Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่5 การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัด การเคลื่อนไหวและการออกกำลั…
บทที่5
การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัด
การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย
5.1 การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
5.1.2 การเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
5.1.2.1 การเตรียมผู้ป่วย ซึ่งระยะเวลาก่อนผ่าตัด
1.ด้านร่างกาย
4.ประเมินความสมบูรณ์ของร่างกายในการได้รับอาหารที่พอเหมาะ
การได้รับอาหารที่ดีมีประโยชน์ที่เพียงพอ และถูกส่วน เพื่อให้ผู้ป่วยทนต่อการผ่าตัดได้ดีและช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
5.ภาวะสารน้ำและอีเล็คโทรลัยต์ในร่างกาย
ต้องประเมินสภาวะความ สมดุลของสารน้ำ และอีเล็คโทรลัยต์ในร่างกาย
3.ระบบทางเดินปัสสาวะ
ต้องประเมินสภาวะของไต
6.การพักผ่อนและการออกกำลังกาย
ต้องได้รับการพักผ่อนที่ดี และมีการออกกำลังกายที่พอเหมาะ
2.ระบบทางเดินหายใจ
ต้องประเมินสภาวะของปอดและหลอดลมดูการทำงานของระบบทางเดินหายใจ
7.ให้คำแนะนำและข้อมูลต่างๆ
ที่ผู้ปุวยควรทราบเพื่อลดความวิตกกังวล
1.ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ต้องประเมินความสามารถในการทำงานของหัวใจ และหลอดเลือด
2.ด้านจิตใจ
ดังนั้น ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ควรได้รับการเตรียมทางจิตใจทุกคน
โดยการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ประเมินความวิตกกังวลก่อนผ่าตัด ทั้งนี้เพื่อช่วยลดความวิตกกังวล ความกลัวต่างๆ
ผู้ป่วยและครอบครัวส่วนใหญ่จะมีความวิตกกังวลเมื่อรู้ว่าตนเอง หรือบุคคลในครอบครัวต้องผ่าตัด
ความหมาย
ระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่ม ตระหนักว่ามีบางสิ่งผิดปกติ และแพทย์วินิจฉัยว่าต้องผ่าตัด หรือตัวผู้ป่วยเองสงสัยว่าจะต้องผ่าตัด จนกระทั่งเวลาที่แพทย์จะลงมือผ่าตัด
3.การให้คำแนะนำการปฏิบัติหลังผ่าตัด
Deep-breathing exercises
โดยจัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนหงายศีรษะ สูง วางมือทั้ง 2 ข้างบนหน้าอกส่วนล่าง
Effective cough
โดย จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งเอนไปข้างหน้าเล็กน้อย ให้ผู้ป่วยประสานมือทั้ง 2 ข้าง และกดเบาๆ เหนือบริเวณที่คิดว่าจะมีแผลผ่าตัด
Range of Motion (ROM)
เป็นการออกกำลังข้อโดยมีการเคลื่อนไหวใน ทุกทิศทางปกติของข้อต่าง ๆ ซึ่งร่างกายของคนมีส่วนเคลื่อนไหวหลักๆ อยู่ 6 แห่ง คือ ศีรษะ ลำตัว แขน และขาทั้งสองข้าง และยังมีการเคลื่อนไหวในส่วนย่อยๆ ที่มือ นิ้วมือ เท้า และนิ้วเท้า ได้อย่างอิสระ
Abdominal breathing
ในบางรายที่มีอาการปวดแผลหรือรับการผ่าตัด บริเวณทรวงอก ให้หายใจเข้าออกโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องแทนทรวงอก
Straight Leg Raising Exercise (SLRE)
เป็นการออกกำลังขา ข้อสะโพก และกล้ามเนื้อต้นขาแบบยกขาขึ้นตรงๆ
Turning and ambulation
ควรทำทุก 2 ช.ม. เช่น พลิกตัวไปทางขวา ให้ขยับตัวไปทางซ้าย
Quadriceps Setting Exercise (QSE)
เป็นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อ ต้นขา (Quadriceps muscle)
Extremity exercise
ให้ผู้ป่วยนอนในท่าหัวสูงเล็กน้อยหรือนอนในท่าที่ สบาย ทำการออกกำลังแขนหรือขาทีละข้างโดยเฉพาะการเหยียดออกและงอเข้าของทุกข้อ
Early ambulation
ยกเว้นมีข้อห้ามหรือการผ่าตัดบางอย่างที่ต้องให้ ผู้ป่วย Absolute bed rest ก่อนลุกจากเตียงควรมีการเตรียมพร้อมกล้ามเนื้อขา เพื่อช่วยในการลุกเดิน
Pain management
หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการระงับความเจ็บปวด ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งได้แก่ การได้รับยาแก้ปวดทางหลอดเลือดดำ พยาบาลควรสอนที่ช่วยในการระงับความ เจ็บปวดควบคู่กันไป
5.1.2.2 การเตรียมผู้ป่วยก่อนวันที่ผ่าตัด
2.การขับถ่าย
ถ้าเป็นการผ่าตัดเล็ก หรือการผ่าตัดที่ไม่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในช่อง ท้อง แพทย์อาจให้สวนอุจจาระหรือไม่ก็ได้หรือให้รับประทานยาระบายก่อนวันผ่าตัด แต่ถ้าเป็นการผ่าตัด ใหญ่หรือผ่าตัดเปิดสู่ช่องท้องแพทย์จะให้มีการสวนอุจจาระก่อนผ่าตัด สำหรับกระเพาะปัสสาวะควรว่าง เมื่อจะเข้าห้องผ่าตัดโดยให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะก่อนผ่าตัด หรือคาสายสวนปัสสาวะไว้ตามแผนการรักษา
3.การเตรียมผิวหนังก่อนผ่าตัด
เนื่องจากผิวหนังเป็นแหล่งที่มีเชื้อจุลินทรีย์อาศัยอยู่มาก เพราะเป็นบริเวณที่กว้าง ดังนั้นต้องมีการเตรียมความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะผ่าตัด เพื่อเป็นการลดจำนวนจุลินทรีย์ การเตรียมบริเวณที่จะผ่าตัดต้องเตรียมให้กว้างกว่าบริเวณที่จะผ่าตัดจริง กำจัดขน และสิ่งสกปรกต่างๆ ถ้าผิวหนังบริเวณที่จะผ่าตัดมีเม็ดผื่นหรือมีการติดเชื้อเกิดขึ้น แพทย์อาจต้องเลื่อนการ ผ่าตัดออกไปจนกระทั่งการติดเชื้อนั้นหายไป การเตรียมผิวหนังก่อนผ่าตัด
1.อาหารและน้ำดื่ม
ควรงดอาหารผู้ป่วยก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง สำหรับ อาหารเหลวใสให้ได้6 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด ถ้าผู้ป่วยปากแห้ง ให้ผู้ป่วยบ้วนปากบ่อยๆ ถ้าผู้ป่วยได้รับอาหาร หรือน้ำเข้าไปในระยะเวลาที่ห้ามนี้ ต้องรีบรายงานให้แพทย์ทราบทันที ซึ่งแพทย์อาจเลื่อนการผ่าตัด ออกไป หรืออาจใส่สายเข้าไปที่กระเพาะอาหาร เพื่อดูดเอาอาหารในกระเพาะอาหารออกมา
5.1.1 การประเมินผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
5.1.1.2 การตรวจร่างกาย
2.การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
3.การตรวจประเมินทางระบบหายใจ
1.สัญญาณชีพ
4.การตรวจร่างกายตามระบบโดยเน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคหรือบริเวณที่ จะทำการผ่าตัด
5.1.1.3 การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
1.ข้อบ่งชี้ของการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษอื่นๆ
2.ข้อแนะน าการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Screening tests)
5.1.1.1 การซักประวัติ
4.การใช้ยา
สารเสพติด การสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
5.ประวัติของคนในครอบครัวหรือญาติที่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้รับยาระงับ ความรู้สึก
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคทางพันธุกรรมที่มีผลต่อการได้รับยาระงับความรู้สึก
3.ประวัติการแพ้ยาหรืออาหาร
6.ประวัติเกี่ยวกับโรคของระบบต่างๆ ของร่างกาย
2.ประวัติการผ่าตัด
และการได้รับยาระงับความรู้สึกก่อนหน้านี้ โดยครอบคลุม ถึงวิธีการให้ยาระงับความรู้สึก และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
1.ประวัติโรคประจำตัว
ควรครอบคลุมถึงอาการ ความรุนแรงของโรค ภาวะแทรกซ้อนของโรค และประวัติการรักษา ยาที่ใช้ประจำ
5.2 การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
5.2.1 การประเมินสภาพผู้ป่วย
5.2.1.3 แบบแผนการขับถ่าย
2.ลักษณะการเปลี่ยนแปลงในแบบแผนการขับถ่ายปัจจุบัน
เช่น ปัสสาวะออก น้อยหรือไม่ออกหลังผ่าตัด ปัสสาวะขุ่น ท้องผูก
3.การทำงานของไต
เช่น การประเมินภาวะไม่สมดุลสารน้ำและเกลือแร่จากการเสียหน้าที่ของไต
1.ประวัติการเสียเลือด
สารน้ำทางปัสสาวะ การขับถ่ายที่ปกติก่อนและหลังผ่าตัด
5.2.1.4 แบบแผนการรับรู้และการดูแลสุขภาพ
ได้แก่ ประเมินความรู้ความเข้าใจ และ การยอมรับในการผ่าตัดที่เกิดขึ้น ความร่วมมือในการปฏิบัติการรักษาพยาบาล และการปฏิบัติตนเพื่อ ส่งเสริม ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของตนเอง
5.2.1.2 แบบแผนอาหารและการเผาผลาญ
การประเมินที่สำคัญได้แก่ ประวัติการได้รับและสูญเสียสารน้ำและเกลือแร่ ตั้งแต่ก่อนผ่าตัดจนถึงหลังผ่าตัด ชนิดและปริมาณของสารน้ำที่ได้รับ และออกจากร่างกาย ภาวะโภชนาการ และปริมาณแคลอรี่ของอาหารที่ได้รับในแต่ละวัน
5.2.1.5 แบบแผนการปรับตัวและการเผชิญกับความเครียด
ประเมินการรับรู้ และวิธีการเปลี่ยนแปลงความเครียด สังเกตพฤติกรรมตอบสนองต่อความเครียด
5.2.1.1 แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
1.ประวัติโรค
หัวใจ โรคปอด เบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่มีก่อนผ่าตัด
2.การเปลี่ยนแปลงสัญญาณชีพ
ซึ่งบ่งบอกการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด โดยการประเมินการหายใจ ความสามารถในการหายใจ และอุปกรณ์ที่ช่วยในการหายใจ
5.2.2 กิจกรรมการพยาบาลหลังผ่าตัด
5.2.2.4 การพยาบาลเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ป่วย
2) ดูแลให้ได้รับสารอาหารและพลังงานอย่างเพียงพอ
ในรายที่ไม่มีปัญหาในการ
รับประทานอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน
3) สังเกตและบันทึกอาการเปลี่ยนแปลงที่บ่งชี้ถึงการย่อยและดูดซึมอาหาร
ผิดปกติ
เช่น ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก
1) กระตุ้นให้ผู้ปุวยลุกออกจากเตียง
หรือจัดท่านอนศีรษะสูงเพื่อลดอาการแน่น
ท้อง ท้องอืด
5.2.2.5 การพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสุขสบายและความปลอดภัยของผู้ป่วย
2) การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลเกี่ยวกับความสะอาดของร่างกายทั่วไป โดยเฉพาะช่องปาก อวัยวะสืบพันธุ์ และระบบขับถ่าย
3) ดูแลความปลอดภัยในรายที่ยังไม่ฟื้นจากยาสลบ หรือระดับความรู้สึกตัว เปลี่ยนแปลง ควรยกราวกั้นเตียงผู้ป่วยขึ้นก่อนออกจากเตียงผู้ป่วย
1) ดูแลความสุขสบายทั่วไป เช่น การนอนหลับ
5.2.2.3 การพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด
โดยพยาบาลประเมิน ความเจ็บปวดของผู้ป่วยโดยใช้ Pain scale ดูและให้ได้รับยาแก้ปวดตามแผนการรักษา ดูแลจัดท่าที่ เหมาะสมเพื่อลดการดึงรั้งของแผลผ่าตัด แนะนำให้ทำกิจกรรมที่เบี่ยงเบนความสนใจและกิจกรรมที่เป็น การกระตุ้นให้มีการหลั่งเอนโดรฟินเพื่อลดความรู้สึกเจ็บปวด
5.2.2.6 การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการหายของแผล
2) สังเกตลักษณะแผลที่ผิดปกติ
โดยเฉพาะแผลมีการติดเชื้อ
3) ทำความสะอาดแผลด้วยหลักปราศจากเชื้อ
เพื่อป่องกันการติดเชื้อของแผลซึ่ง จะทำให้แผลหายช้า
1) สังเกตและประเมินปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการหายของแผล
ได้แก่ ตำแหน่งของ แผลผ่าตัด ลักษณะของแผลเปิดหรือแผลปิด ภาวะโภชนาการของผู้ป่วย ภาวะโรค
4) สอนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลแผล
และวิธีการส่งเสริมการหายของแผล โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีโปรตีน และวิตามินซีสูง
5.2.2.2 การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการทำงานของระบบหัวใจและไหลเวียน
4) ควรให้ผู้ป่วยนอนพักนิ่งๆ
ในบริเวณที่มีเลือดออกมากๆ เพื่อลดการ
เคลื่อนไหวซึ่งจะมีผลทำให้เลือดออกมากขึ้น
5) เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นให้พร้อมในรายที่มีภาวะช็อก
เช่น อุปกรณ์
ดูดเสมหะ
3) ดูแลให้ได้รับสารน้ำ
เลือด หรือพลาสมาทดแทนทางหลอดเลือดดำตาม
แผนการรักษา และติดตามอาการของผู้ปุวยอย่างต่อเนื่อง
6) สังเกต บันทึก
และติดตามผลการตรวจคลื่นหัวใจโดยเฉพาะในรายที่มีการเต้น
หัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจตายหลังผ่าตัด
2) สังเกตลักษณะบาดแผลและปริมาณสิ่งคัดหลั่งต่างๆ
ที่ออกจากร่างกายผู้ป่วย
รวมถึงประเมินการสูญเสียสารน้ำที่เกิดขึ้นหากพบความผิดปกติให้รายงานแพทย
7) ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนทั้งร่างกาย
และจิตใจ จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบ
สงบ
1) ตรวจวัดสัญญาณชีพ
ทุก 15 นาที 4 ครั้ง ทุก 30 นาที 4 ครั้ง และทุก 1
ชั่วโมงจนสัญญาณชีพสม่ำเสมอ
5.2.2.7 การให้คำแนะนำก่อนกลับบ้านสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัด
3) การส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ป่วย อาหารที่ควรรับประทานหรือควรงดการรับประทานยา การสังเกตอาการข้างเคียงของยาที่ได้รับ
4) การดูแลความสะอาดของร่างกาย
2) การเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นข้อจำกัดหลังผ่าตัด
5) การมาตรวจตามแพทย์นัด
1) เรื่องการดูแลแผล การสังเกตอาการ และอาการแสดงของการติดเชื้อ
5.2.2.1 การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการหายใจให้โล่ง
1) การจัดท่านอน
2) สังเกตการหายใจของผู้ป่วย
3) กระตุ้นให้ผู้ปุวยหายใจเข้าออกลึกๆ และไออย่างมีประสิทธิภาพตามวิธีที่
สอน
4) เปลี่ยนท่านอนหรือพลิกตะแคงตัวบ่อยๆ
5) กระตุ้นให้ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองเพื่อเพิ่มกิจกรรมการเคลื่อนไหว
6) ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
7) สังเกตอาการบ่งชี้ภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ
8) ถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติให้รีบรายงานแพทย์และให้ออกซิเจนตามแผนการ
รักษา
5.3 การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย
5.3.2 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
5.3.2.2 การประเมินผู้ป่วยก่อนการเคลื่อนย้าย
4) ความมั่นคงในการคงท่าของผู้ป่วย
5) ส่วนที่จำเป็นต้องให้อยู่นิ่งๆ
3) ส่วนที่อ่อนแรงหรือพิการ
6) ผู้ป่วยอ่อนเพลียมากน้อยแค่ไหน
2) ท่าที่เป็นข้อห้ามของผู้ป่วย
7) ความต้องการการเคลื่อนย้ายเปลี่ยนท่าและความสุขสบายของผู้ป่วย
1) ความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง
5.3.2.3 วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
2) นำหมอนหนุนศีรษะของผู้ป่วยออก วางหมอนที่พนักหัวเตียง อุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นเอาออกจากเตียง
3) พยาบาลยืนในท่าที่ถูกต้องมั่นคงและใช้หลักการของกลไกการเคลื่อนไหวร่างกาย
1) แจ้งให้ผู้ป่วยทราบและบอกวิธีการให้ความร่วมมือถ้าทำได้
4) พยุงผู้ป่วยด้วยความนุ่มนวลและมั่นคง โดยใช้วิธีสอดมือเข้าไปในตำแหน่งของ ร่างกายที่จะยกเพื่อรองรับน้ำหนักร่างกายส่วนนั้น
5.3.2.1 หลักการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
6) ย่อเข่าและสะโพก
7) หาวิธีที่เหมาะสมเพื่อผ่อนแรงในการยกหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
5) หลังตรง ป้องกันการปวดหลัง
8) ผู้ป่วยควรอยู่ใกล้พยาบาลมากที่สุด
4) ยืนแยกเท้าทั้งข้างห่างกันพอสมควร และเฉียงปลายเท้าไปตามทิศทางที่ ต้องการเคลื่อนย้าย และอยู่ในสมดุลเมื่อต้องการเคลื่อนไปทางหัวเตียงหรือปลายเตียง
9) ยกตัวผู้ป่วยให้พ้นจากที่นอนเล็กน้อยเพื่อลดแรงเสียดทาน
3) ควรยืนในท่าที่ถูกต้องและมั่นคง
10) ใช้ผ้าขวางเตียงช่วยในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแทนการเลื่อนผู้ป่วย
2) หันหน้าเข้าหาผู้ป่วยและไปในทิศทางที่จะเคลื่อนย้าย
11) ให้สัญญาณเพื่อความพร้อมเพรียง
1) ควรจัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายราบอยู่ในท่าที่สบาย
12) ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ควรหาผู้ช่วยเหลือตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปและให้ สัญญาณขณะยก
5.3.3 การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดิน
5.3.3.1 การออกกำลังกายเพื่อเตรียมผู้ป่วยเดิน
4) เหยียดข้อเข่า เหยียดขาพร้อมกับกดข้อเข่าลงกับที่นอน
5) งอข้อเท้า หมุนข้อเท้าเข้าหาตัวและออกจากตัว
3) กางและหุบข้อตะโพก เหยียดข้อเข่าและให้ข้อเท้างอเข้าหาปลายขา
6) งอและเหยียดนิ้วเท้า
2) หมุนข้อตะโพก เหยียดขาทั้งสองข้าง
7) เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง ตะโพกต้นขา
1) ให้ผู้ป่วยงอและเหยียดข้อตะโพก โดยให้ผู้ป่วยนอนบนเตียง
5.3.3.2 การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดิน
1) การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินโดยพยาบาล 1 คน
1.กรณีใช้เข็มขัดหรือผ้าคาดเอว
เมื่อช่วยผู้ป่วยลงจากเตียงแล้ว พยาบาล ยืนเยื้องด้านหลังผู้ป่วย ใช้มือ 2 ข้างยืดเข็มขัดหรือผ้าคาดเอวเพื่อพยุงผู้ปุวยขณะผู้ป่วยเดิน วิธีนี้จะช่วยคง จุดศูนย์ถ่วงหรือใช้มือหนึ่งจับเข็มขัดบริเวณกึ่งกลางเอว อีกมือหนึ่งจับบริเวณต้นแขนของผู้ป่วยก้าวเดินช้า ๆ พร้อมกัน
2.กรณีไม่ใช้เข็มขัด
ให้ใช้มือด้านใกล้ตัวจับที่ต้นแขนของผู้ป่วย มือไกลตัว จับที่ปลายแขนของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยเป็นลมให้สอดแขนเข้าใต้รักแร้รับน้ำหนักตัวผู้ป่วยและแยกเท้ากว้าง ดึง ตัวผู้ป่วยขึ้นมาข้างตัวพยาบาลโดยใช้ สะโพกรับน้ำหนักตัวผู้ป่วย และค่อยๆ วางตัวผู้ป่วยลงบนพื้น
2) การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินโดยพยาบาล 2 คน
ให้พยาบาลยืนข้างผู้ป่วยคนละด้าน มือพยาบาลข้างใกล้ตัวผู้ป่วยสอดใต้รักแร้ผู้ป่วย อีกข้างหนึ่งจับปลายแขนหรือมือผู้ป่วยข้างเดิม ผู้ป่วยและพยาบาลทั้ง 2 คนเดินพร้อมกัน ถ้าผู้ป่วยเป็นลมพยาบาลทั้ง 2 คนเลื่อนมือข้างที่พยุงใต้รักแร้ไป ข้างหน้าให้ลำแขนสอดอยู่ใต้รักแร้ น้ำหนักตัวผู้ป่วยไว้พร้อมกับใช้สะโพกยันผู้ป่วยไว้แล้วค่อยๆพยุงผู้ป่วย ลงบนพื้น
5.3.1 การช่วยเหลือผู้ป่วยเคลื่อนไหวบนเตียง
5.3.1.1 การประเมินผู้ป่วย
2) ท่าที่เหมาะสม และระยะเวลาที่ผู้ป่วยจะคงอยู่ในท่าที่เปลี่ยนให้ใหม่
3) ความยากลำบากและไม่สุขสบายในขณะเปลี่ยนท่าหรือเมื่ออยู่ในท่าที่จัดให้
1) ความสามารถของผู้ป่วยในการช่วยเหลือตนเอง
4) ปัญหาอื่นๆ ที่พบในผู้ป่วย เช่น ความผิดปกติเกี่ยวกับผิวหนัง กระดูก หลอดเลือด
5.3.1.2 ปฏิบัติการพยาบาลในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยบนเตียง
2) การเตรียมตัวพยาบาล พยาบาลควรยืนในท่าที่ถูกต้อง
3) การจัดท่าผู้ป่วย
5.ท่านั่งบนเตียง (Fowler’s position)
6.ท่านอนหงายชันเข่า (Dorsal recumbent position)
4.ท่านอนตะแคงกึ่งคว่ำ (Semiprone position)
7.ท่านอนหงายพาดเท้าบนขาหยั่ง (Lithotomy position)
3.ท่านอนคว่ำ (Prone position)
8.ท่านอนคว่ำคุกเข่า (Knee-chest position)
2.ท่านอนตะแคง (Lateral or Slide-lying position)
9.ท่านอนศีรษะต่ำปลายเท้าสูง (Trendelenburg position)
1.ท่านอนหงาย (Dorsal or Supine position)
1) การเตรียมผู้ป่วย ให้เอาหมอนหนุนศีรษะของผู้ป่วยออก
5.3.4 การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดิน
5.3.4.3 การเตรียมผู้ป่วยก่อนการฝึกใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
2) การฝึกในท่าตั้งตรง (Upright) บนเตียงหรือเบาะ
3) การฝึกในราวคู่ขนาน
1) การฝึกความแข็งแรง (Strength) ความทนทาน (Endurance) และการ ประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อ (Co – ordination)
5.3.4.4 การลงน้ำหนักที่ขาเวลาเดิน (Weight Bearing Status)
5.3.4.2 ประโยชน์ของอุปกรณ์ช่วยเดิน
2) ช่วยแบ่งเบาหรือรับน้ำหนักแทนขา 1 หรือ 2 ข้าง
3) เพิ่มการพยุงตัว (Support) เพื่อให้สามารถทรงตัวได้ (Balance)
1) ช่วยแบ่งเบาหรือรับน้ำหนักแทนขา 1 หรือ 2 ข้าง
5.3.4.5 รูปแบบการเดิน (Gait pattern)
3) Three – point gait
เป็นรูปแบบการเดินที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพ ของขา 1 ข้าง
4) Swing – to gait
วิธีนี้เหมาะที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่มีการจำกัดในการใช้ขาทั้ง 2 ข้าง
2) Two – point gait
เป็นรูปแบบการเดินที่มีความก้าวหน้าขึ้นจาก Four – point gait
5) Swing – through gait
เป็นรูปแบบการเดินที่ก้าวหน้ามาจาก Swing – to gait
1) Four – point gait
เป็นรูปแบบการเดินที่มีความมั่นคงมากที่สุด
5.3.4.1 ชนิดของอุปกรณ์ช่วยเดิน
2) Walker หรือ Pick – up frames มีหลายชนิด
3) Cane มีหลายชนิด
1) Parallel bar = ราวคู่ขนาน ราวเดิน
4) Crutches ( ไม้ยันรักแร้ , ไม้ค้ำยัน )
5.5 กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด
5.5.2 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
5.5.2.1 วิตกกังวลเนื่องจากกลัวการผ่าตัด
5.5.2.2 วิตกกังวลเกี่ยวกับโรคและแผนการรักษา
5.5.3 การวางแผนการพยาบาล ให้การพยาบาล และประเมินผลหลังให้การพยาบาล
5.5.3.3 ร่วมกันหาทางแก้ไขสาเหตุของความวิตกกังวลร่วมกับผู้ปุวยและญาติ
5.5.3.4 ดูแลความสุขสบายทั่วไป
5.5.3.2 เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึก และค้นหาสาเหตุของความวิตกกังวล
5.5.3.5 จัดหมวดหมู่กิจกรรมการพยาบาลเพื่อลดการรบกวนผู้ป่วยและให้ผู้ป่วยได้พัก
5.5.3.1 ประเมินระดับความวิตกกังวล
5.5.3.6 รายงานแพทย์เมื่อพบอาการผิดปกติ
5.5.1 การประเมินสภาพผู้ป่วย
รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นเพื่อนำไปสู่การวางแผนการพยาบาล เช่น การปรับตัวและความทนทานต่อความเครียด ความรู้สึกของผู้ปุวยเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ความยินยอมที่จะเข้ารับการผ่าตัด ความรู้เกี่ยวกับโรคและการผ่าตัด
5.4 การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวร่างกาย
5.4.2 การเคลื่อนไหวร่างกาย
5.4.2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานของร่างกายให้เป็นไปตามปกติ
5.4.2.2 ป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย หรือมีความพิการของกระดูก และกล้ามเนื้อ
กลไกการเคลื่อนไหวร่างกาย
หมายถึง การใช้ร่างกายอย่างปลอดภัยมีประสิทธิภาพ มีการ ประสานงานกันในการเคลื่อนไหวและดำรงความสมดุลระหว่างการมีกิจกรรม
5.4.2.3 ลดการเมื่อยล้า หรือการใช้พลังงานมากเกินไป
การเคลื่อนไหวของร่างกาย
หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายใดๆในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะในบ้าน ที่ทำงาน หรือแม้แต่สันทนาการใดๆ
5.4.3 ผลกระทบจากการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
5.4.3.4 ระบบทางเดินหายใจ
1) ปอดขยายตัวลดลง (Decrease lung expansion)
เนื่องจากการนอนหงาย ทำให้แรงกดด้านหน้า
2) มีการคั่งของเสมหะมากขึ้น
เนื่องจากการพัดโบกของ Cilia เพื่อพัดเสมหะ จากทางเดินอากาศส่วนล่างสู่ส่วนบนลดลง
5.4.3.5 ระบบทางเดินอาหาร
1) มีผลต่อการรับประทานอาหาร
2) มีผลต่อการขับถ่าย ทำให้ท้องผูก (Constipation)
5.4.3.3 ระบบหัวใจและหลอดเลือด
2) มีการคั่งของเลือดในหลอดเลือดดำที่ขา เนื่องจากการที่กล้ามเนื้อคลายตัว หรืออ่อนแรงทำให้เกิดเลือดคั่งในหลอดเลือดที่ขา
3) เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ (Thrombus) เนื่องจากมีการคั่งของหลอดเลือดดำ
1) หัวใจทำงานมากขึ้น จากการอยู่ในท่านอนทำให้ปริมาณเลือดกลับเข้าสู่ หัวใจมากกว่าปกติ
4) ความดันต่ำขณะเปลี่ยนท่า (Orthostatic Hypotension) พบในการเปลี่ยนท่าจากท่านอนเป็นท่านั่งหรือยืน
5.4.3.6 ระบบทางเดินปัสสาวะ
2) มีการคั่งของปัสสาวะในไตและกระเพาะปัสสาวะ (Urinary stasis)
3) เกิดนิ่วในไตและกระเพาะปัสสาวะ (Renal Calculi)
1) การถ่ายปัสสาวะมากกว่าปกติในระยะแรกๆ (Diuresis)
5.4.3.2 ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
2) การประสานงานของกล้ามเนื้อแขนขาลดลงหรือไม่สัมพันธ์กัน
3) กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลีบเล็ก (Muscle atrophy)
1) กระดูกผุ เปราะบาง (Osteoporosis) พบบ่อยที่กระดูกขา
4) อาการปวดหลัง (Back pain) เกิดการท่านอนที่ไม่ถูกต้อง
5.4.3.7 ระบบเมตาบอลิซึมและการเผาผลาญอาหาร
2) มีระดับโปรตีนในกระแสเลือดลดต่ าลง (Hypoproteinemia) จากการนอนนาน
3) มีความผิดปกติด้านอัตมโนทัศน์และภาพลักษณ์ (Self concept and Body image)
1) การเผาผลาญอาหารลดลง
5.4.3.1 ระบบผิวหนัง
ผิวหนังเสียหน้าที่ทำให้เกิดแผลกดทับ (Bed sore or Pressure sore or Decubitus ulcer)
2) เซลล์ตายและลุกลามกลายเป็นแผล
3) การเสียดทาน (Friction)
1) เกิดแรงกดทับ (Pressure)
4) แรงดึงรั้ง (Shearing force)
5.4.1 การออกกำลังกาย
5.4.1.2 การออกกำลังกายโดยให้ผู้อื่นทำให้ผู้ป่วย (Passive exercise)
เป็นการออกกำลังกายโดยการเคลื่อนไหวข้อต่างๆ ให้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายด้วยตนเองได้หรือมี ข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว
5.4.1.3 การออกกำลังกายชนิดที่ให้ผู้ป่วยทำร่วมกับความช่วยเหลือของผู้อื่น (Active assistive exercise)
วิธีนี้ให้ผลดีกว่าวิธีที่ให้ผู้อื่นทำให้ผู้ป่วย เพราะเป็นการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมีการทำงานร่วมด้วย
5.4.1.1 การออกกำลังกายชนิดให้ผู้ป่วยทำเอง (Active or Isotonic Exercise)
ผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายด้วยตนเอง
5.4.1.4 การออกกำลังกายโดยให้กล้ามเนื้อทำงานแต่ข้อไม่เคลื่อน (Isometric or Static exercise)
เพื่อเพิ่มความตึงตัวและแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
การออกกำลังกาย
หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายที่มีการวางแผน หรือมีการเตรียมตัวเป็นกิจกรรมที่มีการกระทำซ้ำๆ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มหรือคงไว้ซึ่งสมรรถภาพทางร่างกาย (Physical fitness)
5.4.1.5 การออกกำลังกายให้ผู้ป่วยออกแรงต้านกับแรงอื่น (Resistive exercise)
เป็น การใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ให้ผู้ป่วยออกแรงต้าน