Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัด การเคลื่อนไหวและการออกกาลั…
บทที่ 5
การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัด
การเคลื่อนไหวและการออกกาลังกาย
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การประเมินผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การตรวจร่างกาย
การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
การตรวจประเมินทางระบบหายใจ
สัญญาณชีพ
4.การตรวจร่างกายตามระบบ
เน้นส่วนเกี่ยวข้องกับโรค/บริเวณที่จะผ่าตัด
ช่วยบอกถึงโรค/ความผิดปกติ
ที่อาจไม่ได้ข้อมูลจากการซักประวัติ
แนวทางในการส่งตรวจทาง
ห้องปฏิบัติการ/การส่งตรวจอื่นๆเพิ่มเติมต่อไป
การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรค
บอกถึงความรุนแรงของโรค
ข้อบ่งชี้ของการส่งตรวจทาง
ห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษอื่นๆ
BUN/Creatinine
โรคไต เบาหวาน
ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ภาวะพร่องน้ำ
Liver function tests
โรคตับ ถุงน้ำดี ภาวะเลือดออกผิดปกติ
ภาวะขาดสารอาหาร โรคพิษสุราเรื้อรัง ได้รับยาเคมีบาบัด
Electrolytes
โรคไต โรคเบาหวาน ภาวะพร่องน้ำ
ได้รับยาขับปัสสาวะ digoxin steroids
Blood sugar
โรคเบาหวาน ใช้ยากลุ่ม steroids
Urinalysis Screening test
โรคไต การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
Coagulogram
โรคตับ เลือดออกผิดปกติ
ได้รับยาป้องกันเลือดแข็งเป็นลิ่ม (Anticoagulants)
Complete blood count
ภาวะซีด เลือดออกผิดปกติ Chronic blood loss โรคไต โรคมะเร็ง
Chest X-ray
โรคหัวใจ,ปอด,มะเร็ง
สูบบุหรี่ ไอเรื้อรัง สัมผัสผู้ปวยวัณโรค
ECG
โรคหัวใจ,ปอด,ความดันโลหิตสูง,เบาหวาน
ข้อแนะนำการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Screening tests)
อายุ> 45 ปี แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว CBC ,CXR ,ECG
อายุ> 60 ปี แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว CBC ,CXR ,ECG, E’lytes , BUN/Cr, BS
อายุ≤ 45 ปี แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว CBC
ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดใหญ่ CBC ,CXR ,ECG, E’lytes , BUN/Cr, BS, Coag
การซักประวัติ
ประวัติการผ่าตัดและการได้รับ
ยาระงับความรู้สึกก่อนหน้านี้
วิธีการให้ยาระงับความรู้สึก
และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
มีความสำคัญในการเตรียมพร้อม
เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้
ประวัติการแพ้ยาหรืออาหาร
ประวัติโรคประจำตัว
ครอบคลุมถึงอาการ ความรุนแรงของโรค
ภาวะแทรกซ้อนของโรค
ประวัติการรักษา ยาที่ใช้ประจำ
การใช้ยา สารเสพติด การสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
ประวัติของคนในครอบครัวหรือญาติ
ปัญหาเกี่ยวกับการ
ได้รับยาระงับความรู้สึก
โรคทางพันธุกรรมที่มีผล
ต่อการได้รับยาระงับความรู้สึก
ประวัติเกี่ยวกับโรคของระบบต่างๆ ของร่างกาย
การเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การเตรียมผู้ป่วย
ระยะเวลาก่อนผ่าตัด
ด้านจิตใจ
ลดความวิตกกังวล ความกลัว ผู้ป่วยได้รับข้อมูลจริง ทำความเข้าใจ และแก้ไขเกี่ยวกับความเชื่อผิด
มีประโยชน์มาก เปิดโอกาสให้ผู้ป่วย
ได้แสดงความรู้สึกที่กังวลออกมา
ได้รับการเตรียมทางจิตใจ การเยี่ยมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
ประเมินความวิตกกังวลก่อนผ่าตัด
การให้คำแนะนำ
การปฏิบัติหลังผ่าตัด
Deep-breathing exercises
เพื่อจะได้รู้สึกการเคลื่อนไหวของปอด ให้หายใจเข้ายาวๆ ลึกๆ ทั้งทางจมูกและปาก เพื่อปอดจะได้ขยายเต็มที่ กลั้นหายใจไว้ นับ 1-5 แล้วค่อยผ่อนลมหายใจออกทางจมูกและปาก
ทำซ้ำประมาณ 15 ครั้ง ในขณะที่ ฝึกอาจให้พักช่วงสั้นๆ เป็นระยะๆ หลังจากที่ฝึกหายใจ 5 ครั้ง ติดต่อกัน ให้ฝึกวันละ 2 ครั้ง ก่อนผ่าตัด
จัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนหงายศีรษะสูง วางมือทั้ง 2 ข้างบนหน้าอก
ส่วนล่าง แล้วให้กำมือหลวมๆ ให้นิ้วมือสัมผัสกับหน้าอก
Effective cough
ผู้ป่วยนั่งเอนไปข้างหน้าเล็กน้อย
ประสานมือทั้ง 2 ข้าง และกดเบาๆ เหนือบริเวณมีแผลผ่าตัด
ช่วยทำให้แผลอยู่นิ่งเป็นการลดอาการเจ็บแผลขณะที่ไอ ให้ผู้ป่วยหายใจเข้า - ออก
ให้หายใจเข้าเต็มที่ อ้าปากเล็กน้อย ให้ผู้ป่วยไอ 3 – 4 ครั้ง แล้วให้อ้าปาก
หายใจลึก และไอแรงๆเร็ว1-2 ครั้ง ทำให้เสมหะที่อยู่ในปอดออกมา
Range of Motion (ROM)
ออกกาลังข้อ เคลื่อนไหวในทุกทิศทางปกติ 6 แห่ง
คือ ศีรษะ ลำตัว แขนและขาทั้งสองข้าง
มีการเคลื่อนไหวในส่วนย่อยๆ ที่มือ นิ้วมือ เท้า และนิ้วเท้าได้อย่างอิสระ
เช่น มีการเคลื่อนไหวมือโดยที่แขนอยู่กับที่
โดยไม่มีการเคลื่อนไหวที่ส่วนอื่น
การเคลื่อนไหวของข้อ (Range of motion)
Adduction การหุบเข้าหาลำตัว
Supination การหมุนส่วนปลายมือให้มือหงายขึ้น
Abduction การกางห่างจากลำตัวด้านข้าง
Pronation การหมุนส่วนปลายมือให้มือคว่ำ
Extension การเหยียด / ทำมุมของกระดูกกว้างขึ้น
Rotation การหมุนรอบและหมุนไปตามแกน
Flexion การงอ / ทำมุมของกระดูกลดลง
Circumduction การแกว่งให้เป็นวงกลม
Abdominal breathing
หายใจเข้าออกโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องแทนทรวงอก
เพื่อให้ทรวงอกเคลื่อนไหวน้อยลง
ในระยะแรกหลังผ่าตัด ทำ 8-10 ครั้ง ทุก 2 ชั่วโมง
Straight Leg Raising Exercise (SLRE)
ออกกาลังขา ข้อสะโพก
และกล้ามเนื้อต้นขาแบบยกขาขึ้นตรงๆ
นอนราบยกขาข้างที่ไม่ใช้อุปกรณ์ขึ้นตรงๆ ระดับ 45-60 องศา / 90 องศา
เกร็งขาไว้ 5 วินาที นับช้าๆ แล้ว วางขาลง พักแล้วจึงเริ่มทำใหม่
Turning and ambulation
การลุกนั่ง ให้ผู้ช่วยเหลือไขหัวเตียงขึ้น ประมาณ 45-60 องศา
ผู้ป่วยใช้มือที่ไม่มีน้ำเกลือ ตะแคงข้างยันที่นอนและพยุงตัวขึ้นลุกนั่งด้วยตนเอง
ทำทุก 2 ช.ม. เช่น พลิกตัวไปทางขวาให้ขยับตัวไปทางซ้าย
มือซ้ายจับราวกั้นเตียงซ้าย พลิกมาทางขวา
Quadriceps Setting Exercise (QSE)
ออกกาลังกายกล้ามเนื้อต้นขา 4 มัด
Rectus femeris, Vastus lateralis,
Vastus medialisและ Vastus intermediate
ให้ผู้ป่วยนั่ง/นอนเหยียดขาตรงกระดกข้อเท้าขึ้นและกดเข่า
ลงบนที่นอน เกร็งกล้ามเนื้อต้นขาประมาณ 5 วินาที
นับช้าๆ แล้วคลาย พักแล้วจึงเริ่มทำใหม่
Extremity exercise
นอนในท่าหัวสูงเล็กน้อย/นอนท่าที่สบาย
ออกกำลังแขนขาทีละข้างการเหยียดออกและงอเข้าของทุกข้อ
ยกเว้นในรายที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวหลังผ่าตัด
เช่น การผ่าตัดหลอดเลือดที่ขา จะหดเกร็งของกล้ามเนื้อ (Isometric exercise)
Early ambulation
ต้องให้ผู้ป่วย Absolute bed rest
ก่อนลุกจากเตียงควรมีการเตรียมพร้อมกล้ามเนื้อขา
เพื่อช่วยในการลุกเดิน ได้แก่ SLRE QSE ROM
Pain management
ระงับความเจ็บปวดควบคู่กัน เช่น การใช้หมอน/ฝ่ามือพยุงแผลขณะไอ
ลดการกระทบกระเทือนของแผล การจัดท่านอนศีรษะสูง/ยกเท้าสูง
เพื่อลดบวม การเบี่ยงเบนความสนใจโดยการฝึกหายใจ
ด้านร่างกาย
ประเมินความสมบูรณ์ของร่างกาย
การได้รับอาหารที่พอเหมาะ
รับอาหารที่ดีมีประโยชน์ ถูกส่วน
เพื่อให้ทนต่อการผ่าตัดได้ดี และช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
ภาวะสารน้ำและอีเล็คโทรลัยต์ในร่างกาย
ประเมินสภาวะความสมดุล
ระบบทางเดินปัสสาวะ ประเมินสภาวะของไต
การพักผ่อนและการออกกาลังกาย
ระบบทางเดินหายใจ
ประเมินสภาวะของปอดและหลอดลม
การทำงานของระบบทางเดินหายใจ
ให้คำแนะนำและข้อมูลต่างๆ
ที่ผู้ป่วยควรทราบเพื่อลดความวิตกกังวล
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ความสามารถการทำงานของหัวใจ
ทนต่อการผ่าตัดได้หรือไม่
ดูความสามารถในการส่งเลือดไปเลี้ยงทั่วทั้งร่างกาย
และปริมาณและคุณภาพของเลือด
การเตรียมผู้ป่วยก่อนวันที่ผ่าตัด
การขับถ่าย
การผ่าตัดใหญ่/ผ่าตัดเปิดสู่ช่องท้อง
แพทย์จะให้มีการสวนอุจจาระก่อนผ่าตัด
กระเพาะปัสสาวะควรว่าง
ถ่ายปัสสาวะก่อนผ่าตัด/คาสายสวนปัสสาวะไว้
การผ่าตัดเล็ก/ที่ไม่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในช่องท้อง
อาจให้สวนอุจจาระหรือให้รับประทานยาระบาย
การเตรียมผิวหนังก่อนผ่าตัด
เพื่อลดจำนวนจุลินทรีย์
บริเวณศีรษะ โกนผมบริเวณศีรษะออก เช็ดใบหู,ช่องหูภายนอก
เตรียมบริเวณลงมาถึงแนวกระดูกไหปลาร้าทั้งหน้าและหลัง
บริเวณหูและปุมกระดูกมาสตอยด์ เตรียมบริเวณกว้าง
เป็นวงรอบออกไปจากหูประมาณ 1 – 2 นิ้ว
บริเวณคอ เตรียมบริเวณจากใต้คางลงมาถึง
ระดับราวหัวนม และจากหัวไหล่ข้างขวาถึงข้างซ้าย
บริเวณทรวงอก เตรียมด้านหน้าจากคอตอนบนจนถึงระดับสะดือ
จากแนวยาวของหัวนมข้างที่ไม่ได้ผ่าตัดไปจนถึงกึ่งกลางหลังของข้างที่ทำ
และขนอ่อนต้นแขนจนถึงต่ำกว่าข้อศอก 1 นิ้ว
บริเวณช่องท้อง เตรียมตั้งแต่ระดับรักแร้ลงมาถึงฝีเย็บ
บริเวณท้องต่ากว่าสะดือ เตรียมบริเวณตั้งแต่
ระดับราวนมลงมาถึงต้นขา รวมทั้งบริเวณฝีเย็บ
ไต บริเวณรักแร้จนถึงบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และต้นขา 2 ข้าง
ด้านข้างจากรักแร้ถึงตะโพก ด้านหลังจากแนวกึ่งกลางลำตัวด้านหน้า
อ้อมไปจนถึงกระดูกสันหลัง ซีกของไตข้างที่จะผ่าตัด
บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก เตรียมตั้งแต่ระดับสะดือ
ลงมาถึงฝีเย็บ และด้านในของต้นขาและก้น
แขน ข้อศอก และมือ เตรียมบริเวณแขนข้างที่จะทำผ่าตัดด้านหน้า-หลัง
จากหัวไหล่ถึงปลายนิ้วมือ โกนขนรักแร้ ตัดเล็บ
ตะโพกและต้นขา เตรียมบริเวณระดับเอวลงมาถึงระดับต้ำกว่า หัวเข่า ข้างที่จะทำ 6 นิ้ว ทั้งด้านหน้า-หลัง ด้านข้าง
รวมทั้งเตรียมบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
การทำ Skin graft บริเวณ Donor site และRecipient site ให้กว้าง
หัวเข่า เตรียมจากขาหนีบถึงข้อเท้าข้างที่จะำาผ่าตัดโดยรอบ
ปลายขา เหนือหัวเข่า ประมาณ 8 นิ้ว
ลงมาถึงเท้าข้างที่จะผ่าตัด ตัดเล็บเท้า
เตรียมจากใต้หัวเข่าลงไปถึงเท้าข้างที่จะผ่าตัด ตัดเล็บเท้า
ขั้นตอนการเตรียมผิวหนัง
เตรียมเครื่องใช้ ถาดสี่เหลี่ยม มีดโกนหนวด กรรไกร ผ้าก๊อส กระดาษรองขน
ผ้ายางรอง สบู่ Hibiscrub ใส่ชามกลม สบู่ที่ใช้โดยมาก เหยือกบรรจุน้ำอุ่น ชามรูปไต
บอกให้ผู้ป่วยทราบ กั้นม่าน
ปูผ้ายางรองกันเปื้อนบริเวณที่จะเตรียมผ่าตัด
ถ้าบริเวณที่เตรียมสกปรกมาก เช็ดด้วยเบนซินแล้วฟอกสบู่
ถ้าไม่สกปรกให้ฟอกด้วยน้ำสบู่ธรรมดา ล้างด้วยน้ำสะอาด
การฟอกสบู่ ใช้ผ้าก๊อสชุบสบู่ เช็ดจากบริเวณที่จะผ่าตัดแล้ววงโดยรอบบริเวณนั้นออกมา
เก็บผม/ขน ใบมีดโกนที่ใช้แล้วห่อใส่กระดาษ แยกใบมีดโกน
ทิ้งใบมีดในภาชนะทิ้งของมีคม ทำความสะอาดเครื่องใช้ และเก็บเข้าที่
โกนเสร็จใช้สบู่และน้ำล้าง เช็ดให้แห้ง
การเตรียมเฉพาะที่อื่นๆ ได้แก่ บริเวณช่องคลอด สวนล้างด้วยน้ำยาระงับเชื้อ
บริเวณทวารหนัก,ลำไส้ใหญ่ต้องสวนอุจจาระจนน้ำที่ออกมาใส
โกนขน/ผม ใช้ก๊อสชุบสบู่ ชโลมผิว ดึงผิวหนังตึง
วางใบมีดประมาณ 45º กับผิวหนัง โกนตามแนวขน
ทำความสะอาดบริเวณฝีเย็บ ทำความสะอาดฟัน บ้วนปาก
เช่น Special mouth wash (SMW) ในคืนก่อนผ่าตัดและเช้าวันที่จะผ่าตัด
อาหารและน้ำดื่ม
ถ้าปากแห้งให้ผู้ป่วยบ้วนปากบ่อยๆ
ถ้าผู้ปุวยได้รับอาหาร/น้ำเข้าไป รีบรายงานให้แพทย์ทราบ อาจเลื่อนการผ่าตัดหรือใส่สายเข้าไปที่กระเพาะอาหาร เพื่อดูดเอาอาหารออกมา
งดอาหารก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
สำหรับอาหารเหลวใสให้ได้ 6 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
การดูแลสภาพร่างกายทั่วไป
1.ในคืนก่อนวันผ่าตัด
ของปลอม ของมีค่าต่างๆ ถอดเก็บไว้ให้ญาติดูแลรักษา
สื่อไฟฟ้าต่างๆ เช่น กิ๊บ ให้ถอดออก
เพราะจะทำให้เกิดไฟฟ้าสปาร์คขึ้นขณะผ่าตัด
ทำความสะอาดปาก ฟัน ถอดฟันปลอมออก เพราะขณะที่ดมยา
กล้ามเนื้อคลายตัว ฟันปลอมอาจหลุดเข้าหลอดลม
ไม่ให้ผูป่วยแต่งหน้า ทาเล็บ
เพราะบริเวณนี้เป็นที่สังเกต อาการเขียวคล้ำ
2.ในเช้าวันที่จะผ่าตัด
สังเกตภาวะทางอารมณ์ของผู้ปุวย ต้องสร้างผ่อนคลายอธิบาย
ถึงวิธีการผ่าตัดและผล ให้ความเชื่อมั่นและกำลังใจผู้ป่วย
สังเกตสภาพร่างกายทั่วไป ลงใบแบบฟอร์มผ่าตัด
และใบแบบฟอร์มบันทึกทางการพยาบาล ถ้าผิดปกติ ให้รีบรายงานแพทย์ทราบ
ทำความสะอาดร่างกาย เปลี่ยนชุด
เก็บผม นอนพักอยู่บนเตียงตลอดเวลาจนกว่าจะไปห้องผ่าตัด
การให้ยาแก่ผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
ให้ยาในคืนวันก่อนผ่าตัด ช่วยให้
คลายความวิตกกังวลและนอนหลับพักผ่อนได้ดี และก่อนผ่าตัดประมาณ 45-90 นาที
เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่พิเศษ
เช่น สายใส่จมูกถึงกระเพาะอาหาร
แผ่นบันทึกรายงานต่างๆ
เซ็นใบยินยอม
กรณีผู้ป่วยยังไม่บรรลุนิติภาวะให้
ผู้ปกครองเป็นผู้เซ็นแทน
ถ้าผ่าตัดฉุกเฉิน ให้ญาติ/ครอบครัวเป็นผู้เซ็นแทน
ถ้าติดต่อญาติไม่ทันเวลา สามารถทำผ่าตัดได้
โดยได้รับอนุมัติจากผู้อานวยการโรงพยาบาล
การส่งผู้ป่วยไปห้องผ่าตัด
ผู้ป่วยนอนบนรถนอน (Stretcher) พยาบาลตาม
อยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลาจนกว่าจะมีเจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัดมารับเข้าห้องผ่าตัด
การดูแลครอบครัวผู้ป่วย
แจ้งให้ครอบครัวทราบถึงเวลาที่ผู้ป่วยจะเข้าห้องผ่าตัด
การเตรียมผ่าตัดผู้ป่วยฉุกเฉิน
ให้ผู้ป่วยหรือญาติที่มีสิทธิทางกฎหมายเซ็นใบยินยอมผ่าตัด
ให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะ ทำความสะอาดและเตรียมผิวหนัง
ถ้าผู้ป่วยไม่มีญาติ ต้องถาม/หาที่อยู่
เบอร์โทรศัพท์ รีบแจ้งให้ครอบครัวทราบโดยเร็วที่สุด
เจาะเลือดเพื่อส่งตรวจ CBC และ Blood group ทันที
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
บันทึกอาการ สัญญาณชีพ ในใบแบบฟอร์มก่อนผ่าตัดและบันทึกทางการพยาบาล
สังเกตสภาพร่างกายทั่วไป ถ้าผิดปกติรีบรายงานแพทย์ทราบ
การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
การประเมินสภาพผู้ป่วย
แบบแผนการขับถ่าย
ลักษณะการเปลี่ยนแปลง
ในแบบแผนการขับถ่ายปัจจุบัน
การทำงานของไต
ประวัติการเสียเลือด สารน้ำทางปัสสาวะ
แบบแผนการรับรู้
และการดูแลสุขภาพ
ความร่วมมือในการปฏิบัติการรักษาพยาบาล
การปฏิบัติตนเพื่อส่งเสริม ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย
ประเมินความรู้ความเข้าใจ ยอมรับในการผ่าตัด
แบบแผนอาหารและการเผาผลาญ
การรับรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการ และเรียนรู้การรับประทานอาหาร
การเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร
ประวัติการได้รับและสูญเสียสารน้ำและเกลือแร่
ก่อนผ่าตัดจนถึงหลังผ่าตัด
แบบแผนการปรับตัวและการเผชิญกับความเครียด ประเมินการรับรู้
วิธีการเปลี่ยนแปลง สังเกตพฤติกรรมตอบสนอง
แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
การเปลี่ยนแปลงสัญญาณชีพ
ค่าความดันในหลอดเลือดดำส่วนกลาง
อุณหภูมิของเปลี่ยนแปลงในทางที่สูงกว่า หลังผ่าตัด
ชีพจรและความดันโลหิตไม่ควรมีการ
เปลี่ยนแปลงมากกว่า/น้อยกว่า 20% ของค่าปกติ
ประวัติโรคหัวใจ โรคปอด เบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่มีก่อนผ่าตัด
กิจกรรมการพยาบาลหลังผ่าตัด
การพยาบาลเพื่อส่งเสริม
ภาวะโภชนาการของผู้ป่วย
ดูแลให้ได้รับสารอาหารและพลังงานอย่างเพียงพอ
สังเกตและบันทึกอาการเปลี่ยนแปลง
ที่บ่งชี้ถึงการย่อยและดูดซึมอาหารผิดปกติ
กระตุ้นให้ผู้ปุวยลุกออกจากเตียง/จัดท่านอนศีรษะสูง
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสุขสบาย
และความปลอดภัยของผู้ป่วย
การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
เกี่ยวกับความสะอาดของร่างกายทั่วไป
ดูแลความปลอดภัยในรายที่ยังไม่ฟื้นจากยาสลบ
ดูแลความสุขสบายทั่วไป
การพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการ
เจ็บปวดจากแผลผ่าตัด
ประเมิน Pain scale
แนะนำให้ทำกิจกรรมที่เบี่ยงเบนความสนใจและกิจกรรมที่เป็นการกระตุ้นให้มีการหลั่งเอนโดรฟิน
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการหายของแผล
สังเกตลักษณะแผลที่ผิดปกติ โดยเฉพาะแผลมีการติดเชื้อ
ทำความสะอาดแผลด้วยหลักปราศจากเชื้อ
สังเกตและประเมินปัจจัยเสี่ยง
สอนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลแผล
และวิธีการส่งเสริมการหายของแผล
การพยาบาลเพื่อส่งเสริม
การทำงานของระบบหัวใจและไหลเวียน
ดูแลให้ได้รับสารน้ำ เลือด ทดแทนทางหลอดเลือดดำ
ควรให้ผู้ป่วยนอนพักนิ่งๆ บริเวณที่มีเลือดออกมากๆ
สังเกตลักษณะบาดแผลและปริมาณสิ่งคัดหลั่งต่างๆที่ออกจากร่างกาย
เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นให้พร้อมในรายที่มีภาวะช็อก
ตรวจวัดสัญญาณชีพทึก 15 นาที 4 ครั้ง ทุก 30 นาที 4 ครั้ง
และทุก 1 ชั่วโมงจนสัญญาณชีพสม่ำเสมอ
สังเกต บันทึก และติดตามผลการตรวจคลื่นหัวใจ และดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนทั้งร่างกาย และจิตใจ
การให้คำแนะนำก่อนกลับบ้าน
เรื่องการดูแลแผล การสังเกตอาการ และอาการแสดงของการติดเชื้อ
การเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมต่างๆและการส่งเสริมภาวะโภชนาการ
การดูแลความสะอาดของร่างกายและการมาตรวจตามแพทย์นัด
ส่งเสริมการหายใจให้โล่ง และการทำงานระบบหายใจ
ภายหลังการผ่าตัดระยะแรก
กระตุ้นให้ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
สังเกตอาการบ่งชี้ภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ
ถ้ามีอาการผิดปกติ รีบรายงานแพทย์และให้ออกซิเจน
รายที่ไม่รู้สึกตัวควรพลิกตะแคงให้ทุก 1-2 ชั่วโมง รายที่รู้สึกตัวดี
จัดให้นอนในท่าศีรษะสูง (Fowler’s position) ส่งเสริมการลุกนั่งบนเตียงโดยเร็ว
สังเกตการหายใจของผู้ป่วย กระตุ้นให้ผู้ป่วย
หายใจเข้าออกลึกๆ และไออย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดท่านอน ให้นอนราบไม่หนุนหมอน ตะแคงหน้า
ผู้ป่วยรู้สึกตัวดีให้นอนราบหนุนหมอนง
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย
การช่วยเหลือผู้ป่วยเคลื่อนไหวบนเตียง
การประเมินผู้ป่วย
ท่าที่เหมาะสม และระยะเวลาที่ผู้ป่วยจะคงอยู่ในท่าที่เปลี่ยนให้ใหม่
ความยากลำบากและไม่สุขสบายในขณะเปลี่ยนท่า/เมื่ออยู่ในท่าที่จัดให้
ความสามารถของผู้ปุวยในการช่วยเหลือตนเอง
ปัญหาอื่นๆที่พบในผู้ป่วย เช่น ความผิดปกติเกี่ยวกับผิวหนัง กระดูก หลอดเลือด
ปฏิบัติการพยาบาล
พยุงผู้ปุวยด้วยความนุ่มนวลและมั่นคง ขณะยกตัว/เลื่อนตัว
ผู้ป่วยให้ใช้วิธีสอดมือเข้าใต้ตำแหน่งร่างกายส่วนที่จะยก
การจัดท่าผู้ป่วย
ท่านั่งบนเตียง (Fowler’s position)
จัดท่าให้หัวเตียงสูง 90 องศากับพื้นเตียง "High Fowler’s position"
จัดท่าให้หัวเตียงสูง 30 องศากับพื้นเตียง "Semi Fowler’s position"
จัดท่าให้หัวเตียงสูง 45 - 60 องศากับพื้นเตียง " Fowler’s position "
ท่านอนหงายชันเข่า (Dorsal recumbent position)
ท่าที่ใช้เตรียมตรวจหรือทาการพยาบาลโดยเฉพาะ
ท่านอนตะแคงกึ่งคว่ำ (Semiprone position)
ลดแรงกดต่อด้านหลังและด้านข้าง
ท่านอนหงายพาดเท้าบนขาหยั่ง (Lithotomy position)
เป็นท่าเตรียมตรวจโดยเฉพาะ
ท่านอนคว่ำ (Prone position) เอียงหน้า งอแขนทั้งสองข้างไปด้านศีรษะ ขาเหยียดออกและแยกห่างออกจากกันเล็กน้อย
ท่านอนคว่าคุกเข่า (Knee-chest position) ท่าเตรียมตรวจ/ผ่าตัดทวารหนักและลeไส้ใหญ่ส่วนปลายโดยเฉพาะ
ท่านอนตะแคง (Lateral or Slide-lying position)
ลดการกดทับบริเวณหลัง ข้อต่างๆจะงอ
เป็นท่าที่ควรเปลี่ยนให้หลังจากที่นอนหงายมาระยะหนึ่ง
ผลเสีย คือ ข้อไหล่และข้อสะโพกที่อยู่
ด้านบนจะห้อยลงและหมุนเข้าด้านใน
ท่านอนศีรษะต่าปลายเท้าสูง (Trendelenburg position)
เป็นท่านอนสำหรับผู้ป่วยเสียเลือด ช็อก ประยุกต์ใช้กับเตียง
ชนิดที่ยกเฉพาะปลายเท้าให้สูงขึ้น (modified trendelenburg)
ท่านอนหงาย
(Dorsal or Supine position)
หลังสัมผัสที่นอนหน้าหงายขึ้น ศีรษะ คอ ไหล่ และส่วนบน
อยู่บนหมอน แขนและขาเหยียดออก ขากางออกเล็กน้อย
ข้อเท้าพยุงให้ตั้งฉาก 90 องศา
เอาหมอนหนุนศีรษะของผู้ป่วยออก วางหมอนไว้ที่พนักหัวเตียง
ปรับระดับเตียงให้อยู่ในแนวราบ ดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วย
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
การประเมินผู้ป่วยก่อนการเคลื่อนย้าย
ส่วนที่อ่อนแรง/พิการ
และความมั่นคงในการคงท่า
ส่วนที่จำเป็นต้องให้อยู่นิ่งๆ
และอ่อนเพลียมากน้อยแค่ไหน
ความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง
และท่าที่เป็นข้อห้าม
ความต้องการการเคลื่อนย้ายเปลี่ยนท่าและความสุขสบาย
วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
นำหมอนหนุนศีรษะของผู้ป่วยออก วางหมอนที่พนักหัวเตียง
พยาบาลยืนในท่าที่ถูกต้องมั่นคงและใช้หลักการของกลไกการเคลื่อนไหวร่างกาย
แจ้งให้ผู้ป่วยทราบและบอกวิธีการให้ความร่วมมือ
พยุงผู้ป่วยด้วยความนุ่มนวลและมั่นคง
ใช้วิธีสอดมือเข้าไปในตำแหน่งของร่างกาย
หลักการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
หาวิธีที่เหมาะสมในการยก/เคลื่อนย้าย
และผู้ป่วยควรอยู่ใกล้พยาบาลมากที่สุด
ยกตัวผู้ป่วยให้พ้นจากที่นอนเล็กน้อยและใช้ผ้าขวางเตียงช่วยในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
หลังตรงและย่อเข่าและสะโพก
หากผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ หาผู้ช่วยเหลือตั้งแต่ 2 คน
ให้สัญญาณขณะยก/ใช้อุปกรณ์ที่ช่วยผ่อนแรงมาใช้
ยืนแยกเท้าทั้งข้างห่างกันพอสมควร และเฉียงปลายเท้าไปตามทิศทางที่ต้องการเคลื่อนย้าย
จัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายราบและหันหน้าเข้าหา
ผู้ป่วยและไปในทิศทางที่จะเคลื่อนย้าย ควรยืนในท่าที่ถูกต้องและมั่นคง
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดิน
การออกกาลังกายเพื่อเตรียมผู้ป่วยเดิน
หมุนข้อตะโพก หมุนเข้า - ออก
กางและหุบข้อตะโพก เหยียดข้อเข่า ให้ข้อเท้างอเข้าหาปลายขา
เหยียดขาออกและยกขึ้นแล้วงอเข่าและยกเข่าเข้าหาอกงอเท้าให้นิ้วเท้าโค้งหาปลายขา เสร็จจึงเหยียดเข่าและตะโพกออกให้อยู่ในท่าขาเหยียด
เหยียดข้อเข่า เหยียดขาพร้อมกับกดข้อเข่าลงกับที่นอน และยกส้นเท้าขึ้นจากเตียงสูงสลับทำกับขาอีกข้าง
งอข้อเท้า หมุนข้อเท้าเข้าหาตัวและออกจากตัว
งอและเหยียดนิ้วเท้าและเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง ตะโพก ต้นขา
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดิน
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินโดยพยาบาล 1 คน
กรณีใช้เข็มขัด/ผ้าคาดเอว พยาบาลยืนเยื้องด้านหลังผู้ป่วย ใช้มือ 2 ข้างยืดเข็มขัด ช่วยคงจุดศูนย์ถ่วง อีกมือจับบริเวณต้นแขนของผู้ป่วยก้าวพร้อมกัน
กรณีไม่ใช้เข็มขัด ใช้มือด้านใกล้ตัวจับที่ต้นแขนของผู้ป่วย มือไกลตัวจับที่ปลายแขน
ถ้าผู้ป่วยเป็นลม สอดแขนเข้าใต้รักแร้รับน้ำหนักตัวผู้ป่วยและแยกเท้ากว้าง
ดึงตัวผู้ป่วยขึ้นมาข้างตัว ใช้สะโพกรับน้ำหนักตัว และค่อยๆวางตัวผู้ป่วยลงบนพื้น
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินโดยพยาบาล 2 คน
ให้พยาบาลยืนข้างผู้ปุวยคนละด้าน มือพยาบาลข้างใกล้ตัวผู้ป่วยสอดใต้รักแร้ผู้ป่วย อีกข้างจับปลายแขนผู้ป่วยข้างเดิม
ผู้ป่วยและพยาบาลทั้ง 2 คนเดินพร้อมกัน ถ้าผู้ป่วยเป็นลมพยาบาลทั้ง 2 คน
ทำเหมือน 1 คน และใช้สะโพกยันผู้ป่วยแล้วค่อยๆพยุงผู้ป่วยลงบนพื้น
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดิน
ประโยชน์ของอุปกรณ์ช่วยเดิน
ช่วยแบ่งเบา/รับน้ำหนักแทนขา 1 / 2 ข้าง เมื่อมีข้อห้าม/มี
การอ่อนแรงจนขาไม่สามารถรับน้าหนักได้
เพิ่มการพยุงตัว สามารถทรงตัวได้
ช่วยแบ่งเบา/รับน้ำหนักแทนขา 1 / 2 ข้าง
มีข้อห้ามในการรับน้ำหนักเต็มทั้งขาข้างนั้น
การเตรียมผู้ป่วยก่อนการฝึกใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
การฝึกในท่าตั้งตรง บนเตียง/เบาะ
การฝึกในราวคู่ขนาน เช่น ฝึกยืน ฝึกทรงตัว
การฝึกความแข็งแรง ความทนทาน
และการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อ
การลงน้ำหนักที่ขาเวลาเดิน
ผู้ป่วยจะต้องลงน้ำหนักตามแผนการรักษา
Partial weight bearing (PWB) เดินโดยลงน้าหนักข้างที่เจ็บได้บางส่วน 20-50%
Full weight bearing (FWB) เดินโดยขาข้างที่เจ็บลงน้าหนักได้เต็มที่ 100%
Toe touch weight bearing (TTWB) เดินโดยเอาปลายเท้าข้างที่เจ็บแตะพื้น Up to 20%
Weight bearing as tolerated (WB AS Tol.) เดินโดยขาข้างที่เจ็บลงน้ำหนักเท่าที่ทนไหว เท่าที่ทนได้
Non weight bearing (NWB) ไม่ลงน้ำหนักของขาข้างที่เจ็บ 0%
รูปแบบการเดิน (Gait pattern)
Two – point gait ใช้การทรงตัวและความมั่นคงใช้ได้กับไม้ค้ำยันและไม้เท้า
Three – point gait ใช้ในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของขา 1 ข้าง ใช้ได้ทั้งในกรณีที่ขาข้างนั้นไม่สามารถรับน้ำหนักได้และรับน้ำหนักได้เพียงบางส่วนใช้ได้กับไม้ค้ายัน และ Walker
Four – point gait มีจุดรับน้ำหนัก 3 จุด ในขณะที่ขา 1 ข้างกำลังเคลื่อนไหว
การยกขาจะต้องถ่ายน้าหนักไปยังจุดรับน้ำหนักที่เหลืออีก 3 จุด
และเท้าจะต้องอยู่หลังอุปกรณ์ช่วยเดิน 6 – 8 นิ้วเสมอ
Swing – to gait เหมาะกับผู้ปุวยที่มีการจำกัดในการใช้ขาทั้ง 2 ข้าง
Swing – through gait มีความมั่นคงน้อยที่สุดในรูปแบบการเดินทั้งหมด
ชนิดของอุปกรณ์ช่วยเดิน
Walker นิยมใช้ Standard walker
เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอายุมากและการทรงตัวไม่ดีนัก
Cane เดินด้วยไม้เท้าอันเดียว ผู้ป่วยต้องมีมั่นคงในการเดิน ใช้กับผู้สูงอายุ/ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
Parallel bar = ราวคู่ขนาน ช่วยเดินที่ให้ความมั่นคงที่สุด
Crutches (ไม้ยันรักแร้) ใช้ได้กับผู้ป่วยที่ค่อนข้างแข็งแรง มีการทรงตัวดี
วิธีการฝึกผู้ป่วยใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
Lofstrand crutch
เพิ่มความมั่นคงของท่อนแขนส่วนปลายเวลายันลงน้ำหนัก ใช้ผู้ป่วยที่มีการทรงตัวดี และมีความมั่นใจในการใช้ ไม่เทอะทะ ปล่อยมือทำกิจกรรมอื่นไม้ได้
การวัดความยาว ให้ถือ Lofstrand crutch
ให้ปลายไม้ห่างจากนิ้วก้อยไปทางด้านข้าง 6 นิ้ว
การสอนเดิน เดิน Point gait เช่นเดียวกับ Axillary crutches แต่เดิน Swing gait ไม่ได้
Platform crutch
การสอนเดิน เช่นเดียวกับ Auxiliary crutches
การวัดความยาว ให้ถือปลายไม้ห่างจากนิ้วก้อยไปทางด้านข้าง 6 นิ้ว
แผ่นรองรับท่อนแขนส่วนปลาย อยู่ในระดับที่ข้อศอกงอ 90 องศา
ไม้ค้ำยันรักแร้ (Auxiliary crutches)
มีจุดยึดตอนบนอยู่ที่รักแร้ ช่วยพยุงตัวได้ดีและแบ่งรับน้าหนักได้ถึง 80% ของน้ำหนักตัว
การวัดขนาด
ในท่ายืน
ให้ผู้ป่วยถือ Auxiliary crutches ให้ปลายไม้ห่างจากนิ้วก้อยไป
ทางด้านข้าง 6 นิ้ว ด้านหน้า 6 นิ้ว
ปรับระดับความยาวไม้ให้ Underarm rest ต่ำกว่า Anterior auxiliary fold 2 นิ้วมือ
ปรับระดับ Hand bar ให้จับแล้วข้อศอกงอ 30 องศา
ข้อมือกระดกขึ้นเต็มที่ และมือกาได้เต็มที่
ในท่านอน
ให้ผู้ป่วยนอนหงาย พักส่วนไหล่ ไม่เกร็ง
วัดความยาวจาก Anterior auxiliary fold ถึงส้นเท้า บวก 1 นิ้ว สำหรับความสูงของรองเท้า
การสอนเดิน ใช้ไม้ค้ายันรักแร้
4 – Point gait
มักใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหา ataxia มีอาการเจ็บปวดของแขนขาทั้งหมด/ต้องการลดการลงน้ำหนักที่ขา 2 ข้าง บางส่วน
จังหวะการเดินคือ ไม้ซ้าย ขาขวา ไม้ขวา ขาซ้าย
ไม้ซ้าย ขาขวา ไม้ขวา ขาซ้าย ........
2 – Point gait
ใช้ในผู้ป่วย ataxia ลดการลงน้ำหนักได้ถึง 45 % ของน้าหนักตัว
จังหวะการเดิน คือ ไม้ซ้าย + ขาขวา ไม้ขวา + ขาซ้าย
ไม้ซ้าย + ขาขวา ไม้ขวา + ขาซ้าย ....
3 – Point gait
จังหวะการเดิน คือ ไม้ 2 ข้าง ขาที่มีปัญหา ขาที่ดี
ไม้ 2 ข้าง ขาที่มีปัญหา ขาที่ดี ........
ใช้กรณีที่ต้องการไม่ให้ลงน้ำหนัก/ลงน้าหนัก
บางส่วนที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง
Swing-to gait : ไม้ 2 ข้าง – จากนั้นยกและเหวี่ยงตัวไปจนถึงระดับไม้
ใช้ในผู้ป่วย Paraplegia ที่ขาไม่มีแรงแต่มีแรงกล้ามเนื้อลำตัว สวมกายอุปกรณ์เสริมขาเวลายืนและเดิน
Swing-through gait : ไม้ 2 ข้าง- จากนั้นยกและเหวี่ยงตัวไปจนเลยระดับไม้
ใช้พลังงานในการเดินมาก และผู้ป่วยต้องมีการทรงตัวที่ดี
การเดินขึ้น – ลงบันไดควรมีราวบันไดช่วย และรวบไม้ 2 ข้างไว้ด้านเดียว
การเดินขึ้นบันได: ยกขาข้างที่ดีก้าวขึ้นก่อน– ตามด้วยขาข้างที่มีปัญหา– ไม้ค้ำยัน
การเดินลงบันได: ยกไม้ลงไปก่อน – ตามด้วยขาข้างที่มีปัญหา – ขาข้างที่ดี
ไม้เท้า (Cane)
การสอนเดิน แขนและขาเคลื่อนสลับกัน กรณีที่ปวดข้อตะโพก ถือด้านตรงข้ามกับขาที่ปวด
รูปแบบการเดิน
เดินบนพื้นราบ
3-Point gait : ยกไม้เท้าไปข้างหน้า ก้าวขาข้างที่มีปัญหาไปถึงระดับไม้
ยันทิ้งน้ำหนักตัวบางส่วนลงที่ไม้เท้า พร้อมกับยกขาข้างที่ดีตามไปถึงระดับเดียวกัน
เดินขึ้นบันได : ยกก้าวขาข้างที่ดีขึ้นก่อน - ขาข้างที่มีปัญหา - ยกไม้เท้าตาม
เดินลงบันได : ยกไม้เท้าลงก่อน- ขาข้างที่มีปัญหา- ยกขาข้างที่ดีก้าวตาม
การวัดความยาว ให้ผู้ปุวยถือมือด้านตรงข้ามกับขาที่มีปัญหา ให้ปลายไม้ห่างจากปลายนิ้วก้อยไปทางด้านข้าง 6 นิ้ว จับอยู่ในระดับเดียวกับ Greater trochanter
ไม้เท้า 3 ขา (Tripod cane)
การวัดความยาว ถือไม้เท้าในมือด้านตรงข้ามกับขาที่มีปัญหา
ให้แกนกลางไม้ห่างจากนิ้วก้อยของเท้าไปทางด้านข้าง 6 นิ้ว
และขาทั้ง 3 อยู่ทางด้านนอก
เดินบนทางราบ : เช่นเดียวกับไม้เท้าขาเดียว
Walker
การสอนเดิน เวลายกและวาง Walker บนพื้น จะต้องให้ทั้ง 4 ขาถึงพื้นพร้อมกัน
ต้องไม่ก้าวไปยืนใกล้กับขาหน้าของ Walker
แบบแผนการเดิน : ยก Walker ไปด้านหน้า > ยกขาที่มีปัญหาก้าวไปจนถึงระดับขาหลัง >
ก้าวขาข้างที่ดีตาม ยันน้ำหนักตัวลงบนแขน 2 ข้าง
การวัดความสูง ยืนให้เท้า 2 ข้างอยู่ตรงกับระดับขาหลังของ Walker ความสูงของ Walker ระดับมือจับตรงกับ Greater trochanter
การออกกาลังกายและการเคลื่อนไหวร่างกาย
การออกกำลังกาย
ชนิดให้ผู้ป่วยทำเอง
(Active or Isotonic Exercise)
ข้อต่างๆ มีการเคลื่อนไหวและกล้ามเนื้อหดรัดตัว
ทำให้กล้ามเนื้อมีความตึงตัวและแข็งแรง
การไหลเวียนโลหิตดี เช่น การทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง
ให้ผู้อื่นทำให้ผู้ป่วย
(Passive exercise)
เช่น พยาบาลหรือญาติช่วยผู้ป่วยในการยกแขน ขา
ช่วยให้ข้อมีการเคลื่อนไหวและช่วยปูองกัน
การหดรั้งของกล้ามเนื้อผิดรูป
ให้ผู้ป่วยทำร่วมกับความช่วยเหลือของผู้อื่น (Active assistive exercise)
ช่วยผู้ปุวยออกกำลังกายขา แขนข้างที่
ได้รับการผ่าตัดให้สูงเท่าที่จะทำได้
กระตุ้นให้กล้ามเนื้อมีการทำงานร่วมด้วย เช่น การพยุง/ช่วยเหลือผู้ปุวยในการลุก – นั่งข้างเตียง
ให้กล้ามเนื้อทางานแต่ข้อไม่เคลื่อน (Isometric or Static exercise)
เพิ่มความตึงตัวและแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ป้องกันกล้ามเนื้อลีบ
ให้ผู้ป่วยเกร็งกล้ามเนื้อ เพื่อให้มีการหดรัดตัวชั่วระยะหนึ่ง ประมาณ 6 วินาทีแล้วผ่อนคลาย
ให้ผู้ป่วยออกแรงต้านกับแรงอื่น
(Resistive exercise)
กระตุ้นในผู้ป่วยที่ต้องพักรักษาตัวอยู่บนเตียงนานๆ
และมีภาวะกล้ามเนื้อลีบเกิดขึ้น
ช่วยให้กล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้น มีความแข็งแรง
และทำงานได้ดี
การเคลื่อนไหวร่างกาย
กลไกการเคลื่อนไหวร่างกาย
การใช้ร่างกายอย่างปลอดภัยมีประสิทธิภาพ
การประสานงานกันในการเคลื่อนไหวและดำรงความสมดุลระหว่างการมีกิจกรรม
ทำให้เกิดผลดีต่อร่างกาย ลดการเมื่อยล้า/การใช้พลังงานในการเคลื่อนไหวและรักษาสมดุล
การทรงตัวที่ดีและเคลื่อนไหวถูกต้อง
ป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย/มีความพิการของกระดูก และกล้ามเนื้อ
ลดการเมื่อยล้า หรือการใช้พลังงานมากเกินไป
ส่งเสริมและสนับสนุนการทางานของร่างกายให้เป็นไปตามปกติ
ผลกระทบจากการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
ระบบผิวหนัง
เกิดแผลกดทับ (Decubitus ulcer)
พบในผู้ป่วยสูงอายุ,อ้วนมาก/ผอมมาก
เซลล์ตายและลุกลามกลายเป็นแผล
การเสียดทาน เมื่อถูกลาก/เลื่อนตัว ผิวหนังขูดกับที่นอน
เกิดแรงกดทับระหว่างปุมกระดูกกับที่นอนที่รองรับ
ในการนอน ทำให้เซลล์ขาดออกซิเจน
แรงดึงรั้ง เกิดจากแรงกดทับและ
การเสียดทานที่เกิดขึ้นพร้อมกัน
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
การประสานงานของกล้ามเนื้อแขนขาลดลง/ไม่สัมพันธ์กัน
กล้ามเนื้อบางส่วนมีอาการอ่อนแรง
กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลีบเล็ก (Muscle atrophy) ขาดความตึงตัว
และความแข็งแรงลดลง การเคลื่อนไหวของร่างกายบกพร่อง
เสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการเสื่อม
กระดูกผุ เปราะบาง (Osteoporosis) ภาวะการลงน้ำหนัก
ต่อกระดูกที่กระตุ้นให้มีการสร้างกระดูกน้อยลงกว่าปกติ
อาการปวดหลัง (Back pain) ท่านอนที่ไม่ถูกต้อง
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
มีการคั่งของเลือดในหลอดเลือดดำที่ขา
เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ (Thrombus) มีการคั่งของหลอดเลือดดำและการสลายตัวของกระดูกทำให้แคลเซียมในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น
หัวใจทำงานมากขึ้น การทำงานของระบบประสาทซิมพาเธติกเพิ่มมากขึ้น
ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
ความดันต่ำขณะเปลี่ยนท่า (Orthostatic Hypotension)
เปลี่ยนท่าจากท่านอนเป็นท่านั่ง มีอาการวิงเวียน หน้ามืด เนื่องจากระบบไหลเวียนที่ตอบสนองการเปลี่ยนท่าเสื่อมลง
ระบบทางเดินหายใจ
ปอดขยายตัวลดลง (Decrease lung expansion)
มีการคั่งของเสมหะมากขึ้น ท่านอนราบเสหะจะไหลสู่ส่วนล่างของหลอดลมให้ส่วนบนของหลอดลมแห้ง Cilia โบกพัดได้ลำบาก การขับเสมหะไม่มีประสิทธิภาพ
ระบบทางเดินอาหาร
เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เกิดการขาดสารอาหาร
ท้องผูก (Constipation) เนื่องจากการบีบตัวของ
ลำไส้ลดลงจากการหลั่ง Adrenaline ลดลง
ระบบทางเดินปัสสาวะ
มีการคั่งของปัสสาวะในไตและกระเพาะปัสสาวะ
และกระเพาะปัสสาวะสูญเสียหน้าที่
เกิดนิ่วในไตและกระเพาะปัสสาวะ (Renal Calculi) มีแคลเซียมในเลือดสูง
ร่วมกับการมีปัสสาวะคั่งและสภาพปัสสาวะที่เป็นด่าง
การถ่ายปัสสาวะมากกว่าปกติในระยะแรกๆ (Diuresis)
ระบบเมตาบอลิซึมและการเผาผลาญอาหาร
มีระดับโปรตีนในกระแสเลือดลดต่ำลง (Hypoproteinemia)
มีความผิดปกติด้านอัตมโนทัศน์และภาพลักษณ์
(Self concept andอBody image) มีรูปร่าง/ภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากพยาธิสภาพของโรค/แผนการรักษา
การเผาผลาญอาหารลดลง
กระบวนการพยาบาลในการดูแล
ผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด
การประเมินสภาพผู้ป่วย
เช่น การปรับตัวและความทนทานต่อความเครียด
รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นเพื่อนาไปสู่การวางแผนการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
วิตกกังวลเนื่องจากกลัวการผ่าตัด
วิตกกังวลเกี่ยวกับโรคและแผนการรักษา
การวางแผนการพยาบาล ให้การพยาบาล และประเมินผลหลังให้การพยาบาล
ร่วมกันหาทางแก้ไขสาเหตุของ
ความวิตกกังวลร่วมกับผู้ปุวยและญาติ
ดูแลความสุขสบายทั่วไป
เปิดโอกาสให้ผู้ปุวยระบายความรู้สึก และค้นหาสาเหตุของความวิตกกังวล
จัดหมวดหมู่กิจกรรมการพยาบาล
เพื่อลดการรบกวนผู้ปุวยและให้ผู้ปุวยได้พัก
ประเมินระดับความวิตกกังวล
รายงานแพทย์เมื่อพบอาการผิดปกติ