Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัด การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย -…
การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัด
การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การประเมินผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
เป็นการประเมินความพร้อมทั้งด้านร่างกาย และสภาพจิตใจของผู้ป่วย
การซักประวัติ สอบถามข้อมูลจากผู้ป่วยและญาติ ทบทวน
แฟ้มประวัติของผู้ป่วย ให้ได้ข้อมูลที่สำคัญ
ประวัติโรคประจำตัว ภาวะแทรกซ้อนของโรค และประวัติการรักษา และยา
ประวัติการผ่าตัด และการได้รับยาระงับความรู้สึกก่อนหน้าการผ่าตัดนี้ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น มีความสำคัญในการเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
ประวัติการแพ้ยาหรืออาหาร
การใช้ยา สารเสพติด การสูบบุหรี่ และดื่มสุรา ในบางรายถ้าไม่ได้ดื่มสุราหรือสูบบุหรี่อาจมีผลได้
ประวัติของคนในครอบครัวหรือญาติที่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้รับยาระงับ
ความรู้สึก โรคทางพันธุกรรม
ประวัติเกี่ยวกับโรคของระบบต่างๆ ของร่างกาย
การตรวจร่างกาย เพื่อช่วยบอกถึงโรคหรือความผิดปกติ และเป็นแนวทางในการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
สัญญาณชีพ
การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
การตรวจประเมินทางระบบหายใจ
การตรวจร่างกายตามระบบ โดยเน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรค บริเวณที่
จะทำการผ่าตัด
การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากการซักประวัติ
และตรวจร่างกาย ช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรค ความรุนแรงของโรค
ข้อบ่งชี้ของการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Complete blood count เป็นการตรวจที่สำคัญ ภาวะซีด เลือดออกผิดปกติ
Urinalysis การตรวจปัสสาวะ สำหรับโรคไต การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
BUN/Creatinine โรคไต
ECG โรคหัวใจ โรคปอด
ข้อแนะนำการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Screening tests)
การเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
เพื่อให้ผู้ปุวยมีร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์สามารถเผชิญกับความเจ็บปวด ผลกระทบที่จะเกิดหลังผ่าตัดช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้
การเตรียมผู้ป่วย เวลาก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยควรได้รับการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดให้พร้อมที่สุด ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
ด้านร่างกาย ป้องกันหรือลดความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
ระบบหัวใจและหลอดเลือด ดูความสามารถในการส่งเลือดไปเลี้ยงทั่วทั้งร่างกาย และประเมินปริมาณและคุณภาพของเลือด
ระบบทางเดินหายใจ ประเมินสภาวะของปอดและหลอดลม ดูการทำงานของการหายใจ
ระบบทางเดินปัสสาวะ ประเมินสภาวะของไต
การพักผ่อนและการออกกำลังกาย ได้รับการพักผ่อนที่ดี
ให้คำแนะนำและข้อมูล เพื่อลดความวิตกกังวล
ด้านจิตใจ ควรได้รับการเตรียมทางจิตใจทุกคน โดย
การเยี่ยมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การให้คำแนะนำการปฏิบัติหลังผ่าตัด
Early ambulation ลุกเดินทันทีหลังพักฟื้น6-12 ชั่วโมง
Quadriceps Setting Exercise (QSE) การออกกำลังกายกล้ามเนื้อ
ต้นขา ให้ผู้ป่วยนั่งหรือนอนเหยียดขาตรงกระดกข้อเท้าขึ้นและกดเข่าลงบนที่นอน ขณะเดียวกันเกร็งกล้ามเนื้อต้นขา
Range of Motion (ROM) การออกกำลังข้อโดยมีการเคลื่อนไหวใน
ทุกทิศทางปกติของข้อต่าง ๆ
Deep-breathing exercises
Effective cough
Abdominal breathing
การเตรียมผู้ป่วยก่อนวันที่ผ่าตัด
อาหารและน้ำดื่ม
ควรงดอาหารผู้ปุวยก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
อาหารเหลวใสให้ได้6 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
ผู้ป่วยปากแห้ง ให้ผู้ป่วยบ้วนปากบ่อยๆ
ถ้าผู้ป่วยได้รับอาหาร ต้องรีบรายงานแพทย์ทันที
การขับถ่าย
การผ่าตัดเล็ก แพทย์อาจให้สวนอุจจาระหรือไม่ก็ได้ ให้รับประทานยาระบายก่อนวันผ่าตัด
การผ่าตัดใหญ่ แพทย์จะให้มีการสวนอุจจาระก่อนผ่าตัด คาสายสวนปัสสาวะไว้ตามแผนการรักษา
การเตรียมผิวหนังก่อนผ่าตัด
บริเวณศีรษะ โกนผมบริเวณศีรษะออก เตรียมบริเวณลงมาถึงแนวกระดูกไหปลาร้าทั้งหน้าและหลัง
บริเวณหูและปุุ่มกระดูกมาสตอยด์ ให้ เตรียมบริเวณกว้างเป็นวงรอบออกไป
จากหูประมาณ 1 – 2 นิ้ว โกนขนอ่อน
บริเวณท้องต่ำกว่าสะดือ เตรียมบริเวณตั้งแต่ระดับราวนมลงมาถึงต้นขา รวมทั้งบริเวณฝีเย็บ
ไต เตรียมด้านหน้าจากบริเวณรักแร้จนถึงบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และต้นขา ทั้ง2 ข้าง ด้านข้างจากรักแร้ถึงตะโพก
หัวเข่า เตรียมจากขาหนีบถึงข้อเท้าข้างที่จะทำผ่าตัดโดยรอบ
การดูแลสภาพร่างกายทั่วไป
ในคืนก่อนวันผ่าตัด
ผู้ปุวยทำความสะอาดปาก ฟัน ถ้ามีฟันปลอมให้ถอดฟันปลอมออก
ของมีค่าต่างๆ ถอดเก็บไว้ให้ญาติดูแลรักษา
ไม่ให้ผู้ปุวยแต่งหน้า ทาปาก ทาเล็บ เพราะบริเวณเหล่านี้จะเป็นที่สังเกต
อาการเขียวคล้ำ ซึ่งเป็นอาการแสดงแรกเริ่มของการขาดออกซิเจน
ในเช้าวันที่จะผ่าตัด
ผู้ปุวยทำความสะอาดร่างกาย เปลี่ยนชุดสำหรับใส่เพื่อผ่าตัด และหวีผม
เก็บผมให้เรียบร้อย
สังเกตภาวะทางอารมณ์ของผู้ปุวย ความกลัวการผ่าตัด โดยการอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจอย่างง่ายๆ พยาบาลต้องผ่อนคลายความกลัว
ถ้าหลังจากอธิบายการผ่าตัดแล้วผู้ป่วยยังมีความกลัวมากให้รายงานแพทย์ทราบ
สังเกตสภาพร่างกายทั่วไป วัดและบันทึกสัญญาณชีพ อาการของผู้ป่วย ถ้าผิดปกติให้รีบรายงานแพทย์ทราบ
การให้ยาแก่ผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
มักจะให้ยาในคืนวันก่อนผ่าตัดเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยคลายความวิตกกังวลและนอนหลับพักผ่อนได้ด
ก่อนผ่าตัดประมาณ 45-90 นาที เพื่อลดรีเฟล็กซ์ที่ไวต่อการกระตุ้น ความกลัว
เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่พิเศษ
เครื่องดูดเสมหะ
เครื่องดูดของเหลวจากกระเพาะ
พยาบาลต้องเตรียมให้พร้อมเพื่อที่จะใช้หรือนำไปห้องผ่าตัด
ชุดให้สารน้้ำทางหลอดเลือดดำ
การดูแลครอบครัวผู้ป่วย พยาบาลต้องแจ้งให้ครอบครัวทราบถึงเวลาที่ผู้ป่วยจะเข้าห้องผ่าตัด ควรให้ญาติมาดูแล ให้กำลังผู้ป่วย
การเตรียมผ่าตัดผู้ป่วยฉุกเฉิน
เจาะเลือดเพื่อส่งตรวจ CBC และ Blood group ทันทีให้สารน้ำทางหลอด
เลือดดำ
ให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อตรวจปัสสาวะ ถ้าไม่ปัสสาวะต้องใส่สายสวน
ทำความสะอาดและเตรียมผิวหนังบริเวณที่จะผ่าตัดให้เรียบร้อย ถอดฟันปลอม
ให้ผู้ป่วยหรือญาติที่มีสิทธิทางกฎหมายเซ็นใบยินยอมผ่าตัด
วัดและบันทึกอาการ สัญญาณชีพ รวมทั้งการให้ยาก่อนผ่าตัด ลงในใบ
แบบฟอร์มก่อนผ่าตัด
สังเกตสภาพร่างกายทั่วไปอาการ และ สัญญาณชีพ ถ้าผิดปกติให้รีบรายงานแพทย์ทราบ
การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
การประเมินสภาพผู้ป่วย
แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
ประวัติโรคหัวใจ โรคปอด เบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่มีก่อนผ่าตัด
การเปลี่ยนแปลงสัญญาณชีพ ซึ่งบ่งบอกการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด โดยการประเมินการหายใจ ความสามารถในการหายใจ
แบบแผนอาหารและการเผาผลาญ
ประวัติการได้รับและสูญเสียสารน้ำและเกลือแร่ ตั้งแต่ก่อนผ่าตัดจนถึงหลังผ่าตัด
ชนิดและปริมาณของสารน้ำที่ได้รับและออกจากร่างกาย
ปริมาณแคลอรี่ของอาหารที่ได้รับในแต่ละวัน
แบบแผนการขับถ่าย
ประวัติการเสียเลือด สารน้ำทางปัสสาวะ
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงในแบบแผนการขับถ่ายปัจจุบัน
การทำงานของไต
แบบแผนการรับรู้และการดูแลสุขภาพ
ประเมินความรู้ความเข้าใจ
การยอมรับในการผ่าตัดที่เกิดขึ้น
ความร่วมมือในการปฏิบัติการรักษาพยาบาล
กิจกรรมการพยาบาลหลังผ่าตัด
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการหายใจให้โล่ง การจัดท่านอนสังเกตการหายใจของผู้ป่วย กระตุ้นให้ผู้ปุวยหายใจเข้าออกลึกๆ และไออย่างมีประสิทธิภาพดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
ส่งเสริมการทำงานของระบบหัวใจและไหลเวียน
ปัญหาด้านระบบไหลเวียนที่พบบ่อยหลังผ่าตัด
ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตต่ำ
ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ
ตรวจวัดสัญญาณชีพทึก 15 นาที 4 ครั้ง ทุก 30 นาที 4 ครั้ง และทุก 1ชั่วโมงจนสัญญาณชีพสม่ำเสมอ
สังเกตลักษณะบาดแผลและปริมาณสิ่งคัดหลั่งต่างๆ ที่ออกจากร่างกายผู้ป่วย
ดูแลให้ได้รับสารน้ำเลือด หรือพลาสมาทดแทนทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อลดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น
การพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด โดยพยาบาลประเมินความเจ็บปวดของผู้ปุวยโดยใช้ Pain scale
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ป่วยเพื่อลดอาการท้องอืด
กระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกออกจากเตียง
สังเกตและบันทึกอาการเปลี่ยนแปลงที่บ่งชี้ถึงการย่อยและดูดซึมอาหารผิดปกติ
ดูแลให้ได้รับสารอาหารและพลังงานอย่างเพียงพอ ในรายที่ไม่มีปัญหาในการรับประทานอาหาร
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสุขสบายและความปลอดภัยของผู้ป่วย
ดูแลความสุขสบายทั่วไป
การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลเกี่ยวกับความสะอาดของร่างกายทั่วไป
โดยเฉพาะช่องปาก อวัยวะสืบพันธุ์ และระบบขับถ่าย
ดูแลความปลอดภัยในรายที่ยังไม่ฟื้นจากยาสลบ
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการหายของแผล
สังเกตและประเมินปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการหายของแผล
ตำแหน่งของแผลผ่าตัด
ลักษณะของแผลเปิดหรือแผลปิด
ภาวะโภชนาการของผู้ปุวย ภาวะโรค
สังเกตลักษณะแผลที่ผิดปกติ โดยเฉพาะแผลมีการติดเชื้อ ลักษณะสี กลิ่น ของสิ่งคัดหลั่งที่ผิดปกติ
ทำความสะอาดแผลด้วยหลักปราศจากเชื้อ เพื่อป้องกันการติดเชื้อของแผล
สอนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลแผลและวิธีการส่งเสริมการหายของแผล
การรับประทานอาหารที่มีโปรตีน
การรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง
การออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดมาเลี้ยงที่แผลดีขึ้น
การให้คำแนะนำก่อนกลับบ้านสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัด
การดูแลแผลการสังเกตอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ
การเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นข้อจำกัดหลังผ่าตัด
การส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ป่วย อาหารที่ควรรับประทานหรือควรงด การรับประทานยา สังเกตอาการข้างเคียงของยา
การดูแลความสะอาดของร่างกาย
การมาตรวจตามแพทย์นัด
การฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitation)
การช่วยเหลือผู้ป่วยเคลื่อนไหวบนเตียง
การประเมินผู้ป่วย
ความสามารถของผู้ป่วยในการช่วยเหลือตนเอง
ท่าที่เหมาะสม และระยะเวลาที่ผู้ป่วยจะคงอยู่ในท่าที่เปลี่ยนให้ใหม่
ความยากลำบากและไม่สุขสบายในขณะเปลี่ยนท่าหรือเมื่ออยู่ในท่าที่จัดให้
ความผิดปกติเกี่ยวกับผิวหนัง กระดูก หลอดเลือด
ปฏิบัติการพยาบาลในการให้ความช่วยเหลือผู้ปุวยบนเตียง
การเตรียมผู้ป่วย
เอาหมอนหนุนศีรษะของผู้ป่วยออก วางหมอนไว้ที่พนักหัวเตียง ปรับระดับเตียงให้อยู่ในแนวราบพร้อมทั้งดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วย
การเตรียมตัวพยาบาล
ยืนในท่าที่ถูกต้อง
พยุงผู้ป่วยด้วยความนุ่มนวลและมั่นคง
ใช้วิธีสอดมือเข้าใต้ตำแหน่งร่างกายส่วนที่จะยก เพื่อ
รองรับน้ำหนักร่างกายส่วนนั้น
ไม่ควรใช้มือหยิบหรือจับขาผู้ป่วยขณะยกหรือเลื่อนตัวผู้ป่วย
หากต้องใช้พยาบาลมากกว่า 1 คน ควรให้สัญญาณเพื่อทำพร้อมกัน
การจัดท่าผู้ป่วย
เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความสุขสบายขณะนอนพักบนเตียงหรือเตรียมทำหัตถการ
ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากท่านอนที่ไม่ถูกต้อง
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
หลักการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
จัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายราบอยู่ในท่าที่สบาย
ยกตัวผู้ป่วยให้พ้นจากที่นอนเล็กน้อยเพื่อลดแรงเสียดทาน
ใช้ผ้าขวางเตียงช่วยในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแทนการเลื่อนผู้ป่วย
ให้สัญญาณเพื่อความพร้อมเพรียง
ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ควรหาผู้ช่วยเหลือตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
การประเมินผู้ป่วยก่อนการเคลื่อนย้าย
ความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง
ท่าที่เป็นข้อห้ามของผู้ป่วย
ส่วนที่อ่อนแรงหรือพิการ
ความมั่นคงในการคงท่าของผู้ป่วย
ผู้ป่วยอ่อนเพลียมากน้อยแค่ไหน
วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
แจ้งให้ผู้ป่วยทราบและบอกวิธีการให้ความร่วมมือ
เอาหมอนหนุนศีรษะของผู้ป่วยออก อุปกรณ์ที่ไม่จำเป็น
เอาออกจากเตียง
พยาบาลยืนในท่าที่ถูกต้องมั่นคง
พยุงผู้ป่วยด้วยความนุ่มนวลและมั่นคง โดยใช้วิธีสอดมือเข้าไปในตำแหน่งของร่างกายที่จะยกเพื่อรองรับน้ำหนักร่างกายส่วนนั้น
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดิน
การออกกำลังกายเพื่อเตรียมผู้ป่วยเดิน
เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยให้กล้ามเนื้อมีความตึงตัว แข็งแรง
การออกกำลังกายนั้นต้องไม่ทำให้
ผู้ป่วยเหนื่อย ควรทำแต่ละชนิด 3 ครั้ง และให้ทำวันละ 2 – 3 ครั้ง
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดิน
ชนิดของอุปกรณ์ช่วยเดิน
Parallel bar = ราวคู่ขนานราวเดิน
Walker เหมาะสำหรับผู้ปุวยที่มีอายุมากและการทรงตัวไม่ดีนัก
Crutches ( ไม้ยันรักแร้ , ไม้ค้ ายัน ) ใช้ได้กับผู้ป่วยที่ค่อนข้างแข็งแรง หรือมีการทรงตัวด
การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวร่างกาย
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายชนิดให้ผู้ป่วยทำเอง (Active or Isotonic Exercise)
ผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายด้วยตนเอง
ให้ผลดีเพราะข้อต่างๆ ของร่างกายมีการเคลื่อนไหวและกล้ามเนื้อหดรัดตัว ทำให้กล้ามเนื้อมีความตึงตัวและแข็งแรง
การไหลเวียนโลหิตดี
การออกกำลังกายโดยให้ผู้อื่นทำให้ผู้ปุวย (Passive exercise)
การออกกำลังกายโดยการเคลื่อนไหวข้อต่างๆ
ช่วยให้ข้อมีการเคลื่อนไหวและช่วยป้องกันการหดรั้งของกล้ามเนื้อผิดรูป
การออกกำลังกายชนิดที่ให้ผู้ป่วยทำร่วมกับความช่วยเหลือของผู้อื่น (Activeassistive exercise)
การกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมีการทำงานร่วมด้วย
การออกกำลังกายโดยให้กล้ามเนื้อทำงานแต่ข้อไม่เคลื่อน (Isometric orStatic exercise)
เพิ่มความตึงตัวและแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ป้องกันกล้ามเนื้อลีบ
ให้ผู้ป่วยเกร็งกล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อมีการหดรัดตัวชั่วระยะหนึ่ง
การออกกำลังกายให้ผู้ป่วยออกแรงต้านกับแรงอื่น (Resistive exercise)
ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ให้ผู้ป่วยออกแรงต้าน
ช่วยให้กล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้น มีความแข็งแรงและทำงานได้ดี
เป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อให้แข็งแรงเร็วขึ้น ในผู้ป่วยที่ต้องพักรักษาตัวอยู่บนเตียงนานๆ
การเคลื่อนไหวร่างกาย
การใช้ร่างกายอย่างปลอดภัยมีประสิทธิภาพ
มีการประสานงานกันในการเคลื่อนไหวและดำรงความสมดุลระหว่างการมีกิจกรรม
ทำให้เกิดผลดีต่อร่างกายทำให้ลด
การเมื่อยล้าหรือการใช้พลังงานในการเคลื่อนไหว
ช่วยให้เกิดความปลอดภัย
การเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้องทำให้เกิดผลดีต่อร่างกาย
ส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานของร่างกายให้เป็นไปตามปกติ
ป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย หรือมีความพิการของกระดูก และกล้ามเนื้อ
ลดการเมื่อยล้า หรือการใช้พลังงานมากเกินไป
ผลกระทบจากการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
ระบบผิวหนัง
เสียหน้าที่ทำให้เกิดแผลกดทับ พบในผู้ปุวยสูงอายุ ผู้ป่วยที่อ้วนมากหรือผอมมาก
เกิดแรงกดทับ (Pressure) ระหว่างปุุมกระดูกกับที่นอนที่รองรับในการนอนในท่าต่าง ๆ ทำให้เซลล์ขาดออกซิเจน
เซลล์ตายและลุกลามกลายเป็นแผล
การเสียดทาน (Friction) เมื่อผู้ปุวยถูกลากหรือเลื่อนตัว ทำให้ผิวหนังขูดกับที่นอน
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
กระดูกผุ เปราะบาง พบบ่อยที่กระดูกขา
การประสานงานของกล้ามเนื้อแขนขาลดลงหรือไม่สัมพันธ์กัน
กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลีบเล็ก (Muscle atrophy)
อาการปวดหลัง
เกิดการท่านอนที่ไม่ถูกต้อง
ศีรษะนอนหนุนหมอนสูงเกินไป
ที่นอนนิ่มเกินไป แข็งเกินไป
ระบบทางเดินอาหาร
ทำให้เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
ทำให้ท้องผูก (Constipation) เนื่องจากการบีบตัวของ
ลำไส้ลดลงจากการหลั่ง Adrenaline ลดลง
กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด
การประเมินสภาพผู้ป่วย
รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นเพื่อนำไปสู่การวางแผนการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
จะสอดคล้องกับข้อมูลสนับสนุนที่รวบรวมได้จากการ
ประเมินสภาพผู้ป่วย
วิตกกังวลเนื่องจากกลัวการผ่าตัด
วิตกกังวลเกี่ยวกับโรคและแผนการรักษา
การวางแผนการพยาบาล ให้การพยาบาล และประเมินผลหลังให้การพยาบาล
ประเมินระดับความวิตกกังวล
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึก และค้นหาสาเหตุของความวิตกกังวล
ร่วมกันหาทางแก้ไขสาเหตุของความวิตกกังวลร่วมกับผู้ป่วยและญาติ
รายงานแพทย์เมื่อพบอาการผิดปกติ