Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัด - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัด
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การประเมินผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การซักประวัติ
ประวัติโรคประจำตัว
ประวัติการผ่าตัด และการได้รับยาระงับความรู้สึกก่อนหน้านี้
การใช้ยาสารเสพติด การสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
ประวัติของคนในครอบครัวหรือญาติที่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้รับยาระงับ ความรู้สึก
ประวัติเกี่ยวกับโรคของระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น โรคความดันโลหิตสูงโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคลมชัก
การตรวจร่างกาย
สัญญาณชีพ
การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
การตรวจประเมินทางระบบหายใจ
การตรวจร่างกายตามระบบ โดยเน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคหรือบริเวณที่จะทำการผ่าตัด
การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ECG หัวใจ ปอด
CBC ภาวะซีด
x-rey
BS เฉพาะคนไข้เบาหวาน
การเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
ด้านร่างกาย
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ระบบทางเดินหายใจ ต้องประเมินสภาวะของปอดและหลอดลม
ระบบทางเดินปัสสาวะ ต้องประเมินสภาวะของไต
ประเมินความสมบูรณ์ของร่างกายในการได้รับอาหารที่พอเหมาะ
ภาวะสารน้ำและอีเล็คโทรลัยต์ในร่างกาย
การพักผ่อนและการออกกำลังกาย
ด้านจิตใจ
การให้คำแนะนำการปฏิบัติหลังผ่าตัด
Early ambulation คือการลุกออกจากเตียงควรมีการเตรียมพร้อมกล้ามเนื้อขา เพื่อช่วยในการลุกเดิน
Quadriceps Setting Exercise (QSE)
Straight Leg Raising Exercise (SLRE)
Straight Leg Raising Exercise (SLRE)
Range of Motion (ROM)
Deep-breathing exercises
Effective cough
Abdominal breathing
Turning and ambulation
Extremity exercise
การเตรียมผู้ป่วยก่อนวันที่ผ่าตัด
อาหารและน้ำดื่ม ควรงดอาหารผู้ป่วยก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
การขับถ่ายถ้าเป็นการผ่าตัดเล็ก หรือการผ่าตัดที่ไม่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในช่อง ท้อง แพทย์อาจให้สวนอุจจาระหรือไม่ก็ได้ หรือให้รับประทานยาระบายก่อนวันผ่าตัด แต่ถ้าเป็นการผ่าตัด ใหญ่หรือผ่าตัดเปิดสู่ช่องท้องแพทย์จะให้มีการสวนอุจจาระก่อนผ่าตัด
การเตรียมผิวหนังก่อนผ่าตัด
การดูแลสภาพร่างกายทั่วไป
ในคืนก่อนวันผ่าตัด
ให้ผู้ป่วยทำความสะอาดปาก
ของปลอม ของมีค่าต่างๆ ถอดเก็บไว้ให้ญาติดูแลรักษา
สื่อไฟฟ้าต่างๆ เช่น กิ๊บที่ท าด้วยโลหะ ที่คาดผมที่ทำด้วยโลหะ เป็นต้น ให้ถอดออก
ไม่ให้ผู้ป่วยแต่งหน้า ทาปาก ทาเล็บ
ในเช้าวันที่จะผ่าตัด
ให้ผู้ป่วยทำความสะอาดร่างกาย เปลี่ยนชุดสำหรับใส่เพื่อผ่าตัด
สังเกตภาวะทางอารมณ์ของผู้ป่วย
สังเกตสภาพร่างกายทั่วไป
การให้ยาแก่ผู้ป่วยก่อนผ่าตัดแพทย์มักจะให้ยาในคืนวันก่อนผ่าตัดเพื่อช่วยให้ ผู้ป่วยคลายความวิตกกังวลและนอนหลับพักผ่อนได้ดี
เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่พิเศษ
แผ่นบันทึกรายงานต่างๆต้องบันทึกให้ครบและรวบรวมให้เรียบร้อย เพื่อส่งเข้าห้องผ่าตัด
การส่งผู้ป่วยไปห้องผ่าตัด
การดูแลครอบครัวผู้ป่วย
การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
การประเมินสภาพผู้ป่วย
แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
ประวัติโรคหัวใจ
การเปลี่ยนแปลงสัญญาณชีพ
แบบแผนอาหารและการเผาผลาญ
แบบแผนการขับถ่าย
ประวัติการเสียเลือด
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงในแบบแผนการขับถ่ายปัจจุบัน
การท างานของไต
4 แบบแผนการรับรู้และการดูแลสุขภาพ
แบบแผนการปรับตัวและการเผชิญกับความเครียด
กิจกรรมการพยาบาลหลังผ่าตัด
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการหายใจให้โล่ง และคงไว้ซึ่งการทำงานระบบหายใจ ภายหลังการผ่าตัดระยะแรก
การจัดท่านอน ให้นอนราบไม่หนุนหมอน ตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง ป้องกันลิ้นตก ยกเว้นในรายที่ได้รับยาชาเข้าทางไขสันหลังให้นอนราบอย่างน้อย 6-12 ชั่วโมง
สังเกตการหายใจของผู้ป่วย
กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆ
เปลี่ยนท่านอนหรือพลิกตะแคงตัวบ่อยๆ
กระตุ้นให้ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองเพื่อเพิ่มกิจกรรมการเคลื่อนไหว ขณะอยู่บนเตียงและลดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนท่าเดียวนานๆ
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการทำงานของระบบหัวใจและไหลเวียน
ตรวจวัดสัญญาณชีพทึก 15 นาที 4 ครั้ง ทุก 30 นาที 4 ครั้งและทุก 1 ชั่วโมงจนสัญญาณชีพสม่ำเสมอ
การพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัดโดยพยาบาลประเมิน ความเจ็บปวดของผู้ป่วยโดยใช้ Pain scale
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ป่วย
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสุขสบายและความปลอดภัยของผู้ป่วย
การให้คำแนะนำก่อนกลับบ้านสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัด
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย
การช่วยเหลือผู้ป่วยเคลื่อนไหวบนเตียง
การประเมินผู้ป่วย
ความสามารถของผู้ป่วยในการช่วยเหลือตนเอง
ท่าที่เหมาะสม และระยะเวลาที่ผู้ป่วยจะคงอยู่ในท่าที่เปลี่ยนให้ใหม่
ความยากลำบากและไม่สุขสบายในขณะเปลี่ยนท่าหรือเมื่ออยู่ในท่าที่จัดให้
ปฏิบัติการพยาบาลในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยบนเตียง
การเตรียมผู้ป่วยให้เอาหมอนหนุนศีรษะของผู้ป่วยออก วางหมอนไว้ที่พนักหัวเตียงปรับระดับเตียงให้อยู่ในแนวราบพร้อมทั้งดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วย
การเตรียมตัวพยาบาล พยาบาลควรยืนในท่าที่ถูกต้อง พยุงผู้ป่วยด้วยความ นุ่มนวลและมั่นคง ขณะยกตัวหรือเลื่อนตัวผู้ป่วยให้ใช้วิธีสอดมือเข้าใต้ตำแหน่งร่างกายส่วนที่จะยก
การจัดท่าผู้ป่วย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความสุขสบายขณะนอนพัก บนเตียงหรือเตรียมทำหัตถการ
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
หลักการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
ควรจัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายราบอยู่ในท่าที่สบาย
หันหน้าเข้าหาผู้ป่วยและไปในทิศทางที่จะเคลื่อนย้าย
ควรยืนในท่าที่ถูกต้องและมั่นคง
ยืนแยกเท้าทั้งข้างห่างกันพอสมควร
หลังตรง ป้องกันการปวดหลัง
ย่อเข่าและสะโพก
หาวิธีที่เหมาะสมเพื่อผ่อนแรงในการยกหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
ผู้ป่วยควรอยู่ใกล้พยาบาลมากที่สุด
ยกตัวผู้ป่วยให้พ้นจากที่นอนเล็กน้อยเพื่อลดแรงเสียดทาน
ใช้ผ้าขวางเตียงช่วยในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแทนการเลื่อนผู้ป่วย
ให้สัญญาณเพื่อความพร้อมเพรียง
ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ควรหาผู้ช่วยเหลือตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปและให้สัญญาณขณะยกหรือใช้อุปกรณ์ที่ช่วยผ่อนแรงมาใช้เมื่อจำเป็น
การประเมินผู้ป่วยก่อนการเคลื่อนย้าย
ความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง
ท่าที่เป็นข้อห้ามของผู้ป่วย
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดิน
การออกกำลังกายเพื่อเตรียมผู้ป่วยเดิน
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดิน
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดิน
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการหัดเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดิน พยาบาลต้องทราบชนิดของ อุปกรณ์ช่วยเดิน (Gait aids)
ชนิดของอุปกรณ์ช่วยเดิน
Parallel bar คือ ราวคู่ขนานราวเดิน
Walker
Cane มักใช้กับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
Crutches ไม้ยันรักแร้ , ไม้ค้ำยัน
การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวร่างกาย
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายชนิดให้ผู้ป่วยทำเอง
เช่น การทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง การให้ผู้ป่วยยกแขน ขา ขณะนอนอยู่บนเตียง การให้ผู้ป่วยลุกเดินข้างเตียง
การออกกำลังกายโดยให้ผู้อื่นทำให้ผู้ป่วย
เช่น พยาบาลหรือญาติช่วยผู้ปุวยในการยกแขน ขา ในผู้ป่วยรายที่เป็น อัมพาตหรือไม่รู้สึกตัว
การออกกำลังกายชนิดที่ให้ผู้ป่วยทำร่วมกับความช่วยเหลือของผู้อื่น
เช่น การพยุงหรือช่วยเหลือผู้ป่วยในการลุก นั่งข้างเตียงเดินข้างเตียง หรือช่วยผู้ป่วยออกกำลังกายขา
การออกกำลังกายโดยให้กล้ามเนื้อทำงานแต่ข้อไม่เคลื่อน
การออกกำลังกายให้ผู้ป่วยออกแรงต้านกับแรงอื่น
ผลกระทบจากการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
ระบบผิวหนัง ผิวหนังเสียหน้าที่ทำให้เกิดแผลกดทับ
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่นกระดูกผุเปราะบาง, การประสานงานของกล้ามเนื้อแขนขาลดลงหรือไม่สัมพันธ์กัน, กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลีบเล็ก
ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่นหัวใจทำงานมากขึ้น , มีการคั่งของเลือดในหลอดเลือดดำที่ขา ,เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ, ความดันต่ำขณะเปลี่ยนท่า
ระบบทางเดินหายใจ เช่น ปอดขยายตัวลดลง เนื่องจากการนอนหงาย ทำให้แรงกดด้านหน้า ,มีการคั่งของเสมหะมากขึ้นเนื่องจากการพัดโบกของ Cilia เพื่อพัดเสมหะจากทางเดินอากาศส่วนล่างสู่ส่วนบนลดลง
ระบบทางเดินอาหาร เช่น มีผลต่อการรับประทานอาหาร ทำให้เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย , มีผลต่อการขับถ่ายทำให้ท้องผูก
ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นการถ่ายปัสสาวะมากกว่าปกติในระยะแรกๆ , มีการคั่งของปัสสาวะในไตและกระเพาะปัสสาวะ
ระบบเมตาบอลิซึมและการเผาผลาญอาหาร เช่น การเผาผลาญอาหารลดลง, มีระดับโปรตีนในกระแสเลือดลดต่ำลง, มีความผิดปกติด้านอัตมโนทัศน์และภาพลักษณ์
กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด
การประเมินสภาพผู้ป่วย
รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นเพื่อนำไปสู่การวางแผนการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
จะสอดคล้องกับข้อมูลสนับสนุนที่รวบรวมได้จากการ ประเมินสภาพผู้ป่วย
การวางแผนการพยาบาล ให้การพยาบาล และประเมินผลหลังให้การพยาบาล
เพื่อให้ผู้ป่วยมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่มีอันตรายและภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการผ่าตัด