO2 ในร่างกายให้เพียงพอ
5.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อน 6-8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อส่งเสริมการหายจากโรค
6.ดูแลให้ได้รับยา Acetylcysteine 200 mg. oral tid p เพื่อขับเสมหะ หรือละลายเสมหะ และ พ่น Berodual 2 puff prn for dyspnea เพื่อป้องกัน ขยายและรักษาอาการหดเกร็งของหลอดลม
7.ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น CBC sputum CXR เพื่อติดตามว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ และเพื่อวางแผนการดูแลผู้ป่วยต่อ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 2
มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
ข้อมูลสนับสนุน
S : ประวัติ 2 วันก่อนมาโรงพยาบาลผู้ป่วยมีอาการไอในลำคอ อาการหายใจเหนื่อยหอบ
O : ฟังปอด พบ rhonchi และcrepitation
O : ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ WBC 10750 สูง NEUTROPHIL 76.9 สูง LYMPHOCYTE 14.4 ต่ำ
จุดมุ่งหมาย
ลดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
เกณฑ์การประเมิน
หายใจไม่เหนื่อยหอบ RR = 12-16 ครั้ง/นาที PR = 60-100 ครั้ง/นาที
อุณหภูมิ 36.5 - 37.4 องศาเซลเซียส
จำนวนเสมหะลดลงไม่เหลือง
ผลWBC, NEUTROPHIL, LYMPHOCYTE ปกติ
ฟังปอดไม่พบ rhonchi และ crepitation
กิจกรรมการพยาบาล
1.วัด vital Sign โดยเฉพาะอุณหภูมิ ทุก 4 ชั่วโมง เมื่อประเมินอาการของการติดเชื้อ
2.ดูแลความสะอาดในช่องปาก เพื่อลดการติดเชื้อในทางเดินหายใจ
3.ดูแลให้ยา Clindamycin 600 mg. vein q 8 hr ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในร่างกายตามแผนการรักษาของแพทย์ ซักถามประวัติการแพ้ก่อนให้ยา
4.จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวกล้างมือก่อนและหลังการให้การพยาบาล เพื่อลดการติดเชื้อ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล ข้อที่ 3 ความสามารถในการทํากิจกรรมลดลง ประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
O : ผู้ป่วยไม่มีแรง หอบเหนื่อย
O : Motor Power grade แขนขวา ขาขวา grade 3 แขนซ้าย ขาซ้าย grade 0 ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองไม่ได้
จุดมุ่งหมาย
เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวัน
เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้ป่วยมีร่างกาย ช่องปากสะอาด
2.ได้รับอาหารและน้ำเพียงพอต่อความต้องการ
3.ดไม่เกิดแผลกดทับ
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ อาการหอบเหนื่อย และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ และช่วยเหลือพลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมง เพื่อประเมินความสามารถในการทํากิจวัตรประจําวัน แล้วเพื่อช่วยไม่ให้เกิดแผลกดทับ
2.ดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวันต่างๆ เช่น การรับประทานอาหาร การขับถ่าย การดูแลความสะอาดร่างกาย เนื่องจากผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
3.พยาบาลและญาติผู้ป่วย ช่วยผู้ป่วยออกกำลังกาย แบบ Passive Exercise เพื่อป้องกันการเกิดข้อติด และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 4 ผู้ป่วยและญาติขาดความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัว เกี่ยวกับโรคและการควบคุมโรคเมื่อออกจากโรงพยาบาล
ข้อมูลสนับสนุน
จุดมุ่งหมาย
เกณฑ์การประเมิน
กิจกรรมการพยาบาล
3.ดูแลจัดสิ่งแวดล้อม ไม่ให้มีการแพร่กระจายเชื้อ อากาศถ่ายเทสะดวก จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ และใกล้พอที่ผู้ป่วยสามารถหยิบใช้ได้ เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อซ้ำ และให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองสะดวก
2.ประเมินความรู้เกี่ยวกับโรคปอดอักเสบของผู้ป่วยและญาติ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินของโรค และปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง
1.สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยและญาติ พูดคุยซักถาม ปฏิบัติด้วยความนุ่มนวล เต็มใจ และสนับสนุนให้ญาติ มีบทบาทในการเข้ามาดูแลผู้ป่วย เพื่อสร้างความไว้วางใจ และความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยเมื่อกลับบ้าน
4.แนะนำให้ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัย เวลาไอหรือจาม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และลดโอกาสการติดเชื้อซ้ำ เนื่องจากผู้ป่วยนอนติดเตียงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย
2.ผู้ป่วยไม่ติดเชื้อซ้ำเมื่อกลับบ้าน
1.ผู้ป่วยและญาติสามารถบอกสาธิตย้อนกลับวิธีการดูแลและป้องกันโรคได้
ผู้ป่วยและญาติสามารถปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคและการควบคุมโรคเมื่อออกจากโรงพยาบาลได้
S : ญาติบอกว่าไม่เคยดูแลผู้ป่วยปอดอักเสบ
O: ผู้ป่วยใส่ ng Tube ทำให้สวมหน้ากากอนามัยลำบาก
นางสาวอารียา มั่นวงศ์ รหัส 61121301107 เตียง 15