Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่5การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัดการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย …
บทที่5การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัดการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย
5.1 การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
5.1.1 การประเมินผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
5.1.1.1การซักประวัติ
3)ประวัติการแพ้ยาหรืออาหาร
4)การใช้ยา สารเสพติด การสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
2)ประวัติการผ่าตัด และการได้รับยาระงับความรู้สึกก่อนหน้านี้ โดยครอบคลุมถึงวิธีการให้ยาระงับความรู้สึก และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
5)ประวัติของคนในครอบครัวหรือญาติที่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้รับยาระงับความรู้สึก
1)ประวัติโรคประจำตัว ควรครอบคลุมถึงอาการ ความรุนแรงของโรค ภาวะแทรกซ้อนของโรค และประวัติการรักษา ยาที่ใช้ประจำ
6)ประวัติเกี่ยวกับโรคของระบบต่างๆ ของร่างกาย
5.1.1.2การตรวจร่างกาย
4)การตรวจร่างกายตามระบบ โดยเน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคหรือบริเวณที่จะทำการผ่าตัด
3)การตรวจประเมินทางระบบหายใจ
2)การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
1)สัญญาณชีพ
5.1.1.3การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Electrolytes
โรคไต โรคเบาหวาน ภาวะพร่องน้ำได้รับยาขับปัสสาวะ digoxin steroids
BUN/Creatinine
โรคไต โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ภาวะพร่องน้ำ
Urinalysis
Screening test สำหรับโรคไต การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
Blood sugar
โรคเบาหวาน ใช้ยากลุ่ม steroids
Complete blood count
ภาวะซีด เลือดออกผิดปกติ Chronic blood loss โรคไต โรคมะเร็ง
Liver function tests
โรคตับ ถุงน้ำดี ภาวะเลือดออกผิดปกติ ภาวะขาดสารอาหาร โรคพิษสุราเรื้อรัง ได้รับยาเคมีบำบัด
Coagulogram
โรคตับ เลือดออกผิดปกติ ได้รับยาปูองกันเลือดแข็งเป็นลิ่ม
Chest X-ray
โรคหัวใจ โรคปอด โรคมะเร็ง สูบบุหรี่ ไอเรื้อรัง มีประวัติสัมผัสผู้ปุวยวัณโรค
ECG
โรคหัวใจ โรคปอด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน
5.1.2 การเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
5.1.2.1 การเตรียมผู้ป่วยซึ่งระยะเวลาก่อนผ่าตัด
1) ด้านร่างกาย
(4)ประเมินความสมบูรณ์ของร่างกายในการได้รับอาหารที่พอเหมาะ
(5)ภาวะสารน้ำและอีเล็คโทรลัยต์ในร่างกาย
(3)ระบบทางเดินปัสสาวะต้องประเมินสภาวะของไต
(6)การพักผ่อนและการออกกำลังกาย
(2)ระบบทางเดินหายใจ
(7)ให้คำแนะนำและข้อมูลต่างๆที่ผู้ป่วยควรทราบเพื่อลดความวิตกกังวล
(1)ระบบหัวใจและหลอดเลือด
2) ด้านจิตใจ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดควรได้รับการเตรียมทางจิตใจทุกคนโดยการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดประเมินความวิตกกังวลก่อนผ่าตัด ทั้งนี้เพื่อช่วยลดความวิตกกังวลความกลัวต่างๆ
3) การให้คำแนะนำการปฏิบัติหลังผ่าตัด
(4) Range of Motion (ROM)
(5) Deep-breathing exercises
(3) Straight Leg Raising Exercise (SLRE)
(6) Effective cough
(2) Quadriceps Setting Exercise (QSE)
(7) Abdominal breathing
(1) Early ambulation
(8) Turning and ambulation
(9) Extremity exercise
(10) Pain management
5.1.2.2การเตรียมผู้ปุวยก่อนวันที่ผ่าตัด
1) อาหารและน้ำดื่มควรงดอาหารผู้ป่วยก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 8 ชั่วโมงสำหรับอาหารเหลวใสให้ได้ 6 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
2) การขับถ่ายถ้าเป็นการผ่าตัดเล็กหรือการผ่าตัดที่ไม่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในช่องท้องแพทย์อาจให้สวนอุจจาระหรือไม่ก็ได้หรือให้รับประทานยาระบายก่อนวันผ่าตัด
3)การเตรียมผิวหนังก่อนผ่าตัด
(4) บริเวณทรวงอก เตรียมด้านหน้าจากคอตอนบนจนถึงระดับสะดือจากแนวยาวของหัวนมข้างที่ไม่ได้ทำผ่าตัดไปจนถึงกึ่งกลางหลังของข้างที่ทำและขนอ่อนของต้นแขนจนถึงต่ำกว่าข้อศอก1 นิ้ว
(5) บริเวณช่องท้อง เช่นผ่าตัดท่อน้ำดีถุงน้ำดีกระเพาะอาหารลำไส้เล็กลำไส้ใหญ่ผ่าตัดคลอดเด็กทางหน้าท้อง(C/S)เป็นต้นเตรียมตั้งแต่ระดับรักแร้ลงมาถึงฝีเย็บ
(3) บริเวณคอ เช่นผ่าตัดต่อมไทรอยด์เป็นต้นเตรียมบริเวณจากใต้คางลงมาถึงระดับราวหัวนมและจากหัวไหล่ข้างขวาถึงข้างซ้าย
(6) บริเวณท้องต่ำกว่าสะดือ เช่นไส้ติ่งไส้เลื่อนเป็นต้นเตรียมบริเวณตั้งแต่ระดับราวนมลงมาถึงต้นขารวมทั้งบริเวณฝีเย็บด้วย
(2) บริเวณหูและปุุมกระดูกมาสตอยด์ให้ เตรียมบริเวณกว้างเป็นวงรอบออกไปจากหูประมาณ1 –2 นิ้วโกนขนอ่อนที่ใบหูด้วย
(7) ไต เตรียมด้านหน้าจากบริเวณรักแร้จนถึงบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และต้นขาทั้ง2 ข้างด้านข้างจากรักแร้ถึงตะโพกด้านหลังจากแนวกึ่งกลางลำตัวด้านหน้าอ้อมไปจนถึงกระดูกสันหลังซีกของไตข้างที่จะทำการผ่าตัดนั้น
(1) บริเวณศีรษะ โกนผมบริเวณศีรษะออกเช็ดใบหูและทำความสะอาดช่องหูภายนอกด้วยไม้พันสำลีที่ปราศจากเชื้อเตรียมบริเวณลงมาถึงแนวกระดูกไหปลาร้าทั้งหน้าและหลังไม่ต้องเตรียมบริเวณใบหน้า
(10) ตะโพกและต้นขาเตรียมบริเวณจากระดับเอวลงมาถึงระดับต่ำกว่าหัวเข่าข้างที่จะทำ 6 นิ้วทั้งด้านหน้าด้านหลังด้านข้างรวมทั้งเตรียมบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกด้วย
(9) แขนข้อศอกและมือเตรียมบริเวณแขนข้างที่จะทำผ่าตัดทั้งด้านหน้าและด้านหลังจากหัวไหล่ถึงปลายนิ้วมือรวมทั้งโกนขนรักแร้ตัดเล็บให้สั้นและทำความสะอาดด้วย
(11) การทำ Skin graft ทำความสะอาดผิวหนังทั้งบริเวณ Donor site และ Recipient site ให้กว้าง
(8) บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก เช่นทวารหนักช่องคลอดต่อมลูกหมากเป็นต้น เตรียมตั้งแต่ระดับสะดือลงมาถึงฝีเย็บและด้านในของต้นขาและก้น
(12) หัวเข่าเตรียมจากขาหนีบถึงข้อเท้าข้างที่จะทำผ่าตัดโดยรอบ
(14) เท้าเตรียมจากใต้หัวเข่าลงไปถึงเท้าข้างที่จะทำผ่าตัดตัดเล็บเท้าให้สั้นและทำความสะอาดเล็บด้วย
(13) ปลายขาเตรียมจากเหนือหัวเข่าประมาณ 8 นิ้วลงมาถึงเท้าข้างที่จะผ่าตัดตัดเล็บเท้าให้สั้นและทำความสะอาดเล็บด้วย
(15) ขั้นตอนการเตรียมผิวหนังมีดังนี้
เตรียมเครื่องใช้
บอกให้ผู้ป่วยทราบ กั้นม่านดูให้มีแสงสว่างเพียงพอ
ปูผ้ายางรองกันเปื้อนบริเวณที่จะเตรียมผ่าตัด
ถ้าบริเวณที่เตรียมสกปรกมากให้เช็ดด้วยเบนซินแล้วฟอกด้วยสบู่ถ้าไม่สกปรกให้ฟอกด้วยน้ำสบู่ธรรมดาล้างบริเวณนั้นด้วยน้ำให้สะอาด
โกนขนหรือผม ถ้าขนหรือผมนั้นยาวใช้กรรไกรตัดให้สั้นก่อนใช้ก๊อสชุบสบู่หรือ Hibiscrub ชโลมให้ทั่วเพื่อทำให้ขนหรือผมบริเวณนั้นนุ่ม วางใบมีดประมาณ45º กับผิวหนังและโกนไปตามแนวขน
เมื่อโกนเสร็จใช้สบู่และน้ำล้างบริเวณนั้นให้สะอาดเช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาด
เก็บผมหรือขนใบมีดโกนที่ใช้แล้วห่อใส่กระดาษให้เรียบร้อย
การเตรียมเฉพาะที่อื่นๆได้แก่บริเวณช่องคลอดนอกจากต้องโกนขนและทำความสะอาดผิวหนังแล้วอาจต้องสวนล้างช่องคลอดด้วยน้ำยาระงับเชื้อบริเวณทวารหนักลำไส้ใหญ่อาจต้องสวนอุจจาระจนกระทั่งน้ำที่ออกมาใส
4)การดูแลสภาพร่างกายทั่วไป
(1)ในคืนก่อนวันผ่าตัด
ของปลอมของมีค่าต่างๆถอดเก็บไว้ให้ญาติดูแลรักษา
สื่อไฟฟูาต่างๆ เช่น กิ๊บที่ทำด้วยโลหะที่คาดผมที่ทำด้วยโลหะเป็นต้นให้ถอดออกเนื่องจากสื่อไฟฟูาต่างๆจะทำให้เกิดไฟฟูาสปาร์คขึ้นขณะทำการผ่าตัด
ให้ผู้ป่วยทำความสะอาดปากฟันถ้ามีฟันปลอมให้ถอดฟันปลอมออกเพราะขณะที่ดมยากล้ามเนื้อคลายตัวฟันปลอมอาจหลุดและตกลงไปในหลอดลมได้
ไม่ให้ผู้ป่วยแต่งหน้าทาปากทาเล็บเพราะบริเวณเหล่านี้จะเป็นที่สังเกตอาการเขียวคล้ำซึ่งเป็นอาการแสดงแรกเริ่มของการขาดออกซิเจน
(2)ในเช้าวันที่จะผ่าตัด
ให้ผู้ป่วยทำความสะอาดร่างกายเปลี่ยนชุดสำหรับใส่เพื่อผ่าตัดและหวีผมเก็บผมให้เรียบร้อยแล้วนอนพักอยู่บนเตียงตลอดเวลาจนกว่าจะไปห้องผ่าตัด
สังเกตภาวะทางอารมณ์ของผู้ป่วยความกลัวการผ่าตัด
สังเกตสภาพร่างกายทั่วไปวัดและบันทึกสัญญาณชีพ อาการของผู้ป่วยลงในใบแบบฟอร์มผ่าตัดและใบแบบฟอร์มบันทึกทางการพยาบาลถ้าผิดปกติให้รีบรายงานแพทย์ทราบ
5) การให้ยาแก่ผู้ป่วยก่อนผ่าตัดแพทย์มักจะให้ยาในคืนวันก่อนผ่าตัดเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยคลายความวิตกกังวลและนอนหลับพักผ่อนได้ดี
6) เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆที่พิเศษ
7) แผ่นบันทึกรายงานต่างๆต้องบันทึกให้ครบและรวบรวมให้เรียบร้อยเพื่อส่งเข้าห้องผ่าตัด
8)การส่งผู้ป่วยไปห้องผ่าตัดให้ผู้ป่วยนอนบนรถนอน ห่มผ้าให้เรียบร้อยยกไม้กั้นเตียงขึ้นเจ้าหน้าที่ที่เข็นรถนอนต้องเข็นรถด้วยความนุ่มนวลระมัดระวังอย่าเข็นเร็วเกินไป ควรมีพยาบาลตามไปส่งที่ห้องผ่าตัดด้วย
9) การดูแลครอบครัวผู้ป่วยพยาบาลต้องแจ้งให้ครอบครัวทราบถึงเวลาที่ผู้ป่วยจะเข้าห้องผ่าตัดควรให้ญาติมาดูแลให้กำลังผู้ป่วย
10) การเตรียมผ่าตัดผู้ปุวยฉุกเฉินในรายที่ต้องผ่าตัดฉุกเฉินจากสาเหตุใดก็ตาม
(5)ถ้าผู้ป่วยไม่มีญาติมาด้วยพยาบาลต้องถามหรือหาที่อยู่ของครอบครัวเบอร์โทรศัพท์ของครอบครัวและรีบแจ้งให้ครอบครัวทราบโดยเร็วที่สุด
(4)ให้ผู้ป่วยหรือญาติที่มีสิทธิทางกฎหมายเซ็นใบยินยอมผ่าตัด
(6)วัดและบันทึกอาการสัญญาณชีพ รวมทั้งการให้ยาก่อนผ่าตัดลงในใบแบบฟอร์มก่อนผ่าตัดและใบแบบฟอร์มบันทึกทางการพยาบาลให้เรียบร้อย
(3)ทำความสะอาดและเตรียมผิวหนังบริเวณที่จะผ่าตัดให้เรียบร้อย
(2)ให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
(7)สังเกตสภาพร่างกายทั่วไปอาการและสัญญาณชีพถ้าผิดปกติให้รีบรายงานแพทย์ทราบ
(1)เจาะเลือดเพื่อส่งตรวจ CBC และ Blood group ทันทีให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำใส่สายยางทางจมูกเข้าไปในกระเพาะอาหารตามแผนการรักษา
5.2 การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
5.2.1การประเมินสภาพผู้ป่วย
5.2.1.1 แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
1)ประวัติโรคหัวใจ โรคปอด เบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่มีก่อนผ่าตัด
2)การเปลี่ยนแปลงสัญญาณชีพ ซึ่งบ่งบอกการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด โดยการประเมินการหายใจ ความสามารถในการหายใจ และอุปกรณ์ที่ช่วยในการหายใจ บันทึกความเข้มข้นของปริมาณออกซิเจนในเลือด
5.2.1.2 แบบแผนอาหารและการเผาผลาญ การประเมินที่สำคัญได้แก่ ประวัติการได้รับและสูญเสียสารน้ำและเกลือแร่ ตั้งแต่ก่อนผ่าตัดจนถึงหลังผ่าตัด
5.2.1.3 แบบแผนการขับถ่าย ควรประเมินในเรื่องต่อไปนี้
ประวัติการเสียเลือด สารน้ำทางปัสสาวะ การขับถ่ายที่ปกติก่อนและหลังผ่าตัด
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงในแบบแผนการขับถ่ายปัจจุบัน เช่น ปัสสาวะออกน้อยหรือไม่ออกหลังผ่าตัด ปัสสาวะขุ่น ท้องผูก
การทำงานของไต เช่น การประเมินภาวะไม่สมดุลสารน้ำและเกลือแร่ จากการเสียหน้าที่ของไต การมีของเสียคั่ง
5.2.1.4 แบบแผนการรับรู้และการดูแลสุขภาพ ได้แก่ ประเมินความรู้ความเข้าใจ และการยอมรับในการผ่าตัดที่เกิดขึ้น
5.2.1.5 แบบแผนการปรับตัวและการเผชิญกับความเครียด ประเมินการรับรู้ และวิธีการเปลี่ยนแปลงความเครียด สังเกตพฤติกรรมตอบสนองต่อความเครียด
5.2.2 กิจกรรมการพยาบาลหลังผ่าตัด
5.2.2.1 การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการหายใจให้โล่ง และคงไว้ซึ่งการทำงานระบบหายใจ ภายหลังการผ่าตัดระยะแรก
1) การจัดท่านอน คนไข้ที่ได้รับยาชาเข้าทางไขสันหลังให้นอนราบอย่างน้อย 6-12ชั่วโมง
2)สังเกตการหายใจของผู้ปุวย
3)กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆ และไออย่างมีประสิทธิภาพตามวิธีที่สอนผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดและติดตามการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยหลังผ่าตัด
4)เปลี่ยนท่านอนหรือพลิกตะแคงตัวบ่อยๆ ในรายที่ไม่รู้สึกตัวควรพลิกตะแคงให้ทุก 1-2 ชั่วโมง และในรายที่รู้สึกตัวดีควรจัดให้นอนในท่าศีรษะสูง
5)กระตุ้นให้ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองเพื่อเพิ่มกิจกรรมการเคลื่อนไหวขณะอยู่บนเตียงและลดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนท่าเดียวนานๆ
6)ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
7)สังเกตอาการบ่งชี้ภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้น สัญญาณชีพ รวมถึงค่าออกซิเจนในเลือด
8)ถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติให้รีบรายงานแพทย์และให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
5.2.2.2 การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการทำงานของระบบหัวใจและไหลเวียน
4)ควรให้ผู้ป่วยนอนพักนิ่งๆ ในบริเวณที่มีเลือดออกมากๆ เพื่อลดการเคลื่อนไหวซึ่งจะมีผลทำให้เลือดออกมากขึ้น
5)เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นให้พร้อมในรายที่มีภาวะช็อก เช่น อุปกรณ์ดูดเสมหะ อุปกรณ์ให้ออกซิเจน ยาช่วยเพิ่มความดันโลหิต
3)ดูแลให้ได้รับสารน้ำ เลือด หรือพลาสมาทดแทนทางหลอดเลือดดำ ตามแผนการรักษา และติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
6)สังเกต บันทึก และติดตามผลการตรวจคลื่นหัวใจโดยเฉพาะในรายที่มีการเต้นหัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจตายหลังผ่าตัด
2)สังเกตลักษณะบาดแผลและปริมาณสิ่งคัดหลั่งต่างๆ ที่ออกจากร่างกายผู้ป่วย รวมถึงประเมินการสูญเสียสารน้ำที่เกิดขึ้นหากพบความผิดปกติให้รายงานแพทย์
7)ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนทั้งร่างกาย และจิตใจ จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ อยู่เป็นเพื่อน คอยใจกำลังใจ เพื่อลดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น
1)ตรวจวัดสัญญาณชีพทุก 15นาที 4ครั้ง ทุก 30 นาที 4 ครั้ง และทุก 1 ชั่วโมงจนสัญญาณชีพสม่ำเสมอ
5.2.2.3 การพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด โดยพยาบาลประเมินความเจ็บปวดของผู้ปุวยโดยใช้ Pain scaleดูและให้ได้รับยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
5.2.2.4 การพยาบาลเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ปุวย เพื่อลดอาการท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และส่งเสริมภาวะโภชนาการที่ดีหลังผ่าตัด
2)ดูแลให้ได้รับสารอาหารและพลังงานอย่างเพียงพอ
3)สังเกตและบันทึกอาการเปลี่ยนแปลงที่บ่งชี้ถึงการย่อยและดูดซึมอาหารผิดปกติ
1)กระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกออกจากเตียง หรือจัดท่านอนศีรษะสูงเพื่อลดอาการแน่นท้อง ท้องอืด
5.2.2.5 การพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสุขสบายและความปลอดภัยของผู้ป่วย
2)การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลเกี่ยวกับความสะอาดของร่างกายทั่วไป โดยเฉพาะช่องปาก อวัยวะสืบพันธุ์ และระบบขับถ่าย
3)ดูแลความปลอดภัยในรายที่ยังไม่ฟื้นจากยาสลบ
1)ดูแลความสุขสบายทั่วไป
5.2.2.6 การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการหายของแผล
3)ทำความสะอาดแผลด้วยหลักปราศจากเชื้อ เพื่อป้องกันการติดเชื้อของแผลซึ่งจะทำให้แผลหายช้า
4)สอนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลแผล
2)สังเกตลักษณะแผลที่ผิดปกติ โดยเฉพาะแผลมีการติดเชื้อ
1)สังเกตและประเมินปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการหายของแผล
5.2.2.7 การให้คำแนะนำก่อนกลับบ้านสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัด
1) เรื่องการดูแลแผล การสังเกตอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ
2) การเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นข้อจำกัดหลังผ่าตัด
3) การส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ป่วย อาหารที่ควรรับประทานหรือควรงด
4) การดูแลความสะอาดของร่างกาย
5) การมาตรวจตามแพทย์นัด
5.3 การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย
5.3.1การช่วยเหลือผู้ป่วยเคลื่อนไหวบนเตียง
5.3.1.1การประเมินผู้ป่วย
2)ท่าที่เหมาะสมและระยะเวลาที่ผู้ป่วยจะคงอยู่ในท่าที่เปลี่ยนให้ใหม่
3)ความยากลำบากและไม่สุขสบายในขณะเปลี่ยนท่าหรือเมื่ออยู่ในท่าที่จัดให้
1)ความสามารถของผู้ป่วยในการช่วยเหลือตนเอง
4)ปัญหาอื่นๆ ที่พบในผู้ป่วย เช่น ความผิดปกติเกี่ยวกับผิวหนัง กระดูก หลอดเลือด
5.3.1.2 ปฏิบัติการพยาบาลในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยบนเตียง
1)การเตรียมผู้ป่วย
2) การเตรียมตัวพยาบาลพยาบาลควรยืนในท่าที่ถูกต้องพยุงผู้ป่วยด้วยความนุ่มนวลและมั่นคง
3) การจัดท่าผู้ป่วย
(1) ท่านอนหงาย
(2) ท่านอนตะแคง
(3) ท่านอนคว่ำ
(4) ท่านอนตะแคงกึ่งคว่ำ
(5) ท่านั่งบนเตียง
(6) ท่านอนหงายชันเข่า
(7) ท่านอนหงายพาดเท้าบนขาหยั่ง
(8) ท่านอนคว่ำคุกเข่า
(9) ท่านอนศีรษะต่ำปลายเท้าสูง
5.3.2 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
5.3.2.1หลักการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
6)ย่อเข่าและสะโพก
7)หาวิธีที่เหมาะสมเพื่อผ่อนแรงในการยกหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
5)หลังตรง ป้องกันการปวดหลัง
8)ผู้ป่วยควรอยู่ใกล้พยาบาลมากที่สุด
4)ยืนแยกเท้าทั้งข้างห่างกันพอสมควร และเฉียงปลายเท้าไปตามทิศทางที่ต้องการเคลื่อนย้าย และอยู่ในสมดุลเมื่อต้องการเคลื่อนไปทางหัวเตียงหรือปลายเตียง
9)ยกตัวผู้ป่วยให้พ้นจากที่นอนเล็กน้อยเพื่อลดแรงเสียดทาน
3)ควรยืนในท่าที่ถูกต้องและมั่นคง
10)ใช้ผ้าขวางเตียงช่วยในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแทนการเลื่อนผู้ป่วย
2)หันหน้าเข้าหาผู้ป่วยและไปในทิศทางที่จะเคลื่อนย้าย
11)ให้สัญญาณเพื่อความพร้อมเพรียง
1)ควรจัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายราบอยู่ในท่าที่สบาย
12)ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ควรหาผู้ช่วยเหลือตั้งแต่ 2คนขึ้นไปและให้สัญญาณขณะยก หรือใช้อุปกรณ์ที่ช่วยผ่อนแรงมาใช้เมื่อจำเป็น
5.3.2.2การประเมินผู้ปุวยก่อนการเคลื่อนย้าย
3)ส่วนที่อ่อนแรงหรือพิการ
4)ความมั่นคงในการคงท่าของผู้ป่วย
2)ท่าที่เป็นข้อห้ามของผู้ป่วย
5)ส่วนที่จำเป็นต้องให้อยู่นิ่งๆ
1)ความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง
6)ผู้ป่วยอ่อนเพลียมากน้อยแค่ไหน
7)ความต้องการการเคลื่อนย้ายเปลี่ยนท่าและความสุขสบายของผู้ป่วย
5.3.2.3วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
1)แจ้งให้ผู้ป่วยทราบและบอกวิธีการให้ความร่วมมือถ้าทำได้
2)นำหมอนหนุนศีรษะของผู้ป่วยออก วางหมอนที่พนักหัวเตียง อุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นเอาออกจากเตียง
3)พยาบาลยืนในท่าที่ถูกต้องมั่นคงและใช้หลักการของกลไกการเคลื่อนไหวร่างกาย
4)พยุงผู้ป่วยด้วยความนุ่มนวลและมั่นคง โดยใช้วิธีสอดมือเข้าไปในตำแหน่งของร่างกายที่จะยกเพื่อรองรับน้ำหนักร่างกายส่วนนั้น
5.3.3 การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดิน
5.3.3.1 การออกกำลังกายเพื่อเตรียมผู้ป่วยเดิน
1)ให้ผู้ป่วยงอและเหยียดข้อตะโพก โดยให้ผู้ป่วยนอนบนเตียง เหยียดขาออกและยกขึ้นแล้วงอเข่าและยกเข่าเข้าหาอกพร้อมงอเท้าให้นิ้วเท้าโค้งหาปลายขา เสร็จแล้วจึงเหยียดเข่าและตะโพกออกให้อยู่ในท่าขาเหยียด
2) หมุนข้อตะโพก เหยียดขาทั้งสองข้าง หมุนเข้าหาตัวและหมุนออกจากตัวแล้วให้หมุนขาทั้งสองข้างเข้าหาตัวจนนิ้วหัวแม่เท้าชนกัน แล้วหมุนขาออกนอกตัวจนส้นเท้าทั้งสองข้างชนกัน
3) กางและหุบข้อตะโพก เหยียดข้อเข่าและให้ข้อเท้างอเข้าหาปลายขา ยกขาข้างที่ทำไปที่ข้างเตียงทั้งสองด้าน สลับทำกับขาอีกข้างหนึ่ง
4) เหยียดข้อเข่า เหยียดขาพร้อมกับกดข้อเข่าลงกับที่นอน และยกส้นเท้าขึ้นจากเตียงสูงเท่าที่จะทำได้ สลับทำกับขาอีกข้างหนึ่ง
5) งอข้อเท้า หมุนข้อเท้าเข้าหาตัวและออกจากตัว โดยวิธีหมุนข้อเท้าเป็นวงรอบตามเข็มนาฬิกาและหมุนทวนเข็มนาฬิกา
6) งอและเหยียดนิ้วเท้า
7) เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง ตะโพกต้นขาโดยการเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องแล้วคลายออกแล้วหายใจเข้าลึกๆ ให้กล้ามเนื้อหน้าท้องขยายมากที่สุดและเกร็งกล้ามเนื้อตะโพกพร้อมกับยกขาขึ้น
5.3.3.2 การช่วยเหลือผู้ปุวยหัดเดิน
1) การช่วยเหลือผู้ปุวยหัดเดินโดยพยาบาล 1 คนปฏิบัติดังนี้
2)กรณีไม่ใช้เข็มขัด ให้ใช้มือด้านใกล้ตัวจับที่ต้นแขนของผู้ป่วย มือไกลตัวจับที่ปลายแขนของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยเป็นลมให้สอดแขนเข้าใต้รักแร้รับน้ำหนักตัวผู้ป่วยและแยกเท้ากว้าง
(1)กรณีใช้เข็มขัดหรือผ้าคาดเอว เมื่อช่วยผู้ป่วยลงจากเตียงแล้ว พยาบาลยืนเยื้องด้านหลังผู้ป่วย ใช้มือ 2ข้างยืดเข็มขัดหรือผ้าคาดเอวเพื่อพยุงผู้ป่วยขณะผู้ป่วยเดิน
2) การช่วยเหลือผู้ปุวยหัดเดินโดยพยาบาล 2คนให้พยาบาลยืนข้างผู้ป่วยคนละด้าน มือพยาบาลข้างใกล้ตัวผู้ป่วยสอดใต้รักแร้ผู้ป่วย อีกข้างหนึ่งจับปลายแขนหรือมือผู้ป่วยข้างเดิม ผู้ป่วยและพยาบาลทั้ง 2 คนเดินพร้อมกัน ถ้าผู้ป่วยเป็นลมพยาบาลทั้ง 2 คนเลื่อนมือข้างที่พยุงใต้รักแร้ไปข้างหน้าให้ลำแขนสอดอยู่ใต้รักแร้ น้ำหนักตัวผู้ป่วยไว้พร้อมกับใช้สะโพกยันผู้ป่วยไว้แล้วค่อย ๆ พยุงผู้ป่วยลงบนพื้น
5.3.4 การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดิน
5.3.4.1 ชนิดของอุปกรณ์ช่วยเดิน
1) Parallel bar = ราวคู่ขนาน
2) Walker หรือ Pick –up frames
3) Cane
4) Crutches ( ไม้ยันรักแร้ , ไม้ค้ำยัน )
5.3.4.2 ประโยชน์ของอุปกรณ์ช่วยเดิน
2)ช่วยแบ่งเบาหรือรับน้ำหนักแทนขา 1 หรือ 2ข้าง เมื่อมีข้อห้ามหรือมีการอ่อนแรงจนขาไม่สามารถรับน้ำหนักได้
3)เพิ่มการพยุงตัว (Support) เพื่อให้สามารถทรงตัวได้ (Balance)
1)ช่วยแบ่งเบาหรือรับน้ำหนักแทนขา 1 หรือ 2ข้าง เมื่อมีข้อห้ามในการรับน้ำหนักเต็มทั้งขา (Partial weight bearing) ข้างนั้น
5.3.4.3 การเตรียมผู้ป่วยก่อนการฝึกใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
2)การฝึกในท่าตั้งตรง (Upright) บนเตียงหรือเบาะ เช่น การฝึกการทรงตัวในท่านั่ง
3)การฝึกในราวคู่ขนาน เช่น ฝึกยืน ฝึกทรงตัว ฝึกท่าทางการเดิน
1)การฝึกความแข็งแรง (Strength) ความทนทาน(Endurance) และการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อ(Co –ordination) ที่ใช้ในการเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดิน
5.3.4.4 การลงน้ำหนักที่ขาเวลาเดิน (Weight BearingStatus)ผู้ป่วยจะต้องลงน้ำหนักตามแผนการรักษา
Non weight bearing (NWB)
ไม่ลงน้ำหนักของขาข้างที่เจ็บ 0%
Toe touch weight bearing (TTWB)
เดินโดยเอาปลายเท้าข้างที่เจ็บแตะพื้น Up to 20%
Partial weight bearing (PWB)
เดินโดยลงน้ำหนักข้างที่เจ็บได้บางส่วน 20-50%
Fullweight bearing (FWB)
เดินโดยขาข้างที่เจ็บลงน้ำหนักได้เต็มที่ 100%
Weight bearing as tolerated (WB AS Tol.)
เดินโดยขาข้างที่เจ็บลงน้ำหนักเท่าที่ทนไหว
5.3.4.5 รูปแบบการเดิน (Gait pattern)
1)Four –point gaitเป็นรูปแบบการเดินที่มีความมั่นคงมากที่สุด
2)Two –point gait เป็นรูปแบบการเดินที่มีความก้าวหน้าขึ้นจาก Four –point gait ต้องใช้การทรงตัวและความมั่นคงมากกว่า
3)Three –point gait เป็นรูปแบบการเดินที่ใช้บ่อยในผู้ปุวยที่มีพยาธิสภาพของขา 1 ข้าง
4)Swing –to gait วิธีนี้เหมาะที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่มีการจำกัดในการใช้ขาทั้ง 2 ข้าง ร่วมกับมีความไม่มั่นคง (Instability) ของลำตัว สามารถใช้ได้กับไม้ค้ำยัน และ Walker
5)Swing –through gaitเป็นรูปแบบการเดินที่ก้าวหน้ามาจาก Swing –to gait
5.3.4.6 วิธีการฝึกผู้ปุวยใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
1)ไม้ค้ำยันรักแร้(Auxiliary crutches)
(1)การวัดขนาด
ในท่านอน
ให้ผู้ป่วยนอนหงาย พักส่วนไหล่ ไม่เกร็ง
วัดความยาวจากAnterior auxiliary fold ถึงส้นเท้า บวก1 นิ้วสำหรับความสูงของรองเท้า
ในท่ายืน
ให้ผู้ป่วยถือ Auxiliary crutches ให้ปลายไม้ห่างจากนิ้วก้อยไปทางด้านข้าง 6 นิ้ว ด้านหน้า 6 นิ้ว
ปรับระดับความยาวไม้ให้ Underarm rest ต่ำกว่าAnterior
ปรับระดับHand bar ให้จับแล้วข้อศอกงอ30o ข้อมือกระดกขึ้นเต็มที่ และมือกำได้เต็มที่
(2)การสอนเดินการเดินโดยใช้ไม้ค้ำยันรักแร้ มี2 แบบคือPoint gait และ Swing gaitดังนี้
3 –Point gait : จังหวะการเดิน คือ ไม้2 ข้าง ขาที่มีปัญหา ขาที่ดีไม้2 ข้าง ขาที่มีปัญหา ขาที่ดี........
Swing-to gait : จังหวะการเดินคือ ไม้2 ข้าง–จากนั้นยกและเหวี่ยงตัวไปจนถึงระดับไม้ ใช้ในผู้ป่วย Paraplegia ที่ขาไม่มีแรง 2 ข้าง แต่มีแรงกล้ามเนื้อลำตัว โดยอาจจะต้องสวมกายอุปกรณ์เสริมขา(KAFO) เวลายืนและเดินด้วย
2 –Point gait : จังหวะการเดิน คือ ไม้ซ้าย+ ขาขวา ไม้ขวา+ ขาซ้ายไม้ซ้าย+ ขาขวา ไม้ขวา+ ขาซ้าย....
Swing-through gait : จังหวะการเดิน คือ ไม้2 ข้าง-จากนั้นยกและเหวี่ยงตัวไปจนเลยระดับไม้การเดินแบบนี้ ต้องใช้พลังงานในการเดินมาก และผู้ป่วยต้องมีการทรงตัวที่ดี รวมทั้งกำลังแขน2 ข้าง ก็ต้องดีมาก
4 –Point gait : จังหวะการเดินคือ ไม้ซ้าย ขาขวา ไม้ขวา ขาซ้ายไม้ซ้าย ขาขวา ไม้ขวา ขาซ้าย........
การเดินขึ้นบันได: จังหวะการเดินคือ: ยกขาข้างที่ดีก้าวขึ้นก่อน–ตามด้วยขาข้างที่มีปัญหา–สุดท้ายคือไม้ค้ำยัน
การเดินลงบันได: จังหวะการเดินคือ: ยกไม้ลงไปก่อน–ตามด้วยขาข้างที่มีปัญหา–สุดท้ายคือขาข้างที่ดี
2)Lofstrand crutch
(1)การวัดความยาวให้ผู้ปุวยถือ Lofstrand crutch โดยให้ปลายไม้ห่างจากนิ้วก้อยไปทางด้านข้าง 6 นิ้ว จากนั้นเลื่อนปรับระดับไม้ เพื่อให้ระดับมือจับอยู่ในตำแหน่งที่เมื่อผู้ปุวยจับแล้วข้อศอกงอ 20 ํ –30 ํ และส่วนของหวงคล้องอยู่ในระดับช่วงต้นของท่อนแขนส่วนปลาย
(2)การสอนเดินเดิน Point gait เช่นเดียวกับ Axillary crutches แต่เดิน Swing gait ไม่ได้ การเดินขึ้นลงบันไดก็เช่นเดียวกับ Axillary crutches
3) Platform crutch
(1)การวัดความยาวของ Platform crutch ที่เหมาะสมคือ ให้ผู้ป่วยถือ Platform crutch โดยให้ปลายไม้ห่างจากนิ้วก้อยไปทางด้านข้าง 6 นิ้วแล้วเลื่อนปรับระดับไม้ เพื่อให้แผ่นรองรับท่อนแขนส่วนปลาย อยู่ในระดับที่ข้อศอกงอ90o ํ
(2)การสอนเดินเช่นเดียวกับ Auxiliary crutches
4)ไม้เท้า(Cane)
(1)การวัดความยาวของไม้เท้าที่เหมาะสม โดยให้ผู้ป่วยถือ regular cane ในมือด้านตรงข้ามกับขาที่มีปัญหาโดยให้ปลายไม้ห่างจากปลายนิ้วก้อยไปทางด้านข้าง 6 นิ้วแล้วปรับความยาวไม้ ให้มือจับอยู่ในระดับเดียวกับGreater trochanter หรือจับแล้วข้อศอกงอ20 –30o ํ
(2)การสอนเดิน ควรให้ผู้ปุวยถือRegular cane ในมือด้านตรงข้ามกับขาข้างที่มีปัญหา เพื่อให้เหมือนการเดินปกติ คือแขนและขาเคลื่อนสลับกัน
(3)รูปแบบการเดิน
เดินบนพื้นราบ
3-Point gait : ยกไม้เท้าไปข้างหน้า ก้าวขาข้างที่มีปัญหาไปถึงระดับไม้ ยันทิ้งน้ำหนักตัวบางส่วนลงที่ไม้เท้า พร้อมกับยกขาข้างที่ดีตามไปถึงระดับเดียวกัน
2-Point gait : ยกไม้เท้าและขาข้างที่มีปัญหาก้าวไปพร้อมกันยันทิ้งน้ำหนักตัวบางส่วนลงที่ไม้เท้า พร้อมกับยกขาข้างที่ดีตามไปถึงระดับเดียวกัน
เดินขึ้น–ลงบันได
เดินขึ้นบันได: ยกก้าวขาข้างที่ดีขึ้นก่อน ตามด้วยขาข้างที่มีปัญหา
สุดท้ายคือยกไม้เท้าตามขึ้นไป
เดินลงบันได:.ยกไม้เท้าลงก่อน ตามด้วยขาข้างที่มีปัญหา สุดท้ายคือยกขาข้างที่ดีก้าวตามลงไป
5)ไม้เท้า3 ขา(Tripod cane)
(1)การวัดความยาวของไม้เท้า 3 ขาให้ผู้ป่วยถือไม้เท้าในมือด้านตรงข้ามกับขาที่มีปัญหา ให้แกนกลางไม้ห่างจากนิ้วก้อยของเท้าไปทางด้านข้าง 6 นิ้ว และขาทั้ง 3 อยู่ทางด้านนอกแล้วปรับความยาวไม้ให้มือจับอยู่ในระดับGreater trochanter หรือให้ข้อศอกงอ20-30 ํ
(2)การสอนเดินเดินบนทางราบ: เช่นเดียวกับไม้เท้าขาเดียว
6)Walker
(1)การวัดความสูงของWalker ที่เหมาะสมให้ผู้ปุวยยืน ให้เท้า2 ข้างอยู่ตรงกับระดับขาหลังของWalker ความสูงของWalker ที่เหมาะสมคือ ระดับมือจับตรงกับGreater trochanter หรือ จัดแล้วข้อศอกงอ20 –30 ํ
(2)การสอนเดิน เวลายกและวางWalker บนพื้น จะต้องให้ทั้ง 4 ขา ถึงพื้นพร้อมกัน เพื่อให้มีความมั่นคงแล้วผู้ป่วยจะต้องไม่ก้าวไปยืนใกล้กับขาหน้าของWalker เพราะจะลดฐานการยืนและทำให้เสียหลักล้มหงายหลังได้
(3)แบบแผนการเดิน: ยกWalker ไปด้านหน้า ห่างประมาณ1 ช่วงแขน ยกขาด้านที่มีปัญหาก้าวไปจนถึงระดับขาหลังหรือไม่เกินกึ่งกลางความลึกของWalker จากนั้นก้าวขาข้างที่ดีตามไปถึงระดับเดียวกัน พร้อมกับยันน้ำหนักตัวลงบนแขน2 ข้าง
5.4การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวร่างกาย
5.4.1 การออกกำลังกาย
5.4.1.1 การออกกำลังกายชนิดให้ผู้ป่วยทำเอง
5.4.1.2 การออกกำลังกายโดยให้ผู้อื่นทำให้ผู้ป่วย
5.4.1.3 การออกกำลังกายชนิดที่ให้ผู้ป่วยทำร่วมกับความช่วยเหลือของผู้อื่น
5.4.1.4 การออกกำลังกายโดยให้กล้ามเนื้อทำงานแต่ข้อไม่เคลื่อน
5.4.1.5 การออกกำลังกายให้ผู้ปุวยออกแรงต้านกับแรงอื่น
5.4.2 การเคลื่อนไหวร่างกาย
5.4.2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานของร่างกายให้เป็นไปตามปกติ
5.4.2.2 ป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย หรือมีความพิการของกระดูกและกล้ามเนื้อ
5.4.2.3 ลดการเมื่อยล้าหรือการใช้พลังงานมากเกินไป
5.4.3 ผลกระทบจากการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
5.4.3.2 ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
1)กระดูกผุ เปราะบาง
2)การประสานงานของกล้ามเนื้อแขนขาลดลงหรือไม่สัมพันธ์กัน ทำให้กล้ามเนื้อบางส่วนที่ช่วยในการเคลื่อนไหวร่างกายมีอาการอ่อนแรง ความทนต่อกิจกรรมลดลง
3)กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลีบเล็ก
4)อาการปวดหลัง
5.4.3.3 ระบบหัวใจและหลอดเลือด
2)มีการคั่งของเลือดในหลอดเลือดดำที่ขา
3)เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
1)หัวใจทำงานมากขึ้น
4)ความดันต่ำขณะเปลี่ยนท่า
5.4.3.1 ระบบผิวหนังผิวหนังเสียหน้าที่ทำให้เกิดแผลกดทับ
2) เซลล์ตายและลุกลามกลายเป็นแผล
3) การเสียดทาน (Friction) เมื่อผู้ป่วยถูกลากหรือเลื่อนตัว ทำให้ผิวหนังขูดกับที่นอน
1)เกิดแรงกดทับ (Pressure)ระหว่างปุุมกระดูกกับที่นอนที่รองรับในการนอนในท่าต่าง ๆ ทำให้เซลล์ขาดออกซิเจน
4) แรงดึงรั้ง (Shearing force)เกิดจากแรงกดทับและการเสียดทานที่เกิดขึ้นพร้อมกัน
5.4.3.4 ระบบทางเดินหายใจ
2)มีการคั่งของเสมหะมากขึ้น
1)ปอดขยายตัวลดลง
5.4.3.5ระบบทางเดินอาหาร
2)มีผลต่อการขับถ่าย ทำให้ท้องผูก
1)มีผลต่อการรับประทานอาหาร ทำให้เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
5.4.3.6ระบบทางเดินปัสสาวะ
1)การถ่ายปัสสาวะมากกว่าปกติในระยะแรกๆ
2)มีการคั่งของปัสสาวะในไตและกระเพาะปัสสาวะ (Urinary stasis) และกระเพาะปัสสาวะสูญเสียหน้าที่
3)เกิดนิ่วในไตและกระเพาะปัสสาวะ
5.4.3.7 ระบบเมตาบอลิซึมและการเผาผลาญอาหาร
2)มีระดับโปรตีนในกระแสเลือดลดต่ำลง
3)มีความผิดปกติด้านอัตมโนทัศน์และภาพลักษณ์
1)การเผาผลาญอาหารลดลง
5.5กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด
5.5.1การประเมินสภาพผู้ป่วยรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นเพื่อนำไปสู่การวางแผนการพยาบาลเช่น การปรับตัวและความทนทานต่อความเครียด ความรู้สึกของผู้ปุวยเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลความยินยอมที่จะเข้ารับการผ่าตัดความรู้เกี่ยวกับโรคและการผ่าตัด
5.5.2 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
5.5.2.1 วิตกกังวลเนื่องจากกลัวการผ่าตัด
5.5.2.2 วิตกกังวลเกี่ยวกับโรคและแผนการรักษา
5.5.3 การวางแผนการพยาบาล ให้การพยาบาลและประเมินผลหลังให้การพยาบาล
5.5.3.2 เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึก และค้นหาสาเหตุของความวิตกกังวล
5.5.3.3 ร่วมกันหาทางแก้ไขสาเหตุของความวิตกกังวลร่วมกับผู้ป่วยและญาติ
5.5.3.1 ประเมินระดับความวิตกกังวล
5.5.3.4 ดูแลความสุขสบายทั่วไป
5.5.3.5 จัดหมวดหมู่กิจกรรมการพยาบาลเพื่อลดการรบกวนผู้ป่วยและให้ผู้ป่วยได้พัก
5.5.3.6 รายงานแพทย์เมื่อพบอาการผิดปกติ