Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็ก - Coggle Diagram
การพยาบาลเด็ก
การพยาบาลการส่งเสริมการเจริญเติบโต
ประเมินการเจริญเติบโตของเด็กโดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง พร้อมทั้งแปลผล
ประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
ให้คำแนะนำ/ปรึกษาในการบริโภคอาหาร
กินอาหารให้ครบทุกกลุ่ม ได้แก่กลุ่มข้าว-แป้ง กลุ่มผัก กลุ่มผลไม้กลุ่มเนื้อสัตว์และกลุ่มนม ในปริมาณที่เหมาะสมและควรกินให้หลากหลาย
ควรให้อาหารว่างก่อนเวลาอาหารประมาณ 1 1/2 -2 ชั่วโมง
ในช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ปีเป็นช่วงที่มีความสำคัญอย่างมากต่อโครงสร้างทางด้านร่างกายและสมอง โดยเฉพาะการเจริญเติบโตของสมอง ส่งผลต่อระดับเชาวน์ปัญญาและพัฒนาการของเด็ก รวมทั้งมีผลต่อการสร้างภูมิทานโรค
ให้ยาน้ำหรือยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ใช้เกลือเสริมไอโอดีนในการปรุงอาหารทุกครั้ง
ส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกายเป็นประจำ
ให้เด็กนอนหลับพักผ่อนเพียงพออย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง
ติดตามการเจริญเติบโตทุก 3 เดือน พร้อมทั้งดูแนวโน้มการเจริญเติบโต
ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง
แปลผลโดยนำน้ำหนักและส่วนสูงของเด็กจุดลงในกราฟแสดงการเจริญเติบโต และลากเส้นเชื่อมจุดน้ำหนักและส่วนสูงของครั้งก่อน
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ
การส่งเสริมพัฒนาการเด็กป่วยมีความสำคัญต่อการสร้างการเรียนรู้ของเด็ก ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องเหมาะสมตามวัย ครอบคลุมทั้งร่างกาย สติปัญญา จิตใจและ อารมณ์ สังคม
ทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและครอบครัวเพื่อนำไปวางแผนการส่งเสริมพัฒนาการได้อย่างเหมาะสม
การประเมินการเจริญเติบโตจากส่วนสูง น้ำหนัก เส้นรอบศีรษะ
พัฒนาการของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงปัจจุบันตลอด
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและครอบครัวที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
ภาวะสุขภาพ การรับรู้หรือการตอบสนองต่อการเจ็บป่วย แผนการรักษาที่เด็กได้รับ
ประเมินพัฒนาการของเด็กโดยใช้เครื่องมือคัดกรอง
การวางแผนการพยาบาลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก
กรณีที่การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนและเป็นครั้งแรก
ควรบอกให้เด็กรู้ล่วงหน้าอย่าง น้อย 1-2 วัน โดยใช้ภาษาง่ายๆให้เด็กรู้ถึงความจำเป็นในการอยู่
โรงพยาบาลเพื่อช่วยให้เด็กสบายใจขึ้น
พาชมสถานที่ที่ควรพาเด็กไป เช่น ห้องพัก ห้องเล่น ห้องตรวจ เป็นต้น ขณะที่พาชมพยาบาล
ต้องสังเกตและประเมินอาการกลัวของเด็กด้วย
ควรเปิดโอกาสให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเท่าที่ทำได้
จัดสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วยให้เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมพัฒนาการ
จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการให้เหมาะสมกับภาวะการเจ็บป่วย
ด้านร่างกาย
ควรจัดกิจกรรมให้เด็กมีการเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น วิ่ง กระโดด
ฝึกพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยเพิ่มทักษะการใช้มือและนิ้ว เช่น การเล่นต่อภาพ วาดภาพ ระบายสี
ด้านสติปัญญา
ควรมีการจัดมุมเล่นเพื่อพัฒนาจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เช่น หุ่นมือจำลอง
ด้านสังคม
ควรจัดกิจกรรมการเล่นแบบกลุ่มให้แก่เด็กป่วย
ด้านอารมณ์
จัดสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วยให้ใกล้เคียงกับสภาพบ้าน
ส่งเสริมความผูกพันระหว่างเด็กป่วยกับบิดามารดาให้เด็กสามารถเผชิญความกังวลจากการแยกจาก ให้ได้อยู่ใกล้ชิด