Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ชุมชนบ้านหนองแข้ หมู่ที่ 21 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม…
ชุมชนบ้านหนองแข้ หมู่ที่ 21 ตำบลขามเรียง
อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นการศึกษาตามแนวคิดของนพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์
ข้อมูลโครงสร้างของชุมชน
ด้านสภาวะสิ่งแวดล้อม
สภาพที่ตั้งและพื้นที่ของชุมชน
ที่ตั้งของชุมชนและอาณาเขต
ที่ตั้ง: ลักษณะเป็นชุมชนชนบทขนาดเล็ก สภาพบ้านเรือนมีความมั่นคงถาวร อยู่ในเขตปกครองของ อบต.ชามเรียง
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านขามเรียง ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านหนองแข้ หมู่ที่ 4 ตำบลขามเรียงอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านดอนนา ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลเขวาใหญ่ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
ลักษณะทางธรณีวิทยา ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะทางธรณีวิทยา เป็นดินร่วนปนทราย
ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะของพื้นที่หมู่บ้านโดยรอบเป็นพื้นที่ราบลุ่ม และเป็นทุ่งนา
สภาพการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในครัวเรือน และในชุมชน
ครัวเรือนยังไม่มีความเป็นสัดส่วน
ไม่มีรั้วกั้น พื้นที่ระหว่างครัวเรือนกว้างขวาง ไม่แออัด
ถนนในหมู่บ้านสภาพค่อนข้างดี เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่มีมูลสัตว์
ไม่มีร่องระบายน้ำ
มีถังขยะ
มีตู้โทรศัพท์ 2 ตู้ แต่ขณะลงพื้นที่ศึกษามีการชำรุด ผู้ใหญ่บ้านได้มีการประสานงานไปเจ้าที่ที่เกี่ยวข้องกำลังเดินการแก้ไข แต่โดยส่วนใหญ่แล้วชาวบ้านไม่นิยมใช้เนื่องจากมีโทรศัพท์มือถือเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งมีความสะดวกมากกว่า
แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ/แหล่งประโยชน์ ที่มีอยู่ในเขตของชุมชน
มีแหล่งน้ำธรรมชาติ 3 แห่ง
หนองแข้ อยู่ทางทิศเหนือ
หนองป่าตอง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
หนองเทามีต้นกก อยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้
ป่าชุมชนทีเป็นแหล่งธรรมชาติของหมู่บ้าน ใช้ทำพิธีศาสนาในหมู่บ้าน
ลานกีฬาเอนกประสงค์
ศาลากลางบ้าน และฉางข้าวชุมชน
ดอนปู่ตา
วัด
วัดสุธัมมาราม
วัดป่าโคกน้อย
ร้านซ่อมรถเกี่ยวข้าวในชุมชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร่วมทั้งคลินิกแผนไทย
สาธารณูปโภคในชุมชน
มีไฟฟ้าใช้
มีน้ำปะปาใช้
การคมนาคม
มีถนนคอนกรีตรอบหมู่บ้าน
โรงเรียนบ้านมะกอก
ด้านการเมืองการปกครอง
นายทองสัย ร่วมรส ผู้ใหญ่บ้าน
นายชนะ เหล่าเจริญ ผช.ผู้ใหญ่บ้าน
นางลาณี โคตรตาแสง ผช.ผู้ใหญ่บ้าน
กรรมการหมู่บ้าน
นายชาย อรรคฮาตสี
นายอำนวย คำวิเศษ
นายสัมฤทธิ์ โคตรตาแสง
นายจำปี คงแสนคำ
นางบรรจง เหล่าเจริญ
นางพจมาลย์ เปรี้ยวประสิทธิ์
ผู้นำชุมชนท้งหมดทำหน้าที่
ตามพรบ ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2547
ด้านการจัดการตนเอง
ชุมชนมีวัดเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
มีความเชื่อเกี่ยวกับด้านสุขภาพว่าถ้าหากมีการเจ็บป่วยเล็กน้อยไปชื้อยามากินเอง ถ้าไม่ดีขึ้นจะไปพบปมดที่ รพ.สต. และ รพ.มหาสารคามหรือคลีนิคต่างๆ
มีผู้นำทางศาสนและผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม
มีการตรวจสุขภาพประจำปี
ด้านสังคม
ผังเครือญาติ
มีความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติเดียวกัน ทั้งมีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตเดียวกัน และมีการแต่งงานเพื่อสร้างครอบครัวใหม่ภายในชุมชน
โครงสร้างองค์กรชุมชน
มีกลุ่มองค์กรต่างๆภายในชุมชนมากกมาย เช่น กลุ่มผู้นำชุมชนด้านการปกครอง กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มออมทรัพย์สัจจะ กลุ่มกองทุนเงินล้าน กลุ่มทอผ้า เป็นต้น แต่ละกลุ่มมีหน้าที่แตกต่างกันไป
ระบบสุขภาพ
องค์กรในชุมชน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาสังคม ผู้นำชุมชน(ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ) องค์กรของชุมชน ครอบครัวและปัจเจกบุคคล
หน่วยงานอื่นๆ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โรงเรียนบ้านมะกอก วัดสุธัมมาราม วัดปัญญาธโร(วัดป่าโคกน้อย) กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลขามเรียง
องค์กรด้านสุขภาพ
หน่วยบริการปฐมภูมิซึ่งได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะกอก อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)
อื่นๆ
องค์กรเอกชน
ปฏิทินชุมชน
ฮีต 12 ครอง 14
เดือนอ้าย บุญเข้ากรรม
เดือนยี่ บุญคูณลาน
เดือนสาม บุญข้าวจี่และบุญมาฆบูชา
เดือนสี่ บุญเผวด
เดือนห้า บุญขึ้นปีใหม่
เดือนหก บุญบั้งไฟ
เดือนเจ็ด บุญซำฮะ
เดือนแปด บุญเข้าพรรษา
เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน
เดือนสิบ บุญข้าวสาก
เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา
เดือนสิบสอง บุญกฐิน
ประวัติศาสตร์ชุมชน และประวัติศาสตร์แหล่งประโยชน์ของชุมชนที่เกี่ยวข้อง
เดิมทีบ้านหนองแข้ ได้ก่อตั้ง เริ่มแรกโดยยังไม่ทราบแน่ชัดว่าก่อตั้งปี พ.ศ. ใด แต่ได้ทราบจากคนเฒ่าคนแก่ที่ได้มาตั้งถิ่นฐานตอนแรก เมื่อราวรัชกาลที่ 4 ตามหลักฐานที่มีอยู่ คือ ได้มีคนกลุ่มหนึ่งที่ได้ย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้เกวียนเป็นพาหนะใช้สำหรับเดินทาง และได้เดินทางมาพบแหล่งที่อยู่ใหม่ ในเขตจังหวัดมหาสารคาม โดยมีนายหีบ และนางดำ สามีภรรยา เป็นหัวหน้ากลุ่ม ได้มาพบแหล่งที่อยู่ในปัจจุบัน คือ บ้านหนองแข้ ซึ่งมีหนองน้ำแต่เดิม โดยมีรูปหินเป็นลักษณะคล้ายรูปจระเข้อยู่ในบริเวณหนองน้ำ จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านหนองแข้” และคนสมัยก่อนยังไม่มีชื่อ สกุลใช้ จึงตั้งชื่อสกุลตามชื่อหมู่บ้านของตนเอง และเมื่อก่อนบ้านหนองแข้ มีประมาณ 27 หลังคาเรือน และยังอยู่ในเขตความรับผิดชอบกับตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม และต่อมาบ้านหนองแข้ได้แยกจากตำบลท่าขอนยางมาอยู่ในเขตรับผิดชอบของตำบลขามเรียง
ชีวประวัติบุคคลสำคัญ
นายแพง สายตรี อายุ 64 ปี เป็นปราชญ์ชาวบ้านพิธีกรรมทางศาสนา
นายชาย อรรคฮาตสี อายุ 70 ปี เป็นผู้นำทางพิธีกรรมทางศาสนา มัคทายก
ด้านประชากร
จำนวนสมาชิกทั้งหมด
จำนวน 48 หลังคาเรือน ชาย 93 หญิง 82คน รวม 175 คน (อยู่จริง)
จำนวนผู้สูงอายุ 25 คน
จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 15-44 ปี) 43 คน
ผู้พิการ จำนวน 2 คน
ปิรามิดประชากร
อัตราส่วนพึ่งพิง (Dependency ratio)
อัตราส่วนพึ่งพิงวัยเด็ก (Youth dependency ratio) ต่อประชากรวัยแรงงาน 1:3.67 คน
อัตราส่วนพึ่งพิงวัยชรา (Aged dependency ratio) มีอัตราส่วนพึ่งพิงวัยชรา (Aged dependency ratio) ต่อประชากรวัยแรงงาน 1: 4.84 คน
ระดับการศึกษา
มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 45.7
เชื้อชาติ ศาสนา และสถานภาพการสมรส
เชื้อชาติไทย จำนวน 175 คน คิดเป็นร้อยละ 100
สถานภาพการสสถานภาพสมรสคู่ คิดเป็นร้อยละ 64.38
ศาสนาพุทธ จำนวน 175 คน คิดเป็นร้อยละ 100
ด้านสุขภาพ
อัตราเกิด อัตราตาย
อัตราการเกิดอย่างหยาบ (Crude birth rate)
มีเด็กเกิดมีชีพ จำนวน 3 คน แยกเป็นเพศชาย 2 คน เพศหญิง 1 คนมีอัตราการเกิดอย่างหยาบ 17.14 คนต่อประชากรหนึ่งพันคน
อัตราการตายอย่างหยาบ (Crude death rate)
ในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมามีจำนวนคนตาย 1 คนมีอัตราการตายอย่างหยาบ 5.71 คนต่อประชากรหนึ่งพันคน
อัตราการเจริญพันธุ์ทั่วไป (General Fertility rate)
ภายในระยะเวลา 1 ปี จำนวน 3 คน และพบว่ามีหญิงวัยเจริญพันธุ์จำนวน 44 คน ความสามารถในการเจริญพันธุ์ 68.18 คนต่อประชากรหนึ่งพันคนมีเด็กเกิด
อัตราตายของมารดา (Maternal Mortality Rate: MMR)
o
อัตราตายของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี (Under 5 Mortality Rates:U5MR)
0
อัตราตายของทารก (Infant Mortality Rate: IMR)
0
โรคที่เกิดบ่อยในชุมชน
1.ไข้หวัด 2.HT 3.DM 4.กระเพาะอาหาร 5.หอบหืด
พิการ
มีผู้พิการ 2 ราย
พฤติกรรมสุขภาพ
การดื่มสุราดื่มสุรานานๆครั้งตามช่วงเทศกาลหรืองานพบปะสังสรรค์ ชนิดที่ดื่มเช่น สุราขาว หงส์ทอง
เครื่องดื่มชูกำลังดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง จำพวก M -150 ,กาแฟกระป๋อง
การสูบบุหรี่ประเภทยาซองและยาเส้น วันละ 4 – 5 มวน
สารเสพติดผู้ใช้สารเสพติด ประเภทยาบ้า
การรับประทานเนื้อดิบจะรับประทานเนื้อดิบ จำพวก ก้อยเนื้อวัวเนื้อหมู ลาบเนื้อวัว ลาบเนื้อหมู
การรับประทานปลาดิบจะรับประทานปลาดิบ จำพวก ก้อยปลาสร้อย ลาบปลาตอง
การรับประทานอาหาร หวาน/มัน เค็ม เผ็ด
ประสบอุบัติเหตุจราจร เช่น ขับรถจักรยานยนต์ชนภายในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน
การออกกำลังกาย
การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ
การใช้ผงชูรส
การดื่มนำ้ที่สะอาด/การขับถ่าย
การตรวจสุขภาพประจำปี/ตรวจช่องปาก
โรคเรื้อรัง
DM,HT,COPD
ด้านเศรษฐกิจ
อาชีพ รายได้
อาชีพรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 29.1
มีรายได้ 5,001 – 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 25.6
มีร้านค้าในชุมชน จำนวน 5 แห่ง เป็นร้านขายของชำ 3 แห่ง ร้านขายอหารสด 2 แห่ง
ข้อมูลที่สะท้อนสถานะของชุมชน
1.ด้านสังคม
ประชากรที่ต้อองได้รับความช่วยเหลือ คือผุ้พิการ 2 รายและผู้สูงอายุ จำนวน 25 ราย
ภาษาที่ใช้ในชุมชนส่วนมากเป็นภาษาลาว รองลงมาคือภาษาไทย
นับถือศาสนาพุทธ มีประเพณีฮีต 12 ครอง 14 มีปราชญ์ชาวบ้าน และดอนปู่ตาที่นับถือของชุมชน
มีการศึกษาในระบบของ สพฐ/มมส มี 1 โรงเรียนที่นักเรียนในชุมชนศึกษาเป็นส่วนใหญ่
มีการประชุมเวทีประชาคมเมื่อมีกิจกรรมต่างๆเข้ามาในชุมชน
มีการใช้สารเสพติดและการพนัน
มีการทะเลาะเบาะแว้งเล็กน้อย
การจัดสวัสดิการของรัฐในชุมชน เช่น การรับเบี้ยผู้สูงอายุทุกคนได้รับ
4.ด้านการเมืองและการปกครอง
การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน
มีการเข้าร่วมการใช้สิทธิเลือกตั้งทุกครั้ง
คนในชุมชนมีการเข้าร่วมเวทีประชาคมทุกครั้งที่มีการประชุม เช่นการประชุมกองทุนเงินล้าน กองทุนเงินสัจจะ เป้นต้น
การปกครองที่ทำให้มีคนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
ไม่มีการร้องเรียน อยู่แบบพี่แบบน้อง และมีกฎ กติกา เป็นข้อบังคับในชุมชนร่วมกัน
มีการไกล่เกลี่ยเมื่อเกิดเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทโดยผู้คุ้มและผุ้ใหญ่บ้านตามลำดับ
สิทธิในการใช้ทรัพยากรและแหล่งประโยชน์
มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพ เช่น มีหนองน้ำ 3 มีลานเอนกประสงค์ เป็นต้น
การสื่อสาร
มีการใช้หอกระจายข่าวในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้กับชุมชนได้รับทราบ
3.ด้านสภาวะสิ่งแวดล้อม
สภาวะแวดล้อม มีแหล่งน้ำ 3 แหล่ง มีดินเป็นแบบดินร่วนปนทราย ทำนาปลูกผัก
มีขยะ แต่มีมูลสัตว์รอบบริเวณบ้าน
ส่วนมากแล้วได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ผู้ที่ได้รับผลกระทบได้รับการจัดสวัสดิการจากรัฐทุกราย
ภายในชุมชนมีลานเนอกประสงค์ที่เอื้อต่อการออกกกำลังกายของคนในชุมชน
2.ด้านเศรษฐกิจ
ระดับครัวเรือน
ส่วนมากอาชีพรับจ้าง มีรายได้ 5,001 – 10,000 บาท
ไม่มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน
มีภาระหนี้สินกองทุนหมู่บ้าน /หนี้นอกระบบ
มีเงินเก้บออกเป็นบางครอบครัว ส่วนมากไม่มี
อาชีพส่วนใหญ่เป็นการรับจ้าง
ระดับองค์กร
มีกองทุนเงินล้านเกิดขึ้นในชุมชนเพื่อกระตุ้นเศรษกิจ /กองทุนเงินออมทรัพย์ /มีการทอเสื่อขาย
แหล่งเงินทุนมาจากกองทุนต่างๆเช่น กองทุนเงินล้าน กองทุนสตรี กองทุนทอเสื่อ เป็นต้น
ระบบชุมชน
โครงการกลุ่มอาชีพ เช่น ปลูกผักสวนครัว เลี้ยงจิ้งหรีด การปลูกไผ่
กลุ่มทอเสื่อขาย
7.ด้านสุขภาพ
สถิติชีพ
อัตราการเกิดอย่างหยาบ (Crude birth rate) 17.14 คนต่อประชากรหนึ่งพันคน
อัตราการตายอย่างหยาบ (Crude death rate)5.71 คนต่อประชากรหนึ่งพันคน
อัตราการย้ายออก ย้ายเข้า (out-migration rate, in-migration rate)
อัตราการย้ายเข้า (In-migration rate) 22.85 ต่อพันประชากร
อัตราการย้ายออก (Out-migration rate) 5.71 ต่อพันประชากร
อัตราการย้ายสุทธิ (Net migration rate) 17.14 ภายใน 1 ปี
ปัญหาด้านสุขภาพ
จากปัญหาด้านสุขภาพจากพฤติกรรมเสี่ยงในด้านการดูแลตนเอง อาจจะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อโรค ปัญหาโรคเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง โรคหอบหืด ตามมา
การดูแลสุขภาพ
มีความรู้ในการดูแลตนเองเบื้องต้น
มี อสม.ในชุมชน
มีร้านขายยาตามแผงร้านชำเกี่ยวกับยาสามัญประจำบ้าน
มียาสมุนไพรประจำบ้าน
มี รพ.สต.
รพ.มหาสารคาม
คลีนิกเอกชนและ รพ.เอกชน
การเสริมสร้างความเข้มแข็ง
การมีภาคีเครือข่ายด้านสาธารณสุขที่เข้มแข็ง เช่น บ้าน วัด รร.
การมีชมรมผู้สูงอายุในชุมชน
มีเยาวชนจัดแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติด
5.ด้านการจัดการตนเอง
ปัญหา
ปัญหาสังคม
ปัญหายาเสพติด
ปัญหาสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม
ปัญหาภัยแล้ง ซึ่งส่งผลให้ข้าวในนาตาย
ปัญหาน้ำดื่มไม่เพียงพอ
ปัญหาถังขยะไม่เพียงพอ ส่งผลให้ขยะเกลื่อนกลาด
ปัญหาน้ำขัง เนื่องจากหมู่บ้านไม่มีท่อระบายน้ำเสีย
ปัญหามีมูลสัตว์ และฝุ่นฟุ้งกระจาย
ปัญหาการใช้สารเคมีในการเกษตร
ปัญหาสุขภาพ
ปัญหาโรคเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง
1.ไข้หวัด 2.HT 3.DM 4.กระเพาะอาหาร 5.หอบหืด
ปัญหาพฤติกรรม
ปัญหาการไม่ออกกำลังกาย
ปัญหาการรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ
ปัญหารับประทานอาหารหวาน
กลไกการพัฒนา
กระบวนการพยาบาลอนามัยชุมชน
การประเมินชุมชน
การวินิจฉัยปัญหาอนามัยชุมชน
การวางแผนแก้ปัญหาอนามัยชุมชน
การปฏิบัติตามแผนงาน
การประเมินผลแผนงานโครงการ
กระบวนการพัฒนาอนามัยชุมชน
ศึกษาชุมชน
วิเคราะห์ข้อมูลปัญหา
ตัดสินใจวางแผน
ดำเนินการ
ติดตามประเมินผล
การมีส่วนร่วมชุมชน กลุ่มที่สนับสนุนเช่น ผู้นำชุมชน/ อสม/ชุมชน/บ้าน/วัด/โรงเรียน อปต. ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม
เป้าหมายการจัดการภาวะสุขภาพ :
ประชาชนมีสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน
6.ด้านประชากร
เป็นปิรามิดทรงเจดีย์ฐานสอบ หรือ ทรงพระเกี้ยว คือมีฐานแคบและสันจากส่วนฐานขยายออกแล้วจึงเว้าเข้าและลาดชันขึ้นสู่ส่วนยอด แสดงว่าประชากรนั้นเคยมีภาวะการตายและภาวะเจริญพันธุ์ระดับสูงมาก่อน แล้วสามารถลดภาวะการตายและภาวะเจริญพันธุ์ลงโดยสามารถลดภาวะเจริญพันธุ์ลงได้อย่างมากและรวดเร็ว ทำให้มีจำนวนคนที่เกิดใหม่ลดน้อยลง
แผนที่หมู่บ้านหนองแข้ เป็นชุมชนที่มีขนาดเล็ก ครัวเรือนทั้งหมด 57 ครัวเรือน จำนวนบ้านที่มีอยู่จริง 48 หลังคาเรือน
แนวคิดนพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์