Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัดการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย -…
การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัดการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การประเมินผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การซักประวัติ
ประวัติการผ่าตัด
ประวัติการแพ้ยาหรืออาหาร
ประวัติการผ่าตัด
การใช้ยา สารเสพติด สูบบุหรี่ และดื่มสุรา
ประวัติโรคประจำตัว
ประวัติของคนในครอบครัวหรือญาติที่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยาระงับความรู้สึก เกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรมที่มีผลต่อยาระงับความรู้สึก
ประวัติเกี่ยวกับโรคของระบบต่างๆของร่างกาย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคลมชัก ความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด
การตรวจร่างกาย
การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
การตรวจประเมินทางระบบหายใจ
สัญญาณชีพ
การตรวจร่างกายตามระบบ เน้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคหรือบริเวณที่จะทำการผ่าตัด
การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Electrolytes = โรคเบาหวาน โรคไต
Blood sugar = โรคเบาหวาน
Urinalysis = สำหรับโรคไต
Liver function test = โรคตับ
Complete blood count (CBC) = ภาวะซีด เลือดออกผิดปกติ โรคไต โรคมะเร็ง Chronic blood loss
Coagulogram = การแข็งตัวของเลือด
Chest X-ray = โรคปอด
ECG = คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การเตรียมผู้ป่วย
ด้านร่างกาย
ประเมินความสมบรูณ์ของร่างกายในการได้รับอาหารที่พอเหมาะ
ภาวะสารน้ำ และอิเล็คโทรลัยต์ในร่างกาย
ระบบทางเดินปัสสาวะ
การพักผ่อนและการออกกำลังกาย ต้องได้รับการพักผ่อนที่ดี และมีการออกกำลังกายที่พอเหมาะ
ระบบทางเดินหายใจ
ให้คำแนะนำ และข้อมลูต่างๆ ที่ผู้ป่วยควรทราบเพื่อลดความวิตกกงัวล
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ด้านจิตใจ
พยาบาลควรให้ผู้ป่วยได้รู้ข้อมูลจริง ทำความเข้าใจ และแก้ไขเกี่ยวกับความเชื่อผิดๆ ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้แสดงความรู้สึกที่กังวลออกมา
การให้คำแนะนำการปฏิบัติหลังผ่าตัด รวมทั้งการฝึกทักษะการปฏิบัติตัว ในระยะหลังผ่าตัด เพื่อทำให้การพักฟื้นหลังผ่าตัดเร็วขึ้นและช่วย ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดที่อาจเกิดขึ้นได้
การเตรียมผู้ป่วยก่อนวันที่ผ่าตัด
อาหารและน้ำดื่ม
ควรงดอาหารผู้ป่วยก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง สำหรับอาหารเหลวใส่ให้ได้ 6 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด ถ้าผู้ป่วยปากแห้งให้ผู้ป่วยบ้วนปากบ่อยๆ ถ้าผู้ป่วยได้รับอาหารหรือน้ำเข้าไปในระยะเวลาที่ห้ามนี้ ต้องรีบรายงานแพทย์ให้ทราบทันที ซึ่งแพทย์อาจจะเลื่อนการผ่าตัดออกไป
การขับถ่าย
ถ้าเป็นการผ่าตัดเล็กหรือการผ่าตัดที่ไม่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในช่องท้องแพทย์อาจให้สวนอุจจาระหรือไม่ก็ได้ หรือให้รับประทานยาระบายก่อนวันผ่าตัด แต่ถ้าเป็นการผ่าตัดใหญ่หรือผ่าตัดเปิดสู่ช่องท้องแพทย์จะให้สวนอุจจาระก่อนผ่าตัด สำหรับกระเพาะปัสสาวะควรว่างเมื่อจะเข้าห้องผ่าตัดโดยให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะก่อนผ่าตัด หรือคาสายสวนปัสสาวะตามแผนการรักษา
การเตรียมผิวหนังก่อนผ่าตัด
บริเวณศีรษะ
โกนผมบริเวณศีรษะออก เช็ดใบหู และทำความสะอาดช่องหู ภายนอกด้วยไม้พันสำลีที่ปราศจากเชื้อ เตรียมบริเวณลงมาถึงแนวกระดูกไหปลาร้า ทั้งหน้าและหลังไม่ต้องเตรียมบริเวณใบหน้า
บริเวณหูและปุ่มกระดูกมาสตอยด์
ให้เตรียมบริเวณกว้างเป็นวงรอบออกไปจากหูประมาณ1-2นิ้ว โกนขนอ่อนที่ใบหูด้วย
บริเวณคอ
เตรียมบริเวณจากใต้คางลงมาถึงระดับราวหัวนม และจากหัวไหล่ขวาถึงซ้าย
บริเวณทรวงอก
เตรียมด้านหน้าจากคอตอนบนจนถึงระดับสะดือจากแนวยาวของหัวนมข้างที่ไม่ได้ทำผ่าตัดจนถึงกึ่งกลางหลังข้องข้างที่ทำและขนอ่อนของต้นแขนจนถึงต่ำกว่าข้อศอก1นิ้ว
บริเวณช่องท้อง
เตรียมตั้งแต่ระดับรักแร้ลงมาถึงฝีเย็บ
บริเวณท้องต่ำกว่าสะดือ
เตรียมบริเวณตั้งแต่ระดับราวนมลงมาถึงต้นขา
ไต
เตรียมด้านหน้าจากบริเวณรักแร้จนถึงบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และต้นขาทั้ง2ข้าง ด้านข้างรักแร้ถึงตะโพก ด้านหลังจากกึ่งกลางลำตัวด้านหน้าอ้อมไปถึงกระดูกสันหลังซีกของไตข้างที่จะผ่าตัด
บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก
เตรียมตั้งแต่ระดับสะดือลงมาถึงฝีเย็บและด้านในของต้นขาและก้น
แขน ข้อศอก และมือ
เตรียมบริเวณแขนข้างที่จะทำผ่าตัดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จากหัวไหล่ถึงปลายนิ้วมือ รวมทั้งโกนขนรักแร้ ตัดเล็บให้สั้นและทำความสะอาด
ตะโพกและต้นขา
เตรียมจากระดับเอวลงมาถึงระดับต่ำกว่าหัวเข่าข้างที่จะทำ6นิ้ว ทั้งด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง รวมทั้งเตรียมบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกด้วย
การทำSkin graft
ทำความสะอาดผิวทั้งบริเวณDonor site และ Recipient site ให้กว้าง
หัวเข่า
เตรียมจากขาหนีบถึงข้อเท้าข้างที่จะทำผ่าตัดโดยรอบ
ปลายขา
เตรียมจากเหนือหัวเข่า ประมาณ8นิ้ว ลงมาถึงเท้าข้างที่จะผ่าตัด ตัดเล็บเท้าให้สั้น และทำความสะอาดด้วย
เท้า
เตรียมจากใต้หัวเข่าลงไปถึงเท้าข้างที่จะผ่าตัด ตัดเล็บเท้าให้สั้นและทำความสะอาดเล็บด้วย
การดูแลสุขภาพร่างกายทั่วไป
คืนก่อนวันผ่าตัด
ของปลอม ของมีค่าต่างๆ ถอดเก็บไว้ให้ญาติดูแลรักษา
สื่อไฟฟ้าต่างๆ เช่น กิ๊บที่ทำด้วยโลหะ ให้ถอดออก
ให้ผู้ป่วยทำความสะอาดปาก ฟัน ถ้ามีฟันปลอมให้ถอดฟันปลอมออกเพราะขณะที่ดมยากล้ามเนื้อคลายตัว ฟันปลอมอาจหลุดเข้าไปในหลอดลมได้
ไม่ให้ผู้ป่วยแต่งหน้า ทาปาก ทาเล็บ เพราะบริเวณเหล่านี้จะเป็นที่สังเกตอาการเขียวคล้ำ ซึ่งเป็นอาการแสดงแรกเริ่มของการขาดออกซิเจน
เช้าวันที่ผ่าตัด
ให้ผู้ป่วยทำความสะอาดร่างกาย เปลี่ยนชุดสำหรับใส่เสื้อผ่าตัด และหวีผมเก็บผมให้เรียบร้อย แล้วนอนพักอยู่บนเตียงตลอดเวลาจนกว่าจะไปห้องผ่าตัด
สังเกตภาวะทางอารมณ์ของผู้ป่วย ความกลัวการผ่าตัด เช่น กระวนกระวาย นอนไม่หลับ พยาบาลต้องผ่อนคลายความกลัว โดยการอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจง่ายๆถึงวิธีการผ่าตัดและผลของการผ่าตัด ให้ความเชื่อมั่นและให้กำลังใจผู้ป่วย
สังเกตสภาพร่างกายทั่วไป วัดและบันทึกสัญญาณชีพ อาการของผู้ป่วยลงในแบบฟอร์ม
แผ่นบันทึกรายงานต่างๆต้องบันทึกให้ครบ รวบรวมให้เรียบร้อย
การส่งผู้ป่วยไปห้องผ่าตัด ให้ผู้ป่วนนอนบนรถนอน(Stretcher)
การดูแลครอบครัวผู้ป่วย
การเตรียมผ่าตัดผู้ป่วยฉุกเฉิน
เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆที่พิเศษ เช่น สายใส่จมูกถึงกระเพาะอาหาร
การให้ยาแก่ผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
การประเมินสภาพผู้ป่วย
แบบแผนการขับถ่าย
ประวัติการเสียเลือด สารน้ำทางปัสสาวะ การขับถ่ายที่ปกติก่อนและหลังผ่าตัด
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงในแบบแผนการขับถ่ายปัจจุบัน เช่น ปัสสาวะออกน้อยหลังผ่าตัด
การทำงานของไต เช่น การประเมินภาวะไม่สมดุลน้ำและเกลือแร่
แบบแผนการรับรู้และการดูแลสุขภาพ
แบบแผนและการเผาผลาญ
ประเมินสำคัญได้แก่ ประวัติการได้รับและสูญเสียน้ำและเกลือแร่ ตั้งแต่ก่อนผ่าตัดจนถึงหลังผ่าตัด ชนิดและปริมาณของสารน้ำที่ได้รับและออกจากร่างกาย ภาวะโภชนาการ และปริมาณแคลอรีของอาหารที่ได้รับในแต่ละวัน
แบบแผนการปรับตัวและเผชิญกับความเครียด
แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
โประวัติโรคหัวใจ โรคปอด เบาหวาน ความดันโลหิตสูงก่อนผ่าตัด
การเปลี่ยนแปลงสัญญาณชีพ
กิจกรรมการพยาบาลหลังผ่าตัด
การส่งเสริมการหายใจให้โล่ง
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
เปลี่ยนท่านอนหรือพลิกตะแคงตัวบ่อยๆ ในรายที่รู้สึกตัวดีควรจัดให้นอนในท่าศีรษะสูง(Fowler's position) ควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการลุกนั่งบนเตียงโดยเร็วและลุกขึ้นเดินได้ภายใน24ชม.
สังเกตการหายใจของผู้ป่วย หายใจลึกช้าลงจากฤทธิ์ตกค้างยาระงับปวด ดูแลการหายใจให้โล่งอยู่เสมอโดยการดูดเสมหะ เลือด ภายในปากและจมูก
กระตุ้นให้ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองเพื่อเพิ่มกิจกรรมการเคลื่อนไหวขณะอยู่บนเตียงและลดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนท่าเดียวนานๆ
กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆ และไออย่างมีประสิทธิภาพ
สังเกตอาการบ่งชี้ภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ สัญญาณชีพ รวมถึงค่าออกซิเจนในเลือด
การจัดท่านอน ให้นอนราบไม่หนุนหมอน ตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งป้องกันลิ้นตก และการสำลักอาเจียน ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัวดีอาจให้นอนราบหนุนหมอนได้ ยกเว้นในรายที่ได้รับยาชาเข้าทางไขสันหลังให้นอนราบอย่างน้อย6-12ชั่วโมง
ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติให้รีบแจ้งแพทย์และให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการทำงานของระบบหัวใจและไหลเวียน
ควรให้ผู้ป่วยนอนพักนิ่งๆในบริเวณที่มีเลือดออกมากๆเพื่อลดการเคลื่อนไหว
เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นให้พร้อมในรายที่มีภาวะช็อก
ดูแลให้ได้รับสารน้ำ เลือด หรือพลาสมาทดแทนทางหลอดเลือดดำ
สังเกต บันทึก และติดตามผลการตรวจคลื่นหัวใจโดยเฉพาะในรายที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ
สังเกตลักษณะบาดแผลและปริมาณสิ่งคัดหลั่งต่างๆที่ออกจากร่างกายผู้ป่วย ประเมินการสูญเสียน้ำและแจ้งแพทย์
ดูแลผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนทั้งร่างกาย และจิตใจ จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ อยู่เป็นเพื่อน คอยให้กำลังใจ
ตรวจวัดสัญญาณชีพทุก15นาที 4ครั้ง ทุก30นาที 2ครั้ง และทุก1ชั่วโมงจนสัญญาณชีพสม่ำเสมอ
การพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด
ใช้ pain scale ประเมินความเจ็บปวด
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสุขสบายและความปลอดภัยของผู้ป่วย
ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลเกี่ยวกับความสะอาดของร่างกายทั่วไป โดยเฉพาะช่องปาก อวัยวะสืบพันธุ์ และระบบขับถ่าย
ดูแลความปลอดภัยในรายที่ยังไม่ฟื้นจากยาสลบ หรือระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ควรยกราวกั้นเตียงผู้ป่วยขึ้นก่อนออกจากเตียงผู้ป่วย
ดูแลความสุขสบายทั่วไป เช่น การนอนหลับ อาการคลื่นไส้ การปวดถ่ายปัสสาวะ
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการหายของแผล
สังเกตลักษณะแผลที่ผิดปกติ
ทำความสะอาดแผลด้วยหลักปราศจากเชื้อ
สังเกตและประเมินปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการหายของแผล
สอนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลแผลและวิธีการส่งเสริมการหายของแผล
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ป่วยเพื่อลดอาการท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้
กระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกออกจากเตียง
สังเกต และบันทึกอาการเปลีย่นแปลงที่บ่งชี้ถึงการย่อยและการดูดซึมอาหารผิดปกติ
ดูแลให้ได้รับสารอาหารและพลังงานอย่างเพียงพอ
การให้คำแนะนำก่อนกลับบ้านสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัด
การส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ป่วย
การดูแลความสะอาดของร่างกาย
การเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมต่างๆ
การมาตรวจตามแพทย์นัด
เรื่องการดูแลแผล
การเคลื่อนไหวและออกกำลังกาย
การเคลื่อนไหวร่างกาย(Body mechanism)
การเคลื่อนไหวร่างกายใด ๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะในบ้าน ที่ทำงาน หรือสันทนาการใด ๆ โดยใช้โครงสร้างกระดูก กล้ามเนื้อ(skeletal muscle) และทำให้มีการใช้พลังงานของร่างกาย มากกว่าในขณะพัก
กลไกการเคลื่อนไหวร่างกาย
การใช้ร่างกายอย่างปลอดภัยมีประสิทธิภาพ มีการประสานงานกันในการเคลื่อนไหว และดำรงความสมดุลระหว่างการมีกิจกรรม
ผลดีที่ร่างกายมีการทรงตัวที่ดีและเคลื่อนไหวอย่างถูกต้อง
ป้องกันไม่ใหเ้กิดอันตราย หรือมีความพิการของกระดูกกล้ามเนื้อ
ลดการเมื่อยล้าหรือการใช้พลังงานมากเกินไป
ส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานของร่างกายใหเ้ป็นไปตามปกติ
การทรงตัวและเคลื่อนไหวจากการทำงาน 4 ระบบ
ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular system)
ระบบประสาท (Nervous system)
ระบบกระดูก (Skeletal system)
ระบบการไหลเวียนโลหิต (Circulation system)
แนวปกติของร่างกาย(Body alignment)
การที่ส่วนต่างๆของร่างกายอยู่ในแนวที่ถูกต้องไม่ว่า ในอิริยาบทใด หรือเป็นความสัมพันธอ์ย่างเหมาะสมของ ส่วนต่างๆ ของร่างกายในลักษณะที่ไม่ทำให้เกิดความตึง เครียดต่อข้อต่อ กล้ามเนื้อ และเอ็น
หลักปฏิบัติเพื่อให้ร่างกายมีการทรงตัวที่ดี
พยายามใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่แข็งแรงทำงานและมีการเตรียม กล้ามเนื้อก่อนการทำกิจกรรม มีการเคลื่อนไหวอย่างนุ่มนวล ประสานกันเป็นจังหวะ
หลีกเลี่ยงการออกแรงต้านกับแรงศูนย์ถ่วง เช่น ผลัก ดัน ดึงแทนการยก และใช้หลักการลดแรงเสียดทาน
พยายามให้ฐานกว้างและศูนย์ถ่วงอยู่กลาง ด้วยการก้าวเท้าไปข้างหน้า และย่อเข่าขณะให้การพยาบาลใช้น้ำหนักของร่างกายตนเองช่วยในการเคลื่อนย้าย
พยายามให้จุดศูนย์ถ่วงของผู้ทำและผู้ถูกทำอยู่ใกล้กันมากที่สุดเพื่อลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ
หลีกเลี่ยงสาเหตที่ทำ ให้ต้องสูญเสียพลังงานเพิ่มมากขึ้น เช่น ปรับระดับเตียงให้ราบก่อน ยืนให้ใกล้ของที่จะเอื้อม
รู้จักขอบเขตการทำงานของกล้ามเนื้อมีการหยุดพักเป็นช่วงๆในระหว่างการทำกิจกรรม
พยายามใชพลังงานใหน้อยที่สดุด้วยการจัดหาอุปกรณ์ผ่อนแรงมาใช้
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการอยู่ในท่าทางที่ไม่ถูกต้อง
ข้อไหล่หลุด (Shoulder subluxation)
ภาวะแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อจากการจับและยกของหนัก ต้านแรงดึงดูดโลก
การออกกำลังกาย
การเคลื่อนไหวร่างกายที่มีการวางแผนหรือมีการเตรียมตัว เป็น กิจกรรมที่กระทำซ้ำๆมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มหรือคงไวซึ่ง สมรรถภาพทางร่า่งกาย
การออกกำลังกายเพื่อการเคลื่อนไหว
การออกกำลังกายชนิดให้ผู้ป่วยทำเอง (Active or Isotonic Exercise)
การออกกำลังกายโดยให้ผู้อื่นทำให้ผู้ป่วย (Passive exercise)
การออกกำลังกายชนิดที่ให้ผู้ป่วยทำร่วมกับความช่วยเหลือของผู้อื่น(Active assistive exercise)
การออกกำลังกายโดยให้กล้ามเนื้อทำงานแต่ข้อไม่เคลื่อน(Isometric or Static exercise)
การออกกำลังกายให้ผู้ป่วยออกแรงต้านกับแรงอื่น (Resistive exercise)
การจำกัดการเคลื่อนไหว
ระดับการจำกัดการเคลื่อนไหว
การจำกัดการเคลื่อนไหวอย่างสมบูรณ์
การจำกัดการเคลื่อนไหวเพียงบางส่วนหรือชั่วคราว
การจำกัดการเคลื่อนไหวเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน
ประโยชน์
ทำให้เนื้อเยื่อที่บาดเจ็บได้รับการซ่อมแซมและหายเร็วขึ้น
ลดอาการบวมที่เข่าและการคั่งของเลือดดำโดยให้ผู้ป่วยนอนยกขาสูง
ลดความเจ็บปวด
ช่วยเหลือผู้ป่วยที่อ่อนเพลีย มีไข้ได้พักผ่อน
เพื่อการรักษาของแพทย์
ผลของการจำกัด
ระบบหายใจ ปอดขยายตัวลดลง(Decrease lung expansion) มีการคั่งของเสมหะมากขึ้น
ระบบหัวใจและหลอดเลือด หัวใจทำงานมากขึ้น มีการคั่งของเลือดในหลอดเลือดดำที่ขา เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ(Thrombus) ความดันต่ำขณะเปลี่ยนท่า (Orthostatic Hypotension)
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ กระดูกผุ เปราะบาง การประสานงานของกล้ามเนื้อแขนขาลดลงหรือไม่สัมพันธ์กัน กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลีบเล็ก(Muscle atrophy) ข้อตึงแข็ง(Contracture) ข้อเข่าติด(Knee flexed) ข้อสะโพกติด(Hip flexd) ข้อเท้าตก(Foot drop) ข้อนิ้วมือแข็ง ข้อมือตก (Wrist drop) การปวดหลัง(Back pain)
ระบบทางเดินอาหาร มีผลตอ่การรับประทานอาหาร ทำให้เบื่ออาหาร อ่อนเพลียกังวลใจ จากการนอนเฉยๆ และโรคที่เป็นอยู่ ความต้องการพลังงานลดลง มีผลต่อการขับถ่ายทำให้ท้องผูก (Constipation) แบบแผนการขับถ่ายเปลี่ยนแปลง ท้องอืด เกิดมีอุจจาระอัดแน่น (Fecal impaction)
ระบบผิวหนัง เสียหน้าที่ทำให้เกิดแผลกดทับ(Bed or pressure sore)
ระบบทางเดินปัสสาวะ การถ่ายปัสสาวะมากกว่าปกติในระยะแรกๆ (Diuresis) ทำให้แบบแผนการถ่ายปัสสาวะเปลี่ยนแปลง มีการสูญเสียโซเดียม มีการคงั่ของปัสสาวะในไตและกระเพาะปัสสาวะ (Urinary stasis) และกระเพาะปัสสาวะสูญเสียหน้าที่ เสี่ยงต่อการติด เชื้อในทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection ) เสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไต
ระบบเมตาบอลิซึมและการเผาผลาญอาหาร การเผาผลาญอาหารลดลง มีระดับโปรตีนในกระแสเลือดลดต่ำลง (Hypoproteinemia) ทำให้เกิดภาวะน้ำเกินบวม มีความผิดปกติด้านอัตมโนทัศน์และภาพลักษณ์ (Self concept and body image)
การแก้ปัญหาในการเคลื่อนไหว
การออกกำลังกาย
การฝึกการช่วยเหลือตนเอง
การฝึกใช้อุปกรณ์เสริม
การพยาบาลเพื่อการฟื้นฟูสภาพ
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย
การฟื้นฟูสมรรถภาพ(Rehabilitation)
การช่วยบุคคลที่ด้อยสมรรถภาพ ทางกาย จิตใจ บุคคลที่เจ็บป่วยเรื้อรัง หรือบุคคลที่อยู่ในระยะพักฟื้นได้ตระหนักถึงสมรรถภาพของตนเองที่ยัง เหลืออยู่และนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิต และการทำงาน เพื่อจำกัดขอบเขตของความด้อยสมรรถภาพที่จะทำให้ เกิดความพิการ
จุดประสงค์
ป้องกันความพิการหรือความด้อยสมรรถภาพ (disability) ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อฟื้นฟูสูมรรถภาพของผู้ป่วยให้กลับสู่สภาวะที่ทำหน้าที่ได้ดังเดิมให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้บุคคลนั้นสามารถดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสมและมีความสุขพอสมควรตามอัตภาพ
หลักการฟื้นฟู
ความต้องการและขอบเขตความสามารถในการปรับตัวของผู้ป่วย
การวางแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นรายบุคคล
การเริ่มต้นของการฟื้นฟูสมรรถภาพ : ระยะคุกคามชีวิต ระยะเจ็บป่วยที่ ต้องการการรกัษา ระยะพักฟื้น
การมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและครอบครัวในการวางแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพ
วางแผนการฟื้นฟููทั้งระยะสั้นและระยะยาว และเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน
การให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ
ความร่วมมือของบุคลากรในทีมสุขภาพจากหลายแขนงอาชีพ
การช่วยเหลือผู้ป่วยเคลื่อนไหวบนเตียง
การประเมินผู้ป่วย
ท่าที่เหมาะสมและระยะเวลาที่ผู้ป่วยคงอยู่ในท่าที่เปลี่ยนให้ใหม่
ความยากลำบากและไม่สุขสบายในขณะเปลี่ยนท่าหรือเมื่ออยู่ในท่าที่จัดให้
ความสามารถของผู้ป่วยในการช่วยเหลือตนเอง
ปัญหาอื่นๆที่พบในผู้ป่วย เช่น ความผิดปกติเกี่ยวกับผิวหนัง กระดูก หลอดเลือด เป็นต้น
ปฏิบัติการพยาบาลในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยบนเตียง
การเตรียมตัวพยาบาล พยาบาลควรยืนในท่าที่ถูกต้อง พยุงผู้ป่วยด้วยความนุ่มนวลมั่นคง ขณะยกตัวหรือเลื่อนตัวผู้ป่วยให้ใช้วิธีสอดมือเข้าใต้ตำแหน่งร่างกายส่วนที่จะยก เพื่อรองรับน้ำหนักร่างกายส่วนนั้น ไม่ควรใช้มือหยิบหรือจับขาผู้ป่วยขณะยกหรือเลื่อนตัวผู้ป่วย ถ้าต้องใช้พยาบาลมากกว่า 1 คน ควรให้สัญญาณทำพร้อมกัน
การจัดท่าผู้ป่วย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความสุขสบายขณะนอนพักบนเตียงหรือเตรียมทำหัตถการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากท่านอนที่ไม่ถูกต้อง
การเตรียมผู้ป่วยให้เอาหมอนหนุนศีรษะของผู้ป่วยออก วางหมอนไว้ที่พนักหัวเตียง ปรับระดับเตียงให้อยู่แนวราบพร้อมทั้งดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วย เช่น การล็อคล้อเตียง เป็นต้น บอกให้ผู้ป่วยทราบก่อน และให้สัญญาณขณะเลื่อนตัวผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือ
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดิน
การออกกำลังกายเพื่อเตรียมผู้ป่วยเดิน
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดิน
ประโยชน์
ช่วยแบ่งเบาหรือรับน้ำหนักแทนขา1หรือ2ข้างเมื่อมีข้อห้ามในการรับน้ำหนักเต็มทั้งขา
ช่วยแบ่งเบาหรือรับน้ำหนักแทนขา1หรือ2ข้างเมื่อมีข้อห้ามหรือมีการอ่อนแรงจนขาไม่สามารถรับน้ำหนักได้
เพิ่มการพยุงตัว
ชนิดของอุปกรณ์
Walker หรือ Pick-up frames
Cane
Parrallel bar = ราวคู่ขนาน ราวเดิน
Crutches(ไม้ยันรักแร้,ไม้ค้ำยัน)
การเตรียมผู้ป่วยก่อนการฝึกใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
ฝึกความแข็งแรง ความทนทานและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อ
การฝึกในท่าตั้งตรงบนเตียงหรือเบาะ
การฝึกในราวคู่ขนาน เช่น ฝึกยืน ฝึกทรงตัว
กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
วิตกกังวลเนื่องจากกลัวการผ่าตัด
วิตกกังวลเกี่ยวกับโรคและแผนการรักษา
การวางแผนการพยาบาล
ร่วมกันหาทางแก้ไขสาเหตุของความวิตกกังวล
ดูแลความสุขสบายทั่วไป
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึก และค้นหาสาเหตุของการวิตกกังวล
จัดหมวดหมู่กิจกรรมพยาบาลเพื่อลดการรบกวนผู้ป่วยและให้ผู้ป่วยได้พัก
ประเมินระดับความวิตกกังวล
รายงานแพทย์เมื่อพบอาการผิดปกติ
การประเมินสภาพผู้ป่วย
รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นเพื่อนำไปสู่การวางแผนการพยาบาล เช่นการปรับตัวและความทนทานต่อความเครียด