Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 การฟังและการสื่อสาร, images, unnamed, unnamed, : download (2),…
บทที่ 2 การฟังและการสื่อสาร
ความสำคัญของการฟัง
๒. การฟังทำให้เกิดความคิดกว้างไกล การสร้างนิสัยการฟังที่ดี ทำให้เกิดความคิดไปในด้านต่างๆ สามารถแก้ปัญหา สร้างงาน วิเคราะห์ พิจารณาเรื่อต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างมีเหตุมีผล
๓. การฟังทำให้เกิดการพัฒนาตนเอง การฟังเรื่องราวต่างๆทำให้ได้รับความรู้มากมาย ผู้ฟังสามารถนำมาปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งในครอบครัว การทำงานร่วมกับผู้อื่น
๑. การฟังทำให้ได้รับความรู้ การฟังมีความสำคัญในชีวิตประจำวันในทักษะทั้งสี่ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ทักษะในการฟังเป็นทักษะที่ใช้มากที่สุด การฟังทำให้ผู้ฟังได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น
๔. การฟังทำให้เกิดความจรรโลงใจ และซาบซึ้ง การฟังบทร้อยกรอง
๕. การฟังเป็นการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกัน การฟังในครอบครัวมีความสำคัญในระดับแรก ที่ทำให้ครอบครัวมีความสุข ความอบอุ่นการฟังในสังคม ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บังคับบัญชา
ความหมายของการฟัง
การฟัง คือ การรับรู้ความหมายจากเสียงที่ได้ยิน เป็นการรับรู้สารทางหู ทั้งที่ฟังจากบุคคลโดยตรง และฟังจากจากสื่ออิเล็คทรอนิคส์ต่าง ๆเพราะข่าวสาร ความรู้และศิลปะวิทยาการต่าง ๆที่มนุษย์ถ่ายทอดกันตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันยังใช้วิธีการพูดอธิบายให้ฟังแม้จะมีหนังสือบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้วก็ตาม
จุดมุ่งหมายของการฟัง
๓. การฟังเพื่อหาเหตุผลมาโต้แย้งหรือคล้อยตาม
๔. การฟังเพื่อให้เกิดความซาบซึ้ง
๒. การฟังเพื่อจับใจความโดยละเอียด
๕. การฟังเพื่อส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
๑. การฟังเพื่อจับใจความสำคัญ
ระดับของการฟัง
2,การฟังด้วยความตั้งใจ
3.การฟังอย่างเข้าถึงอารมณ์
1.การฟังแบบผ่านหู
4.การฟังโดยรับรู้ความซาบซึ้ง
การเป็นผู้ฟังที่ดี
ฟังด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสเป็นกันเองกับผู้พูด แสดงสีหน้าพอใจในการพูด ไม่มีแสดงกิริยาก้าวร้าว เบื่อหน่าย หรือลุกออกจากที่นั่งโดยไม่จำเป็นขณะฟัง
ฟังด้วยความสุขุม ไม่ควรก่อความรำคาญให้บุคคลอื่น ควรรักษามารยาทและสำรวมกิริยา ไม่หัวเราะเสียงดังหรือกระทืบเท้าแสดงความพอใจหรือเป่าปาก
มองสบตาผู้พูด ไม่มองออกนอกห้องหรือมองไปที่อื่น อันเป็นการแสดงว่าไม่สนใจเรื่องที่พูด และไม่เอาหนังสือไปอ่านขณะที่ฟัง หรือนำอาหารเครื่องดื่มเข้าไปรับประทานระหว่างฟัง
ฟังด้วยความอดทนแม้จะมีความคิดเห็นขัดแย้งกับผู้พูดก็ควรมีใจกว้างรับฟังอย่างสงบ
จดบันทึกข้อความที่สนใจหรือข้อความที่สำคัญ หากมีข้อสงสัยเก็บไว้ถามเมื่อมีโอกาสและถามด้วยกิริยาสุภาพ เมื่อจะซักถามต้องเลือกโอกาสที่ผู้พูดเปิดโอกาสให้ถาม หรือยกมือขึ้นขออนุญาตหรือแสดงความประสงค์ในการซักถาม ถามด้วยถ้อยคำสุภาพ และไม่ถามนอกเรื่อง
ไม่พูดสอดแทรกขณะที่ฟัง ควรฟังเรื่องให้จบก่อนแล้วค่อยซักถามหรือแสดงความคิดเห็น
การฟังในที่ประชุม ควรเข้าไปนั่งก่อนผู้พูดเริ่มพูด โดยนั่งที่ด้านหน้าให้เต็มก่อนและควรตั้งใจฟังจนจบเรื่อง
ควรให้เกียรติวิทยากรด้วยการปรบมือ เมื่อมีการแนะนำตัวผู้พูด ภายหลังการแนะนำ และเมื่อวิทยากร พูด จบ
เมื่อฟังอยู่เฉพาะหน้าผู้ใหญ่ ควรฟังโดยสำรวมกิริยามารยาท ฟังด้วยความสุภาพเรียบร้อย และตั้งใจฟัง
หลักการฟัง
พยายามจับประเด็นสาคัญ วิธีการฟังที่ดีนอกจากต้องใช้สมาธิในการฟังแล้ว ผู้ฟังควรพยายามจับประเด็นสาคัญของเรื่องทุกครั้งที่ฟัง การจับประเด็นสำคัญเริ่มมาจากผู้ฟังกำหนดจุดมุ่งหมายในการฟังไว้แล้ว ฟังอย่างตั้งใจตลอดเรื่อง จดบันทึก และพยายามจับสาระสาคัญโดยใช้การพิจารณาจากพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ และสุดท้ายให้สรุปประเด็นสาคัญของเรื่อง
พิจารณาไตร่ตรองเรื่องที่ฟัง เป็นการฟังแล้วนาเรื่องที่ฟังมาวิเคราะห์แยกแยะข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น หาสาระความรู้จากเรื่องที่ฟัง แล้วนามาพิจารณาประเมินค่าว่าน่าเชื่อถือ มีประโยชน์หรือเหมาะแก่การนาไปปฏิบัติตามหรือไม่
มีสมาธิในการฟัง การมีสมาธิเป็นพื้นฐานของพฤติกรรมการฟังที่ดี ผู้ฟังควรมีสมาธิในการฟังอยู่เสมอ การมีสมาธิจะเริ่มมาจากความตั้งใจฟัง มีใจจดจ่อต่อเรื่องที่ได้ฟัง ไม่วอกแวกต่อสิ่งรบกวนต่างๆ การมีสมาธิในการฟังยังจะทำให้ผู้ฟังมีกิริยาท่าทางที่สำรวมอีกด้วย
การฝึกทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง
สังเกตอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลง
ใคร่ครวญกับตัวเอง
สังเกตสัญญาณทางกาย
ทำการแยกแยะ
: