Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัด การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย -…
การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัด
การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การเตรียมผู้ป่วย หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่ม
ตระหนักว่ามีบางสิ่งผิดปกติและแพทย์วินิจฉัยว่าต้องผ่าตัดผู้ป่วยควรได้รับการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดให้พร้อมที่สุดทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
ด้านจิตใจ
ผู้ป่วยและครอบครัวส่วนใหญ่จะมีความวิตกกังวลเมื่อรู้ว่าตนเอง
หรือบุคคลในครอบครัวต้องผ่าตัด ดังนั้น ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดควรได้รับการเตรียมทางจิตใจทุกคนโดยการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ประเมินความวิตกกังวลก่อนผ่าตัด
การให้คำแนะนำการปฏิบัติหลังผ่าตัดรวมทั้งการฝึกทักษะการปฏิบัติตัวใน
ระยะหลังผ่าตัด เพื่อทำให้การพักฟื้นหลังผ่าตัดเร็วขึ้นและช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดที่อาจเกิดขึ้นได้ การให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด
ด้านร่างกาย
ภาวะสมดุลทางด้านร่างกายก่อนผ่าตัดมีความสาคัญเท่าๆกับ
ความสมดุลทางด้านจิตใจ เพื่อป้องกันหรือลดความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
การเตรียมผู้ป่วยก่อนวันที่ผ่าตัด
การขับถ่ายถ้าเป็นการผ่าตัดเล็กหรือการผ่าตัดที่ไม่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในช่องท้องให้รับประทานยาระบายก่อนวันผ่าตัด
แต่ถ้าเป็นการผ่าตัดใหญ่หรือผ่าตัดเปิดสู่ช่องท้องแพทย์จะให้มีการสวนอุจจาระก่อนผ่าตัดสำหรับกระเพาะปัสสาวะควรว่างเมื่อจะเข้าห้องผ่าตัดโดยให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะก่อนผ่าตัดหรือคาสายสวนปัสสาวะไว้ตาแผนการรักษา
การเตรียมผิวหนังก่อนผ่าตัด เนื่องจากผิวหนังเป็นแหล่งที่มีเชื้อจุลินทรีย์อาศัยอยู่มากดังนั้นต้องมีการเตรียมความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะผ่าตัดกำจัดขนและสิ่งสกปรกต่างๆถ้าผิวหนังบริเวณที่จะผ่าตัดมีเม็ดผื่นหรือมีการติดเชื้อเกิดขึ้นแพทย์อาจต้องเลื่อนการผ่าตัดออกไปจนกระทั่งการติดเชื้อนั้นหายไป
อาหารและน้ำดื่มควรงดอาหารผู้ป่วยก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 8 ชั่วโมงถ้าผู้ป่วยได้รับอาหารหรือน้ำเข้าไปในระยะเวลาที่ห้ามนี้ต้องรีบรายงานให้แพทย์ทราบทันที
การดูแลสภาพร่างกายทั่วไป
ในคืนก่อนวันผ่าตัด
ของมีค่าต่างๆถอดเก็บไว้ให้ญาติดูแลรักษา
สื่อไฟฟ้าต่างๆให้ถอดออก
ให้ผู้ป่วยทำความสะอาดปาก ฟัน
ในเช้าวันที่จะผ่าตัด
ให้ผู้ป่วยทำความสะอาดร่างกายเปลี่ยนชุดสำหรับใส่เพื่อผ่าตัด
สังเกตภาวะทางอารมณ์ของผู้ป่วย
สังเกตสภาพร่างกายทั่วไป วัดและบันทึกสัญญาณชีพ
การให้ยาแก่ผู้ป่วยก่อนผ่าตัด45-90 นาที เพื่อลดรีเฟล็กซ์ที่ไวต่อการกระตุ้น
เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆที่พิเศษ เช่นสายใส่จมูกถึงกระเพาะอาหาร
แผ่นบันทึกรายงานต่างๆ ต้องบันทึกให้ครบ
การส่งผู้ป่วยไปห้องผ่าตัด
การดูแลครอบครัวผู้ป่วย
การเตรียมผ่าตัดผู้ป่วยฉุกเฉิน
การประเมินผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การตรวจร่างกาย เป็นการประเมินผู้ป่วยเพิ่มเติมจากการซักประวัติเพื่อช่วย
บอกถึงโรคหรือความผิดปกติที่อาจไม่ได้ข้อมูลจากการซักประวัติ
การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
การตรวจประเมินทางระบบหายใจ
สัญญาณชีพ
การตรวจร่างกายตามระบบโดยเน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคหรือบริเวณที่
จะทำการผ่าตัด
การซักประวัติ โดยการสอบถามข้อมูลจากผู้ป่วยและญาติรวมถึงการทบทวนแฟ้มประวัติของผู้ป่วย ใบส่งตัว หรือใบบันทึกต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สำคัญซึ่งอาจมีผลต่อการผ่าตัด
ประวัติการแพ้ยาหรืออาหาร
การใช้ยา สารเสพติด การสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
ประวัติการผ่าตัด
ประวัติเกี่ยวกับโรคของระบบต่างๆของร่างกาย
ประวัติโรคประจำตัว
การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากการซักประวัติ
และตรวจร่างกายสามารถใช้เป็น Screening tests นอกจากนี้จะช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคบอกถึงความรุนแรงของโรค
การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
การประเมินสภาพผู้ป่วย
แบบแผนการขับถ่าย
แบบแผนการรับรู้และการดูแลสุขภาพ
แบบแผนอาหารและการเผาผลาญ
แบบแผนการปรับตัวและการเผชิญกับความเครียด
แบบแผนกิจกรรมและการออกกาลังกาย
กิจกรรมการพยาบาลหลังผ่าตัด
การพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ป่วย
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการทางานของระบบหัวใจและไหลเวียน
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสุขสบายและความปลอดภัยของผู้ป่วย
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการหายใจให้โล่ง
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการหายของแผล
การให้คาแนะนาก่อนกลับบ้านสาหรับผู้ปุวยหลังผ่าตัด
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดิน
การออกกำลังกายเพื่อเตรียมผู้ป่วยเดินการออกกำลังกายให้ผู้ป่วยนั้นเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยให้กล้ามเนื้อมีความตึงตัว แข็งแรงและข้อเคลื่อนที่ได้ตามปกติ
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดิน
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินโดยพยาบาล 1 คน
กรณีใช้เข็มขัดหรือผ้าคาดเอวพยาบาลยืนเยื้องด้านหลังผู้ป่วยใช้มือ 2 ข้างยืดเข็มขัดหรือผ้าคาดเอวเพื่อพยุงผู้ป่วยขณะผู้ป่วยเดิน
กรณีไม่ใช้เข็มขัด ให้ใช้มือด้านใกล้ตัวจับที่ต้นแขนของผู้ป่วยมือไกลตัว
จับที่ปลายแขนของผู้ป่วยถ้าผู้ป่วยเป็นลมให้สอดแขนเข้าใต้รักแร้รับน้ำหนักตัวผู้ป่วยและแยกเท้ากว้างดึงตัวผู้ป่วยขึ้นมาข้างตัวพยาบาลโดยใช้ สะโพกรับน้าหนักตัวผู้ป่วยและค่อยๆวางตัวผู้ป่วยลงบนพื้น
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินโดยพยาบาล 2 คนให้พยาบาลยืนข้างผู้ป่วยคนละด้านมือพยาบาลข้างใกล้ตัวผู้ป่วยสอดใต้รักแร้ผู้ป่วยอีกข้างหนึ่งจับปลายแขนหรือมือผู้ปุวยข้างเดิมผู้ป่วยและพยาบาลทั้ง 2 คนเดินพร้อมกัน
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดิน พยาบาลต้องทราบชนิดของอุปกรณ์ช่วยเดิน ประโยชน์ การเตรียมผู้ป่วยก่อนการฝึกใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน การลงน้ำหนักที่ขาเวลาเดิน รูปแบบการเดิน และวิธีการฝึกผู้ป่วยใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
การช่วยเหลือผู้ป่วยเคลื่อนไหวบนเตียง
การประเมินผู้ป่วยพยาบาลจะให้การช่วยเหลือผู้ป่วยนั้นควรทราบข้อมูลต่างๆของผู้ป่วย
ปฏิบัติการพยาบาลในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยบนเตียง
การเตรียมตัวพยาบาล พยาบาลควรยืนในท่าที่ถูกต้องพยุงผู้ป่วยด้วยความ
นุ่มนวลและมั่นคง
การจัดท่าผู้ป่วยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความสุขสบายขณะนอนพัก
บนเตียงหรือเตรียมทำหัตถการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากท่านอนที่ไม่ถูกต้อง
การเตรียมผู้ป่วยให้เอาหมอนหนุนศีรษะของผู้ป่วยออกวางหมอนไว้ที่พนัก
หัวเตียงปรับระดับเตียงให้อยู่ในแนวราบพร้อมทั้งดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วย
การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวร่างกาย
การเคลื่อนไหวร่างกาย
ป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายหรือมีความพิการของกระดูกและกล้ามเนื้อ
ลดการเมื่อยล้หรือการใช้พลังงานมากเกินไป
ส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานของร่างกายให้เป็นไปตามปกติ
ผลกระทบจากการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
ระบบหัวใจและหลอดเลือด มีการคั่งของเลือดในหลอดเลือดดำที่ขา หัวใจทำงานมากขึ้นเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
ความดันต่ำขณะเปลี่ยนท่า
อาการปวดหลังเกิดการท่านอนที่ไม่ถูกต้อง ศีรษะนอนหนุน
หมอนสูงเกินไป ที่นอนนิ่มเกินไป แข็งเกินไป ทาให้ไม่สุขสบาย ปวดหลัง
ระบบทางเดินหายใจ ปอดขยายตัวลดลงมีการคั่งของเสมหะมากขึ้น
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ กระดูกผุเปราะบางกล้ามเนื้ออ่อนแรงลีบเล็กการประสานงานของกล้ามเนื้อแขนขาลดลงหรือไม่สัมพันธ์กัน
ระบบทางเดินอาหารบื่ออาหาร อ่อนเพลีย กังวลใจจาก
การนอนเฉยๆมีผลต่อการขับถ่าย ทำให้ท้องผูก
ระบบผิวหนัง ผิวหนังเสียหน้าที่ทำให้เกิดแผลกดทับ
ระบบทางเดินปัสสาวะมีการคั่งของปัสสาวะในไตและกระเพาะปัสสาวะ
ระบบเมตาบอลิซึมและการเผาผลาญอาหารการเผาผลาญอาหารลดลงมีความผิดปกติด้านอัตมโนทัศน์และภาพลักษณ์
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายชนิดที่ให้ผู้ป่วยทำร่วมกับความช่วยเหลือของผู้อื่น (Active assistive exercise)
วิธีนี้ให้ผลดีกว่าวิธีที่ให้ผู้อื่นทำให้ผู้ป่วยเพราะเป็นการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมีการทำงานร่วมด้วย
การออกกำลังกายโดยให้กล้ามเนื้อทางานแต่ข้อไม่เคลื่อน (Isometric or
Static exercise)
เพื่อเพิ่มความตึงตัวและแข็งแรงของกล้ามเนื้อป้องกันกล้ามเนื้อลีบ
การออกกำลังกายโดยให้ผู้อื่นทำให้ผู้ป่วย(Passive exercise)
เป็นการออกกำลังกายโดยการเคลื่อนไหวข้อต่างๆให้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายด้วยตนเองได้หรือมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว
การออกกำลังกายให้ผู้ป่วยออกแรงต้านกับแรงอื่น (Resistive exercise) เป็นการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ให้ผู้ป่วยออกแรงต้านวิธีนี้ช่วยให้กล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้น มีความแข็งแรงและทางานได้ดีจึงเป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อให้แข็งแรงเร็วขึ้นในผู้ป่วยที่ต้องพักรักษาตัวอยู่บนเตียงนานๆ
และมีภาวะกล้ามเนื้อลีบเกิดขึ้น
การออกกำลังกายชนิดให้ผู้ป่วยทำเอง(Active or Isotonic Exercise)
ผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายด้วยตนเองร่างกายมีการเคลื่อนไหวและกล้ามเนื้อหดรัดตัวทำให้กล้ามเนื้อมีความตึงตัวและแข็งแรง
กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล จะสอดคล้องก็บข้อมูลสนับสนุนที่รวบรวมได้จากการประเมินสภาพผู้ป่วย
การวางแผนการพยาบาลให้การพยาบาลและประเมินผลหลังให้การพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่มีอันตรายและภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการผ่าตัดพยาบาลจะต้องตระหนักถึงปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยและเตรียมผู้ป่วยให้พร้อม
การประเมินสภาพผู้ป่วย รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นเพื่อนำไปสู่การวางแผนการพยาบาล