Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัดการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย -…
การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัดการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การประเมินผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การซักประวัติ
ประวัติโรคประจําตัว
ประวัติการผ่าตัด และการได้รับยาระงับความรู้สึกก่อนหน้านี้
ประวัติการแพ้ยาหรืออาหาร
การใช้ยา สารเสพติด การสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
ประวัติของคนในครอบครัวหรือญาติที่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้รับยาระงับ ความรู้สึก
ประวัติเกี่ยวกับโรคของระบบต่างๆ ของร่างกาย
การตรวจร่างกาย
การชั่งน้ําหนัก วัดส่วนสูง
การตรวจประเมินทางระบบหายใจ
สัญญาณชีพ
การตรวจร่างกายตามระบบ โดยเน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคหรือบริเวณที่ จะทําการผ่าตัด
การตรวจร่างกายตามระบบ โดยเน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคหรือบริเวณที่ จะทําการผ่าตัด
BUN/Creatinine
โรคไต โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ภาวะพร่องน้ํา
Blood sugar
โรคเบาหวาน ใช้ยากลุ่ม steroids
Electrolytes
โรคไต โรคเบาหวาน ภาวะพร่องน้ํา ได้รับยาขับปัสสาวะ digoxin steroids
Liver function tests
โรคตับ ถุงน้ําดี ภาวะเลือดออกผิดปกติ ภาวะขาดสารอาหาร โรคพิษสุราเรื้อรัง ได้รับยาเคมีบําบัด
Urinalysis
Screening test สําหรับโรคไต การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
Coagulogram
โรคตับ เลือดออกผิดปกติ ได้รับยาป้องกันเลือดแข็งเป็นลิ่ม
Complete blood count
ภาวะซีด เลือดออกผิดปกติ Chronic blood loss โรคไต โรคมะเร็ง
Chest X-ray
โรคหัวใจ โรคปอด โรคมะเร็ง สูบบุหรี่ ไอเรื้อรัง มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยวัณโรค
ECG
โรคหัวใจ โรคปอด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน
การเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การเตรียมผู้ป่วย ซึ่งระยะเวลาก่อนผ่าตัด
ด้านร่างกาย
ประเมินความสมบูรณ์ของร่างกายในการได้รับอาหารที่พอเหมาะ
ภาวะสารน้ําและอีเล็คโทรลัยต์ในร่างกาย
ต้องประเมินสภาวะความ สมดุลของสารน้ํา และอีเล็คโทรลัยต์ในร่างกาย
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ต้องประเมินสภาวะของไต
การพักผ่อนและการออกกําลังกาย
ระบบทางเดินหายใจ
ต้องประเมินสภาวะของปอดและหลอดลม ดูการ
ทํางานของระบบทางเดินหายใจ
ให้คําแนะนําและข้อมูลต่างๆ ที่ผู้ป่วยควรทราบเพื่อลดความวิตกกังวล
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ต้องประเมินความสามารถในการทํางาน ของหัวใจ และหลอดเลือด เพื่อดูว่าร่างกายสามารถทนต่อการผ่าตัดได้หรือไม่
ด้านจิตใจ
ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ควรได้รับการเตรียมทางจิตใจทุกคน โดย การเยี่ยมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ประเมินความวิตกกังวลก่อนผ่าตัด ทั้งนี้ เพื่อช่วยลดความวิตกกังวล ความกลัว ต่างๆ พยาบาลควรให้ผู้ป่วยได้รับข้อมูลจริง ทําความเข้าใจ และแก้ไขเกี่ยวกับความเชื่อผิดๆ ซึ่งมี ประโยชน์มาก ขณะเดียวกันเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้แสดงความรู้สึกที่กังวลออกมา
การให้คําแนะนําการปฏิบัติหลังผ่าตัด
Early ambulation
ยกเว้นมีข้อห้ามหรือการผ่าตัดบางอย่างที่ต้องให้ ผู้ป่วย Absolute bed rest ก่อนลุกจากเตียงควรมีการเตรียมพร้อมกล้ามเนื้อขา เพื่อช่วยในการลุกเดิน ได้แก่ SLRE QSE ROM
Quadriceps Setting Exercise (QSE)
เป็นการออกกําลังกายกล้ามเนื้อ ต้นขา (Quadriceps muscle)
Straight Leg Raising Exercise (SLRE)
ป็นการออกกําลังขา ข้อสะโพก และกล้ามเนื้อต้นขาแบบยกขาขึ้นตรงๆ
Range of Motion (ROM)
เป็นการออกกําลังข้อโดยมีการเคลื่อนไหวใน ทุกทิศทางปกติของข้อต่าง ๆ
Deep-breathing exercises
Effective Cough
จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งเอนไปข้างหน้าเล็กน้อย ให้ผู้ป่วยประสานมือทั้ง 2 ข้าง และกดเบาๆ เหนือบริเวณที่คิดว่าจะมีแผลผ่าตัด ทั้งนี้เพื่อช่วยทําให้แผลอยู่ นิ่งเป็นการลดอาการเจ็บแผลขณะที่ไอ
Abdominal breathing
Turning and ambulation
ควรทําทุก 2 ช.ม. เช่น พลิกตัวไปทางขวา ให้ขยับตัวไปทางซ้าย ใช้มือซ้ายจับราวกั้นเตียงซ้าย แล้วพลิกมาทางขวา
Extremity exercise
ให้ผู้ป่วยนอนในท่าหัวสูงเล็กน้อยหรือนอนในท่าที่ สบาย ทําการออกกําลังแขนหรือขาทีละข้างโดยเฉพาะการเหยียดออกและงอเข้าของทุกข้อ
Pain management
หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการระงับความเจ็บปวด ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งได้แก่ การได้รับยาแก้ปวดทางหลอดเลือดดํา พยาบาลควรสอนที่ช่วยในการระงับความ เจ็บปวดควบคู่กันไป เช่น การใช้หมอนหรือฝ่ามือทั้งสองข้างในการพยุงแผลขณะไอ
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การเตรีมผู้ป่วยก่อนวันผ่าตัด
อาหารและน้ำดื่ม
:ควรงดอาหารผู้ป่วยก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง สําหรับ อาหารเหลวใสให้ได้ 6 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
การขับถ่าย
ถ้าเป็นการผ่าตัดเล็ก หรือการผ่าตัดที่ไม่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในช่อง ท้อง แพทย์อาจให้สวนอุจจาระหรือไม่ก็ได้ หรือให้รับประทานยาระบายก่อนวันผ่าตัด แต่ถ้าเป็นการผ่าตัด ใหญ่หรือผ่าตัดเปิดสู่ช่องท้องแพทย์จะให้มีการสวนอุจจาระก่อนผ่าตัด
การเตรียมผิวหนังก่อนผ่าตัด
เนื่องจากผิวหนังเป็นแหล่งที่มีเชื้อจุลินทรีย์อาศัยอยู่ มาก เพราะเป็นบริเวณที่กว้าง ดังนั้นต้องมีการเตรียมความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะผ่าตัด
โกนขน หรือผม
วางใบมีดประมาณ 45° กับผิวหนัง และโกนไปตามแนวขน การลากใบมีด โกนแต่ละครั้งลากยาวประมาณ 6 - 8 นิ้ว
การดูแลสภาพร่างกายทั่วไป
ในคืนก่อนวันผ่าตัด
ของปลอม ของมีค่าต่างๆ ถอดเก็บไว้ให้ญาติดูแลรักษา
สื่อไฟฟ้าต่างๆ เช่น ก็บที่ทําด้วยโลหะ ที่คาดผมที่ทําด้วยโลหะ เป็นต้น ให้ ถอดออก เนื่องจากสื่อไฟฟ้าต่างๆ จะทําให้เกิดไฟฟ้าสปาร์คขึ้นขณะทําการผ่าตัด
ให้ผู้ป่วยทําความสะอาดปาก ฟัน ถ้ามีฟันปลอมให้ถอดฟันปลอมออก
ไม่ให้ผู้ป่วยแต่งหน้า ทาปาก ทาเล็บ เพราะบริเวณเหล่านี้จะเป็นที่สังเกต อาการเขียวคล้ํา ซึ่งเป็นอาการแสดงแรกเริ่มของการขาดออกซิเจน
ในเช้าวันที่จะผ่าตัด
ให้ผู้ป่วยทําความสะอาดร่างกาย เปลี่ยนชุดสําหรับใส่เพื่อผ่าตัด และหวีผม เก็บผมให้เรียบร้อย แล้วนอนพักอยู่บนเตียงตลอดเวลาจนกว่าจะไปห้องผ่าตัด
วัดและบันทึกสัญญาณชีพ อาการของผู้ป่วยลง ในใบแบบฟอร์มผ่าตัด และใบแบบฟอร์มบันทึกทางการพยาบาล ถ้าผิดปกติ ให้รีบรายงานแพทย์ทราบ
การให้ยาแก่ผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
แพทย์มักจะให้ยาในคืนวันก่อนผ่าตัดเพื่อช่วยให้ ผู้ป่วยคลายความวิตกกังวลและนอนหลับพักผ่อนได้ดี และก่อนผ่าตัดประมาณ 45-90 นาที
เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่พิเศษ เช่น สายใส่จมูกถึงกระเพาะอาหาร ชุดให้ สารน้ําทางหลอดเลือดดํา เครื่องมือผ่าหลอดเลือด เครื่องดูดเสมหะ เครื่องดูดของเหลวจากกระเพาะ อาหาร เป็นต้น พยาบาลต้องเตรียมให้พร้อมเพื่อที่จะใช้หรือนําไปห้องผ่าตัด
แผ่นบันทึกรายงานต่างๆ ต้องบันทึกให้ครบ และรวบรวมให้เรียบร้อย เพื่อส่งเข้า ห้องผ่าตัด อธิบายและให้ผู้ป่วยเซ็นใบยินยอมให้แพทย์ทําการผ่าตัด กรณีผู้ป่วยยังไม่บรรลุนิติภาวะให้ ผู้ปกครองที่มีอํานาจตามกฎหมายเป็นผู้เซ็นแทน ถ้าผ่าตัดฉุกเฉิน และผู้ป่วยไม่สามารถเซ็นใบยินยอม ผ่าตัดได้ ควรให้ญาติหรือครอบครัวเป็นผู้เซ็นแทน
การส่งผู้ป่วยไปห้องผ่าตัด
ให้ผู้ป่วยนอนบนรถนอน (Stretcher) ห่มผ้าให้ เรียบร้อย ยกไม้กั้นเตียงขึ้นควรมีพยาบาลตามไปส่งที่ห้องผ่าตัดด้วย พยาบาลควรอยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลาจนกว่าจะมีเจ้าหน้าที่ ห้องผ่าตัดมารับเข้าห้องผ่าตัด
การดูแลครอบครัวผู้ป่วย พยาบาลต้องแจ้งให้ครอบครัวทราบถึงเวลาที่ผู้ป่วยจะ เข้าห้องผ่าตัด ควรให้ญาติมาดูแล ให้กําลังผู้ป่วย คอยรับผู้ป่วยเมื่อออกจากห้องผ่าตัด พยาบาลควรพูด ปลอบโยนญาติในกรณีที่ญาติมีความวิตกกังวล
การเตรียมผ่าตัดผู้ป่วยฉุกเฉิน
ให้ผู้ป่วยหรือญาติที่มีสิทธิทางกฎหมายเซ็นใบยินยอมผ่าตัด
ถ้าผู้ป่วยไม่มีญาติมาด้วย พยาบาลต้องถามหรือหาที่อยู่ของครอบครัว เบอร์ โทรศัพท์ของ ครอบครัว และรีบแจ้งให้ครอบครัวทราบโดยเร็วที่สุด
ทําความสะอาดและเตรียมผิวหนังบริเวณที่จะผ่าตัดให้เรียบร้อย ถอดฟัน ปลอม อวัยวะปลอมต่างๆ ของมีค่า เครื่องประดับ สื่อไฟฟ้าออก ล้างสีเล็บออกให้หมด
วัดและบันทึกอาการ สัญญาณชีพ รวมทั้งการให้ยาก่อนผ่าตัด ลงในใบ แบบฟอร์มก่อนผ่าตัด และใบแบบฟอร์มบันทึกทางการพยาบาลให้เรียบร้อย
ให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทําได้ เพื่อตรวจปัสสาวะ และให้ กระเพาะปัสสาวะว่าง ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ แพทย์อาจให้สวนปัสสาวะ
สังเกตสภาพร่างกายทั่วไป อาการ และ สัญญาณชีพ ถ้าผิดปกติให้รีบรายงาน แพทย์ทราบ
เจาะเลือดเพื่อส่งตรวจ CBC และ Blood group ทันที ให้สารน้ําทางหลอด เลือดดํา ใส่สายยางทางจมูกเข้าไปในกระเพาะอาหาร ตามแผนการรักษา
การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
การปรเมินสภาพผู้ป่วย
แบบแผนกิจกรรมและการออกกําลังกาย
ประวัติโรคหัวใจ โรคปอด เบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่มีก่อนผ่าตัด
การเปลี่ยนแปลงสัญญาณชีพ
แบบแผนอาหารและการเผาผลาญ
ได้รับและสูญเสียสารน้ําและเกลือแร่ ตั้งแต่ก่อนผ่าตัดจนถึงหลังผ่าตัด ชนิดและปริมาณของสารน้ําที่ได้รับ และออกจากร่างกาย ภาวะโภชนาการ
แบบแผนการขับถ่าย
ประวัติการเสียเลือด สารน้ําทางปัสสาวะ การขับถ่ายที่ปกติก่อนและหลัง ผ่าตัด
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงในแบบแผนการขับถ่ายปัจจุบัน เช่น ปัสสาวะออก น้อยหรือไม่ออกหลังผ่าตัด ปัสสาวะขุ่น ท้องผูก
การทํางานของไต เช่น การประเมินภาวะไม่สมดุลสารน้ําและเกลือแร่ จาก การเสียหน้าที่ของไต การมีของเสียคั่ง
แบบแผนการปรับตัวและการเผชิญกับความเครียด
แบบแผนการรับรู้และการดูแลสุขภาพ
กิจกรรมการพยาบาลหลังผ่าตัด
การจัดท่านอน ให้นอนราบไม่หนุนหมอน ตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง ป้องกันลิ้นตก และการสําลักอาเจียน ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัวดีอาจให้นอนราบหนุนหมอนได้ ยกเว้นในรายที่ได้รับ ยาชาเข้าทางไขสันหลังให้นอนราบอย่างน้อย 6-12 ชั่วโมง )
สังเกตการหายใจของผู้ป่วย เช่น การหายใจเร็วขึ้นจากการค้างของฤทธิ์ ยาสลบ หายใจลึกช้าลงจากฤทธิ์ตกค้างของยาระงับปวดกลุ่ม narcotic และดูแลทางเดินหายใจให้โล่งอยู่ เสมอโดยการดูดเสมหะ เลือด ภายในปากและจมูก
กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆ และไออย่างมีประสิทธิภาพตามวิธีที่ สอนผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดและติดตามการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยหลังผ่าตัด
เปลี่ยนท่านอนหรือพลิกตะแคงตัวบ่อยๆ ในรายที่ไม่รู้สึกตัวควรพลิกตะแคง ให้ทุก 1-2 ชั่วโมง และในรายที่รู้สึกตัวดีควรจัดให้นอนในท่าศีรษะสูง (Fowler's position) นอกจากนี้ ควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการลุกนั่งบนเตียงโดยเร็วและลุกขึ้นเดินได้ภายใน 24 ชั่วโมงถ้าไม่มีข้อห้ามตาม แผนการรักษา
กระตุ้นให้ทํากิจวัตรประจําวันด้วยตนเองเพื่อเพิ่มกิจกรรมการเคลื่อนไหว ขณะอยู่บนเตียงและลดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนท่าเดียวนานๆ
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น พร้อมทั้งติดตามผลการรักษาโดยการสังเกต บันทึกลักษณะสี กลิ่น และจํานวนของเสมหะ รวมทั้งสังเกต อาการข้างเคียงของยา
สังเกตอาการบ่งชี้ภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้น สัญญาณชีพ รวมถึงค่าออกซิเจนในเลือด
ถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติให้รีบรายงานแพทย์และให้ออกซิเจนตามแผนการ รักษา
การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการทํางานของระบบหัวใจและไหลเวียน
ตรวจวัดสัญญาณชีพทึก 15 นาที 4 ครั้ง ทุก 30 นาที 4 ครั้ง และทุก 1 ชั่วโมงจนสัญญาณชีพสม่ําเสมอ
สังเกตลักษณะบาดแผลและปริมาณสิ่งคัดหลั่งต่างๆ ที่ออกจากร่างกายผู้ป่วย รวมถึงประเมินการสูญเสียสารน้ําที่เกิดขึ้นหากพบความผิดปกติให้รายงานแพทย์
ดูแลให้ได้รับสารน้ํา เลือด หรือพลาสมาทดแทนทางหลอดเลือดดํา ตาม แผนการรักษา และติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
ควรให้ผู้ป่วยนอนพักนิ่งๆ ในบริเวณที่มีเลือดออกมากๆ เพื่อลดการ เคลื่อนไหวซึ่งจะมีผลทําให้เลือดออกมากขึ้น
เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ที่จําเป็นให้พร้อมในรายที่มีภาวะช็อก เช่น อุปกรณ์ ดูดเสมหะ อุปกรณ์ให้ออกซิเจน ยาช่วยเพิ่มความดันโลหิต เป็นต้น
สังเกต บันทึก และติดตามผลการตรวจคลื่นหัวใจโดยเฉพาะในรายที่มีการเต้น หัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจตายหลังผ่าตัด
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนทั้งร่างกาย และจิตใจ จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบ สงบ อยู่เป็นเพื่อน คอยใจกําลังใจ เพื่อลดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น เป็นส่วนช่วยลดการใช้ออกซิเจนใน ร่างกายของผู้ป่วย
การพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด
โดยพยาบาลประเมิน ความเจ็บปวดของผู้ป่วยโดยใช้ Pain Scale
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ป่วย
กระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกออกจากเตียง หรือจัดท่านอนศีรษะสูงเพื่อลดอาการแน่น ท้อง ท้องอืด
ดูแลให้ได้รับสารอาหารและพลังงานอย่างเพียงพอ
สังเกตและบันทึกอาการเปลี่ยนแปลงที่บ่งชี้ถึงการย่อยและดูดซึมอาหาร ผิดปกติ เช่น ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก เพื่อปรับเปลี่ยนชนิดและวิธีการให้อาหาร ความถี่ ปริมาณ และความเข้มข้นของสูตรอาหารตามความเหมาะสม
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสุขสบายและความปลอดภัยของผู้ป่วย
ดูแลความสุขสบายทั่วไป
การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลเกี่ยวกับความสะอาดของร่างกายทั่วไป โดยเฉพาะช่องปาก อวัยวะสืบพันธุ์ และระบบขับถ่าย
ดูแลความปลอดภัยในรายที่ยังไม่ฟื้นจากยาสลบ หรือระดับความรู้สึกตัว เปลี่ยนแปลง ควรยกราวกั้นเตียงผู้ป่วยขึ้นก่อนออกจากเตียงผู้ป่วย
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการหายของแผล
สังเกตและประเมินปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการหายของแผล
สังเกตลักษณะแผลที่ผิดปกติ
ทําความสะอาดแผลด้วยหลักปราศจากเชื้อ เพื่อป้องกันการติดเชื้อของแผล
สอนและให้คําแนะนําเกี่ยวกับการดูแลแผล และวิธีการส่งเสริมการหายของ แผล
การให้คําแนะนําก่อนกลับบ้านสําหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัด
เรื่องการดูแลแผล การสังเกตอาการ และอาการแสดงของการติดเชื้อ
การเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นข้อจํากัดหลังผ่าตัด
การส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ป่วย อาหารที่ควรรับประทานหรือควรงด การ รับประทานยา การสังเกตอาการข้างเคียงของยาที่ได้รับ
การดูแลความสะอาดของร่างกาย
การมาตรวจตามแพทย์นัด
การออกกําลังกายและการเคลื่อนไหวร่างกาย
การออกกําลังกาย หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายที่มีการวางแผน หรือมีการเตรียมตัว เป็น กิจกรรมที่มีการกระทําซ้ําๆ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มหรือคงไว้ซึ่งสมรรถภาพทางร่างกาย
การออกกําลังกายชนิดให้ผู้ป่วยทําเอง (Active or Isotonic Exercise)
ผู้ป่วย จะเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายด้วยตนเอง
การออกกําลังกายโดยให้ผู้อื่นทําให้ผู้ป่วย (Passive exercise)
เป็นการออก กําลังกายโดยการเคลื่อนไหวข้อต่างๆ ให้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายด้วยตนเองได้
การออกกําลังกายชนิดที่ให้ผู้ป่วยทําร่วมกับความช่วยเหลือของผู้อื่น (Active assistive exercise)
วิธีนี้ให้ผลดีกว่าวิธีที่ให้ผู้อื่นทําให้ผู้ป่วย เพราะเป็นการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมีการ ทํางานร่วมด้วยโดยมีพยาบาลเป็นผู้ช่วยเหลือในการยกใน ขอบเขตทําได้
การออกกําลังกายโดยให้กล้ามเนื้อทํางานแต่ข้อไม่เคลื่อน (Isometric or Static exercise)
เพื่อเพิ่มความตึงตัวและแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ป้องกันกล้ามเนื้อลีบ
การออกกําลังกายให้ผู้ป่วยออกแรงต้านกับแรงอื่น (Resistive exercise)
การใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ให้ผู้ป่วยออกแรงต้าน วิธีนี้ช่วยให้กล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้น มีความแข็งแรง และทํางานได้ดี
การเคลื่อนไหวร่างกาย
การเคลื่อนไหวร่างกายใดๆ ในชีวิตประจําวัน ไม่ว่าจะใน บ้าน ที่ทํางาน หรือแม้แต่สันทนาการใดๆ เช่น การออกกําลังกาย การเข้าร่วมเล่นกีฬา เป็นต้น มีการ เคลื่อนไหวหรือทํางานของส่วนของร่างกาย โดยใช้โครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ (Skeletal and Muscle) และทําให้มีการใช้พลังงานของร่างกายมากกว่าในขณะพัก
ผลกระทบจากการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
ระบบผิวหนัง ผิวหนังเสียหน้าที่ทําให้เกิดแผลกดทับ
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
กระดูกผุ เปราะบาง
การประสานงานของกล้ามเนื้อแขนขาลดลงหรือไม่สัมพันธ์กัน
กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลีบเล็ก
อาการปวดหลัง
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
หัวใจทํางานมากขึ้น
มีการคั่งของเลือดในหลอดเลือดดําที่ขา
เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดํา
ความดันต่ำขณะเปลี่ยนท่า
ระบบทางเดินหายใจ
ปอดขยายตัวลดลง
มีการคั่งของเสมหะมากขึ้น
ระบบทางเดินอาหาร
มีผลต่อการรับประทานอาหาร
มีผลต่อการขับถ่าย ทําให้ท้องผูก
ระบบทางเดินปัสสาวะ
การถ่ายปัสสาวะมากกว่าปกติในระยะแรกๆ
มีการคั่งของปัสสาวะในไตและกระเพาะปัสสาวะ
เกิดนิ่วในไตและกระเพาะปัสสาวะ
ระบบเมตาบอลิซึมและการเผาผลาญอาหาร
การเผาผลาญอาหารลดลง
มีระดับโปรตีนในกระแสเลือดลดต่ำลง
มีความผิดปกติด้านอัตมโนทัศน์และภาพลักษณ์
กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด
การประเมินสภาพผู้ป่วย รวบรวมข้อมูลที่จําเป็นเพื่อนําไปสู่การวางแผนการพยาบาล เช่น การปรับตัวและความทนทานต่อความเครียด ความรู้สึกของผู้ป่วยเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ความยินยอมที่จะเข้ารับการผ่าตัด ความรู้เกี่ยวกับโรคและการผ่าตัด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
วิตกกังวลเนื่องจากกลัวการผ่าตัด
วิตกกังวลเกี่ยวกับโรคและแผนการรักษา
การวางแผนการพยาบาล ให้การพยาบาล และประเมินผลหลังให้การพยาบาล
ประเมินระดับความวิตกกังวล
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึก และค้นหาสาเหตุของความวิตกกังวล
ร่วมกันหาทางแก้ไขสาเหตุของความวิตกกังวลร่วมกับผู้ป่วยและญาติ
ดูแลความสุขสบายทั่วไป
จัดหมวดหมู่กิจกรรมการพยาบาลเพื่อลดการรบกวนผู้ป่วยและให้ผู้ป่วยได้พัก
รายงานแพทย์เมื่อพบอาการผิดปกติ