Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่5 การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัด การเคลื่อนไหวและการออกกาลัง…
บทที่5
การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัด การเคลื่อนไหวและการออกกาลังกาย
5.1 การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
5.1.1 การประเมินผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
5.1.1.1 การซักประวัติ โดยการสอบถามข้อมูลจากผู้ป่วยและญาติ รวมถึงการทบทวน แฟ้มประวัติของผู้ป่วย ใบส่งตัว หรือใบบันทึกต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สำคัญซึ่งอาจมีผลต่อการผ่าตัด
1) ประวัติโรคประจำตัว ควรครอบคลุมถึงอาการความรุนแรงของโรคภาวะแทรกซ้อนของโรค และประวัติการรักษา ยาที่ใช้ประจำ
2) ประวัติการผ่าตัด และการได้รับยาระงับความรู้สึกก่อนหน้านี้ โดยครอบคลุมถึงวิธีการให้ยาระงับความรู้สึก และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
3) ประวัติการแพ้ยาหรืออาหาร
4) การใช้ยา สารเสพติด การสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
5) ประวัติของคนในครอบครัวหรือญาติที่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้รับยาระงับ ความรู้สึก ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคทางพันธุกรรมที่มีผลต่อการได้รับยาระงับความรู้สึก
6) ประวัติเกี่ยวกับโรคของระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคลมชัก โรคที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด
5.1.1.2 การตรวจร่างกาย เป็นการประเมินผู้ป่วยเพิ่มเติมจากการซักประวัติ เพื่อช่วยบอกถึงโรคหรือความผิดปกติที่อาจไม่ได้ข้อมูลจากการซักประวัติและเป็นแนวทางในการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
1) สัญญาณชีพ
2) การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
3) การตรวจประเมินทางระบบหายใจ
4) การตรวจร่างกายตามระบบ โดยเน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคหรือบริเวณที่จะทำการผ่าตัด
5.1.13 การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากการซักประวัติและตรวจร่างกาย สามารถใช้เป็น Screening tests นอกจากนี้จะช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรค บอกถึงความ รุนแรงของโรค อย่างไรก็ตามการส่งตรวจเพิ่มเติมควรพิจารณาอย่างเหมาะสมสาหรับผู้ป่วยแต่ละราย
5.1.2 การเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
5.1.2.1 การเตรียมผู้ป่วย ซึ่งระยะเวลาก่อนผ่าตัด หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่ม ตระหนักว่ามีบางสิ่งผิดปกติ และแพทย์วินิจฉัยว่าต้องผ่าตัด หรือตัวผู้ป่วยเองสงสัยว่าจะต้องผ่าตัด จนกระทั่งเวลาที่แพทย์จะลงมือผ่าตัด ผู้ป่วยควรได้รับการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดให้พร้อมที่สุด ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อผู้ป่วยจะได้เข้าห้องผ่าตัดด้วยอาการที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
1) ด้านร่างกาย ภาวะสมดุลทางด้านร่างกายก่อนผ่าตัดมีความสำคัญเท่าๆ กับความสมดุลทางด้านจิตใจ เพื่อป้องกันหรือลดความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
1) ระบบหัวใจและหลอดเลือด ต้องประเมินความสามารถในการทำงาน ของหัวใจ และหลอดเลือด เพื่อดูว่าร่างกายสามารถทนต่อการผ่าตัดได้หรือไม่ดูความสามารถในการส่งเลือดไปเลี้ยงทั่วทั้งร่างกาย และประเมินปริมาณและคุณภาพของเลือดด้วย
2) ระบบทางเดินหายใจ ต้องประเมินสภาวะของปอดและหลอดลม ดูการทำงานของระบบทางเดินหายใจ
3) ระบบทางเดินปัสสาวะ ต้องประเมินสภาวะของไต
4) ประเมินความสมบูรณ์ของร่างกายในการได้รับอาหารที่พอเหมาะ การ ได้รับอาหารที่ดีมีประโยชน์ที่เพียงพอ และถูกส่วนเพื่อให้ผู้ป่วยทนต่อการผ่าตัดได้ดี และช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
5) ภาวะสารน้ำและอีเล็คโทรลัยต์ในร่างกาย ต้องประเมินสภาวะความ สมดุลของสารน้ำ และอีเล็คโทรลัยต์ในร่างกาย
6) การพักผ่อนและการออกกาลังกาย ต้องได้รับการพักผ่อนที่ดีและมี
การออกกำลังกายที่พอเหมาะ
7) ให้คำแนะนำและข้อมูลต่างๆ ที่ผู้ป่วยควรทราบเพื่อลดความวิตกกังวล
2) ด้านจิตใจ ผู้ป่วยและครอบครัวส่วนใหญ่จะมีความวิตกกังวลเมื่อรู้ว่าตนเอง หรือบุคคลในครอบครัวต้องผ่าตัด ดังนั้น ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ควรได้รับการเตรียมทางจิตใจทุกคน โดยการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ประเมินความวิตกกังวลก่อนผ่าตัด ทั้งนี้เพื่อช่วยลดความวิตกกังวล ความกลัวต่างๆ พยาบาลควรให้ผู้ป่วยได้รับข้อมูลจริง ทำความเข้าใจ
3) การให้คำแนะนำการปฏิบัติหลังผ่าตัด รวมทั้งการฝึกทักษะการปฏิบัติตัวในระยะหลังผ่าตัด เพื่อทำให้การพักฟื้นหลังผ่าตัดเร็วขึ้น และช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ที่อาจเกิดขึ้นได้ การให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด
(1) Early ambulation ยกเว้นมีข้อห้ามหรือการผ่าตัดบางอย่างที่ต้องให้ผู้ป่วย Absolute bed rest ก่อนลุกจากเตียงควรมีการเตรียมพร้อมกล้ามเนื้อขา เพื่อช่วยในการลุกเดิน ได้แก่ SLRE QSE ROM
(2) Quadriceps Setting Exercise (QSE) เป็นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขา (Quadriceps muscle) ซึ่งมี 4 มัด คือ Rectus femeris, Vastus lateralis, Vastus medialis และ Vastus intermediate วิธีการทำคือ ให้ผู้ป่วยนั่งหรือนอนเหยียดขาตรงกระดกข้อเท้าขึ้นและกดเข่า ลงบนที่นอน ขณะเดียวกันเกร็งกล้ามเนื้อต้นขา เกร็งไว้ประมาณ 5 วินาที โดยนับ 1 – 5 ช้าๆ แล้วคลาย พักแล้วจึงเริ่มทำใหม่
(3) Straight Leg Raising Exercise (SLRE) เป็นการออกกำลังขา ข้อสะโพก และกล้ามเนื้อต้นขาแบบยกขาขึ้นตรงๆ โดยการนอนราบยกขาข้างที่ไม่ใช้อุปกรณ์ขึ้นตรงๆ ในระดับ 45 องศาถึง 60 องศา และอาจถึง 90 องศา เกร็งขาไว้ 5 วินาทีโดยนับ 1– 5 ช้าๆ แล้ว วางขาลง พักแล้วจึงเริ่มทำใหม่
(4) Range of Motion (ROM) เป็นการออกกำลังข้อโดยมีการเคลื่อนไหวใน ทุกทิศทางปกติของข้อต่าง ๆ ซึ่งร่างกายของคนมีส่วนเคลื่อนไหวหลักๆ อยู่ 6 แห่ง คือ ศีรษะ ลำตัว แขน และขาทั้งสองข้าง และยังมีการเคลื่อนไหวในส่วนย่อยๆ ที่มือ นิ้วมือ เท้า และนิ้วเท้า ได้อย่างอิสระ เช่น มี การเคลื่อนไหวมือโดยที่แขนอยู่กับที่หรือเคลื่อนไหวนิ้วมือโดยไม่มีการเคลื่อนไหวที่ส่วนอื่น การเคลื่อนไหวของข้อกระดูกแต่ละแห่งสามารถทำได้ภายในขอบเขตของข้อชนิดนั้น ๆ
(5) Deep-breathing exercises โดยจัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนหงายศีรษะ สูง วางมือทั้ง 2 ข้างบนหน้าอกส่วนล่าง แล้วให้กำมือหลวมๆ ให้นิ้วมือสัมผัสกับหน้าอก เพื่อจะได้รู้สึกการ เคลื่อนไหวของปอด ให้หายใจเข้ายาวๆ ลึกๆ ทั้งทางจมูกและปาก เพื่อปอดจะได้ขยายเต็มที่ กลั้นหายใจไว้ ให้ผู้ป่วยนับ 1-5 แล้วจึงค่อยผ่อนลมหายใจออกทั้งทางจมูกและปาก ทำซ้ำประมาณ 15 ครั้ง ในขณะที่ฝึกอาจให้พักช่วงสั้นๆ เป็นระยะๆ หลังจากที่ฝึกหายใจ 5 ครั้ง ติดต่อกันให้ฝึกวันละ 2 ครั้ง ก่อนผ่าตัด
(6) Effective cough โดย จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งเอนไปข้างหน้าเล็กน้อย ให้ผู้ป่วยประสานมือทั้ง 2 ข้าง และกดเบาๆ เหนือบริเวณที่คิดว่าจะมีแผลผ่าตัด ทั้งนี้เพื่อช่วยทาให้แผลอยู่ นิ่งเป็นการลดอาการเจ็บแผลขณะที่ไอ ให้ผู้ป่วยหายใจเข้า - ออก ตามวิธีที่ฝึกข้างต้นก่อน แล้วให้หายใจ เข้าเต็มที่ อ้าปากเล็กน้อย ให้ผู้ป่วยไอ 3 – 4 ครั้ง แล้วให้อ้าปาก ให้ผู้ป่วยหายใจลึก และไอแรงๆ อย่างเร็ว1-2 ครั้ง จะทำให้เสมหะที่มีอยู่ในปอดออกมาได้
(7) Abdominal breathing ในบางรายที่มีอาการปวดแผลหรือรับการผ่าตัด บริเวณทรวงอก ให้หายใจเข้าออกโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องแทนทรวงอก เพื่อให้ทรวงอกเคลื่อนไหวน้อยลงในระยะแรกหลังผ่าตัด ทำ 8-10 ครั้ง ทุก 2 ชั่วโมง
(8) Turning and ambulation ควรทำทุก 2 ช.ม. เช่น พลิกตัวไปทางขวา ให้ขยับตัวไปทางซ้าย ใช้มือซ้ายจับราวกั้นเตียงซ้าย แล้วพลิกมาทางขวา การลุกนั่ง ให้ผู้ช่วยเหลือไขหัว เตียงขึ้น ประมาณ 45-60 องศา ผู้ป่วยใช้มือที่ไม่มีน้าเกลือ ยันที่นอนและพยุงตัวขึ้นลุกนั่งด้วยตนเองให้ตะแคงข้างที่ไม่มีน้าเกลือและใช้แขนข้างนั้น ยันที่นอนและพยุงตัวขึ้น ควรทำทันทีที่อาการดีขึ้น
(9) Extremity exerciseให้ผู้ป่วยนอนในท่าหัวสูงเล็กน้อยหรือนอนในท่าที่สบาย ทำการออกกำลังแขนหรือขาทีละข้างโดยเฉพาะการเหยียดออกและงอเข้าของทุกข้อ ยกเว้นในราย ที่มีข้อจากัดในการเคลื่อนไหวหลังผ่าตัด เช่น การผ่าตัดหลอดเลือดที่ขา หรือทาการตกแต่งบริเวณขา อาจทำโดยการออกกำลังกายโดยการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ (Isometric exercise)
(10) Pain management หลังผ่าตัดผู้ปรวยจะได้รับการระงับความเจ็บปวดด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งได้แก่ การได้รับยาแก้ปวดทางหลอดเลือดดำ พยาบาลควรสอนที่ช่วยในการระงับความ เจ็บปวดควบคู่กันไป เช่น การใช้หมอนหรือฝ่ามือทั้งสองข้างในการพยุงแผลขณะไอ เพื่อลดการกระทบกระเทือนของแผล
5.1.2.2 การเตรียมผู้ปุวยก่อนวันที่ผ่าตัด
1) อาหารและน้ำดื่ม ควรงดอาหารผู้ป่วยก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง สำหรับอาหารเหลวใสให้ได้ 6 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด ถ้าผู้ป่วยปากแห้ง ให้ผู้ป่วยบ้วนปากบ่อยๆ ถ้าผู้ปรวยได้รับอาหาร หรือน้ำเข้าไปในระยะเวลาที่ห้ามนี้ ต้องรีบรายงานให้แพทย์ทราบทันที ซึ่งแพทย์อาจเลื่อนการผ่าตัด ออกไป หรืออาจใส่สายเข้าไปที่กระเพาะอาหาร เพื่อดูดเอาอาหารในกระเพาะอาหารออกมา
2) การขับถ่าย ถ้าเป็นการผ่าตัดเล็ก หรือการผ่าตัดที่ไม่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในช่อง ท้อง แพทย์อาจให้สวนอุจจาระหรือไม่ก็ได้ หรือให้รับประทานยาระบายก่อนวันผ่าตัด แต่ถ้าเป็นการผ่าตัด ใหญ่หรือผ่าตัดเปิดสู่ช่องท้องแพทย์จะให้มีการสวนอุจจาระก่อนผ่าตัด สำหรับกระเพาะปัสสาวะควรว่าง เมื่อจะเข้าห้องผ่าตัดโดยให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะก่อนผ่าตัด หรือคาสายสวนปัสสาวะไว้ตามแผนการรักษา
3) การเตรียมผิวหนังก่อนผ่าตัด เนื่องจากผิวหนังเป็นแหล่งที่มีเชื้อจุลินทรีย์อาศัยอยู่มาก เพราะเป็นบริเวณที่กว้าง ดังนั้นต้องมีการเตรียมความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะผ่าตัด เพื่อเป็นการ ลดจานวนจุลินทรีย์ การเตรียมบริเวณที่จะผ่าตัดต้องเตรียมให้กว้างกว่าบริเวณที่จะผ่าตัดจริง กาจัดขน และสิ่งสกปรกต่างๆ ถ้าผิวหนังบริเวณที่จะผ่าตัดมีเม็ดผื่นหรือมีการติดเชื้อเกิดขึ้น แพทย์อาจต้องเลื่อนการ ผ่าตัดออกไปจนกระทั่งการติดเชื้อนั้นหายไป
1) บริเวณศีรษะ โกนผมบริเวณศีรษะออก เช็ดใบหู และทำความสะอาดช่องหู ภายนอกด้วยไม้พันสำลีที่ปราศจากเชื้อ เตรียมบริเวณลงมาถึงแนวกระดูกไหปลาร้าทั้งหน้าและหลัง ไม่ต้องเตรียมบริเวณใบหน้า
2) บริเวณหูและปุ่มกระดูกมาสตอยด์ ให้เตรียมบริเวณกว้างเป็นวงรอบออกไปจากหูประมาณ 1 – 2 นิ้ว โกนขนอ่อน ที่ใบหูด้วย
(3) บริเวณคอ เช่น ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ เป็นต้น เตรียมบริเวณจากใต้คางลงมาถึง ระดับราวหัวนม และจากหัวไหล่ข้างขวาถึงข้างซ้าย
(4) บริเวณทรวงอก เช่น ผ่าตัดเต้านม เป็นต้น เตรียมด้านหน้าจากคอตอนบน จนถึงระดับสะดือจากแนวยาวของหัวนมข้างที่ไม่ได้ทำผ่าตัดไปจนถึงกึ่งกลางหลังของข้างที่ทำ และขน อ่อนของต้นแขนจนถึงต่ำกว่าข้อศอก 1 นิ้ว
(5) บริเวณช่องท้อง เช่น ผ่าตัดท่อน้าดี ถุงน้ำดี กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ ใหญ่ ผ่าตัดคลอดเด็กทางหน้าท้อง (C/S) เป็นต้น เตรียมตั้งแต่ระดับรักแร้ลงมาถึงฝีเย็บ
(6) บริเวณท้องต่ำกว่าสะดือ เช่น ไส้ติ่ง ไส้เลื่อน เป็นต้น เตรียมบริเวณตั้งแต่ ระดับราวนมลงมาถึงต้นขา รวมทั้งบริเวณฝีเย็บด้วย
(7) ไต เตรียมด้านหน้าจากบริเวณรักแร้จนถึงบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และต้นขา ทั้ง 2 ข้าง ด้านข้างจากรักแร้ถึงตะโพก ด้านหลังจากแนวกึ่งกลางลำตัวด้านหน้าอ้อมไปจนถึงกระดูกสันหลัง ซีกของไตข้างที่จะทำการผ่าตัดนั้น
(8) บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก เช่น ทวารหนัก ช่องคลอด ต่อม ลูกหมาก เป็นต้น เตรียมตั้งแต่ระดับสะดือ ลงมาถึงฝีเย็บ และด้านในของต้นขาและก้น
(9) แขน ข้อศอก และมือ เตรียมบริเวณแขนข้างที่จะทำผ่าตัดทั้งด้านหน้าและ ด้านหลัง จากหัวไหล่ถึงปลายนิ้วมือ รวมทั้งโกนขนรักแร้ ตัดเล็บให้สั้นและทำความสะอาดด้วย
(10) ตะโพกและต้นขา เตรียมบริเวณจากระดับเอวลงมาถึงระดับต่ำกว่า หัวเข่า ข้างที่จะทำ 6 นิ้ว ทั้งด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง รวมทั้งเตรียมบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกด้วย
(11) การทำ Skin graft ทำความสะอาดผิวหนังทั้งบริเวณ Donor site และ Recipient site ให้กว้าง
(12) หัวเข่า เตรียมจากขาหนีบถึงข้อเท้าข้างที่จะทำผ่าตัดโดยรอบ
(13) ปลายขา เตรียมจากเหนือหัวเข่า ประมาณ 8 นิ้ว ลงมาถึงเท้าข้างที่จะผ่าตัด ตัดเล็บเท้าให้สั้น และทำความสะอาดเล็บด้วย
(14) เท้า เตรียมจากใต้หัวเข่าลงไปถึงเท้าข้างที่จะทำผ่าตัด ตัดเล็บเท้าให้สั้นและ ทำความสะอาดเล็บด้วย
5.2 การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
5.2.1 การประเมินสภาพผู้ป่วย
5.2.1.1 แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
1) ประวัติโรคหัวใจ โรคปอด เบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่มีก่อนผ่าตัด
2) การเปลี่ยนแปลงสัญญาณชีพ ซึ่งบ่งบอกการทางานของหัวใจและหลอด เลือด โดยการประเมินการหายใจ ความสามารถในการหายใจ และอุปกรณ์ที่ช่วยในการหายใจ บันทึกความเข้มข้นของปริมาณออกซิเจนในเลือด เป็นต้น โดยทั่วไปชีพจรและความดันโลหิตไม่ควรมีการ เปลี่ยนแปลงมากกว่าหรือน้อยกว่า 20% ของค่าปกติหรือจากเดิมก่อนผ่าตัด ชีพจรที่เต้นเร็วผิดปกติ หรือไม่สม่าเสมอ ความดันโลหิตลดลง อาจมาจากหลายสาเหตุ
5.2.1.2 แบบแผนอาหารและการเผาผลาญ การประเมินที่สาคัญได้แก่ ประวัติการ ได้รับและสูญเสียสารน้าและเกลือแร่ ตั้งแต่ก่อนผ่าตัดจนถึงหลังผ่าตัด ชนิดและปริมาณของสารน้าที่ได้รับ และออกจากร่างกาย ภาวะโภชนาการ และปริมาณแคลอรี่ของอาหารที่ได้รับในแต่ละวัน การรับรู้เกี่ยวกับ ภาวะโภชนาการ และการเรียนรู้การรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรคและพยาธิสภาพหลังผ่าตัด การ เปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร
5.2.1.3 แบบแผนการขับถ่าย
ประวัติการเสียเลือด สารน้ำทางปัสสาวะ การขับถ่ายที่ปกติก่อนและหลังผ่าตัด
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงในแบบแผนการขับถ่ายปัจจุบัน เช่น ปัสสาวะออก น้อยหรือไม่ออกหลังผ่าตัด ปัสสาวะขุ่น ท้องผูก
การทำงานของไต เช่น การประเมินภาวะไม่สมดุลสารน้ำและเกลือแร่ จาก การเสียหน้าที่ของไต การมีของเสียคั่ง
5.2.1.4 แบบแผนการรับรู้และการดูแลสุขภาพ ได้แก่ ประเมินความรู้ความเข้าใจ และ การยอมรับในการผ่าตัดที่เกิดขึ้น ความร่วมมือในการปฏิบัติการรักษาพยาบาล และการปฏิบัติตนเพื่อ ส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของตนเอง
5.2.1.5 แบบแผนการปรับตัวและการเผชิญกับความเครียด ประเมินการรับรู้ และวิธีการ เปลี่ยนแปลงความเครียด สังเกตพฤติกรรมตอบสนองต่อความเครียด
5.2.2 กิจกรรมการพยาบาลหลังผ่าตัด
5.2.2.1 การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการหายใจให้โล่ง และคงไว้ซึ่งการทางานระบบหายใจ ภายหลังการผ่าตัดระยะแรก ภาวะพร่องออกซิเจนเป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับ ความรู้สึกทั่วร่างกาย สาเหตุอาจเกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ
1) การจัดท่านอน ให้นอนราบไม่หนุนหมอน ตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง ป้องกันลิ้นตก และการสำลักอาเจียน ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัวดีอาจให้นอนราบหนุนหมอนได้ ยกเว้นในรายที่ได้รับ ยาชาเข้าทางไขสันหลังให้นอนราบอย่างน้อย 6-12 ชั่วโมง
2) สังเกตการหายใจของผู้ป่วย เช่น การหายใจเร็วตื้นจากการค้างของฤทธิ์ ยาสลบ หายใจลึกช้าลงจากฤทธิ์ตกค้างของยาระงับปวดกลุ่ม narcotic และดูแลทางเดินหายใจให้โล่งอยู่ เสมอโดยการดูดเสมหะ เลือด ภายในปากและจมูก
3) กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆ และไออย่างมีประสิทธิภาพตามวิธีที่ สอนผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดและติดตามการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยหลังผ่าตัด
4) เปลี่ยนท่านอนหรือพลิกตะแคงตัวบ่อยๆ ในรายที่ไม่รู้สึกตัวควรพลิกตะแคง ให้ทุก 1-2 ชั่วโมง และในรายที่รู้สึกตัวดีควรจัดให้นอนในท่าศีรษะสูง (Fowler’s position) นอกจากนี้ ควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการลุกนั่งบนเตียงโดยเร็วและลุกขึ้นเดินได้ภายใน 24 ชั่วโมงถ้าไม่มีข้อห้ามตาม แผนการรักษา
5) กระตุ้นให้ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองเพื่อเพิ่มกิจกรรมการเคลื่อนไหว ขณะอยู่บนเตียงและลดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนท่าเดียวนานๆ
6) ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น พร้อมทั้งติดตามผลการรักษาโดยการสังเกต บันทึกลักษณะสี กลิ่น และจำนวนของเสมหะ รวมทั้งสังเกต อาการข้างเคียงของยา
7) สังเกตอาการบ่งชี้ภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้น สัญญาณชีพ รวมถึงค่าออกซิเจนในเลือด
8) ถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติให้รีบรายงานแพทย์และให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
5.2.2.2 การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการทางานของระบบหัวใจและไหลเวียน ปัญหาด้าน ระบบไหลเวียนที่พบบ่อยหลังผ่าตัด
1) ตรวจวัดสัญญาณชีพทุก 15 นาที 4 ครั้ง ทุก 30 นาที 4 ครั้ง และทุก 1 ชั่วโมงจนสัญญาณชีพสม่ำเสมอ
2) สังเกตลักษณะบาดแผลและปริมาณสิ่งคัดหลั่งต่างๆที่ออกจากร่างกายผู้ป่วย รวมถึงประเมินการสูญเสียสารน้าที่เกิดขึ้นหากพบความผิดปกติให้รายงานแพทย์
3) ดูแลให้ได้รับสารน้ำ เลือด หรือพลาสมาทดแทนทางหลอดเลือดดำตาม แผนการรักษา และติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
4) ควรให้ผู้ป่วยนอนพักนิ่งๆในบริเวณที่มีเลือดออกมากๆเพื่อลดการเคลื่อนไหวซึ่งจะมีผลทำให้เลือดออกมากขึ้น
5) เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นให้พร้อมในรายที่มีภาวะช็อก เช่น อุปกรณ์ ดูดเสมหะ อุปกรณ์ให้ออกซิเจน ยาช่วยเพิ่มความดันโลหิต
6) สังเกต บันทึก และติดตามผลการตรวจคลื่นหัวใจโดยเฉพาะในรายที่มีการเต้น หัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจตายหลังผ่าตัด
7) ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนทั้งร่างกาย และจิตใจ จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบ สงบ อยู่เป็นเพื่อนคอยใจกำลังใจ เพื่อลดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น เป็นส่วนช่วยลดการใช้ออกซิเจนใน ร่างกายของผู้ป่วย
5.2.2.3 การพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด โดยพยาบาลประเมิน ความเจ็บปวดของผู้ปุวยโดยใช้ Pain scale ดูและให้ได้รับยาแก้ปวดตามแผนการรักษา ดูแลจัดท่าที่เหมาะสมเพื่อลดการดึงรั้งของแผลผ่าตัด แนะนำให้ทำกิจกรรมที่เบี่ยงเบนความสนใจและกิจกรรมที่เป็นการกระตุ้นให้มีการหลั่งเอนโดรฟินเพื่อลดความรู้สึกเจ็บปวด
5.2.2.4 การพยาบาลเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ป่วย เพื่อลดอาการท้องอืด แน่น ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และส่งเสริมภาวะโภชนาการที่ดีหลังผ่าตัด
1) กระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกออกจากเตียงหรือจัดท่านอนศีรษะสูงเพื่อลดอาการแน่นท้อง ท้องอืด
2) ดูแลให้ได้รับสารอาหารและพลังงานอย่างเพียงพอในรายที่ไม่มีปัญหาในการ รับประทานอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ควรดูแลให้รับประทานอาหารทางปาก ส่วนในรายที่ผ่าตัดในช่องท้องทำให้ลำไส้หยุดทางานชั่วคราวแพทย์จะพิจารณาให้รับประทานอาหารทางปากเมื่อลำไส้มีการเคลื่อนไหว
3) สังเกตและบันทึกอาการเปลี่ยนแปลงที่บ่งชี้ถึงการย่อยและดูดซึมอาหาร ผิดปกติ เช่น ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก เพื่อปรับเปลี่ยนชนิดและวิธีการให้อาหาร ความถี่ ปริมาณ และความเข้มข้นของสูตรอาหารตามความเหมาะสม
5.2.2.5 การพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสุขสบายและความปลอดภัยของผู้ป่วย
1) ดูแลความสุขสบายทั่วไปเช่นการนอนหลับอาการคลื่นไส้การปวดถ่ายปัสสาวะ ทั้งนี้ควรซักถามความไม่สุขสบายที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ และการดูแลแก้ไขตามอาการ
2) การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลเกี่ยวกับความสะอาดของร่างกายทั่วไปโดยเฉพาะช่องปาก อวัยวะสืบพันธุ์ และระบบขับถ่าย
3) ดูแลความปลอดภัยในรายที่ยังไม่ฟื้นจากยาสลบหรือระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ควรยกราวกั้นเตียงผู้ป่วยขึ้นก่อนออกจากเตียงผู้ป่วย
5.2.2.6 การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการหายของแผล
1) สังเกตและประเมินปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการหายของแผล ได้แก่ ตำแหน่งของ แผลผ่าตัด ลักษณะของแผลเปิดหรือแผลปิด ภาวะโภชนาการของผู้ป่วย ภาวะโรค เช่น เบาหวาน การติด เชื้อที่มีอยู่และท่อระบายสายยางต่างๆ
2) สังเกตลักษณะแผลที่ผิดปกติ โดยเฉพาะแผลมีการติดเชื้อ เช่น ปวด บวม แดง ร้อน ลักษณะสี กลิ่น ของสิ่งคัดหลั่งที่ผิดปกติ มีกลิ่นเหม็น มีลักษณะเป็นหนอง รวมถึงการสังเกตผิดหนังรอบๆ แผลผ่าตัด
3) ทำความสะอาดแผลด้วยหลักปราศจากเชื้อ เพื่อป้องกันการติดเชื้อของแผลซึ่ง จะทำให้แผลหายช้า
4) สอนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลแผล และวิธีการส่งเสริมการหายของแผล โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีโปรตีน และวิตามินซีสูง ลดการกระทบกระเทือนแผลผ่าตัด ในช่วงที่ยังไม่ได้ตัดไหม การออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดมาเลี้ยงที่แผลดีขึ้น
5.2.2.7 การให้คำแนะนำก่อนกลับบ้านสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัด
1) เรื่องการดูแลแผล การสังเกตอาการ และอาการแสดงของการติดเชื้อ
2) การเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นข้อจำกัดหลังผ่าตัด
3) การส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ป่วย อาหารที่ควรรับประทานหรือควรงด การรับประทานยา การสังเกตอาการข้างเคียงของยาที่ได้รับ
4) การดูแลความสะอาดของร่างกาย
5) การมาตรวจตามแพทย์นัด
5.3 การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย
การช่วยบุคคลที่ด้อยสมรรถภาพ ทางกาย จิตใจ บุคคลที่เจ็บปรวยเรื้อรัง หรือบุคคลที่อยู่ในระยะพักฟื้น ได้ตระหนักถึงสมรรถภาพของตนเองที่ยัง เหลืออยู่ และนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตและการทำงานหรือจุดมุ่งหมายของการฟื้นฟู สมรรถภาพเพื่อป้องกันความพิการหรือความด้อยสมรรถภาพที่อาจเกิดขึ้น
5.3.1 การช่วยเหลือผู้ป่วยเคลื่อนไหวบนเตียง
5.3.1.1 การประเมินผู้ป่วย พยาบาลจะให้การช่วยเหลือผู้ป่วยนั้นควรทราบข้อมูลต่างๆ ของผู้ป่วย
1) ความสามารถของผู้ป่วยในการช่วยเหลือตนเอง
2) ท่าที่เหมาะสม และระยะเวลาที่ผู้ป่วยจะคงอยู่ในท่าที่เปลี่ยนให้ใหม่
3) ความยากลำบากและไม่สุขสบายในขณะเปลี่ยนท่าหรือเมื่ออยู่ในท่าที่จัดให้
4) ปัญหาอื่นๆ ที่พบในผู้ป่วย เช่น ความผิดปกติเกี่ยวกับผิวหนัง กระดูก หลอดเลือด
5.3.1.2 ปฏิบัติการพยาบาลในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยบนเตียง
1) การเตรียมผู้ป่วย ให้เอาหมอนหนุนศีรษะของผู้ป่วยออก วางหมอนไว้ที่พนัก หัวเตียง ปรับระดับเตียงให้อยู่ในแนวราบพร้อมทั้งดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วย
2) การเตรียมตัวพยาบาล พยาบาลควรยืนในท่าที่ถูกต้อง พยุงผู้ป่วยด้วยความ นุ่มนวลและมั่นคง ขณะยกตัวหรือเลื่อนตัวผู้ป่วยให้ใช้วิธีสอดมือเข้าใต้ตำแหน่งร่างกายส่วนที่จะยก เพื่อรองรับน้าหนักร่างกายส่วนนั้น ไม่ควรใช้มือหยิบหรือจับขาผู้ป่วยขณะยกหรือเลื่อนตัวผู้ป่วย
3) การจัดท่าผู้ป่วย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความสุขสบายขณะนอนพักบนเตียงหรือเตรียมทำหัตถการ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากท่านอนที่ไม่ถูกต้อง
(1) ท่านอนหงาย (Dorsal or Supine position)
(2) ท่านอนตะแคง (Lateral or Slide-lying position)
(3) ท่านอนคว่ำ(Prone position)
(4) ท่านอนตะแคงกึ่งคว่ำ (Semiprone position)
(5) ท่านั่งบนเตียง(Fowler’s position) เป็นการจัดท่านั่งบนเตียงที่สุข สบายและเพื่อการรักษาโดยให้ศีรษะสูง 30 – 90 องศา ปกติมักให้ศีรษะสูง 45 องศา
(6) ท่านอนหงายชันเข่า (Dorsal recumbent position)
(7) ท่านอนหงายพาดเท้าบนขาหยั่ง (Lithotomy position)
(8) ท่านอนคว่ำคุกเข่า (Knee-chest position)
(9) ท่านอนศีรษะต่ำปลายเท้าสูง (Trendelenburg position)
5.3.2 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
5.3.2.1 หลักการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
1) ควรจัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายราบอยู่ในท่าที่สบาย
2) หันหน้าเข้าหาผู้ป่วยและไปในทิศทางที่จะเคลื่อนย้าย
3) ควรยืนในท่าที่ถูกต้องและมั่นคง
4) ยืนแยกเท้าทั้งข้างห่างกันพอสมควร และเฉียงปลายเท้าไปตามทิศทางที่ ต้องการเคลื่อนย้าย และอยู่ในสมดุลเมื่อต้องการเคลื่อนไปทางหัวเตียงหรือปลายเตียง
6) ย่อเข่าและสะโพก
7) หาวิธีที่เหมาะสมเพื่อผ่อนแรงในการยกหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
8) ผู้ป่วยควรอยู่ใกล้พยาบาลมากที่สุด
9) ยกตัวผู้ป่วยให้พ้นจากที่นอนเล็กน้อยเพื่อลดแรงเสียดทาน
10) ใช้ผ้าขวางเตียงช่วยในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแทนการเลื่อนผู้ป่วย
11) ให้สัญญาณเพื่อความพร้อมเพรียง
12) ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ควรหาผู้ช่วยเหลือตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปและให้ สัญญาณขณะยก หรือใช้อุปกรณ์ที่ช่วยผ่อนแรงมาใช้เมื่อจำเป็น
5) หลังตรง ป้องกันการปวดหลัง
5.3.2.2 การประเมินผู้ป่วยก่อนการเคลื่อนย้าย
1) ความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง
2) ท่าที่เป็นข้อห้ามของผู้ป่วย
5) ส่วนที่จำเป็นต้องให้อยู่นิ่งๆ
4) ความมั่นคงในการคงท่าของผู้ป่วย
6) ผู้ป่วยอ่อนเพลียมากน้อยแค่ไหน
3) ส่วนที่อ่อนแรงหรือพิการ
7) ความต้องการการเคลื่อนย้ายเปลี่ยนท่าและความสุขสบายของผู้ป่วย
5.3.2.3 วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
1) แจ้งให้ผู้ป่วยทราบและบอกวิธีการให้ความร่วมมือถ้าทำได้
2) นำหมอนหนุนศีรษะของผู้ป่วยออก วางหมอนที่พนักหัวเตียง อุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นเอาออกจากเตียง
3) พยาบาลยืนในท่าที่ถูกต้องมั่นคงและใช้หลักการของกลไกการเคลื่อนไหวร่างกาย
4) พยุงผู้ป่วยด้วยความนุ่มนวลและมั่นคง โดยใช้วิธีสอดมือเข้าไปในตำแหน่งของร่างกายที่จะยกเพื่อรองรับน้าหนักร่างกายส่วนนั้น
5.3.3 การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดิน
5.3.3.1 การออกกาลังกายเพื่อเตรียมผู้ป่วยเดิน
การออกกำลังกายให้ผู้ป่วยนั้นเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยให้กล้ามเนื้อมีความตึงตัว แข็งแรง และข้อเคลื่อนที่ได้ตามปกติ เนื่องจากการเดินต้องใช้ตะโพกและขามากที่สุดและข้อที่จะเคลื่อนไหวได้ต้องอาศัยการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อตะโพก ต้นขา และปลายขา จึงต้องมี การออกกำลังกายกล้ามเนื้อเหล่านี้ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะเดิน และการออกกำลังกายนั้นต้องไม่ทำให้ ผู้ป่วยเหนื่อย ควรทำแต่ละชนิด 3 ครั้ง และให้ทำวันละ 2 – 3 ครั้ง
5.3.3.2 การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดิน
1) การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินโดยพยาบาล 1 คน
(1)กรณีใช้เข็มขัดหรือผ้าคาดเอว เมื่อช่วยผู้ป่วยลงจากเตียงแล้ว พยาบาล ยืนเยื้องด้านหลังผู้ป่วย ใช้มือ 2 ข้างยืดเข็มขัดหรือผ้าคาดเอวเพื่อพยุงผู้ป่วยขณะผู้ป่วยเดิน วิธีนี้จะช่วยคงจุดศูนย์ถ่วงหรือใช้มือหนึ่งจับเข็มขัดบริเวณกึ่งกลางเอว อีกมือหนึ่งจับบริเวณต้นแขนของผู้ป่วยก้าวเดินช้าๆ พร้อมกัน
(2)กรณีไม่ใช้เข็มขัด ให้ใช้มือด้านใกล้ตัวจับที่ต้นแขนของผู้ป่วย มือไกลตัว จับที่ปลายแขนของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยเป็นลมให้สอดแขนเข้าใต้รักแร้รับน้าหนักตัวผู้ป่วยและแยกเท้ากว้าง ดึงตัวผู้ป่วยขึ้นมาข้างตัวพยาบาลโดยใช้ สะโพกรับน้าหนักตัวผู้ป่วย และค่อยๆ วางตัวผู้ป่วยลงบนพื้น
2) การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินโดยพยาบาล 2 คน ให้พยาบาลยืนข้างผู้ป่วยคน ละด้าน มือพยาบาลข้างใกล้ตัวผู้ป่วยสอดใต้รักแร้ผู้ป่วย อีกข้างหนึ่งจับปลายแขนหรือมือผู้ป่วยข้างเดิม ผู้ป่วยและพยาบาลทั้ง 2 คนเดินพร้อมกัน ถ้าผู้ป่วยเป็นลมพยาบาลทั้ง 2 คนเลื่อนมือข้างที่พยุงใต้รักแร้ไป ข้างหน้าให้ลาแขนสอดอยู่ใต้รักแร้ น้ำหนักตัวผู้ป่วยไว้พร้อมกับใช้สะโพกยันผู้ป่วยไว้แล้วค่อย ๆ พยุงผู้ป่วยลงบนพื้น
5.3.4 การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดิน
5.3.4.1ชนิดของอปุกรณ์ช่วยเดิน
1) Parallel bar = ราวคู่ขนาน ราวเดิน เป็นเครื่องช่วยเดินที่ให้ความมั่นคงที่สุด เหมาะสำหรับการฝึกเดินครั้งแรกของผู้ป่วยและปรับความสูงของราวตามความสูงของผู้ป่วย
2) Walker หรือ Pick – up frames นิยมใช้ คือ Standard walker เป็น อลูมิเนียม หรือแสตนเลส เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอายุมากและการทรงตัวไม่ดีนัก การเดินด้วย Walker ค่อนข้างมั่นคงกว่าการเดินด้วย Crutches และ Cane
3) Cane มีหลายชนิด เช่น Walk cane , Tripod cane , Quad cane , Standard cane เป็นการเดินด้วยไม้เท้าอันเดียว ผู้ป่วยต้องมีมั่นคงในการเดิน มักใช้กับผู้สูงอายุ หรือในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
4) Crutches ( ไม้ยันรักแร้ , ไม้ค้ายัน ) มีหลายชนิด เช่น Auxiliary crutches , Platform crutches ( Forearm bearing crutches ) , Forearm crutch , Gutterที่นิยมใช้ คือ Auxiliary crutches ใช้ได้กับผู้ป่วยที่ค่อนข้างแข็งแรง หรือมีการทรงตัวดี เช่น ผู้ป่วย อายุ 5 – 50 ปี ที่ขาได้รับอันตราย
5.3.4.2 ประโยชน์ของอุปกรณ์ช่วยเดิน
1) ช่วยแบ่งเบาหรือรับน้ำหนักแทนขา 1 หรือ 2 ข้าง เมื่อมีข้อห้ามในการรับน้ำหนักเต็มทั้งขา (Partial weight bearing) ข้างนั้น
2) ช่วยแบ่งเบาหรือรับน้ำหนักแทนขา 1 หรือ 2 ข้าง เมื่อมีข้อห้ามหรือมีการอ่อนแรงจนขาไม่สามารถรับน้ำหนักได้ (Non – weight bearing)
3)เพิ่มการพยุงตัว(Support)เพื่อให้สามารถทรงตัวได้(Balance)
5.4 การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวร่างกาย
5.4.1 การออกกำลังกาย
5.4.1.1 การออกกำลังกายชนิดให้ผู้ป่วยทำเอง (Active or Isotonic Exercise) ผู้ป่วย จะเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายด้วยตนเอง การออกกำลังกายชนิดนี้ให้ผลดีเพราะข้อต่างๆ ของร่างกายมีการเคลื่อนไหวและกล้ามเนื้อหดรัดตัว ทำให้กล้ามเนื้อมีความตึงตัวและแข็งแรง การไหลเวียน โลหิตดี
5.4.1.2 การออกกำลังกายโดยให้ผู้อื่นทำให้ผู้ป่วย (Passive exercise) เป็นการออกกำลังกายโดยการเคลื่อนไหวข้อต่างๆ ให้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายด้วยตนเองได้หรือมี ข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว การออกกำลังกายชนิดนี้ให้ผลดี คือ ช่วยให้ข้อมีการเคลื่อนไหวและช่วยป้องกัน การหดรั้งของกล้ามเนื้อผิดรูป
5.4.1.3 การออกกำลังกายชนิดที่ให้ผู้ป่วยทำร่วมกับความช่วยเหลือของผู้อื่น (Active assistive exercise) วิธีนี้ให้ผลดีกว่าวิธีที่ให้ผู้อื่นทำให้ผู้ป่วย เพราะเป็นการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมีการ ทำงานร่วมด้วย เช่น การพยุงหรือช่วยเหลือผู้ป่วยในการลุก – นั่งข้างเตียง เดินข้างเตียง
5.4.1.4 การออกกำลังกายโดยให้กล้ามเนื้อทำงานแต่ข้อไม่เคลื่อน (Isometric or Static exercise) เพื่อเพิ่มความตึงตัวและแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ป้องกันกล้ามเนื้อลีบ โดยให้ผู้ป่วยเกร็ง กล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อมีการหดรัดตัวชั่วระยะหนึ่ง ประมาณ 6 วินาทีแล้วจึงผ่อนคลาย โดยที่ส่วน ของร่างกายตำแหน่งที่กล้ามเนื้อหดรัดตัวไม่เคลื่อน
5.4.1.5 การออกกำลังกายให้ผู้ป่วยออกแรงต้านกับแรงอื่น (Resistive exercise) เป็น การใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ให้ผู้ป่วยออกแรงต้าน วิธีนี้ช่วยให้กล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้น มีความแข็งแรง และทำงานได้ดี จึงเป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อให้แข็งแรงเร็วขึ้น ในผู้ป่วยที่ต้องพักรักษาตัวอยู่บนเตียงนานๆ และมีภาวะกล้ามเนื้อลีบเกิดขึ้น
5.4.2 การเคลื่อนไหวร่างกาย
5.4.2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานของร่างกายให้เป็นไปตามปกติ
5.4.2.2 ป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย หรือมีความพิการของกระดูก และกล้ามเนื้อ
5.4.2.3 ลดการเมื่อยล้า หรือการใช้พลังงานมากเกินไป
5.4.3 ผลกระทบจากการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
5.4.3.1 ระบบผิวหนัง ผิวหนังเสียหน้าที่ทำให้เกิดแผลกดทับ (Bed sore or Pressure sore or Decubitus ulcer) พบในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่อ้วนมากหรือผอมมาก ผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับ ประสาท ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต ผู้ป่วยที่เป็นโรคระบบประสาทส่วนกลาง และผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว
1) เกิดแรงกดทับ (Pressure) ระหว่างปุ่มกระดูกกับที่นอนที่รองรับในการนอน ในท่าต่าง ๆ ทำให้เซลล์ขาดออกซิเจน
2) เซลล์ตายและลุกลามกลายเป็นแผล
3) การเสียดทาน (Friction) เมื่อผู้ป่วยถูกลากหรือเลื่อนตัว ทำให้ผิวหนังขูดกับที่นอน
4) แรงดึงรั้ง (Shearing force) เกิดจากแรงกดทับและการเสียดทานที่เกิดขึ้น พร้อมกัน
5.4.3.2 ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
2) การประสานงานของกล้ามเนื้อแขนขาลดลงหรือไม่สัมพันธ์กัน ทำให้ กล้ามเนื้อบางส่วนที่ช่วยในการเคลื่อนไหวร่างกายมีอาการอ่อนแรง ความทนต่อกิจกรรมลดลง
3) กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลีบเล็ก (Muscle atrophy) การที่ใยกล้ามเนื้อไม่มีการ หดหรือหดตัว ทำให้ขาดความตึงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง
1) กระดูกผุ เปราะบาง (Osteoporosis) พบบ่อยที่กระดูกขา ตัวกระดูกสัน หลัง และกระดูกเท้า เนื่องจากมีการสลายตัวมากกว่าการสร้างกระดูก ภาวะการลงน้ำหนักหรือแรงกดต่อ กระดูกที่กระตุ้นให้มีการสร้างกระดูกน้อยลงกว่าปกติทำให้เสี่ยงต่อการได้รับอันตราย
5.4.3.3 ระบบหัวใจและหลอดเลือด
1) หัวใจทางานมากขึ้น จากการอยู่ในท่านอนทำให้ปริมาณเลือดกลับเข้าสู่หัวใจมากกว่าปกติ ขณะที่อัตราการเต้นของหัวใจในท่านอนช้าลงจึงมีการทำงานของระบบประสาทซิมพาเธติกเพิ่มมากขึ้น ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นเพื่อรักษาสมดุลของปริมาณเลือดที่เข้าและออกจากหัวใจ
2) มีการคั่งของเลือดในหลอดเลือดดำที่ขา เนื่องจากการที่กล้ามเนื้อคลายตัว หรืออ่อนแรงทำให้เกิดเลือดคั่งในหลอดเลือดที่ขา หลอดเลือดจึงมีการขยายตัวและความดันในหลอดเลือดเพิ่มขึ้นทำให้เลือดซึมผ่านผนังหลอดเลือดออกสู่เนื้อเยื่อรอบๆ ทำให้ขาบวม
3) เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ (Thrombus) เนื่องจากมีการคั่งของหลอดเลือดดำและการสลายตัวของกระดูกทำให้แคลเซียมในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นมีการแข็งตัวของเลือดเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าเกิดจากการทำลายของผนังหลอดเลือดดำชั้นในซึ่งอาจเกิดจากแรงกด จากภายนอก เช่น ท่าทางที่ไม่ถูกต้องทำให้มีการอุดตันของหลอดเลือดอย่างสมบูรณ์หรือบางส่วน
4) ความดันต่ำขณะเปลี่ยนท่า (Orthostatic Hypotension) พบในการ เปลี่ยนท่าจากท่านอนเป็นท่านั่งหรือยืน จะมีอาการวิงเวียน เป็นลม หน้ามืด เนื่องจากระบบไหลเวียนที่ ตอบสนองการเปลี่ยนท่าเสื่อมลง หรือมีความผิดปกติของระบบประสาทซิมพาเธติก ทำให้ไม่มีการหดตัว ของหลอดเลือดในอวัยวะส่วนล่างของลำตัว
5.4.3.4 ระบบทางเดินหายใจ)
1) ปอดขยายตัวลดลง (Decrease lung expansion) เนื่องจากการนอนหงาย ทำให้แรงกดด้านหน้า ด้านล่างจากน้ำหนักของทรวงอกที่กดลงบนที่นอนและอวัยวะในช่องท้อง ทำให้ปอด มีพื้นที่ในการขยายตัวจำกัด
2) มีการคั่งของเสมหะมากขึ้น เนื่องจากการพัดโบกของ Cilia เพื่อพัดเสมหะ จากทางเดินอากาศส่วนล่างสู่ส่วนบนลดลง และในท่านอนราบเสหะจะไหลมาสู่ส่วนล่างของหลอดลม ทำให้ส่วนบนของหลอดลมแห้ง Cilia โบกพัดได้ลาบาก การขับเสมหะไม่มีประสิทธิภาพ เป็นสาเหตุให้ทางเดินหายใจไม่โล่งการแลกเปลี่ยนก๊าซบกพร่องเกิดภาวะปอดแฟบ(Atelectasis)
5.4.3.5 ระบบทางเดินอาหาร
1) มีผลต่อการรับประทานอาหารทำให้เบื่ออาหารอ่อนเพลียกังวลใจจาก การนอนเฉยๆ และโรคที่เป็นอยู่ความต้องการพลังงานลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดการขาดสารอาหาร
2) มีผลต่อการขับถ่าย ทำให้ท้องผูก (Constipation) เนื่องจากการบีบตัวของลำไส้ลดลงจากการหลั่ง Adrenaline ลดลง กล้ามเนื้อหน้าท้อง กระบังลม และกล้ามเนื้อฝีเย็บที่ช่วยใน การขับถ่ายอ่อนแรง ในขณะที่การหดรัดของหูรูดทวารหนักมากขึ้นและผู้ป่วยต้องนอนถ่ายอุจจาระทาให้ เบ่งถ่ายลำบากไม่สะดวก
5.4.3.6 ระบบทางเดินปัสสาวะ
1) การถ่ายปัสสาวะมากกว่าปกติในระยะแรกๆ (Diuresis) เนื่องจากการนอน นานๆ ทำให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจมากขึ้น Cardiac output เพิ่มขึ้น เลือดไปเลี้ยงไตมากขึ้น เป็นผลทำให้ยับยั้งการหลั่ง ADH เป็นสาเหตุให้แบบแผนการถ่ายปัสสาวะเปลี่ยนแปลง มีการสูญเสียโซเดียม(Natriuresis)
2) มีการคั่งของปัสสาวะในไตและกระเพาะปัสสาวะ (Urinary stasis) และ กระเพาะปัสสาวะสูญเสียหน้าที่ เนื่องจากการอยู่ในท่านอนนานๆ ทำให้สภาพของไตและกระเพาะ ปัสสาวะไม่เหมาะกับการระบายปัสสาวะออก นอกจากนี้ยังทำให้การบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะลดลง การขับถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้งไม่หมด มีน้ำปัสสาวะคั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะนาน ๆ เกิดปัสสาวะข้นและ ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะไม่ได้
3) เกิดนิ่วในไตและกระเพาะปัสสาวะ (Renal Calculi) เนื่องจากมีแคลเซียม ในเลือดสูงจากการสลายตัวของกระดูกร่วมกับการมีปัสสาวะคั่งและสภาพปัสสาวะที่เป็นด่าง ช่วยเพิ่มการตกตะกอนในปัสสาวะ หรือมีการจับตัวกันของสารประกอบบางชนิด โดยเฉพาะแคลเซียมเป็นผลึกและแปรเป็นก้อนนิ่ว เป็นสาเหตุให้การขับถ่ายปัสสาวะเปลี่ยนแปลงเกิดนิ่ว
5.4.3.7 ระบบเมตาบอลิซึมและการเผาผลาญอาหาร
1) การเผาผลาญอาหารลดลง เนื่องจากความต้องการใช้พลังงานน้อยจากการที่มีการเคลื่อนไหวน้อยหรือไม่มีการเคลื่อนไหว เป็นสาเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงของภาวะโภชนาการจาก การได้รับอาหารน้อยกว่าหรือมากกว่าที่ร่างกายต้องการ
2) มีระดับโปรตีนในกระแสเลือดลดต่ำลง (Hypoproteinemia) จากการนอน นานๆทำให้เบื่ออาหารรับประทานอาหารพวกโปรตีนน้อยลง ในขณะที่ร่างกายมีการทาลายโปรตีนมากกว่าการสร้างโปรตีนเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะน้ำเกิน บวม
3) มีความผิดปกติด้านอัตมโนทัศน์และภาพลักษณ์(Self concept and Body image) จากการมีรูปร่างหรือภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากพยาธิสภาพของโรคหรือแผนการ รักษา ต้องพึ่งพาบุคคลอื่นมากขึ้น เป็นสาเหตุให้มีอัตมโนทัศน์และภาพลักษณ์ต่อตนเองในเชิงลบจึงสนใจ สภาพร่างกายลดลง อารมณ์เปลี่ยนแปลงหงุดหงิดง่าย รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า
5.5 กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด
5.5.1 การประเมินสภาพผู้ป่วย
รวบรวมข้อมูลที่จาเป็นเพื่อนำไปสู่การวางแผนการพยาบาล เช่น การปรับตัวและความทนทานต่อความเครียด ความรู้สึกของผู้ป่วยเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ความยินยอมที่จะเข้ารับการผ่าตดั ความรู้เกี่ยวกับโรคและการผ่าตัด
5.5.2 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
5.5.2.1 วิตกกังวลเนื่องจากกลัวการผ่าตัด
5.5.2.2 วิตกกังวลเกี่ยวกับโรคและแผนการรักษา
5.5.3 การวางแผนการพยาบาล ให้การพยาบาล และประเมินผลหลังให้การพยาบาล
5.5.3.1 ประเมินระดับความวิตกกังวล
5.5.3.2 เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึก และค้นหาสาเหตุของความวิตกกังวล
5.5.3.3 ร่วมกันหาทางแก้ไขสาเหตุของความวิตกกังวลร่วมกับผู้ป่วยและญาติ
5.5.3.4 ดูแลความสุขสบายทั่วไป
5.5.3.5 จัดหมวดหมู่กิจกรรมการพยาบาลเพื่อลดการรบกวนผู้ป่วยและให้ผู้ป่วยได้พัก
5.5.3.6 รายงานแพทย์เมื่อพบอาการผิดปกติ