Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัดการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย -…
การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัดการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การประเมินผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การซักประวัติ
สอบถามข้อมูลจากผู้ป่วยและญาติ รวมถึงการทบทวนแฟ้มประวัติของผู้ป่วย ใบส่งตัว หรือใบบันทึกต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สำคัญซึ่งอาจมีผลต่อการผ่าตัด
การตรวจร่างกาย
เป็นการประเมินผู้ปุวยเพิ่มเติมจากการซักประวัติ เพื่อช่วยบอกถึงโรคหรือความผิดปกติที่อาจไม่ได้ข้อมูลจากการซักประวัติ และเป็นแนวทางในการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือการส่งตรวจอื่นๆ เพิ่มเติมต่อไป
การส่งตรวจทางห้องปฏบัติการ
เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากการซักประวัติ และตรวจร่างกาย สามารถใช้เป็น Screening testsนอกจากนี้จะช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรค บอกถึงความรุนแรงของโรค อย่างไรก็ตามการส่งตรวจเพิ่มเติมควรพิจารณาอย่างเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
การเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การเตรียมผู้ป่วย
ด้านร่างกาย
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ระบบทางเดินหายใจ
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ประเมินความสมบูรณ์ของร่างกายในการได้รับอาหารที่พอเหมาะ
ภาวะสารน้ าและอีเล็คโทรลัยต์ในร่างกาย
การพักผ่อนและการออกกำลังกาย
ให้คำแนะนำและข้อมูลต่างๆ ที่ผู้ป่วยควรทราบเพื่อลดความวิตกกังวล
ด้านจิตใจ
ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดควรได้รับการเตรียมทางจิตใจทุกคนโดยการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดประเมินความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดทั้งนี้เพื่อช่วยลดความวิตกกังวลความกลัวต่างๆพยาบาลควรให้ผู้ป่วยได้รับข้อมูลจริงทำความเข้าใจและแก้ไขเกี่ยวกับความเชื่อผิดๆซึ่งมีประโยชน์มากขณะเดียวกันเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้แสดงความรู้สึกที่กังวลออกมา
การให้คำแนะนำการปฏิบัติหลังผ่าตัด
Early ambulation
Quadriceps Setting Exercise (QSE)
Straight Leg Raising Exercise (SLRE)
Range of Motion (ROM)
Deep-breathing exercises
Effective cough
Abdominal breathing
Turning and ambulation
Extremity exercise
Pain management
การเตรียมผู้ป่วยก่อนวันที่ผ่าตัด
อาหารและน้ำ ดื่มควรงดอาหารผู้ป่วยก่อนผ่าตัดอย่างน้อย8 ชั่วโมงสำหรับอาหารเหลวใสให้ได้6 ชั่วโมงก่อนผ่าตัดถ้าผู้ป่วยปากแห้งให้ผู้ป่วยบ้วนปากบ่อยๆถ้าผู้ป่วยได้รับอาหารหรือน้ำเข้าไปในระยะเวลาที่ห้ามนี้ต้องรีบรายงานให้แพทย์ทราบทันที
การขับถ่าย ถ้าเป็นการผ่าตัดเล็กหรือการผ่าตัดที่ไม่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในช่องท้องแพทย์อาจให้สวนอุจจาระหรือไม่ก็ได้หรือให้รับประทานยาระบายก่อนวันผ่าตัดแต่ถ้าเป็นการผ่าตัดใหญ่หรือผ่าตัดเปิดสู่ช่องท้องแพทย์จะให้มีการสวนอุจจาระก่อนผ่าตัด
การเตรียมผิวหนัง ก่อนผ่าตัด การเตรียมความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะผ่าตัดเพื่อเป็นการลดจำนวนจุลินทรีย์การเตรียมบริเวณที่จะผ่าตัดต้องเตรียมให้กว้างกว่าบริเวณที่จะผ่าตัดจริงกำจัดขนและสิ่งสกปรกต่างๆ
การดูแลสภาพร่างกายทั่วไป
ในคืนก่อนวันผ่าตัด
ให้ผู้ป่วยทำความสะอาดปากฟันถ้ามีฟันปลอมให้ถอดฟันปลอมออกเพราะขณะที่ดมยากล้ามเนื้อคลายตัวฟันปลอมอาจหลุดและตกลงไปในหลอดลมได้
ของปลอมของมีค่าต่างๆถอดเก็บไว้ให้ญาติดูแลรักษา
สื่อไฟฟ้าต่างๆ เช่น กิ๊บที่ทำด้วยโลหะที่คาดผมที่ทำด้วยโลหะเป็นต้นให้ถอดออกเนื่องจากสื่อไฟฟูาต่างๆจะทำให้เกิดไฟฟูาสปาร์คขึ้นขณะทำการผ่าตัด
ไม่ให้ผู้ป่วยแต่งหน้าทาปากทาเล็บเพราะบริเวณเหล่านี้จะเป็นที่สังเกตอาการเขียวคล้ำ ซึ่งเป็นอาการแสดงแรกเริ่มของการขาดออกซิเจน
ในเช้าวันที่จะผ่าตัด
ให้ผู้ป่วยทำความสะอาดร่างกายเปลี่ยนชุดสำหรับใส่เพื่อผ่าตัดและหวีผมเก็บผมให้เรียบร้อยแล้วนอนพักอยู่บนเตียงตลอดเวลาจนกว่าจะไปห้องผ่าตัด
สังเกตภาวะทางอารมณ์ของผู้ป่วยความกลัวการผ่าตัด เช่น กระวนกระวายนอนไม่หลับเป็นต้น
สังเกตสภาพร่างกายทั่วไปวัดและบันทึกสัญญาณชีพ
การให้ยาแก่ผู้ป่วยก่อนผ่าตัด แพทย์มักจะให้ยาในคืนวันก่อนผ่าตัดเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยคลายความวิตกกังวลและนอนหลับพักผ่อนได้ดีและก่อนผ่าตัดประมาณ45-90 นาทีเพื่อลดรีเฟล็กซ์ที่ไวต่อการกระตุ้นซึ่งเกิดได้จากความเจ็บปวดความกลัว
เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆที่พิเศษ เช่น สายใส่จมูกถึงกระเพาะอาหารชุดให้สารน้ำทางหลอดเลือดด าเครื่องมือผ่าหลอดเลือดเครื่องดูดเสมหะเครื่องดูดของเหลวจากกระเพาะอาหารเป็นต้นพยาบาลต้องเตรียมให้พร้อมเพื่อที่จะใช้หรือนำไปห้องผ่าตัด
แผ่นบันทึกรายงานต่างๆต้องบันทึกให้ครบและรวบรวมให้เรียบร้อยเพื่อส่งเข้าห้องผ่าตัดอธิบายและให้ผู้ป่วยเซ็นใบยินยอมให้แพทย์ทำการผ่าตัด
การส่งผู้ป่วยไปห้องผ่าตัดให้ผู้ป่วยนอนบนรถนอน(Stretcher) ห่มผ้าให้เรียบร้อยยกไม้กั้นเตียงขึ้นเจ้าหน้าที่ที่เข็นรถนอนต้องเข็นรถด้วยความนุ่มนวลระมัดระวังอย่าเข็นเร็วเกินไปควรมีพยาบาลตามไปส่งที่ห้องผ่าตัดด้วย
การดูแลครอบครัวผู้ป่วยพยาบาลต้องแจ้งให้ครอบครัวทราบถึงเวลาที่ผู้ป่วยจะเข้าห้องผ่าตัดควรให้ญาติมาดูแลให้กำลังผู้ป่วยคอยรับผู้ป่วยเมื่อออกจากห้องผ่าตัด
การพยาบาลผู้ปวยหลังผ่าตัด
กิจกรรมการพยาบาลหลังผ่าตัด
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการหายใจให้โล่ง และคงไว้ซึ่งการทำงานระบบหายใจ ภายหลังการผ่าตัดระยะแรก
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการทำงานของระบบหัวใจและไหลเวียน ปัญหาด้านระบบไหลเวียนที่พบบ่อยหลังผ่าตัด ได้แก่ การเกิดความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตต่ำ และภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ
การพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด โดยพยาบาลประเมินความเจ็บปวดของผู้ปุวยโดยใช้ Pain scaleดูและให้ได้รับยาแก้ปวดตามแผนการรักษา ดูแลจัดท่าที่เหมาะสมเพื่อลดการดึงรั้งของแผลผ่าตัด
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ปุวย เพื่อลดอาการท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และส่งเสริมภาวะโภชนาการที่ดีหลังผ่าตัด
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสุขสบายและความปลอดภัยของผู้ป่วย
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการหายของแผล
การให้คำแนะนำก่อนกลับบ้านสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัด
การประเมินสภาพผู้ป่วย
แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
แบบแผนอาหารและการเผาผลาญ การประเมินที่สำคัญ ได้แก่ ประวัติการได้รับและสูญเสียสารน้ำและเกลือแร่
แบบแผนการขับถ่าย
แบบแผนการรับรู้และการดูแลสุขภาพ
แบบแผนการปรับตัวและการเผชิญกับความเครียด ประเมินการรับรู้ และวิธีการเปลี่ยนแปลงความเครียด
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย
การช่วยเหลือผู้ป่วยเคลื่อนไหวบนเตียง
การประเมินผู้ป่วย พยาบาลจะให้การช่วยเหลือผู้ป่วยนั้นควรทราบข้อมูลต่างๆ ของผู้ป่วย
ความสามารถของผู้ป่วยในการช่วยเหลือตนเอง
ท่าที่เหมาะสมและระยะเวลาที่ผู้ป่วยจะคงอยู่ในท่าที่เปลี่ยนให้ใหม่
ปฏิบัติการพยาบาลในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยบนเตียง
การเตรียมผู้ป่วยให้เอาหมอนหนุนศีรษะของผู้ป่วยออก วางหมอนไว้ที่พนักหัวเตียงปรับระดับเตียงให้อยู่ในแนวราบพร้อมทั้งดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วย
การเตรียมตัวพยาบาลพยาบาลควรยืนในท่าที่ถูกต้องพยุงผู้ป่วยด้วยความนุ่มนวลและมั่นคง
การจัดท่าผู้ป่วย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความสุขสบายขณะนอนพักบนเตียงหรือเตรียมทำหัตถการ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากท่านอนที่ไม่ถูกต้อง
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
หลักการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
ควรจัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายราบอยู่ในท่าที่สบาย
หันหน้าเข้าหาผู้ป่วยและไปในทิศทางที่จะเคลื่อนย้าย
หาวิธีที่เหมาะสมเพื่อผ่อนแรงในการยกหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
การประเมินผู้ป่วยก่อนการเคลื่อนย้าย
ความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง
ท่าที่เป็นข้อห้ามของผู้ป่วย
ส่วนที่อ่อนแรงหรือพิการ
ผู้ป่วยอ่อนเพลียมากน้อยแค่ไหน
ความต้องการการเคลื่อนย้ายเปลี่ยนท่าและความสุขสบายของผู้ป่วย
วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
แจ้งให้ผู้ป่วยทราบและบอกวิธีการให้ความร่วมมือถ้าทำได้
นำหมอนหนุนศีรษะของผู้ป่วยออก วางหมอนที่พนักหัวเตียง อุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นเอาออกจากเตียง
พยาบาลยืนในท่าที่ถูกต้องมั่นคงและใช้หลักการของกลไกการเคลื่อนไหวร่างกาย
พยุงผู้ป่วยด้วยความนุ่มนวลและมั่นคง โดยใช้วิธีสอดมือเข้าไปในตำแหน่งของร่างกายที่จะยกเพื่อรองรับน้ำหนักร่างกายส่วนนั้น
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดิน
การออกกำลังกายเพื่อเตรียมผู้ป่วยเดิน
เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยให้กล้ามเนื้อมีความตึงตัว แข็งแรง และข้อเคลื่อนที่ได้ตามปกติเนื่องจากการเดินต้องใช้ตะโพกและขามากที่สุดและข้อที่จะเคลื่อนไหวได้ต้องอาศัยการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อตะโพก ต้นขา และปลายขา
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดิน
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินโดยพยาบาล 1คน
กรณีใช้เข็มขัดหรือผ้าคาดเอว เมื่อช่วยผู้ป่วยลงจากเตียงแล้ว พยาบาลยืนเยื้องด้านหลังผู้ป่วย ใช้มือ 2ข้างยืดเข็มขัดหรือผ้าคาดเอวเพื่อพยุงผู้ป่วยขณะผู้ป่วยเดิน วิธีนี้จะช่วยคงจุดศูนย์ถ่วงหรือใช้มือหนึ่งจับเข็มขัดบริเวณกึ่งกลางเอว อีกมือหนึ่งจับบริเวณต้นแขนของผู้ป่วยก้าวเดินช้า ๆ พร้อมกัน
กรณีไม่ใช้เข็มขัด ให้ใช้มือด้านใกล้ตัวจับที่ต้นแขนของผู้ป่วย มือไกลตัวจับที่ปลายแขนของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยเป็นลมให้สอดแขนเข้าใต้รักแร้รับน้ำหนักตัวผู้ป่วยและแยกเท้ากว้าง ดึงตัวผู้ป่วยขึ้นมาข้างตัวพยาบาลโดยใช้ สะโพกรับน้ำหนักตัวผู้ป่วย และค่อยๆ วางตัวผู้ป่วยลงบนพื้น
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินโดยพยาบาล 2คน ให้พยาบาลยืนข้างผู้ป่วยคนละด้าน มือพยาบาลข้างใกล้ตัวผู้ป่วยสอดใต้รักแร้ผู้ป่วย อีกข้างหนึ่งจับปลายแขนหรือมือผู้ป่วยข้างเดิม ผู้ป่วยและพยาบาลทั้ง 2 คนเดินพร้อมกัน ถ้าผู้ป่วยเป็นลมพยาบาลทั้ง 2 คนเลื่อนมือข้างที่พยุงใต้รักแร้ไปข้างหน้าให้ลำแขนสอดอยู่ใต้รักแร้ น้ำหนักตัวผู้ป่วยไว้พร้อมกับใช้สะโพกยันผู้ป่วยไว้แล้วค่อย ๆ พยุงผู้ป่วยลงบนพื้น
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดิน
ชนิดของอุปกรณ์ช่วยเดิน
Parallel bar = ราวคู่ขนานราวเดิน
Walker หรือ Pick –up frames
Cane
Crutches ( ไม้ยันรักแร้ , ไม้ค้ำยัน )
ประโยชน์ของอุปกรณ์ช่วยเดิน
ช่วยแบ่งเบาหรือรับน้ำหนักแทนขา
เพิ่มการพยุงตัว (Support) เพื่อให้สามารถทรงตัวได้ (Balance)
การเตรียมผู้ป่วยก่อนการฝึกใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
การฝึกความแข็งแรง (Strength) ความทนทาน(Endurance) และการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อ
การฝึกในท่าตั้งตรง (Upright) บนเตียงหรือเบาะ เช่น การฝึกการทรงตัวในท่านั่ง
การฝึกในราวคู่ขนาน เช่น ฝึกยืน ฝึกทรงตัว ฝึกท่าทางการเดิน เป็นต้น
การลงน้ำหนักที่ขาเวลาเดิน
รูปแบบการเดิน
Four –point gaitเป็นรูปแบบการเดินที่มีความมั่นคงมากที่สุด
Two –point gait เป็นรูปแบบการเดินที่มีความก้าวหน้าขึ้นจาก Four –point gait
Three –point gait เป็นรูปแบบการเดินที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของขา 1 ข้าง
Swing –to gaitวิธีนี้เหมาะที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่มีการจำกัดในการใช้ขาทั้ง 2ข้าง ร่วมกับมีความไม่มั่นคง
Swing –through gaitเป็นรูปแบบการเดินที่ก้าวหน้ามาจาก Swing –to gait
วิธีการฝึกผู้ป่วยใช้อุปกรณ์ช่วยเดินมีวิธีการวัดขนาดและการสอนเดินโดยอุปกรณ์ช่วยการเดิน
ไม้ค้ำยันรักแร้ ป็นอุปกรณ์ช่วยเดินที่ควรใช้เป็นคู่ เนื่องจากมีจุดยึดตอนบนอยู่ที่รักแร้ จึงช่วยพยุงตัวได้ดีและแบ่งรับน้ าหนักได้ถึง80% ของน้ำหนักตัว
Lofstrand crutchประกอบด้วยแกนอลูมิเนียม และมีด้ามมือจับ รวมทั้งห่วงคล้องรอบช่วงต้นของท่อนแขนส่วนปลาย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นคงของท่อนแขนส่วนปลายเวลายันลงน้ำหนัก สามารถใช้เป็นคู่แทนAxillary crutches ในผู้ป่วยที่มีการทรงตัวดี
Platform crutchประกอบด้วยแกนอลูมิเนียม ยาวขึ้นจนถึงระดับข้อศอก และมีแผ่นรองรับท่อนแขนส่วนปลาย
ไม้เท้า(Cane)เป็นอุปกรณ์ช่วยเดินที่ใช้เพียงข้างเดียวเป็นส่วนใหญ่ มีทั้งชนิดขาเดียว และสามขา ให้ความมั่นคงไม่มาก และลดการลงน้ าหนักเฉพาะขาข้างใดข้างหนึ่งได้เพียง20 –25 % จึงใช้ กรณีต้องการช่วยพยุงน้ำหนักบางส่วนหรือลดความเจ็บปวด
ไม้เท้า3 ขา(Tripod cane) มีฐานกว้าง และมีจุดยันรับน้ำหนักที่พื้น3 จุด ทำให้มั่นคงกว่าไม้เท้าขาเดียว แต่มีข้อเสีย ถ้าผู้ป่วยไม่ยันลงน้ำหนักลงแกนกลางของไม้ ก็ทำให้เสียความมั่นคง นอกจากนี้ก็ไม่สามารถใช้เดินขึ้น–ลงบันไดได้
Walker จะให้Support มากที่สุดในช่วงการเดินเมื่อเทียบกับCane และCrutches จึงช่วยเพิ่มความมั่นคงขณะเดินได้มากที่สุด
การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวร่างกาย
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายชนิดให้ผู้ป่วยทำเอง
ผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายด้วยตนเอง การออกกำลังกายชนิดนี้ให้ผลดีเพราะข้อต่างๆ ของร่างกายมีการเคลื่อนไหวและกล้ามเนื้อหดรัดตัว ทำให้กล้ามเนื้อมีความตึงตัวและแข็งแรง การไหลเวียนโลหิตดี
การออกกำลังกายโดยให้ผู้อื่นทำให้ผู้ป่วย
เป็นการออกกำลังกายโดยการเคลื่อนไหวข้อต่างๆ ให้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายด้วยตนเองได้หรือมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว การออกกำลังกายชนิดนี้ให้ผลดี คือ ช่วยให้ข้อมีการเคลื่อนไหวและช่วยป้องกันการหดรั้งของกล้ามเนื้อผิดรูป
การออกกำลังกายชนิดที่ให้ผู้ป่วยทำร่วมกับความช่วยเหลือของผู้อื่น
วิธีนี้ให้ผลดีกว่าวิธีที่ให้ผู้อื่นทำให้ผู้ป่วย เพราะเป็นการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมีการทำงานร่วมด้วย
การออกกำลังกายโดยให้กล้ามเนื้อทำงานแต่ข้อไม่เคลื่อน
เพื่อเพิ่มความตึงตัวและแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ป้องกันกล้ามเนื้อลีบ โดยให้ผู้ปุวยเกร็งกล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อมีการหดรัดตัวชั่วระยะหนึ่ง ประมาณ 6วินาทีแล้วจึงผ่อนคลาย
การออกกำลังกายให้ผู้ป่วยออกแรงต้านกับแรงอื่น
เป็นการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ให้ผู้ปุวยออกแรงต้าน วิธีนี้ช่วยให้กล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้นมีความแข็งแรง และทำงานได้
การเคลื่อนไหวร่างกาย
การเคลื่อนไหวของร่างกาย
การเคลื่อนไหวร่างกายใดๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะในบ้านที่ทำงาน หรือแม้แต่สันทนาการใดๆ เช่น การออกกำลังกายการเข้าร่วมเล่นกีฬา
กลไกการเคลื่อนไหวร่างกาย
การใช้ร่างกายอย่างปลอดภัยมีประสิทธิภาพ มีการประสานงานกันในการเคลื่อนไหวและดำรงความสมดุลระหว่างการมีกิจกรรม ซึ่งกลไกการเคลื่อนไหวร่างกายจะทำโดยตนเองหรือทำการเคลื่อนไหวด้วยวัตถุสิ่งของใดก็ได้ ทำให้เกิดผลดีต่อร่างกายทำให้ลดการเมื่อยล้าหรือการใช้พลังงานในการเคลื่อนไหวและรักษาสมดุล
การเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้องทำให้เกิดผลดีต่อร่างกาย ดังนี้
ส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานของร่างกายให้เป็นไปตามปกติ
ปูองกันไม่ให้เกิดอันตราย หรือมีความพิการของกระดูกและกล้ามเนื้อ
ลดการเมื่อยล้าหรือการใช้พลังงานมากเกินไป
ผลกระทบจากการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
ระบบผิวหนังผิวหนังเสียหน้าที่ทำให้เกิดแผลกดทับ
เกิดแรงกดทับ
เซลล์ตายและลุกลามกลายเป็นแผล
การเสียดทาน เมื่อผู้ป่วยถูกลากหรือเลื่อนตัว
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
กระดูกผุ เปราะบาง
กล้ามเนื้อ่อนแรง ลีบเล็ก
อาการปวดหลัง
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
หัวใจทำงานมากขึ้น
เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
มีการคั่งของเลือดในหลอดเลือดดำที่ขา
ความดันต่ำขณะเปลี่ยนท่า
ระบบทางเดินหายใจ
ปอดขยายตัวลดลง
มีการคั่งของเสมหะมากขึ้น
ระบบทางเดินอาหาร
มีผลต่อการรับประทานอาหาร ทำให้เบื่ออาหาร
มีผลต่อการขับถ่าย ทำให้ท้องผูก
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ถายปัสสาวะมากกว่าปกติในระยะแรกๆ
มีการคั่งของปัสสาวะในไตและกระเพาะปัสสาวะ
เกิดนิ่วในไตและกระเพาะปัสสาวะ
ระบบเมตาบอลิซึมและการเผาผลาญอาหาร
การเผาผลาญอาหารลดลง
มีระดับโปรตีนในกระแสเลือดต่ำลง
มีความผิดปกติด้านอัตมโนทัศน์และภาพลักษณ์
กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด
การประเมินสภาพผู้ป่วย
รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นเพื่อนำไปสู่การวางแผนการพยาบาล เช่น การปรับตัวและความทนทานต่อความเครียด ความรู้สึกของผู้ป่วยเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลความยินยอมที่จะเข้ารับการผ่าตัดความรู้เกี่ยวกับโรคและการผ่าตัด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
วิตกกังวลเนื่องจากกลัวการผ่าตัด
วิตกกังวลเกี่ยวกับโรคและแผนการรักษา
การวางแผนการพยาบาล ให้การพยาบาลและประเมินผลหลังให้การพยาบาล
เพื่อให้ผู้ป่วยมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่มีอันตรายและภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการผ่าตัด พยาบาลจะต้องตระหนักถึงปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย
การเตรียมผู้ป่วยให้พร้อม ดังนี้
ประเมินระดับความวิตกกังวล
เปิดโอกาสให้ผู้ปุวยระบายความรู้สึก และค้นหาสาเหตุของความวิตกกังวล
ร่วมกันหาทางแก้ไขสาเหตุของความวิตกกังวลร่วมกับผู้ป่วยและญาติ
ดูแลความสุขสบายทั่วไป
จัดหมวดหมู่กิจกรรมการพยาบาลเพื่อลดการรบกวนผู้ป่วยและให้ผู้ป่วยได้พัก
รายงานแพทย์เมื่อพบอาการผิดปกติ