Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 ภาษาและวัฒนธรรม ธรรมชาติของภาษา - Coggle Diagram
บทที่ 1 ภาษาและวัฒนธรรม
ธรรมชาติของภาษา
1. ความหมายของภาษา
เสียงพูดหรือคำพูดหรือภาษาพูดเท่านั้น จะไม่รวมตัวอักษรหรือภาษาเขียน เนื่องจากนักภาษาศาสตร์เห็นว่าตัวอักษรเป็นเพียงตัวแทนของภาษาแต่มิใช่ภาษา
2. ประเภทของภาษา
อวัจนภาษา (non - verbal language) ภาษาที่ไม่ใช่ถ้อยคำ เกี่ยวข้องกับการแปลความกหมาย เช่น น้ำเสียง ภาษากาย การยิ้มแย้ม
วัจนภาษา (verbal language) คำพูดหรือตัวอักษรที่กำหนดใช้ร่วมกันในสังคม รวมทั้งเสียงและลายลักษณ์อักษรที่มุนษย์สร้างขึ้นอย่างมีระบบ
3.ความสัมพันธ์ระหว่างวัจนภาษา และอวัจนภาษา
ใช้อวัจนภาษาแทนคำพูดเช่น กวักมือ สั่นศีรษะ เป็นต้น
ใช้อวัจนภาษาขยายความ เพื่อให้รับรู้สารเข้าใจยิ่งขึ้น เช่น พูดว่า “อยู่ในห้อง”
พร้อมทั้งชี้มือไปที่ห้องๆ หนึ่ง แสดงว่าไม่ได้อยู่ห้องอื่น
ใช้อวัจนภาษาย้ำความให้หนักแน่น หมายถึง การใช่อวัจนภาษาประกอบวัจนภาษาในความหมายเดียวกัน เพื่อย้ำความหนักแน่น
ใช้อวัจนภาษาเน้นความ หมายถึง ทำให้ความหมายเด่นชัดขึ้น เช่น พาดหัวหนังสือพิมพ์ใช้ตัวอักษรตัวโตพิเศษ แสดงว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก
4. ลักษณะธรรมชาติของภาษา
ภาษาเป็นสิ่งสมมติ ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นแทนความหมายที่ตนต้องการสื่อสาร
ภาษาหมายถึงภาษาของมนุษย์ ซึ่งเป็นพฤติกรรมการสื่อสารแบบต้องเรียนรู้
ภาษาหมายถึงภาษาพูด เพราะภาษาพูดเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารทั่วไปมากที่สุด
ภาษามีโครงสร้างหรือองค์ประกอบ โครงสร้างของภาษาประกอบด้วยเสียงซึ่งมนุษย์เปล่งออกมาโดยใช้อวัยวะต่างๆ
ภาษามีระบบกฎเกณฑ์แน่นอนในตัวเอง ภ
ภาษามีจำนวนประโยคไม่รู้จบ
ภาษาเป็นพฤติกรรมของสังคม ภาษาเกิดจากการเรียนรู้ เลียนแบบ
ภาษาเป็นเครื่องแสดงความเจริญของสังคม
ภาษาเป็นสิ่งที่ได้ทางวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์นั้นคือ การสังเกตและรวบรวมข้อมูลโดยบันทึกเป็นสัทอักษร
5. มโนทัศน์เกี่ยวกับภาษา
ภาษามาตรฐาน
วิธภาษาที่ได้รับการยอมรับในสังคมว่า ถูกต้อง และเป็นตัวแทนของภาษาและวิธภาษาทั้งหลายในสังคมนั้นๆ
ภาษาย่อย
ภาษาใดก็ตามที่ต่างจากอีกภาษาด้วยปัจจัยทางสังคมของผู้พูด ภาษาเหล่านี้มีความคล้ายคลึงกันเป็นระบบมากจนไม่ใช่คนละภาษา
ภาษาถิ่น
เช่น ภาษาไทยที่พูดในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ของประเทศไทย เป็นภาษาเดียวกัน แต่มีความแตกต่างกัน ความแตกต่างนี้เป็นไปตามถิ่น
วิธภาษา
วิธภาษาที่แตกต่างกันโดยลักษณะทางสังคมของผู้พูด เช่น เพศ อายุ ถิ่นที่อยู่ ชั้นทางสังคม
วิธภาษาที่แตกต่างกันโดยสถานการณ์การใช้หรือหน้าที่ เช่น วิธภาษาข่าว
6. คุณสมบัติและ
หน้าที่ของภาษาในสังคมไทย
ความเป็นมาตรฐาน ได้รับการจัดระเบียบโดยการจัดทำพจนานุกรม และตำราไวยากรณ์
ความเป็นเอกเทศ การที่ภาษาใดภาษาหนึ่งมีความเป็นตัวของตัวเอง เช่น ภาษากระเหรี่ยง ภาษาขมุ ภาษาม้ง
ความมีประวัติอันยาวนาน ภาษาหนึ่งถูกใช้ในสังคมมาเป็นเวลานาน ผู้พูดภาษานั้นๆ สามารถสืบกลับไปหาบรรพบุรุษของตนในอดีตได้
ความมีชีวิต หมายถึงการที่ภาษาใดภาษาหนึ่งมีผู้รู้พูดภาษายังมีชีวิตอยู่ผู้พูด เช่น บาลี สันสกฤต
7. พลวัตรของภาษาในกระแสปัจจุบันบนพื้นที่ปฏิบัติการโรงเรียน
การเปลี่ยนแปลงของภาษาเดียวกันในช่วงเวลาที่ต่างกัน วิวัฒนาการของภาษาเดียวกันที่มีความต่อเนื่องจากสมัยหนึ่งมายังสมัยหนึ่ง
การเปลี่ยนแปลงของภาษาเดียวกันในช่วงเวลาเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงของภาษาในลักษณะนี้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่กำลังดำเนินอยู่